ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ทำให้รสนิยมทางเพศเบี่ยงเบน จริงหรือ?

11 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Stopfake (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: Gavi องค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน ยืนยันว่าวัคซีนโควิด 19 ไม่สามารถเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมหรือรสนิยมทางเพศได้ ซาอิด นามากิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอิหร่าน แจ้งเตือนประชาชนให้ระวังการตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพที่นำข้ออ้างทางศาสนาและวิธีรักษาแบบพื้นบ้านมาหลอกลวงประชาชน ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่ผ่าน Telegram ของ อายะตุลลอฮ์ อับบาส ทาบริเซียน นักสอนศาสนาชาวอิหร่านที่ส่งไปยังผู้ติดตามกว่าสองแสนคน โดยเนื้อหาเป็นการโจมตีวัคซีนโควิด 19 ว่ามีไมโครชิปที่เกิดจากการตัดต่อพันธุกรรม เมื่อฉีดไปแล้วผู้รับวัคซีนจะไม่เหลือความเป็นมนุษย์, มีสภาพไม่ต่างจากหุ่นยนต์, สูญสิ้นศรัทธา, ขาดคุณธรรม และจะกลายเป็นคนรักเพศเดียวกัน FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ทาบริเซียน ซึ่งอ้างตนว่าเป็น “บิดาการแพทย์อิสลาม” เคยอ้างว่ารักษาผู้ป่วยโควิด 19 ได้วันละ 150 คน และโจมตีวัคซีนโควิด 19 ว่าเป็นผลงานของขบวนการชาตินิยมยิว (Zionist) และการฉีดวัคซีนก็คือการล่าอาณานิยมทางการแพทย์รูปแบบหนึ่ง ไม่ใช่ครั้งแรกที่นักสอนศาสนากล่าวอ้างว่าวัคซีนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรสนิยมทางเพศ โดยเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA ทำให้เกิดอาการสั่นรุนแรง จริงหรือ?

11 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Myth Detector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: พิสูจน์ไม่ได้ บทสรุป: อาการสั่นรุนแรง (Strong Tremor) ไม่จัดเป็นหนึ่งในอาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด 19 ชนิดไหนๆ บุคคลที่อยู่ในคลิปไม่สามารถยืนยันได้ว่าฉีดวัคซีนโควิด 19 มาจริงหรือไม่ ก่อนจะลบคลิปของตนเองในภายหลัง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอผ่านทาง Facebook ในสหรัฐอเมริกา โดยผู้โพสต์วิดีโออ้างว่าผู้หญิงสองคนที่อยู่ในคลิปเพิ่งผ่านการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer และ Moderna แต่พอกลับถึงบ้านก็มีอาการสั่นรุนแรงคล้ายอาการชักกระตุก ทำให้การพูดและการขยับตัวลำบากจนควบคุมตัวเองไม่ได้ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง PolitiFact ของสหรัฐอเมริกา ได้ติดต่อไปยังผู้หญิงในคลิปและผู้เกี่ยวข้องกับเธอทั้งสองคนเพื่อขอคำยืนยัน แต่ทั้งสองคนต่างไม่ยอมบอกว่าได้รับการวัคซีนโควิด 19 มาจริงหรือไม่ และทำการลบคลิปดังกล่าวจาก Facebook ของตนเองแล้วทั้งคู่ อาการสั่นรุนแรง (Strong Tremor) ไม่จัดเป็นหนึ่งในอาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด 19 ชนิดไหนๆ และยังไม่มีรายงานในประเทศใดที่พบคนมีอาการดังกล่าวหลังจากฉีดวัคซีนโควิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สตรีไม่ควรตั้งครรภ์ 2 เดือน หลังฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

10 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการกล่าวอ้างโดยแพทย์ผู้มีแนวคิดต่อต้านวัคซีน หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกาและบริษัท Pfizer ต่างยืนยันว่าวัคซีนโควิด 19 ไม่ทำให้ผู้รับวัคซีนมีปัญหาในการตั้งครรภ์แต่อย่างใด ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่ผ่านคลิปวิดีโอทาง Instagram ของ ดร.เชอร์รี เทนเพนนี แพทย์โรคกระดูกและกล้ามเนื้อชาวอเมริกัน ผู้เผยแพร่แนวคิดต่อต้านการฉีดวัคซีนผ่านงานเขียน โดยอ้างว่าวัคซีนคือสาเหตุของโรคออทิสติก ในคลิปวิดีโอความยาว 10 นาที ที่ถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอม ดร.เชอร์รี เทนเพนนี กล่าวอ้างว่าสตรีที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA ของบริษัท Pfizer ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ในช่วง 2 เดือนแรกเป็นอย่างน้อย เพราะหนามโปรตีนที่อยู่ในวัคซีนอาจจะไปรบกวนรังไข ซึ่งไม่อาจรู้ได้ว่าจะส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์แค่ไหน หนามโปรตีนอาจรบกวนการทำงานของอสุจิและส่งผลกระทบมหาศาลต่อการปฏิสนธิและต่อไข่ของสตรี และยังไม่รู้ว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลต่อพันธุกรรมหรือความพิการของทารกแรกเกิดหรือไม่ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ไม่มีหลักฐานว่าหน่ายงานด้านสาธารณสุขหรือผู้ผลิตวัคซีนรายใด แนะนำให้สตรีที่เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ระงับการตั้งครรภ์หรือหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ผู้ชายควรนำเชื้ออสุจิไปแช่แข็งก่อนฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

10 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Newtral (สเปน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ไม่มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่าวัคซีนโควิด 19 จะทำให้ผู้ชายเป็นหมัน แม้จะพบเชื้อไวรัสในอัณฑะหลังติดเชื้อโควิด 19 ไปแล้ว 6 เดือน แต่ปริมาณของไวรัสหรือปริมาณของวัคซีนโควิด 19 ก็มีไม่มากพอที่จะทำให้ผู้รับเชื้อหรือวัคซีนกลายเป็นหมันไปได้ ข้อมูลที่ถูกแชร์: ความเชื่อว่าวัคซีนโควิด 19 อาจทำให้ผู้ชายเป็นหมัน ถูกเผยแพร่ผ่านรายงานของ Local10. สถานีโทรทัศน์ท่องถิ่นในสหรัฐฯ เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยเป็นการนำบทสัมภาษณ์ของ แรนจิธ รามาซามี ศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ มหาวิทยาลัย University of Miami มาใช้อย่างผิดบริบท FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Newtral ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากสเปน ได้ตรวจสอบบทสัมภาษณ์ของ แรนจิธ รามาซามี กับทาง Local10. ศัลยแพทย์ผู้นี้ยืนยันในบทสัมภาษณ์ว่า ไม่มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่าวัคซีนโควิด 19 จะทำให้ผู้ชายเป็นหมัน แต่เมื่อนักข่าวถามว่าจะทำอย่างไรสำหรับคนที่กังวลเรื่องการมีบุตรในอนาคต […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ห้ามดื่มสุราเป็นเวลา 5 เดือนหลังจากฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

9 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Tempo CekFakta (อินโดนีเซีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จบางส่วน บทสรุป: แอลกอฮอล์ไม่มีผลต่อการทำงานของวัคซีน กระนั้น งานวิจัยพบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากๆ อาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เว้นการดื่มสุราปริมาณมากๆ ในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนฉีดวัคซีนโดสแรก และช่วง 1 เดือนหลังฉีดวัคซีนโดสที่ 2 ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการแชร์ข้อความทาง Facebook ในประเทศอินโดนีเซียว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้ว ห้ามดื่มสุราหรือรับประทานข้าวหมัก (tapai) เป็นเวลา 5 เดือน เพราะจะทำให้วัคซีนหมดประสิทธิภาพในการป้องกันโรคทันที FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบของ Tempo CekFakta เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของอินโดนีเซียยืนยันว่า ข้อกล่าวอ้างนี้ไม่มีหลักฐานยืนยันทางวิทยาศาสตร์ เพราะไม่พบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อการป้องกันโรคของวัคซีนแต่อย่างใด ฮินดรา ซัตตารี ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลการสร้างภูมิคุ้มกันแห่งชาติอินโดนีเซีย (Komnas KIPI) ยืนยันว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ส่งผลต่อการทำงานของวัคซีน และการฉีดวัคซีนไม่ส่งผลต่อการบริโภคของประชาชนแต่อย่างใด สิติ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ควรเลิกกินน้ำแข็งเพราะเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ได้นาน จริงหรือ ?

9 มิถุนายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อมูลว่า ไม่ควรบริโภคน้ำแข็งในขณะนี้เพราะหลายโรงงานมีพนักงานติดเชื้อโควิด-19 อีกทั้งเชื้อโควิด-19 สามารถอยู่บนพื้นผิวน้ำแข็งได้นาน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว พบว่า จริงบางส่วน หากจะแชร์ต้องอธิบายเพิ่ม บทสรุป : จริงบางส่วน หากจะแชร์ต่อควรอธิบายเพิ่ม ·   ผู้เชี่ยวชาญ แนะนำควรทานน้ำแข็งที่ได้รับการผลิตอย่างมีมาตรฐาน GMP เป็นน้ำแข็งสำหรับการบริโภค ไม่ใช่น้ำแข็งเพื่อการถนอมอาหาร·  เชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถอยู่ได้นานขึ้นในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำและมีความชื้นมากขึ้น·  เชื้อไวรัสโควิด-19 หากอยู่บนพื้นผิวของน้ำแข็ง ถ้าอยู่ในพื้นที่แช่เย็นก็จะทำให้เกิดการคงตัวของไวรัส เชื้อจะคงตัว ไม่เกิดการเพิ่มจำนวน·  การจะติดเชื้อโควิด-19 ได้นั้น เกิดจากการที่เชื้ออยู่บนพื้นผิวของอาหาร หรือบนพื้นผิวของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเมื่อมือเราไปสัมผัส แล้วเผลอมาป้ายหน้า ป้ายตา แคะจมูก หรือขยี้ตา ก็จะทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ แต่ไม่ได้ติดจากการที่เรารับประทาน ข้อมูลที่ถูกแชร์บนโลกโซเชียลมีเดียมีการแชร์ข้อมูล “สสจ.เตือนงดกินน้ำแข็งก่อนเพราะโรงน้ำแข็งแทบทั้งนั้นมีผู้ติดเชิ้อและน้ำแข็งโควิตสามารถอยู่ในน้ำแข็งได้นานมาก” “แม้แต่…”กินน้ำแข็ง”  ก็”อาจ”ติดโควิดได้…ของกินอื่นๆ ก็เหมือนกันอาจมีเชื้อแฝงมาได้ง่าย, ถ้าคนขาย”ติดเชื้อ”…ระวังกันมากๆ ครับ คลัสเตอร์โรงน้ำแข็ง ปราจีนบุรี วันเดียวติด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ห้ามผู้รับวัคซีนมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลาหนึ่งเดือน จริงหรือ?

9 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Myth Detector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนโควิด 19 ผ่านการทดสอบกับสัตว์ทดลอง วัคซีนโควิด 19 ของ Pfizer ปลอดภัยต่อผู้ที่มีโรคประจำตัว บริษัท Pfizer-BioNTech ไม่มีข้อห้ามการมีเพศสัมพันธ์หลังจากรับวัคซีน บริษัท Pfizer-BioNTech ไม่มีข้อห้ามเรื่องการเปิดเผยอาการข้างเคียงจากวัคซีน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโควิด 19 หลายประเด็น ถูกเผยแพร่ผ่านรายการโทรทัซน์ Ghamis Studia ของสถานี Obiektivi TV ในประเทศจอร์เจียเมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Myth Detector เว็บไซต์ตรวจสอบความจริงของประเทศจอร์เจียได้ทำการหักล้างข้อมูลเท็จต่างๆ ดังนี้ 1.วัคซีนโควิด 19 ผลิตออกมาอย่างเร่งรีบ จนข้ามขัดตอนการทดลอง และไม่เคยทดสอบในสัตว์ทดลอง – ข้อมูลเท็จ เนื่องจากวิกฤตการระบาดของโควิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ได้ผลที่สุดเมื่อฉีดที่อวัยวะเพศชาย จริงหรือ?

