คณะกรรมาธิการเสนอสอบสวนในคดีอาญา อดีตนายกฯ “มหาเธร์”
คณะกรรมาธิการไต่สวน หรือ รอยัล คอมมิชชั่น ออฟ อินไควรี (Royal Commission of Inquiry) หรือ อาร์ซีไอ เสนอให้มีการสอบสวนในคดีอาญา
คณะกรรมาธิการไต่สวน หรือ รอยัล คอมมิชชั่น ออฟ อินไควรี (Royal Commission of Inquiry) หรือ อาร์ซีไอ เสนอให้มีการสอบสวนในคดีอาญา
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก จะเริ่มต้นกระบวนการรับฟังคำร้องของประเทศและองค์กรต่างๆ ในวันนี้ เพื่อวินิจฉัยเรื่องข้อผูกมัดทางกฎหมายต่อประเทศต่างๆ ในการแก้ปัญหาโลกร้อน
กรุงเฮก 19 ก.พ.- ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกจะเปิดการไต่สวนในวันนี้เรื่องผลทางกฎหมายจากการที่อิสราเอลยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ โดยจะมีตัวแทนรัฐต่าง ๆ มากกว่า 50 รัฐให้การต่อองค์คณะผู้พิพากษา สมัชชาสหประชาชาติได้ร้องขอในปี 2565 ให้ศาลโลกให้ความเห็นที่เป็นการแนะนำหรือไม่มีผลผูกพันต่อการที่อิสราเอลยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ การไต่สวนที่เริ่มขึ้นในวันนี้จะดำเนินไปจนถึงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ คาดว่าองค์คณะผู้พิพากษาจะใช้เวลาหลายเดือนในการพิจารณาก่อนให้ความเห็น โดยในวันนี้นายริยาด อัล-มาลิกิ รัฐมนตรีต่างประเทศปาเลสไตน์จะให้การเป็นคนแรก และมีหลายประเทศเข้าร่วมในการไต่สวน เช่น สหรัฐ จีน รัสเซีย แอฟริกาใต้ อียิปต์ ส่วนอิสราเอลจะไม่เข้าร่วม การไต่สวนนี้เป็นหนึ่งในความพยายามของปาเลสไตน์ที่ต้องการให้สถาบันกฎหมายระหว่างประเทศตรวจสอบการยึดครองของอิสราเอล ซึ่งกลายเป็นเรื่องเร่งด่วนยิ่งขึ้นหลังจากกลุ่มฮามาสโจมตีอิสราเอลแบบไม่ทันตั้งตัวเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566 และนำมาซึ่งสงครามกาซาที่ดำเนินมาจนถึงขณะนี้ ทั้งนี้แม้ว่าอิสราเอลไม่เคยสนใจความเห็นของศาลโลก แต่ความเห็นครั้งนี้อาจเพิ่มแรงกดดันทางการเมืองต่ออิสราเอล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่อิสราเอลกำลังใช้ปฏิบัติการรุกภาคพื้นดินในเมืองราฟาห์ ทางใต้ของฉนวนกาซา สถานที่ลี้ภัยของชาวปาเลสไตน์กว่า 1 ล้านคนที่หนีการสู้รบมาจากพื้นที่อื่นของกาซา อิสราเอลยึดครองเขตเวสต์แบงก์ กาซา และเยรูซาเล็มตะวันออกที่ชาวปาเลสไตน์ต้องการตั้งเป็นรัฐปาเลสไตน์ ในการทำสงครามปี 2510 ต่อมาได้ถอนตัวออกจากกาซาในปี 2548 แต่ยังควบคุมพรมแดนกาซาร่วมกับอียิปต์ที่มีพรมแดนติดกับกาซา.-814.-สำนักข่าวไทย
ท่าอากาศยานเบนกูเรียน 14 ก.พ.- ชาวอิสราเอลที่รอดชีวิตจากเหตุฮามาสบุกโจมตีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566 และครอบครัวตัวประกันเตรียมเดินทางไปเรียกร้องให้อัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศหรือไอซีซี (ICC) สอบสวนแกนนำฮามาส สมาชิกครอบครัวตัวประกันและผู้รอดชีวิตรวม 100 คนเตรียมตัวเดินทางจากท่าอากาศยานเบนกูเรียนของอิสราเอลไปยังไอซีซีที่กรุงเฮกของเนเธอร์แลนด์ เพื่อยื่นคำร้องในนามเหยื่อชาวอิสราเอลต่ออัยการคาริม ข่านของไอซีซี อัยการข่านเคยระบุว่า ไอซีซีมีเขตอำนาจศาลต่อการก่ออาชญากรรมสงครามที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ฮามาสกระทำในอิสราเอลและอิสราเอลกระทำในฉนวนกาซา แม้ว่าอิสราเอลไม่ได้เป็นสมาชิกไอซีซี และไม่ยอมรับเขตอำนาจศาลของไอซีซีก็ตาม การยื่นคำร้องนี้จะเป็นคำร้องล่าสุดจากหลายคำร้องที่ต้องการให้ข้อมูลแก่การดำเนินคดี และเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามผลักดันให้ไอซีซีดำเนินคดีกับแกนนำฮามาส คดีที่ไอซีซีเป็นคดีแยกต่างหากจากคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่มีผู้ยื่นร้องอิสราเอลต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเฮกเช่นเดียวกัน.-814.-สำนักข่าวไทย
เจ้าหน้าที่ปาเลสไตน์ แถลงตอบรับคำพิพากษาของศาลโลกที่ให้อิสราเอลใช้ทุกมาตรการเพื่อป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในฉนวนกาซ่า และหาทางช่วยพลเรือนมากขึ้น
กรุงเฮก 12 ม.ค.- อิสราเอลจะให้การต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกที่กรุงเฮกของเนเธอร์แลนด์ในวันนี้ แก้ต่างข้อกล่าวหาของแอฟริกาใต้เรื่องปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลในกาซาเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ แอฟริกาใต้ซึ่งยื่นฟ้องต่อศาลโลกเมื่อเดือนธันวาคม 2566 ร้องขอต่อองค์คณะผู้พิพากษาศาลโลกเมื่อวานนี้ ให้ออกมาตรการฉุกเฉินสั่งให้อิสราเอลระงับปฏิบัติการทางทหารในกาซาโดยทันที แอฟริกาใต้ระบุว่า ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศและภาคพื้นดินของอิสราเอลมีเป้าหมายเพื่อนำมาซึ่งการทำลายประชากรของกาซา ขณะที่อิสราเอลปฏิเสธข้อกล่าวหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ว่าไร้มูล และว่าแอฟริกาใต้กำลังทำตัวเป็นกระบอกเสียงให้แก่ฮามาสที่อิสราเอลมองว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่หาทางกำจัดรัฐอิสราเอล กองทัพอิสราเอลมุ่งเป้าหมายที่กลุ่มนักรบฮามาส ไม่ใช่พลเรือนชาวปาเลสไตน์ แอฟริกาใต้ยุคหลังสิ้นสุดการแบ่งแยกสีผิวได้ให้การสนับสนุนข้อเรียกร้องของปาเลสไตน์มาโดยตลอด ความสัมพันธ์ของ 2 ฝ่ายเริ่มขึ้นเมื่อยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้นำองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์หรือพีแอลโอ (PLO) แสดงความสนับสนุนพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกาหรือเอเอ็นซี (ANC) ที่ต่อสู้กับการปกครองของกลุ่มคนผิวชาวที่เป็นชนส่วนน้อยของแอฟริกาใต้ คาดว่าศาลโลกจะมีคำตัดสินเรื่องมาตรการฉุกเฉินในเดือนนี้ แต่จะยังไม่ตัดสินเรื่องข้อกล่าวหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เพราะเป็นกระบวนการที่อาจใช้เวลานานหลายปี คำตัดสินของศาลโลกถือเป็นที่สิ้นสุด ไม่สามารถอุทธรณ์ได้ แต่ศาลโลกไม่สามารถนำคำตัดสินไปบังคับใช้ได้.-814.-สำนักข่าวไทย
กรุงเฮก 11 ม.ค.- ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกจะเปิดการไต่สวนในวันนี้ในคดีที่แอฟริกาใต้ยื่นเรื่องฟ้องว่าอิสราเอลกำลังฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ในกาซา ศาลโลกจะเปิดการไต่สวนเป็นเวลา 2 วัน (11-12 มกราคม) ในคดีที่แอฟริกาใต้ยื่นเรื่องเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2566 กล่าวหาอิสราเอลว่า ไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีในอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ปี 2491 ที่เริ่มบังคับใช้ในปี 2494 คำฟ้องหนา 84 หน้าของแอฟริกาใต้ระบุว่า อิสราเอลกำลังฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์จากการสังหารชาวปาเลสไตน์ในกาซา ทำให้พวกเขาได้รับอันตรายทางร่างกายและจิตใจ และจากการสร้างสภาพการณ์ที่คำนวณแล้วว่าจะนำมาซึ่งการทำลายทางกายภาพ แอฟริกาใต้และอิสราเอลเป็นภาคีของอนุสัญญานี้ที่นิยามคำว่า “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” ว่า เป็นการกระทำที่มีเจตนาจะทำลายกลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มสีผิว หรือกลุ่มศาสนาทั้งหมดหรือบางส่วน การไต่สวน 2 วันนี้จะมุ่งพิจารณาเฉพาะเรื่องที่แอฟริกาใต้ร้องขอให้มีมาตรการฉุกเฉินในการสั่งให้อิสราเอลระงับการใช้ปฏิบัติการทางทหารในกาซา ส่วนการไต่สวนเรื่องคดีมีมูลหรือไม่เป็นกระบวนการที่อาจใช้เวลาหลายปี โฆษกรัฐบาลอิสราเอลแถลงเมื่อวันพุธว่า รัฐอิสราเอลจะขึ้นศาลโลกเพื่อหักล้างการหมิ่นประมาทที่ไร้สาระอย่างยิ่งของแอฟริกาใต้ เนื่องจากแอฟริกาใต้ให้ความคุ้มครองทางการเมืองและทางกฎหมายแก่ระบบฮามาสที่เป็นนักข่มขืน ขณะที่นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอลโพสต์ผ่านเอ็กซ์ (X) ว่าอิสราเอลไม่มีเจตนาจะยึดครองกาซาอย่างถาวร หรือขับไล่พลเรือนในกาซา.-814.-สำนักข่าวไทย
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกจะมีคำตัดสินในวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น กรณีที่อิหร่านร้องขอให้ยกเลิกเรื่องที่สหรัฐอายัดทรัพย์สินของอิหร่านในข้อหาก่อการร้าย
พอร์ตวิลา 28 พ.ค.- รัฐสภาของวานูอาตู ประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศแล้ว หลังจากนายกรัฐมนตรีระบุว่า ต้องใช้งบประมาณมากกว่า 40,000 ล้านบาทรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รัฐสภาวานูอาตูเห็นชอบด้วยเสียงเอกฉันท์เมื่อวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่น ต่อญัตติให้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ ตามที่หลายประเทศทำมาแล้ว เช่น อังกฤษ แคนาดา ฟิจิ ผู้นำในสภากล่าวว่า ภารกิจของวานูอาตูคือการผลักดันให้ประเทศที่มีความรับผิดชอบดำเนินการให้สอดคล้องกับขนาดและความเร่งด่วนของวิกฤตนี้ การใช้คำว่า ภาวะฉุกเฉิน เป็นวิธีส่งสัญญาณว่าต้องเร่งดำเนินการมากกว่าปกติ รัฐสภาลงมติดังกล่าวหลังจากนายกรัฐมนตรีบ็อบ เลาแมนแถลงว่า ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและสภาพอากาศรุนแรงได้ทำให้มหาสมุทรแปซิฟิกเกิดผลกระทบที่ไม่สมส่วนกันในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นั่นคือพายุไซโคลนโซนร้อนทำลายล้างสูง 2 ลูก และภาวะแห้งแล้งรุนแรง เขาระบุว่า วานูอาตูจะสามารถปฏิบัติตามพันธกิจลดโลกร้อนตามข้อตกลงปารีสภายในปี 2573 ได้ หากใช้งบประมาณอย่างน้อย 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 40,900 ล้านบาท) ดำเนินการตามแผนที่มุ่งเน้นเรื่องการปรับตัว การบรรเทาผลกระทบ และการดูแลความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ งบประมาณส่วนใหญ่จะมาจากประเทศผู้บริจาค วานูอาตูซึ่งมีประชากรประมาณ 300,000 คน เคลื่อนไหวเรื่องนี้ก่อนที่สหประชาชาติจะมีการลงมติในเรื่องที่วานูอาตูยื่นขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกคุ้มครองประเทศที่เสี่ยงภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้แม้ความเห็นของศาลโลกจะไม่มีผลผูกพัน แต่วานูอาตูหวังว่า จะปูทางให้เกิดกฎหมายสากลให้แก่คนรุ่นหลังเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อความเสียหาย ความสูญเสีย และสิทธิมนุษยชน.-สำนักข่าวไทย
ธากา 22 มี.ค. – ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในบังกลาเทศแสดงความยินดีที่รัฐบาลสหรัฐประกาศว่า การที่รัฐบาลทหารเมียนมาใช้ความรุนแรงกดขี่ชนกลุ่มน้อยมุสลิมโรฮิงญาถือเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ชายชาวโรฮิงญาวัย 60 ปี ที่ลี้ภัยอยู่ในค่ายแห่งหนึ่งในเขตค็อกบาซาร์ของบังกลาเทศเผยว่า ดีใจมากที่นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐประกาศขณะกล่าวสุนทรพจน์ที่พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สหรัฐในกรุงวอชิงตันเมื่อวันจันทร์ว่า การปราบปรามของเมียนมาถือเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยอ้างตามคำให้การที่มีการยืนยันเรื่องกองทัพเมียนมากระทำความโหดร้ายกับพลเรือนอย่างกว้างขวางและเป็นระบบต่อชาวโรฮิงญา ชายคนนี้กล่าวว่า รัฐบาลเมียนมาทรมานชาวโรฮิงญาและชุมชนต่าง ๆ มานาน 60 ปีแล้วเริ่มตั้งแต่ปี 2505 เขาเชื่อว่าการประกาศของสหรัฐเปิดทางให้ประชาคมโลกสามารถดำเนินการกับเมียนมาได้ ด้านศูนย์เพื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ศึกษา มหาวิทยาลัยธากาในบังกลาเทศมองว่า การประกาศของสหรัฐถือเป็นก้าวเชิงบวก แต่จำเป็นต้องดูต่อไปว่า จะมีก้าวที่เป็นรูปธรรมติดตามมาหรือไม่ ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าการประกาศของสหรัฐจะทำให้ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาได้รับการรับรองสถานภาพพลเมืองในเมียนมา คำถามพื้นฐานคือผู้ลี้ภัยที่อยู่ตามค่ายต่าง ๆ ในเขตค็อกบาซาร์ราว 1 ล้านคนจะได้กลับเมียนมาอย่างไรและเมื่อใด ทางศูนย์คาดว่า สหรัฐอาจใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงต่อเมียนมาเป็นมาตรการขั้นถัดไป และต้องรอดูว่าสหรัฐจะสนับสนุนกระบวนการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกในกรุงเฮกที่กำลังไต่สวนเมียนมาในคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญาตามที่แกมเบียยื่นฟ้องหรือไม่.-สำนักข่าวไทย
กรุงเฮก 1 มี.ค.- อัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศหรือไอซีซี (ICC) เผยว่า ต้องการไต่สวนรัสเซียเรื่องก่ออาชญากรรมสงคราม แต่ติดขัดเรื่องระเบียบขั้นตอนในการดำเนินการ บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษหรือบีบีซี (BBC) รายงานว่า นายคาริม ข่าน อัยการไอซีซีเผยว่าจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากคณะผู้พิพากษาของไอซีซีเพื่อที่จะเดินหน้าไต่สวนรัสเซีย หรือให้สมาชิกไอซีซี เช่น สหราชอาณาจักร ร้องขอให้เขาเปิดการไต่สวนเต็มรูปแบบ เพื่อช่วยเร่งกระบวนการให้เร็วขึ้น ส่วนเรื่องที่สื่อลิทัวเนียรายงานว่า รัฐบาลลิทัวเนียได้ยื่นคำขอดังกล่าวแล้ว โฆษกของไอซีซีเผยกับบีบีซีว่า ยังไม่สามารถยืนยันข่าวนี้ ขณะที่เมื่อไม่กี่วันก่อนยูเครนได้ขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกไต่สวนรัสเซียเรื่องยกข้ออ้างเท็จว่าจะมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในยูเครนมาบังหน้าการรุกราน ศาลโลกมีอำนาจไต่สวนข้อพิพาทระหว่างรัฐ ส่วนไอซีซีมีอำนาจไต่สวนบุคคลหากศาลในประเทศไม่สามารถทำได้ ยูเครนและรัสเซียให้การรับรองศาลโลก แต่ทั้งสองประเทศไม่ได้เป็นสมาชิกไอซีซี ดังนั้นชาวรัสเซียที่ถูกกล่าวหาว่าก่ออาชญากรรมสงครามหรือฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จะถูกนำตัวขึ้นไอซีซีได้ ต่อเมื่อถูกรัฐบาลรัสเซียเนรเทศแล้วเท่านั้น และไอซีซีจะไม่เปิดการไต่สวนแบบลับหลังจำเลย จึงมีรายชื่อผู้หลบหนีที่เป็นที่ต้องการตัวในข้อหาก่ออาชญากรรมสงครามอยู่เป็นจำนวนมาก.-สำนักข่าวไทย
ประเทศแกมเบียกล่าววานนี้เรียกร้องให้ศาลโลกไม่ยอมรับคำคัดค้านของเมียนมาให้ยุติการสอบสวนในคดีที่เมียนมาถูกกล่าวหาว่ากระทำการที่เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮิงญา โดยระบุว่า แกมเบียไม่ได้เป็นตัวแทนของไคร