3 มิถุนายน 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Colombiacheck (โคลัมเบีย)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ
บทสรุป:
- ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ของวัคซีน Sinovac ในฉบับ pre-print พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่รับวัคซีนมีอาการข้างเคียงมากกว่าในกลุ่มตัวอย่างที่รับยาหลอกประมาณ 11%
- กลุ่มผู้รับวัคซีนเกิดอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดยาจำนวน 77.1% ส่วนกลุ่มที่ได้รับยาหลอกเกิดอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดยาจำนวน 66.4%
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
บทความโจมตีประสิทธิผลวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Sinovac โดย The Epoch Times สำนักข่าวสายอนุรักษ์นิยมในสหรัฐอเมริกา ถูกนำไปเผยแพร่ในหลายประเทศ ทั้งทาง Facebook และ Twitter
บทความได้ตั้งข้อสงสัยเรื่องการทดลองทางคลินิกของวัคซีน Sinovac โดยอ้างว่าอาการข้างเคียงของผู้รับวัคซีน กลับไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo) ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเกิดขึ้นน้อยกว่าด้วยซ้ำ และอาการข้างเคียงในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสต่ำๆ ยังไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสสูงๆ อีกด้วย
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ของ วัคซีน Sinovac ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ The Lancet เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2021 ระบุว่า Sinovac ได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสต่ำ (3 ไมโครกรัม), กลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสสูง (6 ไมโครกรัม) และกลุ่มที่ได้ยาหลอก และมีการแบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสที่ 2 ใน 14 วัน และกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสที่ 2 ใน 28 วัน
ในการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 พบว่า มีเพียงกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสต่ำ 2 โดสใน 28 วันและกลุ่มที่ได้รับยาหลอก 2 โดสใน 28 วันที่มีสัดส่วนการเกิดอาการข้างเคียงเท่ากัน (13%)
ในการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 พบว่าในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสต่ำ, โดสสูงและยาหลอกจำนวน 2 โดสใน 28 วัน จะมีสัดส่วนการเกิดอาการข้างเคียงใกล้เคียงกัน (18-19%)
อาการข้างเคียงส่วนใหญ่ที่พบเหมือนกันในกลุ่มตัวอย่างทั้ง 6 กลุ่มคืออาการเจ็บบริเวณที่ฉีดยา
โดยการอ้างอิงจากการทดลองทางคลินิกในประเทศโคลัมเบียพบว่า ไม่พบอาการข้างเคียงรุนแรงในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน 2 โดสใน 28 วัน และมีผู้รับวัคซีน 2 โดสใน 14 วันเพียง 1 รายที่เกิดอาการแพ้วัคซีน
ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ของวัคซีน Sinovac ที่เผยแพร่ก่อนการตีพิมพ์และยังไม่ผ่านการตรวจสอบทางวิชาการ (pre-print) ระบุว่าอาการข้างเคียงระหว่างผู้รับวัคซีนและยาหลอกมีความแตกต่างกันประมาณ 11% โดยผู้รับวัคซีนเกิดอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดยาจำนวน 77.1% ส่วนกลุ่มที่ได้รับยาหลอกเกิดอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดยาจำนวน 66.4%
มีอาสาสมัครเกิดอาการข้างเคียงรุนแรงจำนวน 64 ราย ซึ่งการสอบสวนพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับวัคซีน
ในรายงานของ The Epoch Times ยังอ้างว่าวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Sinovac ไม่ควรฉีดให้กับสตรีมีครรภ์และทำให้เป็นหมัน ก็เป็นเรื่องที่ไม่มีหลักฐานยืนยันและเป็นข้อมูลเท็จ เนื่องจากไม่มีการทดลองวัคซีนโควิด 19 ชนิดไหนๆ ในกลุ่มสตรีมีครรภ์ จึงยังไม่อาจทราบถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนข้ออ้างที่ว่าวัคซีนทำให้เป็นหมัน ก็เป็นเพียงทฤษฎีสมคบคิดที่ไม่มีหลักฐานยืนยันแต่อย่างใด
ข้อมูลอ้างอิง:
https://colombiacheck.com/chequeos/articulo-sobre-el-extrano-fenomeno-de-la-vacuna-de-sinovac-es-un-cumulo-de
https://www.thelancet.com/journals/laninf/article/PIIS1473-3099(20)30843-4/fulltext
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter