ชัวร์ก่อนแชร์: ชาวอเมริกันอ่อนแอลงเรื่อยๆ เพราะวัคซีน จริงหรือ?

8 มิถุนายน 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (ฝรั่งเศส)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ


ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ

บทสรุป:


  1. หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) ยืนยันว่าชาวอเมริกันในปัจจุบันมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น เด็กที่ป่วยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลง
  2. การพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิผลและปลอดภัย ทำให้โรคติดต่อร้ายแรงอย่างโปลิโอและไข้ทรพิษหมดไปจากสหรัฐฯ วัคซีนยังช่วยป้องกันโรคสำคัญๆ ทั้ง โรคคอตีบ, โรคหัด, ตับอักเสบ และ โรคอีสุกอีใส

ข้อมูลที่ถูกแชร์:

เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่โดย แพทริก ฟลินน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกระดูก ที่กล่าวหาว่าการรณรงค์ฉีดวัคซีนในสหรัฐอเมริกา ทำให้คุณภาพชีวิตของชาวอเมริกันแย่ลงเรื่อยๆ และเมื่อสหรัฐฯ เปิดโครงการชดเชยผลกระทบจากวัคซีนเพื่อปกป้องบริษัทยาจากการถูกฟ้องร้องเมื่อปี 1986 นำไปสู่การกำหนดวัคซีนที่ผู้คนจำเป็นต้องฉีดหลากหลายชนิดอย่างไม่เคยมีมาก่อน

ข้อความนี้ถูกเผยแพร่ผ่านทาง Facebook ช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา และมีผู้แสดงความคิดเห็นและส่งต่อข้อความรวมกันกว่า 2,800 ครั้ง


FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:

ข้อกล่าวอ้างที่ว่าชาวอเมริกันในยุคนี้มีสุขภาพย่ำแย่ลงเพราะวัคซีนเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง โดยรายงานประจำปี 2019 ของหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) ยืนยันว่าชาวอเมริกันในปัจจุบันมีอายุที่ยืนยาวกว่าเมื่อทศวรรษที่แล้ว และอัตราการรอดชีวิตของทารกแรกเกิดก็สูงกว่า 10 ปีที่แล้วเช่นกัน

ผลสำรวจเมื่อปี 1991 พบว่าเยาวชนอเมริกันอายุต่ำกว่า 18 ปี มีสุขภาพปานกลางถึงอ่อนแอที่ 2.6% แต่ในปี 2018 สัดส่วนดังกล่าวเหลือเพียง 1.7% และสถิติการป่วยเป็นโรคหอบหืด, ไข้ละอองฟาง และหูอักเสบ ระหว่างปี 1997 ถึงปี 2018 ก็ลดลงตามลำดับ

อย่างไรก็ดี มีหลายโรคที่เด็กอเมริกันป่วยมากกว่าในอดีต ทั้งโรคอ้วน, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, โรคสมาธิสั้น, ออทิสติก, โรคแพ้อาหารและแพ้ผิวหนัง อย่างไรก็ดี สาเหตุของโรคเหล่านี้มาจากพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมเป็นหลัก ซึ่งไม่เกี่ยวกับวัคซีน ขณะที่การคัดกรองที่ละเอียดยิ่งขึ้นยังเป็นปัจจัยที่ให้การรายงานโรคเหล่านี้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ทุกๆ ปีหน่วยงาน CDC ของสหรัฐฯ จะทำการประเมินวัคซีนสำหรับแนะนำให้ประชาชน ซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนที่แนะนำให้ประชาชนทั้งสิ้น 16 ชนิดด้วยกัน

แต่การอ้างว่าทางการสหรัฐฯ เพิ่มรายชื่อวัคซีนที่แนะนำแก่ประชาชนเป็นจำนวนมากในปี 1986 หลังรัฐบาลเปิดโครงการชดเชยผลกระทบจากวัคซีนในปีนั้น ถือเป็นข้ออ้างที่ไม่ถูกต้อง เพราะระหว่างปี 1963 ถึงปี 1996 สหรัฐฯ เพิ่มจำนวนวัคซีนที่แนะนำแก่ประชาชนจาก 4 ชนิดเป็น 5 ชนิด เท่านั้น กระทั้งปี 2000 มีการเพิ่มรายชื่อวัคซีนที่แนะนำแก่ประชาชนจำนวนมาก เนื่องจากเทคโนโลยีผลิตวัคซีนมีการพัฒนามากขึ้นนั่นเอง

แม้จำนวนวัคซีนที่แนะนำให้กับประชาชนจะเพิ่มขึ้น แต่วัคซีนเหล่านั้นต่างได้รับการตรวจสอบด้านความปลอดภัยจาก CDC และองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ไม่ว่าจะเป็นการฉีดแค่ชนิดใดชนิดหนึ่งหรือการฉีดร่วมกับวัคซีนชนิดอื่นๆ ก็ตาม

ประเด็นด้านสารพิษในวัคซีนก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีแค่ในวัคซีนบางชนิด และมีอยู่ในปริมาณเล็กน้อยและไม่มีผลต่อสุขภาพ ผลการศึกษาของสถาบันการแพทย์แห่งชาติ (NAM) เมื่อปี 2013 พบว่าวัคซีนไม่มีผลต่อการเกิดโรคภูมิต้านตนเอง, โรคหอบหืด, ภาวะภูมิไวเกิน, อาการชัก, โรคพัฒนาการในเด็ก, โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ และสมาธิสั้น ผลการศึกษาหลายแห่งยังยืนยันว่าวัคซีนไม่มีส่วนทำให้เกิดอาการออทิสติกในเด็กเช่นเดียวกัน

การรณรงค์ฉีดวัคซีนอย่างแพร่หลาย ทำให้โรคติดต่อร้ายแรงอย่างโปลิโอและไข้ทรพิษหมดไปจากสหรัฐฯ วัคซีนยังป้องกันโรคอื่นๆ อีกมากมาย เช่น โรคคอตีบ, โรคหัด, ตับอักเสบ และ โรคอีสุกอีใส

ข้อมูลอ้างอิง:

https://healthfeedback.org/claimreview/the-current-u-s-generation-is-healthier-than-previous-ones-partly-because-vaccines-reduced-infectious-diseases-childhood-immunization-schedules-are-safe-contrary-to-chiropractor-claims/

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง