fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์ : ไม่ควรทิ้ง “หน้ากากอนามัย” ในขวด PET จริงหรือ ?

4 มิถุนายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความว่า ไม่ควรทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้วในขวดน้ำพลาสติกหรือขวดน้ำ PET เพราะเสี่ยงติดเชื้อกับผู้เก็บขยะ และเสี่ยงต่อการถูกนำมาใช้ใหม่ รวมถึงสร้างมลภาวะจากการเผามากกว่าเดิม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวกับกรุงเทพมหานคร แล้วพบว่า เป็นเรื่องจริง แชร์ต่อได้


            บทสรุป จริง แชร์ได้
·   ไม่ควรทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วในขวด PET เพราะเสี่ยงต่อการถูกนำกลับมาใช้ใหม่ และเป็นการเพิ่มปริมาณการเผาไหม้
· ขวด PET มีมูลค่าสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ 
·   กทม. แนะทิ้งหน้ากากอนามัยในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น เขียนกำกับหน้าถุงให้ชัดเจน

ภาพ : เฟซบุ๊ก “พลังงานจากขยะ (Energy from Wastes)”

ข้อมูลที่ถูกแชร์


มีการแชร์ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊ก “พลังงานจากขยะ (Energy from Wastes)” เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา ข้อความระบุใจความว่า  “อันตราย ! ไม่ควรทิ้งขยะ ‘หน้ากากอนามัย’ ใส่ขวด PET ! เตือนภัย ! อันตรายขั้นกว่า ! ไม่ควรทิ้ง “หน้ากากอนามัย” ใช้แล้ว ในขวด PET ชี้ กำจัดยาก สร้างมลภาวะมากกว่าเดิม เสี่ยงติดเชื้อต่อผู้เก็บ และกลับมาเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค แนะ แยก “ขยะติดเชื้อ” ใส่ถุงแยก มัดปากถุง เขียนหน้าถุง เพื่อนำไปกำจัดแบบประเภท “ขยะติดเชื้อ” …แต่ต้องขออนุญาตแสดงความคิดเห็น ว่าไม่ควรทิ้งแบบนี้  เพราะ

 1. การบรรจุขยะประเภทติดเชื้อแบบนี้ ในขวดพลาสติก จะไม่สามารถกำจัดได้โดยง่าย นอกจากการเผาตรง ซึ่งเป็นวิธีที่สร้างมลภาวะมากกว่าเดิม เพราะต้องเผาขวดไปด้วย 2. ถ้าไม่เผาตรง พนักงานเก็บขยะก็ต้องเปิดขวดออก แล้วดึงหน้ากากออกมาอยู่ดี โอกาสติดเชื้อก็เพิ่มมากขึ้น เป็นภาระกับพนักงานเก็บและทำลายขยะเข้าไปอีก 3. ขวด PET ใช้แล้ว ยังมีมูลค่าในตัวเอง และราคาค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับขยะพลาสติกอื่น ๆ ถ้าคนเก็บของเก่ามาเจอก่อน มีความเป็นไปได้ว่า เขาจะเปิดขวด เอาหน้ากากออก แล้วเอาขวดไปขาย แบบนี้ยิ่งเสี่ยงมากกว่าเดิม เพราะเชื้อจะแพร่ไปในหลายที่ แบบไม่มีใครทันระวังตัว…”

ข้อความดังกล่าวมีการแชร์ต่อ 1,400 ครั้ง มีผู้กดถูกใจกว่า 1,700 ครั้ง และมีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นในโพสต์จำนวนมาก กระทั่งมีการแชร์ข้อมูลดังกล่าวเข้ามาสอบถามข้อเท็จจริงกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์     


 Fact Check : ตรวจสอบข้อเท็จจริง

            ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบข้อเท็จจริง กับ นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร (กทม.) พบว่า เป็นเรื่องจริง และขอความร่วมมือประชาชนไม่ควรทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วในขวด PET  กทม.ได้รณรงค์ในเรื่อง 3R คือ Reduce, Reuse, Recycle ซึ่งขวดพลาสติกสามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปกำจัด แต่หากมีการนำหน้ากากอนามัยมาทิ้งในขวดพลาสติก ก็จะต้องนำทั้งขวดนี้ไปกำจัด แทนที่ขวดพลาสติกจะได้นำไปใช้ประโยชน์เพิ่มเติม ก็จะเป็นการสูญเสียประโยชน์ไป และอาจจะพบปัญหาที่ซาเล้งหรือพนักงานเก็บขยะอาจนำขวดพลาสติกนั้นไปขายได้เพราะขวดพลาสติกมีมูลค่าสามารถเก็บไปขายเพื่อสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้

กทม. มีวิธีกำจัดขยะติดเชื้อ และกำจัดหน้ากากอนามัยที่ทิ้งในขวด PET อย่างไร?

นายวิรัตน์ ระบุว่า สิ่งที่เป็นพลาสติกจะถูกนำเข้าเตาเผา ไม่ว่าจะเป็นพลาสติก ถุงดำ ถุงก๊อบแก๊บ ถุงแดง หรือขวดพลาสติก เรานำไปเผาทั้งหมด การเผาอาจจะทำได้ยากเพราะเป็นพลาสติกแข็งมีความหนา อาจจะต้องใช้เวลาในการเผามากกว่าปกติ แทนที่จะสามารถนำขวดพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง ก็นำกลับมาใช้ใหม่ไม่ได้ อีกทั้งการทิ้งหน้ากากอนามัยในขวด PET ก็เสี่ยงกับการที่จะมีคนนำไปขาย และเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้  

“กทม. รณรงค์พนักงานหากพบการทิ้งหน้ากากอนามัยในขวดน้ำ หรือทิ้งหน้ากากอนามัยในถุงพลาสติก ได้เน้นย้ำว่าให้นำไปกำจัดให้ถูกวิธี ห้ามแกะปากถุง ห้ามรื้อค้น เพราะอันตราย การกำจัดหน้ากากอนามัย กทม. ได้จ้าง บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ในการจัดการกับขยะติดเชื้อต่างๆ โดยนำไปเผา ณ เตาเผา 2 จุด ได้แก่อ่อนนุช และหนองแขม ซึ่งใช้ความร้อนตามมาตรฐานที่กรมควบคุมโรคได้กำหนดไว้ โดยจะผ่านการเผาจากเตาเผาแรกในอุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส แก๊สที่เกิดขึ้นจากเตาเผาแรกถูกนำเข้าสู่เตาเผาที่สองที่อุณหภูมิ 1,000 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเป็นการฆ่าเชื้อ และเผาแก๊สต่างๆ ให้หายไป ทั้งนี้หากพบการทิ้งหน้ากากอนามัยในขวด PET ก็จะต้องถูกกำจัดโดยวิธีการเผาไปพร้อมกัน”นายวิรัตน์ กล่าว  

วิธีการทิ้งหน้ากากอนามัยที่ถูกต้องเพื่อลดการติดเชื้อเป็นอย่างไร?

  1. ขอรณรงค์ให้ประชาชนแยกขยะติดเชื้อหรือหน้ากากอนามัยออกจากขยะทั่วไป เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค มัดปากถุงขยะให้แน่น และเขียนกำชับว่าเป็นขยะหน้ากากอนามัย 
  2. ใช้ไฮเตอร์ผสมน้ำราดที่ถุงขยะให้เรียบร้อยเพื่อจะได้เป็นการฆ่าเชื้อโรคในส่วนหนึ่ง 
  3. เมื่อพนักงานของ กทม. เห็นจะนำส่ง บริษัท กรุงเทพธนาคมฯ เพื่อทำการเผาให้ถูกวิธีต่อไป

“ขอเชิญชวนให้ประชาชนแยกขยะหน้ากากอนามัยใส่ถุงพลาสติก หรือถุงก๊อบแก๊บ เขียนกำชับที่ถุงว่าเป็นหน้ากากอนามัย และไม่ส่งเสริมให้นำหน้ากากอนามัยทิ้งใส่ในขวดพลาสติก เพราะขวดพลาสติกมีมูลค่าที่จะนำกลับมารีไซเคิลได้ หากนำหน้ากากอนามัยไปใส่ในขวดพลาสติก การกำจัดก็จะทำได้ยากขึ้น ใช้เวลานานขึ้น และการหมุนเวียนที่จะนำพลาสติกกลับมารีไซเคิลก็จะหมดไป เป็นการเพิ่มการเผาไหม้แทนที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้อีก”นายวิรัตน์ ระบุ

ข้อมูลอ้างอิง

การสัมภาษณ์ นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผอ.สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร (กทม.) เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2564
https://www.facebook.com/265237194982/photos/a.10156096110394983/10157468816264983/

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มหาวิทยาลัยแจงเหตุ นศ.สาวปี 3 แทงแฟน นศ.ปี 1 สาหัส

มหาวิทยาลัยออกแถลงการณ์ชี้แจงกรณีนักศึกษาหญิงทำร้ายนักศึกษาชาย ในหอพักจนบาดเจ็บสาหัส ด้านตำรวจยืนยันนักศึกษาหญิงที่ก่อเหตุมอบตัวแล้ว ยอมรับเป็นแฟนและทะเลาะกัน

รวบผู้ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพที่นนทบุรี นำตัวเข้าเซฟเฮาส์

รวบตัวชายไทย อายุประมาณ 35-40 ปี ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพ ภายในซอยจัดสรรสวิง 2 ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ตำรวจนำตัวเข้าเซฟเฮาส์ อยู่ระหว่างสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน

ผู้ว่าการ ธปท.เตือน ครม. หวั่นดิจิทัลวอลเล็ตก่อหนี้จำนวนมาก

ทำเนียบฯ 24 เม.ย.- ผู้ว่าการ ธปท. ทำหนังสือถึง ครม. เตือนเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หวั่นก่อหนี้จำนวนมาก นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 เม.ย.2567 มองว่า โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เป็นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ  ต้องใช้เงินจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดภาระหนี้ผูกพันต่อรัฐบาลในอนาคตดังนี้ 1.ความจำเป็น โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ ควรดูแลครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง  โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ 15 ล้านคน ซึ่งดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณเพียง 150,000 ล้านบาท และควรทำแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลัง  […]

ข่าวแนะนำ

คุมเพลิงไหม้ “วิน โพรเสส” ได้แล้ว 95%

เหตุไฟไหม้โรงงานเก็บขยะเคมีอันตราย วินโพรเสส อ.บ้านค่าย จ.ระยอง วันนี้ เจ้าหน้าที่ควบคุมเพลิงได้แล้ว 95% เหลือเพียงจุดความร้อนที่อยู่ใต้ซากกองเพลิง ซึ่งยังต้องใช้สาร F500 ฉีดลดความร้อน แต่ยังมีกลิ่นฉุนแอมโมเนีย ด้านกรมโรงงานอุตสาหกรรมเช็กกล้องวงจรปิดตรวจสอบว่าเป็นการวางเพลิงเพื่อทำลายหลักฐานเช่นเดียวกับเหตุที่เกิดขึ้นใน อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา หรือไม่

นายกฯ แจงเรียก “สุชาติ-รัฐมนตรี” เข้าพบ แค่ตามงาน

นายกฯ อารมณ์ดี เดินลงตึกไทยฯ พบสื่อ แจงเรียก “สุชาติ-รมต.” มีชื่อหลุด ครม.เข้าพบแค่ตามงาน ย้ำปรับ ครม.เสร็จเมื่อไหร่เดี๋ยวก็รู้ ยันกินข่าวเที่ยงวานนี้ไม่มี ”ทักษิณ“

รวบ 2 ใน 4 อุ้มฆ่าหนุ่มไทใหญ่ทิ้งป่า อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

รวบแล้ว 2 ใน 4 ผู้ต้องหาอุ้มฆ่า “จ๋อมวัน” หนุ่มไทใหญ่ ก่อนนำศพไปทิ้งในป่าที่ จ.เชียงใหม่ ปมสังหารอ้างไม่พอใจถูกแซวเรื่องหญิงคนสนิท

ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก กทม.ครั้งแรกของปี

วันนี้เป็นครั้งแรกของปีที่ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับพื้นที่ กทม. ส่งผลให้ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะ หรือตั้งฉากกับพื้นที่บริเวณต่างๆ ของไทย 2 ครั้งต่อปี คือช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. และเดือน ก.ค.-ก.ย.