fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Sinovac ไม่น่าเชื่อถือ ผลข้างเคียงเหมือนยาหลอก จริงหรือ?

3 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Colombiacheck (โคลัมเบีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ของวัคซีน Sinovac ในฉบับ pre-print พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่รับวัคซีนมีอาการข้างเคียงมากกว่าในกลุ่มตัวอย่างที่รับยาหลอกประมาณ 11% กลุ่มผู้รับวัคซีนเกิดอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดยาจำนวน 77.1% ส่วนกลุ่มที่ได้รับยาหลอกเกิดอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดยาจำนวน 66.4% ข้อมูลที่ถูกแชร์: บทความโจมตีประสิทธิผลวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Sinovac โดย The Epoch Times สำนักข่าวสายอนุรักษ์นิยมในสหรัฐอเมริกา ถูกนำไปเผยแพร่ในหลายประเทศ ทั้งทาง Facebook และ Twitter บทความได้ตั้งข้อสงสัยเรื่องการทดลองทางคลินิกของวัคซีน Sinovac โดยอ้างว่าอาการข้างเคียงของผู้รับวัคซีน กลับไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo) ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเกิดขึ้นน้อยกว่าด้วยซ้ำ และอาการข้างเคียงในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสต่ำๆ ยังไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสสูงๆ อีกด้วย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 และระยะที่ 2 […]

...