ตำนาน Prussian Blue จากผงสีฟ้า…สู่ยารักษากัมมันตรังสี “ซีเซียม-137”

31 มีนาคม 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ข่าวการสูญหายของ “ซีเซียม-137” สารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้าพลังงานไอน้ำที่จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อเดือนมีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ทำให้ชื่อของ Prussian Blue ยาต้านพิษจากกัมมันตรังสีได้รับการพูดถึงในวงกว้าง

ลดการดูซึมรังสีได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ระบุว่า ยา Prussian Blue ช่วยลดความรุนแรงจากการสัมผัสกัมมันตรังสีชนิดซีเซียม-137 ได้อย่างมาก โดยตัวยาจะเข้าไปจับกับสารพิษในลำไส้เพื่อลดการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย การประเมินพบว่ายา Prussian Blue ช่วยลดค่าครึ่งชีวิตทางชีวภาพของซีเซียม-137 ในร่างกายผู้สัมผัสจาก 110 วันเหลือเพียง 30 วัน

การทำงานของยา Prussian Blue
โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC)

ยา Prussian Blue ใช้ได้กับผู้ที่มีอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป รวมถึงสตรีมีครรภ์ สามารถใช้แบบแคปซูลปริมาณ 500 มิลลิกรัม หรือนำตัวยาจากแคปซูลมาผสมกับอาหารและเครื่องดื่มก็ได้

อาการข้างเคียงจากการใช้ ยา Prussian Blue มีเพียงเล็กน้อย ได้แก่ อาการท้องผูกและอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร นอกจากนี้ ระหว่างใช้ยาผู้ป่วยบางรายอาจมีอุจจาระเป็นสีฟ้า


จุดเปลี่ยนวงการศิลปะ…ที่เกิดจากความบังเอิญ

อย่างไรก็ดี จุดกำเนิดของ Prussian Blue ไม่ใช่ยารักษาโรค แต่คือสีสังเคราะห์ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับวงการศิลปะอย่างใหญ่หลวง

ก่อนการมาถึงของ Prussian Blue สีฟ้าเคยเป็นหนึ่งในสีที่หายากที่สุด

การได้มาซึ่งสีฟ้าตามธรรมชาติเป็นเรื่องยาก ในธรรมชาติมีพืชที่ให้สีฟ้าเพียง 10%

อารยธรรมอียิปต์โบราณเคยคิดค้นวิธีสังเคราะห์สีฟ้าขึ้นมาใช้ แต่ภายหลังวิธีการดังกล่าวต้องสูญหายไปตามกาลเวลา (ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีสังเคราะห์สีฟ้าของชาวอียิปต์โบราณได้สำเร็จ)

จิตรกรและผู้ว่าจ้างงานศิลปะที่ต้องการสีฟ้าคุณภาพสูงสำหรับรูปวาด จำเป็นต้องใช้ Ultramarine ผงสีฟ้าที่ได้จากการบดแร่ธาตุหายากที่ชื่อ Lapis Lazuli ซึ่งหาได้จากเทือกเขาในดินแดนที่อยู่ในประเทศอัฟกานิสถานในปัจจุบันแห่งเดียวเท่านั้น

ผงสีฟ้า Ultramarine จากแร่ Lapis Lazuli

การเป็นแร่ที่หายาก, ระยะทางขนส่งที่ห่างไกล และมีกระบวนการผลิตที่ยากลำบาก ทำให้สีฟ้ามีค่าไม่ต่างจากทองคำ

การใช้สีฟ้าในภาพวาดยุคนั้น จึงสงวนไว้สำหรับการวาดสิ่งที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น เช่น ผ้าคลุมของพระแม่มารีย์

ในยุโรปยังมีแร่ธาตุที่ให้สีฟ้าอย่าง Azurite พบได้มากทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส, เยอรมนี และฮังการี แต่ข้อเสียของการใช้ผงสีฟ้าจาก Azurite คือได้สีฟ้าออกโทนอมเขียว ไม่ใช่สีฟ้าสดใสเหมือนภาพที่วาดด้วย Ultramarine

อย่างไรก็ดี จุดอ่อนของ Ultramarine คือไม่ทนต่อแสงแดด สีฟ้าที่วาดด้วย Ultramarine จึงซีดจางลงตามกาลเวลา

ภาพผ้าคลุมของพระแม่มารีย์
ที่วาดโดยใช้ผงสีฟ้าจาก Ultramarine

ปัญหาการใช้สีฟ้าในภาพวาดมาได้ข้อยุติในปี ค.ศ. 1706 จากการค้นพบเทคนิคการสังเคราะห์สีฟ้าที่เมืองเบอร์ลิน อาณาจักรปรัสเซีย หรือเมืองหลวงของประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน

อย่างไรก็ดี การค้นพบครั้งนั้นนับเป็นเรื่องบังเอิญอย่างที่สุด เพราะหากส่วนประกอบในการผลิตสีครั้งนั้นเป็นไปตามแบบแผนที่ทำกันมา สีที่ออกมาจะต้องเป็นสีแดง

Johann Jacob Diesbach เจ้าของธุรกิจการพิมพ์และย้อมสีชาวสวิสที่เปิดกิจการในเมืองเบอร์ลิน ทำการผลิตสีแดงด้วยส่วนประกอบ 3 อย่างคือ แร่ไอออน ซัลเฟส, โคชินีลหรือสีแดงจากแมลง และแร่โปแตช

แทนที่จะได้สีแดง ปรากฏว่าสีที่ได้ออกมากลับเป็นสีชมพู Diesbach จึงเพิ่มความเข้มข้นของส่วนประกอบไปเรื่อย ๆ แทนที่จะได้สีแดง สีที่ออกมากลับค่อย ๆ กลายเป็นสีม่วง และกลายเป็นสีฟ้าในที่สุด

ผงสีฟ้า Prussian Blue

สีฟ้าที่เกิดจากกระบวนการดังกล่าว ถูกขนานนามตามสถานที่กำเนิด คือ Prussian Blue ในเวลาต่อมา

การกำเนิดของ Prussian Blue ทำให้สถานะของสีฟ้าเปลี่ยนจากสีที่สงวนไว้สำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และชนชั้นสูง กลายเป็นสีที่ใคร ๆ ก็เข้าถึงได้ เมื่อต้นทุนสีฟ้าในภาพวาดลดลงเหลือ 1 ใน 10 จิตรกรจึงนำสีฟ้ามาถ่ายทอดตามจินตนาการอย่างอิสระ

สีฟ้าจาก Prussian Blue กลายเป็นองค์ประกอบหลักของงานศิลปะชิ้นสำคัญมากมาย ทั้งภาพวาด Starry Night ของ Vincent van Gogh, ภาพพิมพ์แกะไม้ The Great Wave off Kanagawa ของ Hokusai รวมถึงงานชิ้นเอกหลาย ๆ ภาพจากยุค Blue Period ของ Pablo Picasso ล้วนเกิดจากการใช้สีฟ้าจาก Prussian Blue ทั้งสิ้น

จิตรกรรมชิ้นเอกที่ใช้สีฟ้าจาก Prussian Blue

ผลผลิตจากนักเล่นแร่แปรธาตุ… และจุดกำเนิด Frankenstein

ความพิศวงจากการให้กำเนิด Prussian Blue ด้วยความบังเอิญ ทำให้ Johann Jacob Diesbach ตรวจสอบส่วนประกอบทั้ง 3 ชนิดที่ใช้ในการผลิต Prussian Blue ก่อนจะพบว่า ตัวการทำให้เกิดสีฟ้าคือแร่โปแตช หรือที่รู้จักในปัจจุบันในชื่อ Potassium Carbonate

Diesbach พบว่าแร่โปแตชชนิดนี้ผลิตโดย Johann Konrad Dippel นักเล่นแร่แปรธาตุชาวเยอรมนี ซึ่งแร่โปแตชที่ใช้ผลิต Prussian Blue มีการปนเปื้อนสารที่เรียกว่า Dippel’s oil หรือน้ำมันจากสัตว์ที่ Dippel ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ไล่สัตว์และแมลง รวมถึงสรรพคุณที่ Dippel อ้างว่าสามารถใช้เป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย

นอกจากนี้ Johann Konrad Dippel ยังขึ้นชื่อเรื่องการทดลองพิสดารต่าง ๆ รวมถึงการอ้างว่าสามารถเคลื่อนย้าย “วิญญาณ” เข้าไปสิ่งสู่ใน “ซากศพ”

Johann Konrad Dippel และ Mary Shelley

กระทั่งปี 1814 มีตำนานที่เล่าว่า Mary Shelley สุภาพสตรีชาวอังกฤษได้ไปเยือนปราสาทที่ Johann Konrad Dippel เคยทำการทดลอง การได้ฟังวีรกรรมสุดอื้อฉาวของเขาสร้างความประทับใจแก่เธออย่างมาก จึงนำเรื่องราวมาเป็นแรงบันดาลใจสร้างสรรค์นิยายเรื่องแรกในชีวิต โดยนำชื่อ Frankenstein Castle ปราสาทที่ Dippel เคยทำการทดลองมาตั้งเป็นชื่อนิยาย ซึ่งเป็นที่รู้จักในโลกวรรณกรรมว่า Frankenstein นั่นเอง

ประโยชน์หลากหลาย…แต่ไม่ได้หาซื้อกันง่าย ๆ

นอกจากอิทธิพลต่อวงการศิลปะแล้ว Prussian Blue ยังถูกนำไปใช้ประโยชน์หลากหลายวงการ ทั้งการกำเนิดพิมพ์เขียวหรือ Blueprints, ใช้เป็นสีผสมในเครื่องสำอาง, ใช้เป็นสีผสมในน้ำหมึก, ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ และใช้เป็นยาต้านพิษรังสีซีเซียม-137

แม้ Prussian Blue จะมอบสีฟ้าให้กลับชาวโลก แต่ยาต้านพิษรังสีซีเซียม-137 ที่ผลิตจาก Prussian Blue กลับไม่ใช่สิ่งที่ใครจะเข้าถึงได้ง่าย ๆ

ผู้ที่จะซื้อยา Prussian Blue จะต้องมีใบสั่งแพทย์เท่านั้น

ราคาของยา Prussian Blue ค่อนข้างสูง หนึ่งกระปุกบรรจุ 36 แคปซูลมีราคาเกือบ 100 ดอลลาร์สหรัฐ

ภาพตัวอย่างยา Prussian Blue ที่จำหน่ายในต่างประเทศ

ข้อมูลระบุว่าในปี 2016 มีสหรัฐอเมริกา, เยอรมนี และญี่ปุ่น เพียง 3 ชาติเท่านั้น ที่รับรองการใช้ยา Prussian Blue ภายในประเทศ ทุกวันนี้การเข้าถึงยา Prussian Blue ยังไม่ใช่เรื่องง่าย แม้แต่ประชาชนในประเทศพัฒนาแล้วก็ตาม

ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการนำเข้ายา Prussian Blue อย่างเป็นทางการ แต่อุบัติเหตุทางรังสีที่จังหวัดปราจีนบุรี ทำให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. เตรียมนำเข้ายา Prussian Blue จากต่างประเทศ สำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน

ข้อมูลอ้างอิง:

https://www.cdc.gov/nceh/radiation/emergencies/prussianblue.htm
https://www.artistsnetwork.com/art-techniques/color-mixing/world-changing-color-prussian-blue/
https://en.wikipedia.org/wiki/Prussian_blue
https://www.youtube.com/watch?v=v2JZDdKtZ0Q
A story of blue – nature video
https://www.youtube.com/watch?v=Vgkk_bnWF9U
The History of Prussian Blue – Good Morning Artist
https://www.youtube.com/watch?v=VIg5HkyauoY&t=564s
Why Is Blue Rare? – Vsauce2

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร