ชัวร์ก่อนแชร์ : ไม่ควรทิ้ง “หน้ากากอนามัย” ในขวด PET จริงหรือ ?

4 มิถุนายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความว่า ไม่ควรทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้วในขวดน้ำพลาสติกหรือขวดน้ำ PET เพราะเสี่ยงติดเชื้อกับผู้เก็บขยะ และเสี่ยงต่อการถูกนำมาใช้ใหม่ รวมถึงสร้างมลภาวะจากการเผามากกว่าเดิม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวกับกรุงเทพมหานคร แล้วพบว่า เป็นเรื่องจริง แชร์ต่อได้             บทสรุป จริง แชร์ได้·   ไม่ควรทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วในขวด PET เพราะเสี่ยงต่อการถูกนำกลับมาใช้ใหม่ และเป็นการเพิ่มปริมาณการเผาไหม้· ขวด PET มีมูลค่าสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ·   กทม. แนะทิ้งหน้ากากอนามัยในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น เขียนกำกับหน้าถุงให้ชัดเจน ข้อมูลที่ถูกแชร์ มีการแชร์ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊ก “พลังงานจากขยะ (Energy from Wastes)” เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา ข้อความระบุใจความว่า  “อันตราย ! ไม่ควรทิ้งขยะ ‘หน้ากากอนามัย’ ใส่ขวด PET ! เตือนภัย […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ยาคุมกำเนิดทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันมากกว่าวัคซีนโควิด19 จริงหรือ?

4 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (ฝรั่งเศส)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: แม้สถิติการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากยาเม็ดคุมกำเนิดจะมากกว่าวัคซีนโควิด 19 แต่บริเวณเกิดลิ่มเลือดอุดตันแตกต่างกัน จึงไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากยาเม็ดคุมกำเนิดส่วนใหญ่จะเกิดที่บริเวณขาในหลอดเลือดดำส่วนลึก (DVT) ภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนโควิด 19 มักจะพบที่หลอดเลือดดำในสมอง (CVT) ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการแชร์ความเห็นบนโลกออนไลน์ว่า ผู้ที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดได้มากกว่าวัคซีนโควิด 19 ทุกชนิด ซึ่งเป็นข้อความที่มียอดแชร์, ยอดไลค์ และคอมเมนต์รวมกันกว่า 5 หมื่นครั้ง ตามการประเมินของเว็บไซต์ CrowdTangle FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: แถลงการณ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อวันที่ 16 เมษายา 2021 ระบุว่า โอกาสการเกิดภาวะเส้นเลือดอุดตันจากลิ่มเลือดของผู้รับวัคซีน AstraZeneca ในสหราชอาณาจักร อยู่ที่ 1 คน ต่อ 250,000 คน ส่วนอัตราการเกิดกับผู้รับวัคซีน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน AstraZeneca ทำให้เกิดรอยช้ำทั้งแขน จริงหรือ?

3 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Mythdetector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: พิสูจน์ไม่ได้ บทสรุป: เป็นการสร้างความเข้าใจผิดด้วยรูปภาพที่ไม่สามารถระบุที่มาได้ นักภูมิคุ้มกันวิทยาลงความเห็นว่ารอยช้ำในภาพซึ่งมีจุดศูนย์กลางที่ข้อศอก ไม่ใช่อาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน เพราะรอยช้ำจากวัคซีนจะอยู่บริเวณต้นแขนซึ่งเป็นจุดที่ใช้ฉีดยา ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการเผยแพร่ข้อมูลและรูปภาพจากผู้ใช้ Facebook ที่ชื่อว่า Katya Petrova โดยอ้างว่า Mayya Zankova ซึ่งอยู่ในรูปภาพเพิ่งจะผ่านการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca มาได้ 7 ชั่วโมง และเกิดรอยช้ำรุนแรงไปทั่วทั้งแขน จนภาพและข้อมูลดังกล่าวถูกนำไปแชร์ต่อกันกว่า 7 หมื่นครั้ง FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงของ Mythdetector พบว่าภาพดังกล่าวถูกนำไปส่งต่ออีกหลายครั้งโดยกลุ่มผู้ที่มีแนวคิดต่อต้านการฉีดวัคซีน แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าบุคคลในรูปที่ระบุชื่อว่า Mayya Zankova มีตัวตนหรือไม่ ลาลี เพิร์ทชาลิสวิลลี นักภูมิคุ้มกันวิทยาจากโรงพยาบาล Evex Hospitals อธิบายว่าการฉีดวัคซีนอาจก่อให้เกิดรอยช้ำบริเวณที่ฉีดยา หากเกิดอาการข้างเคียง รอยช้ำจะขยายตัวจากต้นแขนซึ่งเป็นจุดที่ฉีดยา แต่รอยช้ำที่ดูเหมือนมีการตกเลือดในรูปภาพที่เห็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Sinovac ไม่น่าเชื่อถือ ผลข้างเคียงเหมือนยาหลอก จริงหรือ?

3 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Colombiacheck (โคลัมเบีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ของวัคซีน Sinovac ในฉบับ pre-print พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่รับวัคซีนมีอาการข้างเคียงมากกว่าในกลุ่มตัวอย่างที่รับยาหลอกประมาณ 11% กลุ่มผู้รับวัคซีนเกิดอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดยาจำนวน 77.1% ส่วนกลุ่มที่ได้รับยาหลอกเกิดอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดยาจำนวน 66.4% ข้อมูลที่ถูกแชร์: บทความโจมตีประสิทธิผลวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Sinovac โดย The Epoch Times สำนักข่าวสายอนุรักษ์นิยมในสหรัฐอเมริกา ถูกนำไปเผยแพร่ในหลายประเทศ ทั้งทาง Facebook และ Twitter บทความได้ตั้งข้อสงสัยเรื่องการทดลองทางคลินิกของวัคซีน Sinovac โดยอ้างว่าอาการข้างเคียงของผู้รับวัคซีน กลับไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo) ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเกิดขึ้นน้อยกว่าด้วยซ้ำ และอาการข้างเคียงในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสต่ำๆ ยังไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสสูงๆ อีกด้วย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 และระยะที่ 2 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: “มารายห์ แคร์รี” จัดฉากฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

2 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Demagog (โปแลนด์)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เข็มฉีดยาที่ใช้กับนักร้องดัง เป็นชนิดที่เข็มถูกดูดกลับคืนสู่หลอดฉีดโดยอัตโนมัติหลังจากฉีดยาแล้ว จึงทำให้ดูเหมือนไม่มีเข็มอยู่ที่หลอด เหตุผลของการใช้เข็มฉีดยาชนิดนี้เพื่อลดอุบัติเหตุในโรงพยาบาล ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่โดยกลุ่มต่อการการฉีดวัคซีน (Anti-vaccine) และกลุ่มผู้ไม่เชื่อว่าแพร่ระบาดของโควิด 19 มีอยู่จริง (Covid sceptics) โดยทั้งสองร่วมกันจับผิดว่า มารายห์ แคร์รี นักร้องสาวชาวอเมริกัน แสร้งทำการฉีดวัคซีนโควิด 19 ผ่านคลิปวิดีโอ โดยอ้างว่าเข็มในหลอดฉีดยาหายไปทันทีที่นางพยาบาลฉีดวัคซีนให้กับนักร้องสาวแล้ว คลิปวิดีโอดังกล่าวถูกเผยแพร่ผ่านทาง Twitter และ Instagram ของ มารายห์ แคร์รี เมื่อวันที่ 4 เมษายน โดยในวันที่ 13 เมษายน Facebook ของกลุ่ม Ministerstwo Propagandy (Ministry of Propaganda) ได้นำคลิปไปแชร์ต่อและบิดเบือนข้อมูล โดยเนื้อหาเป็นการจับผิดนักร้องสาวเรื่องการจัดฉากฉีดวัคซีนให้ตนเอง เพราะไม่เห็นเข็มอยู่ที่หลอดฉีดยา […]

ชัวร์ก่อนแชร์: Molnupiravir ยาต้านไวรัสรักษาโควิด 19 หายภายใน 5 วัน จริงหรือ?

2 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ไม่มีหลักฐานยืนยัน บทสรุป: 1.ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 พบว่า Molnupiravir ได้ผลดีกับผู้รับเชื้อโควิด 19 ไม่เกิน 5 วัน แต่ไม่มีผลทางการรักษากับผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาล2.ประสิทธิภาพของยายังต้องรอผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ต่อไป ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อกล่าวอ้างที่ไม่มีหลักฐานยืนยันเกี่ยวกับ Molnupiravir ยาต้านไวรัสโควิด 19 ซึ่งอยู่ในระหว่างการทดลองโดย Merck บริษัทผู้ผลิตยาในประเทศสหรัฐอเมริกา หนึ่งในข้อความอวดอ้างสรรพคุณของ Molnupiravir คือข้อความจาก Facebook ซึ่งส่งต่อกันในไต้หวันช่วงต้นเดือนเมษายน โดยข้อความระบุว่าบริษัทผู้ผลิตยาจากอเมริกา ได้ผลิตยาต้านไวรัสโควิด 19 ชนิดน้ำในชื่อ Molnupiravir ผู้ป่วยสามารถกินยาอยู่กับบ้านและเชื้อจะหมดไปจากร่างกายภายใน 5 วัน ตัวยาผ่านการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 และ 2 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งการทดลองในมนุษย์ประสบผลสำเร็จ 100% การทดลองทางคลินิกระยะที่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ฉีดวัคซีนยังเสี่ยงโควิดและผลข้างเคียง ไม่ฉีดปลอดภัยกว่า จริงหรือ?

1 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: CDC ย้ำว่าผู้รับวัคซีนโควิด 19 ยังมีโอกาสติดเชื้อแต่อาการจะไม่หนักเหมือนผู้ไม่ได้รับวัคซีน แองเจลา ราสมุสเซน นักไวรัสวิทยาชี้แจงว่าโอกาสเกิดอาการข้างเคียงระยะยาวจากวัคซีนน้อยมาก น้อยถึงขนาดที่ไม่สามารถวัดค่าได้ ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อความที่ถูกแชร์ทาง Instagram ก่อนจะถูกตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอม โดยเนื้อหาเป็นการชี้นำว่า “ถ้าฉันไม่ฉีดวัคซีน ฉันจะเสี่ยงติดโควิด ถ้าฉันฉีดวัคซีน ฉันก็ยังคงเสี่ยงติดโควิดแถมเสี่ยงกับอาการข้างเคียงระยะยาวจากวัคซีน ดังนั้นฉันจึงลดความเสี่ยงด้วยการไม่ฉีดวัคซีน” FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีวัคซีนชนิดไหนที่ป้องกันโควิด 19 ได้ 100% แต่วัคซีนทั้ง 3 ชนิดที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในสหรัฐอเมริกาอย่าง Pfizer-BioNTech, Moderna และ Johnson & Johnson ต่างมีประสิทธิผลป้องกันโรคที่น่าพอใจในระดับ 95%, 94% และ 66% ตามลำดับ หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้เผยแพร่ผลวิจัยเมื่อวันที่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ใช้ ฟอร์มาลีน เป็นสารตั้งต้นในการผลิต วัคซีนโควิด-19 จริงหรือ?

31 พฤษภาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ บนโซเชียลมีเดียมีการแชร์ข้อมูลว่า ขั้นตอนการผลิตวัคซีนโควิด-19 มีการใช้สารเคมีโลหะหนักที่เป็นพิษในการเพาะเลี้ยงไวรัสในห้องทดลองเพื่อฆ่าเชื้อไวรัสอู่ฮั่นให้ตายก่อน รวมถึงมีฟอร์มาลีนเป็นสารตั้งต้นในการผลิต ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแล้ว พบว่า จริงบางส่วน ยังไม่ควรแชร์   บทสรุป จริงบางส่วน ยังไม่ควรแชร์ เพราะทำให้เกิดความเข้าใจผิด ·        ใช้ฟอร์มาลีน เป็นส่วนหนึ่งในการผลิตวัคซีนเชื้อตายเพื่อทำให้เชื้อหมดฤทธิ์ในการก่อโรค จากนั้นจะสกัดสารให้บริสุทธิ์ ปราศจากสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกาย·        สารที่มีอยู่ในวัคซีนเป็นไปตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์·  สกัดสารเฉพาะส่วนที่กระตุ้นภูมิคุ้มกัน​โรคมาผลิตเป็นวัคซีน โดยชะล้างสารต่างๆ ในกระบวนการผลิตออกจนหมด เหลือเฉพาะในส่วนที่นำมาเป็นวัคซีน​เท่านั้น ข้อมูลที่ถูกแชร์ “ชิโนแวค โคแว็กซ์, และชิโนฟาร์ม พวกมีโรคประจำตัวไม่ควรฉีดตัวนี้, ผลิตจากเชื้อไวรัสอู่ฮั่นที่ตายแล้ว!! ประสิทธิภาพต่ำแต่ก็ไม่ค่อยมีผลข้างเคียงมาก! เพราะผลิตจากเชื้อตายแล้ว!! แต่มันใช้สารเคมีโลหะหนักที่เป็นพิษในการเพาะเลี้ยงไวรัสในห้องแล็บเพื่อฆ่าเชื้อไวรัสอู่ฮั่นให้ตายก่อน, วัคซีนมันจึงมีโลหะหนักปนเปื้อนเมื่อฉีดเข้าร่างกายเรา, เราจะได้รับสารโลหะหนักนี้ปนเข้าไปในเลือดด้วย, จึงทำให้เลือดดำอุดตัน มีภาวะ thrombosis ค่ะ!! สารเคมีที่เขาใช้คือ Aluminum และ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Q & A : รู้จักวัคซีนทางเลือก “ซิโนฟาร์ม” ฉีดได้เมื่อไหร่ ?

28 พฤษภาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ 3 หน่วยงาน ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือการนำเข้าวัคซีนโควิดทางเลือก “ซิโนฟาร์ม” ทำไมต้อง “ซิโนฟาร์ม” มาเมื่อไหร่ นำเข้าโดยใคร? ร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันกับ “ชัวร์ก่อนแชร์”               วันที่ 28 พ.ค. 64 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ร่วมแถลงข่าว การนำเข้าวัคซีนทางเลือกล็อตแรก “ซิโนฟาร์ม” โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) และพล.อ.ต.นพ.สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เข้าร่วมการแถลงข่าว Q : ทำไมวัคซีนทางเลือกต้องเป็น “ซิโนฟาร์ม” ?A :  เพราะซิโนฟาร์มเป็นวัคซีนที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การรับรองแล้ว อีกทั้งเป็นวัคซีนเชื้อตาย มีความปลอดภัยสูง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อังกฤษพบเชื้อโควิด “สายพันธุ์ไทย” จริงหรือ ?

28 พฤษภาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์ แชร์ข้อมูลว่า “อังกฤษพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดใหม่จากประเทศไทย สายพันธุ์ C.36.3” ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว พบว่า “จริงเพียงบางส่วน” บทสรุป : จริงเพียงบางส่วน ยังไม่ควรแชร์ต่อ• “สายพันธุ์ไทย” เป็นการใช้คำของสื่อต่างชาติ โดยเอกสารการรายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังสายพันธุ์ในอังกฤษไม่ได้ใช้คำนี้แต่อย่างใด• สธ.ชี้ C.36.3 ไม่ควรเรียกว่า “สายพันธุ์ไทย” เพียงแต่ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ตรวจพบในผู้ที่เดินทางมาจากอียิปต์ โดยไม่พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้รายอื่นในประเทศไทยแต่อย่างใด ข้อมูลที่ถูกแชร์บนสังคมออนไลน์ มีการเผยแพร่ข้อมูลว่า เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 สำนักงานสาธารณสุขของอังกฤษ (Public Health England – PHE) แถลงพบ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 “สายพันธุ์ไทย” ในอังกฤษ จำนวน 109 ราย ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย ในผู้ที่เดินทางมาจากประเทศอียิปต์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : กินกระชาย “ป้องกัน-รักษา” โควิด-19 ได้ จริงหรือ ?

28 พฤษภาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อมูลว่ากินกระชายสามารถป้องกันและรักษาโควิด-19 ได้ มีสรรพคุณในการต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ดีกว่าขิงและฟ้าทะลายโจรได้มากถึง 10-20 เท่านั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลกับ ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร พบว่า จริงบางส่วน บทสรุป จริงบางส่วน ต้องอธิบายเพิ่ม ·        กระชายเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการดูแลสุขภาพเท่านั้น ไม่ใช่การกินเพื่อป้องกันหรือรักษาโควิด-19 ได้ ·        การศึกษากระชายรักษาและป้องกันโควิด-19 ยังเป็นการศึกษาในระดับเซลล์ ซึ่งพบว่าประสิทธิภาพของการยับยั้งเชื้อเมื่อเข้าสู่เซลล์ จะดีกว่าการป้องกันเชื้อเข้าสู่เซลล์ ยังคงต้องมีการศึกษาในระดับสัตว์ทดลอง และในมนุษย์ต่อไป ·        การป้องกันและรักษาโควิด-19 เป็นการรักษาสุขภาพแบบองค์รวม ไม่สามารถใช้ยาสมุนไพร หรือยาชนิดใดชนิดหนึ่ง ทำการรักษาเพียงอย่างเดียว ·    […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สาวเสียชีวิตขณะไลฟ์สด เพราะวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ ?

26 พฤษภาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ชณิดา ภิรมณ์ยินดี, กลาง ณัฐนที ตามที่มีการแชร์ คลิปวิดีโอและภาพผู้เสียชีวิตขณะไลฟ์สด พร้อมข้อความระบุว่า “น.ส. พิมพร จันทร์แดง อายุ 40 ปี เสียชีวิตเนื่องจากวัคซีนโควิด-19” นั้น บทสรุป : ข้อมูลถูกบิดเบือน ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า คลิปวิดีโอและภาพดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง โดยครอบครัวของผู้เสียชีวิตได้โพสต์ข้อความบน Facebook “ครูหนึ่ง พิมพร จันทร์แดง” ระบุว่า ครูหนึ่งเสียชีวิตจาก “ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันเนื่องจากหัวใจโต” พร้อมยืนยันว่าผู้เสียชีวิต “ไม่เคยเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19” แต่อย่างใด นอกจากนี้ ครอบครัวของผู้เสียชีวิต ยังขอความร่วมมือไม่ให้แชร์คลิปวิดีโอหรือภาพ รวมถึงข้อความที่เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงต่อ เพื่อเป็นการไม่ละเมิดสิทธิของผู้เสียชีวิตและครอบครัว ครอบครัวผู้เสียชีวิตชี้แจงบน Facebook ครูหนึ่ง พิมพร จันทร์แดง (26 พ.ค. 64) […]

1 142 143 144 145 146 278
...