วธ.สอบวินัยข้าราชการหักหัวคิวเงินเยียวยาหมอลำ

กระทรวงวัฒนธรรม ตั้งกรรมการสอบวินัยอดีตวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น และข้าราชการในสังกัด รวม 5 คน หลังผลการสอบข้อเท็จจริงพบมูลความผิดการหักหัวคิวเงินเยียวยาหมอลำที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในโครงการแก่น Land แคน ปี 2565

“รอมฎอน” ชี้กรณีปลัดท่าอุเทน ตอกย้ำวัฒนธรรมพ้นผิดลอยนวล

“รอมฎอน” ชี้ปลัดอำเภอท่าอุเทน หนีคดีตากใบ กลับมาทำงานได้ปกติ ตอกย้ำวัฒนธรรมพ้นผิดลอยนวล-ตบหน้ากระบวนการยุติธรรมไทยทั้งระบบ เรียกร้อง รมว.มหาดไทย-กลาโหม ตรวจสอบคลายข้อข้องใจประชาชน ย้ำจำเป็นเร่งแก้กฎหมายว่าด้วยอายุความ

“อนุทิน” อัดชาวเน็ตมโนไปเอง จับมือกัมพูชาดันวัฒนธรรม

“อนุทิน” รมว.มหาดไทย แจงดราม่าโดนถล่ม จับมือกัมพูชาผลักดันวัฒนธรรมซอฟต์พาวเวอร์ ยันไม่ได้พูด อัดชาวเน็ตมโนไปเอง ตั้งใจทำทัวร์ลง

วธ.ร่วมฉลองวันสากลแห่งสหประชาชาติ ว่าด้วยชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมของโลก

9ส.ค. กทม.-รัฐมนตรีวัฒนธรรม ร่วมฉลองความหลากหลายชาติพันธุ์ ชู Soft Power ชาติพันธุ์ พลังสร้างสรรค์ชาติ วันสากลแห่งสหประชาชาติว่าด้วยชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมของโลก ประจำปี 2567   ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กรุงเทพฯ นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้เป็นประธานเปิดงาน Soft Power ชาติพันธุ์ พลังสร้างสรรรค์ชาติ และร่วมเฉลิมฉลองวันสากลแห่งสหประชาชาติว่าด้วยชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมของโลก ประจำปี 2567   โดยมีนางสาว พลอย ธนิกุล” ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม นายโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) นายเกรียงไกร ชีช่วง ประธานสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย(สชพ.) ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม และมีพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์จากทั่วประเทศกว่า 60 กลุ่มชาติพันธุ์ร่วมงาน ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กรุงเทพฯ นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวในโอกาสนี้ว่า “รู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมเฉลิมฉลองกับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์จากทั่วประเทศทั้ง 60 กลุ่มชาติพันธุ์ ในโอกาส       […]

ชาวญี่ปุ่นในต่างประเทศเกือบครึ่งรู้สึกเหงา

โตเกียว 9 มิ.ย.- ผลสำรวจของรัฐบาลญี่ปุ่นพบว่า ชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศเกือบร้อยละ 45 รู้สึกเหงาเป็นครั้งคราว ยิ่งอยู่ในพื้นที่ที่ขาดความสัมพันธ์แบบชุมชนญี่ปุ่นที่เหนียวแน่น ยิ่งรู้สึกเหงามากขึ้น กระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นทำการสำรวจเรื่องนี้เป็นครั้งแรก เป้าหมายเป็นชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศประมาณ 1 ล้าน 3 แสนคน และได้รับคำตอบกลับทางออนไลน์ทั้งหมด 55,420 รายระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566  ผู้ตอบร้อยละ 44.9 เผยว่า รู้สึกเหงาบ่อยครั้ง บางครั้ง หรือนาน ๆ ครั้ง สูงขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีสำรวจกับชาวญี่ปุ่นในประเทศ ภูมิภาคที่มีสัดส่วนผู้รู้สึกเหงามากที่สุดคือยุโรปตะวันตกร้อยละ 48.0 ตามด้วยอเมริกาใต้ร้อยละ 46.4 อเมริกาเหนือร้อยละ 45.3 ตะวันออกกลางร้อยละ 41.4 และแอฟริการ้อยละ 39.0 สาเหตุที่ทำให้ผู้ตอบรู้สึกเหงามากที่สุดคือ อุปสรรคด้านภาษา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.6 ตามด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรมร้อยละ 27.9 ผลสำรวจพบด้วยว่า ผู้ตอบที่รู้สึกเหงาบ่อยครั้งราวร้อยละ 44.5 รู้สึกเช่นนี้มาไม่ต่ำกว่า 5 ปีแล้ว กระทรวงต่างประเทศกำลังร่วมกับคณะนักการทูตในต่างประเทศและองค์กรป้องกันการฆ่าตัวตายในประเทศหาทางให้ความช่วยเหลือชาวญี่ปุ่นในต่างประเทศที่มีปัญหาเรื่องความเหงา.-814.-สำนักข่าวไทย

เส้นทางของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในอำเภอเวยซาน

ยูนนานเดลี รายงานว่า อำเภอเวยซาน มณฑลยูนนาน มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน อีกทั้งยังเป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงของประเทศจีน ปัจจุบัน อำเภอเวยซานมีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมทั้งสิ้น 89 รายการ และยังมีทักษะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอีกมากมายให้คุณได้ค้นหา

สาวอิหร่านหลงใหลในวัฒนธรรมลี่เจียง

ยูนนาน 10 เม.ย.- สตรีชาวอิหร่านคนหนึ่งหลงใหลในวัฒนธรรมลี่เจียงของจีน ถึงกับย้ายมาอยู่หลังจากสำเร็จการศึกษา ยูนนานเดลี่รายงานเรื่องราวของ “หลานหลาน” สตรีชาวอิหร่านที่ตัดสินใจตั้งรกรากในเมืองลี่เจียง มณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน หลังจากเรียนจบที่มหาวิทยาลัยหนิงโป มณฑลเจ้อเจียง ทางตะวันออกของจีน เพราะติดใจในสภาพภูมิอากาศของยูนนานที่น่ารื่นรมย์ วัฒนธรรมชาติพันธุ์ที่หลากหลาย และอาหารที่แสนอร่อย หลานหลานเผยว่า  หากต้องการเรียนรู้วัฒนธรรมลี่เจียงให้ลึกซึ้งถ่องแท้ จะต้องศึกษาวรรณกรรมโบราณ ภาพวาดโบราณ และดนตรีโบราณไปพร้อมกันด้วย เธอเรียน “ดนตรีโบราณน่าซี” จากอาจารย์ที่เป็นชายหนุ่มชาวน่าซี และพยายามฝึกซ้อมจนได้แสดงร่วมกับนักดนตรีโบราณมืออาชีพในห้องแสดงดนตรีโบราณน่าซี ดนตรีโบราณน่าซี เป็นวัฒนธรรมดนตรีของชนชาติน่าซีในเมืองลี่เจียง มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า มีต้นกําเนิดในศตวรรษที่ 14 จัดเป็นดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในมณฑลยูนนาน และของประเทศจีน นอกจากนี้สาวอิหร่านรายนี้ยังได้ถ่ายคลิปแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตในเมืองลี่เจียงลงในติ๊กต็อก เช่น การเรียนดนตรีโบราณน่าซี ประสบการณ์การเป็นชาวสวนผลไม้ การเรียนร้องเพลงคลาสสิกของชนชาติลีซอ การเข้าร่วมงานแต่งงานของชาวน่าซี และการลองใส่ชุดน่าซี.-814.-สำนักข่าวไทย

“กระโปรงหม่าเมี่ยน” แฟชั่นฮิตของสาวจีนรุ่นใหม่

ยูนนาน 4 ม.ค.- สื่อจีนรายงานว่า กระโปรงหม่าเมี่ยนเป็นแฟชั่นยอดนิยมในปี 2566 ของสาวจีนรุ่นใหม่ที่นำการแต่งกายที่เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจีนมาปรับให้เข้ากับการแต่งกายสมัยใหม่ ยูนนานเดลี่รายงานอ้างเว็บไซต์ yicai และหนังสือพิมพ์จีนวีเมนส์เดลี่ว่า รายงานดัชนีการสื่อสารระหว่างประเทศประจำปี 2566 เกี่ยวกับสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจีนที่เผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ระบุว่า ชุดจีนฮั่นฝูอยู่ในอันดับที่ 6 จาก 10 อันดับแรกของสัญลักษณ์มรดกทางวัฒนธรรมของจีน โดยได้เป็นสื่อกลางในการสื่อสารทางวัฒนธรรมสมัยใหม่และสมัยโบราณ และทําให้เกิดกระแส “การแต่งตัวสไตล์จีน” แพร่สะพัดไปทั่วโลก ชุดฮั่นฝูที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปี 2566 คือ กระโปรงหม่าเมี่ยน เพราะหลอมรวมการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์กับความเป็นแฟชั่นที่ทันสมัย พัฒนาผ้าไหมโบราณเป็นเส้นใยสังเคราะห์ ปรับเปลี่ยนโทนสีจัดจ้านให้เป็นโทนสีกลางและสีเข้มทันสมัย รวมไปถึงความยาวของกระโปรงที่พอเหมาะ สามารถใส่ได้ในหลากหลายโอกาสมากขึ้น เหมาะกับความต้องการและรสนิยมของผู้หญิงสมัยใหม่ สตรีจีนจำนวนมากพากันสวมกระโปรงหม่าเมี่ยนและโพสต์บนโซเชียลมีเดียเพื่ออวดโฉมความงามของชุดฮั่นฝูขณะไปเยือนสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ เช่น ริมทะเลสาบซีหูในเมืองหางโจว พระราชวังต้องห้ามและเทียนถานในกรุงปักกิ่ง สวนสนุกถังพาราไดซ์ในเมืองซีอาน และในช่วงเทศกาลชอปปิ้งวันคนโสดจีน “11.11” ในปีนี้ แพลตฟอร์มชื่อดังอย่างเถาเป่าสามารถขายกระโปรงหม่าเมี่ยนได้มากกว่า 730,000 ตัว สามารถนำไปปูสนามฟุตบอลได้มากถึง 105 สนาม.-814(813).-สำนักข่าวไทย

สื่อแนวหน้าของยูนนานร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ อสมท

กทม. 28 พ.ย. – ไทยกับจีนยกระดับความสัมพันธ์ในภาคประชาชนระหว่าง 2 ประเทศให้แน่นแฟ้นมากขึ้นอีกขั้น เมื่อหนังสือพิมพ์ยูนนาน เดลี่ กรุ๊ป องค์กรสื่อระดับแนวหน้าของสาธารณรัฐประชาชนจีน และศูนย์การสื่อสารระหว่างประเทศเอเชียใต้ – เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งยูนนาน ลงนามในบันทึกความร่วมมือกับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันผ่านสื่อทุกแพลตฟอร์ม วันนี้ นายหยาง รุ่น รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการมณฑลยูนนาน และผู้อำนวยการสำนักพิมพ์ข่าวสาร มณฑลยูนนาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารหนังสือพิมพ์ยูนนาน เดลี่ กรุ๊ป และศูนย์การสื่อสารระหว่างประเทศเอเชียใต้ – เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งยูนนาน เดินทางมาจัดงานแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศจีน – ไทย “หนึ่งสายน้ำเชื่อมสายใย หนึ่งครอบครัวร่วมสายใจ” และกิจกรรม “วิถีชีวิตแห่งยูนนาน” โรดโชว์อินไทยแลนด์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและสานสายสัมพันธ์ของประชาชนทั้ง 2 ประเทศซึ่งมีวิถีชีวิตคู่สายน้ำสายเดียวกัน คือ แม่น้ำล้านช้าง หรือ หลานชางเจียง ซึ่งก็คือแม่น้ำโขงในภาษาไทย ภายในงานวันนี้ นอกจากจะมีกิจกรรมเผยแพร่วัฒนธรรมจีนและวิถีชีวิตของประชาชนในยูนนานแล้ว นายเหอ จูคุน ประธานหนังสือพิมพ์ ยูนนาน […]

บาหลีจะเก็บภาษีนักท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรม

เกาะบาหลี สถานที่ท่องเที่ยวตากอากาศสำคัญของอินโดนีเซียจะเริ่มเก็บภาษีจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนเกาะแห่งนี้คนละ 150,000 รูเปียห์ หรือ ประมาณ 345 บาท ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไปเพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรม

รู้จักสุดยอดช่างฝีมือผลิต “กระเป๋าม้า” ของทิเบต

าซา, 2 พ.ค. (ซินหัว) — สั่วหล่าง ฉุนเผย ช่างทำกระเป๋าม้า วัย 61 ปี ในอำเภอหล่าง เมืองหลินจือ เขตปกครองตนเองทิเบตของจีน สนใจการทำกระเป๋าม้ามาตั้งแต่วัยเด็ก และกลายเป็นผู้สืบทอดงานฝีมือชิ้นนี้ ซึ่งเป็นมรดกทางวัตนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของทิเบตตั้งแต่ปี 2018 สั่วหล่าง ฉุนเผยร่ำเรียนวิชาทำกระเป๋าม้าจากช่างฝีมือท้องถิ่นเมื่ออายุ 21 ปี และได้กลายเป็นผู้สืบทอดงานฝีมือชนิดนี้จนถึงปัจจบัน โดยทักษะการรังสรรค์กระเป๋าม้าที่ทำจากหนังวัว ซึ่งมีคุณสมบัติกันน้ำ เป็นหนึ่งในมรดกทางวัตนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของทิเบตตั้งแต่ปี 2018 กระบวนการทำกระเป๋าม้าอาศัยการทำงานหลายขั้นตอน จึงทำให้ใช้เวลานานและได้ผลผลิตไม่มากนัก ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและการสืบทอดงานฝีมือประเภทดังกล่าว หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นได้มอบเงินสนับสนุนการทำกระเป๋าม้าเมื่อปี 2015 เพื่อส่งเสริมการส่งต่อมรดกวัฒนธรรมนี้จากรุ่นสู่รุ่น ด้านสั่วหล่าง ฉุนเผยได้รับรางวัล “ช่างฝีมือแห่งทิเบต” (Tibetan Craftsman) ในปี 2022 – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230501/6c97a6c46b4646608c23a62bcc8a1b92/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/355253_20230502ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนขึ้นทะเบียน “หมู่บ้านดั้งเดิม” อยู่ใต้การคุ้มครองของรัฐกว่า 8,100 แห่ง

ปักกิ่ง, 27 เม.ย. (ซินหัว) — กระทรวงการเคหะและการพัฒนาเมือง-ชนบทของจีน เปิดเผยว่าจีนได้ขึ้นทะเบียนหมู่บ้านดั้งเดิมเข้ารายการคุ้มครองของรัฐ จำนวน 8,155 แห่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอนุรักษ์อารยธรรมการเกษตรที่มีอายุนับพันปีของประเทศ ตงหงเหม่ย เจ้าหน้าที่กระทรวงฯ กล่าวว่าจีนได้สร้างเครือข่ายคุ้มครองมรดกทางการเกษตรขนาดใหญ่ที่สุดของโลกภายใต้โครงการริเริ่มนี้ โดยหมู่บ้านดั้งเดิมหรือหมู่บ้านโบราณมักมีประวัติศาสตร์ยาวนานและทรัพยากรทางวัฒนธรรมและธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันจีนได้จัดให้สิ่งปลูกสร้างทางประวัติศาสตร์และที่อยู่อาศัยดั้งเดิมอยู่ภายใต้การคุ้มครอง จำนวน 539,000 แห่ง และขุดพบมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในพื้นที่ระดับมณฑลหรือสูงกว่า จำนวน 4,789 รายการ กระทรวงฯ ระบุแผนการดำเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่อปกป้องหมู่บ้านดั้งเดิมในอนาคต ซึ่งรวมถึงการลงรายละเอียดพื้นที่คุ้มครอง เป้าหมายและแผนการปกป้องพิเศษ และการประสานงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน สถานบริการสาธารณะ และแผนงานของกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ-สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230427/cc0dd4feac3b43e68708923f60035f1a/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/354552_20230427ขอบคุณภาพจาก Xinhua

1 2 3 7
...