8 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: BOOM (อินเดีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: การฉีดวัคซีนเกือบทุกชนิด ควรจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขนหรือกล้ามเนื้อหน้าขาด้านนอก ซึ่งช่วยให้วัคซีนไหลเวียนได้ดีที่สุด ส่วนอวัยวะเพศชายที่ประกอบไปด้วยเนื้อเยื้อและเส้นเลือด ไม่ใช่บริเวณที่เหมาะสมต่อการฉีดวัคซีน ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นรูปภาพและข้อความเท็จที่เผยแพร่ผ่านทาง Twitter ในประเทศอินเดีย โดยอ้างว่าแพทย์จากมหาวิทยาลัย University of California ค้นพบว่าการฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่บริเวณอวัยวะเพศชาย จะทำให้ตัวยาไหลเวียนได้ดีที่สุด ซึ่งการอ้างว่าเป็นรายงานจากสถานีข่าว CNN ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ทไม่น้อยหลงเชื่อแล้วนำข้อมูลไปแชร์ต่อ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: จากการตรวจสอบของ BOOM พบว่ารูปภาพและข้อมูลดังกล่าวเป็นการตัดต่อโลโก้ของ CNN และนำชื่อมหาวิทยาลัย University of California การผลิตซ้ำเพื่อการล้อเลียน ส่วนนายแพทย์ผู้ถูกนำรูปภาพมาแอบอ้าง เป็นแพทย์ที่ทำงานให้กับโรงพยาบาล Claremont Medical Center ในเมืองแคลร์มอนต์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งเจ้าตัวยืนยันว่าไม่เคยเสนอแนะวิธีการฉีดยาดังกล่าว ข้อมูลจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขระบุว่า การฉีดวัคซีนเกือบทุกชนิดควรจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ชาวอเมริกันอ่อนแอลงเรื่อยๆ เพราะวัคซีน จริงหรือ?

8 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (ฝรั่งเศส)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) ยืนยันว่าชาวอเมริกันในปัจจุบันมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น เด็กที่ป่วยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลง การพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิผลและปลอดภัย ทำให้โรคติดต่อร้ายแรงอย่างโปลิโอและไข้ทรพิษหมดไปจากสหรัฐฯ วัคซีนยังช่วยป้องกันโรคสำคัญๆ ทั้ง โรคคอตีบ, โรคหัด, ตับอักเสบ และ โรคอีสุกอีใส ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่โดย แพทริก ฟลินน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกระดูก ที่กล่าวหาว่าการรณรงค์ฉีดวัคซีนในสหรัฐอเมริกา ทำให้คุณภาพชีวิตของชาวอเมริกันแย่ลงเรื่อยๆ และเมื่อสหรัฐฯ เปิดโครงการชดเชยผลกระทบจากวัคซีนเพื่อปกป้องบริษัทยาจากการถูกฟ้องร้องเมื่อปี 1986 นำไปสู่การกำหนดวัคซีนที่ผู้คนจำเป็นต้องฉีดหลากหลายชนิดอย่างไม่เคยมีมาก่อน ข้อความนี้ถูกเผยแพร่ผ่านทาง Facebook ช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา และมีผู้แสดงความคิดเห็นและส่งต่อข้อความรวมกันกว่า 2,800 ครั้ง FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ข้อกล่าวอ้างที่ว่าชาวอเมริกันในยุคนี้มีสุขภาพย่ำแย่ลงเพราะวัคซีนเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง โดยรายงานประจำปี 2019 ของหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) ยืนยันว่าชาวอเมริกันในปัจจุบันมีอายุที่ยืนยาวกว่าเมื่อทศวรรษที่แล้ว และอัตราการรอดชีวิตของทารกแรกเกิดก็สูงกว่า 10 ปีที่แล้วเช่นกัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ของ Pfizer ทำให้สตรีเป็นหมัน จริงหรือ?

7 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Chequeado (อาร์เจนติน่า)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: องค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) ระบุว่า การทดลองความเป็นพิษของวัคซีนบริษัท Pfizer ต่อการสืบพันธุ์ในสัตว์ พบว่าวัคซีนไม่ส่งผลต่อการเป็นหมัน, การตั้งครรภ์ และการพัฒนาของตัวอ่อนในสัตว์เพศเมียแต่อย่างใด ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นการบิดเบือนข้อมูลเมื่อครั้งที่ นาบแพทย์ ไมเคิล เยียดอน และ นายแพทย์ วูลฟ์กัง วูดาร์ก ได้ยื่นคำร้องต่อองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) เพื่อให้ระงับการทดลองทางคลินิกของวัคซีนโควิด 19 จาก Pfizer ด้วยข้อกังวลเรื่องผลกระทบด้านสุขภาพ แต่ไม่เกี่ยวข้องกับข้ออ้างที่ว่าวัคซีนโควิด 19 ของ Pfizer จะทำให้สตรีเป็นหมันแต่อย่างใด ไมเคิล เยียดอน เป็นนักชีวเคมีชาวอังกฤษ เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิจัยชีววิทยาระบบทางเดินหายใจของบริษัท Pfizer แต่ได้ออกจากบริษัทไปตั้งแต่ปี 2011 หรือ 9 ปีก่อนการพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ในข้อมูลที่บิดเบือนระบุว่า โปรตีนบนหนามไวรัสมีส่วนคล้ายกับโปรตีนในรกของมนุษย์ที่ชื่อว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน AstraZeneca ไม่ป้องกันการตายจากโควิดกลายพันธุ์ จริงหรือ?

5 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Stopfake (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca มีประสิทธิผลป้องกันการเจ็บป่วยเล็กน้อยถึงปานกลางต่อโควิด 19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ลดลง Oxford Research Group ยืนยันว่าวัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca ป้องกันการป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากโควิด 19 กลายพันธุ์ได้ ผลการทดสอบพบว่า วัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca มีประสิทธิผลป้องกันโควิด 19 ในกลุ่มผู้สูงอายุอย่างมาก ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อความเผยแพร่บนโลกออนไลน์ในประเทศยูเครนว่า วัคซีนโควิด 19 ไม่สามารถป้องกันการป่วยหนักหรือการเสียชีวิตจากไวรัสโควิด 19 กลายพันธุ์ได้ โดยเฉพาะวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca ที่ไม่สามารถป้องกันการเสียชีวิตจากไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ผู้โพสต์อ้างข้อมูลการศึกษาเมื่อวันที่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: มีอนุภาคนาโนในวัคซีน ช่วยชี้เป้าผู้รับวัคซีนผ่านระบบ 5G จริงหรือ?

4 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนไม่มีไมโครชิปสำหรับเชื่อมต่อเครือข่าย 5G อนุภาคนาโนที่มีอยู่ในวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA คืออนุภาคนาโนของลิพิด ทำหน้าที่ห่อหุ้มและลำเลียง mRNA เข้าสู่ร่างกาย ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่ผ่านคลิปวิดีโอที่ถูก Facebook แจ้งเตือนว่าเป็นข่าวปลอม โดยเนื้อหาอ้างว่าในวัคซีนโควิด 19 มีอนุภาคนาโนคล้ายกับไมโครชิปที่ติดตั้งบนผิวหนังสัตว์เลี้ยง เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้ว ตำแหน่งของคนผู้นั้นจะเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนทันที และด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G ที่อยู่ของคนผู้นั้นก็จะไม่เป็นความลับอีกต่อไป FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ตามข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตวัคซีน อนุภาคนาโนชนิดเดียวที่ยืนยันได้ว่ามีอยู่ในวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA ก็คือ อนุภาคนาโนของลิพิด สารชีวโมเลกุลที่ไม่ละลายในน้ำ ซึ่งทำหน้าที่ห่อหุ้มและลำเลียง mRNA เข้าสู่ร่างกาย ส่วนอนุภาคนาโนที่ทำหน้าที่เป็นไมโครชิปหรือเชื่อมต่อกับเครือข่าย 5G นั้น เป็นการกล่าวอ้างที่ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ข้อมูลอ้างอิง: https://www.politifact.com/factchecks/2021/mar/12/facebook-posts/no-covid-19-vaccines-do-not-contain-nanoparticles-/https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2673971/ หากได้รับอะไรมา […]

1 141 142 143 144 145 278
...