ชัวร์ก่อนแชร์ : ใช้ ฟอร์มาลีน เป็นสารตั้งต้นในการผลิต วัคซีนโควิด-19 จริงหรือ?

31 พฤษภาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์


บนโซเชียลมีเดียมีการแชร์ข้อมูลว่า ขั้นตอนการผลิตวัคซีนโควิด-19 มีการใช้สารเคมีโลหะหนักที่เป็นพิษในการเพาะเลี้ยงไวรัสในห้องทดลองเพื่อฆ่าเชื้อไวรัสอู่ฮั่นให้ตายก่อน รวมถึงมีฟอร์มาลีนเป็นสารตั้งต้นในการผลิต ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแล้ว พบว่า จริงบางส่วน ยังไม่ควรแชร์  

บทสรุป จริงบางส่วน ยังไม่ควรแชร์ เพราะทำให้เกิดความเข้าใจผิด


·        ใช้ฟอร์มาลีน เป็นส่วนหนึ่งในการผลิตวัคซีนเชื้อตายเพื่อทำให้เชื้อหมดฤทธิ์ในการก่อโรค จากนั้นจะสกัดสารให้บริสุทธิ์ ปราศจากสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกาย
·        สารที่มีอยู่ในวัคซีนเป็นไปตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์
·  สกัดสารเฉพาะส่วนที่กระตุ้นภูมิคุ้มกัน​โรคมาผลิตเป็นวัคซีน โดยชะล้างสารต่างๆ ในกระบวนการผลิตออกจนหมด เหลือเฉพาะในส่วนที่นำมาเป็นวัคซีน​เท่านั้น

ข้อมูลที่ถูกแชร์

“ชิโนแวค โคแว็กซ์, และชิโนฟาร์ม พวกมีโรคประจำตัวไม่ควรฉีดตัวนี้, ผลิตจากเชื้อไวรัสอู่ฮั่นที่ตายแล้ว!! ประสิทธิภาพต่ำแต่ก็ไม่ค่อยมีผลข้างเคียงมาก! เพราะผลิตจากเชื้อตายแล้ว!! แต่มันใช้สารเคมีโลหะหนักที่เป็นพิษในการเพาะเลี้ยงไวรัสในห้องแล็บเพื่อฆ่าเชื้อไวรัสอู่ฮั่นให้ตายก่อน, วัคซีนมันจึงมีโลหะหนักปนเปื้อนเมื่อฉีดเข้าร่างกายเรา, เราจะได้รับสารโลหะหนักนี้ปนเข้าไปในเลือดด้วย, จึงทำให้เลือดดำอุดตัน มีภาวะ thrombosis ค่ะ!! สารเคมีที่เขาใช้คือ Aluminum และ beta propiolactone มันมีฟอร์มาลีน ใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารเคมีนี้ด้วยคะ”


Fact Check : ตรวจสอบข้อเท็จจริง 

ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท ได้ตรวจสอบข้อมูลกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน นพ.พรศักดิ์ อยู่เจริญ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ด้านเวชกรรมป้องกัน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า สารที่กล่าวมามีอยู่ในวัคซีนจริง แต่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย การผลิตวัคซีนชนิดเชื้อตาย เป็นวิธีการผลิตที่มีมานานแล้วด้วยกรรมวิธีทำให้เชื้อที่ก่อโรคตาย แล้วนำส่วนประกอบหรือสารที่ได้มาผลิตเป็นวัคซีน โดยยังมีความสามารถในการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทานโรคนั้นๆ

ใช้ ฟอร์มาลีน ทำให้เชื้อตาย ก่อนสกัดสารให้บริสุทธิ์ ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย

นพ.พรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนกรรมวิธีการทำให้เชื้อตายหรือหมดฤทธิ์ในการก่อโรค จะทำด้วยวิธีต่างๆ เช่น ใช้ความร้อน ใช้สารเคมี ซึ่งสารใหญ่จะใช้สารเคมีในการผลิต ได้แก่ ฟอร์มาลีน เป็นต้น จากนั้นสกัดสาร หรือตัวเชื้อส่วนที่เหลือให้บริสุทธิ์ ปราศจากสารเคมีหรือสารที่เป็นพิษต่อร่างกายออก เพื่อนำมาทำเป็นวัคซีนนอกจากนี้ในวัคซีนบางตัวอาจจะเติมสารเคมีบางชนิดที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น และให้มีประภาพมากยิ่งขึ้น เช่น Aluminum (Hydroxide or Phosphate) เป็นต้น

ขอให้มั่นใจสารที่มีอยู่ในวัคซีนเป็นไปตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลกไม่อันตรายต่อร่างกายมนุษย์

ส่วนโลหะหนักที่อาจจะพบได้ในประมาณที่น้อยมากๆ และเป็นไปตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด เช่น ปรอท (Mercury) ซึ่งอยู่ในรูปเป็นยาฆ่าเชื้อป้องกันเชื้อแบคทีเรีย (Merthiolate, ยาแดงทาแผล) ที่จะมาปนเปื้อนในวัคซีน โดยสารที่มีอยู่ในวัคซีนนั้นต้องเป็นไปตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ ดังนั้นสารที่กล่าวมามีอยู่ในวัคซีนจริง แต่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

ผู้เชี่ยวชาญ ยืนยัน ซิโนฟาร์มซิโนแวคมีประสิทธิภาพป้องกันโรค ส่วนเปอร์เซ็นในการป้องกันขึ้นอยู่กับผลการศึกษาในแต่ละพื้นที่และสถานการณ์

ส่วนเรื่องประสิทธิภาพวัคซีนที่กล่าวอ้างว่ามีประสิทธิภาพต่ำนั้น นพ.พรศักดิ์ กล่าวว่า ไม่เป็นความจริง การที่วัคซีนจะได้การรับรองและสามารถนำมาใช้ให้บริการแก่ประชาชนโดยทั่วไป ต้องเป็นไปตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ กล่าวคือ มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ซึ่งวัคซีน Sinopharm และ Sinovac นั้นได้การรับรองจากองค์การอนามัยโลกว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (ประมาณร้อยละ 50-80 แล้วแต่ผลการศึกษาในแต่ละพื้นที่ และในแต่ละสถานการณ์ในการศึกษา) แต่จากการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันโรคของวัคซีน Sinovac ของศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่ามีประสิทธิภาพ มีภูมิคุ้มกันในระดับที่สูงมากกว่าร้อยละ 95 (ประมาณร้อยละ 98-99) เมื่อได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม

อาการลิ่มเลือดอุดตันพบได้ในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca แต่มีอัตราเกิดขึ้นได้ค่อนข้างน้อย 1 : 100,000

นพ.พรศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนเรื่องอาการไม่พึงประสงค์ และอาการข้างเคียงต่างๆ ที่พบอาจจะพบได้ แต่อาการที่พบไม่รุนแรง เช่น ปวด บวม บริเวณที่ฉีดวัคซีน อาการไข้ ซึ่งพบได้น้อย ส่วนอาการหลอดเลือดอุดตัน หรือลิ่มเลือดอุดตัน ไม่พบว่ามีรายงาน แต่จะพบมีรายงานในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca ในกลุ่มประเทศยุโรปที่ได้มีการใช้วัคซีนนี้ แต่พบได้ค่อนข้างน้อย อัตราประมาณ 1 ใน 25,000 – 100,000 ราย ของผู้ที่ได้รับวัคซีน และสามารถให้การรักษาได้ ส่วนวัคซีน AstraZeneca ที่มีการฉีดให้แก่ประชาชนในประเทศเกาหลี ฉีดแล้วมากกว่า 5 ล้านคน โดยยังไม่พบหรือมีรายงาน ผู้ที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดตัน และประเทศในอาเซียนที่ใช้วัคซีนดังกล่าวนี้ ยังไม่มีรายงานผู้ที่มีอาการดังกล่าวในปัจจุบัน แม้แต่รายเดียวจนถึงขณะนี้

ข้อมูลอ้างอิง
การสัมภาษณ์ นายแพทย์พรศักดิ์ อยู่เจริญ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ด้านเวชกรรมป้องกัน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร