อาเซียนขยายความร่วมมือ 7 สาขาพลังงานกู้วิกฤติโควิด

กรุงเทพฯ 25 ส.ค. – การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสชาติอาเซียน ผลักดันร่างแผนปฏิบัติการความร่วมมือพลังงานอาเซียน ระยะที่ 2 และเร่งเดินหน้าขับเคลื่อน 7 สาขาพลังงาน


นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน หรือ SOME ครั้งที่ 38 ในรูปแบบออนไลน์เริ่มขึ้น เมื่อ 24 ส.ค.ที่ผ่านมาไปจนถึง 27 ส.ค.นี้ โดยมีประเทศเวียดนามเป็นเจ้าภาพ เพื่อหารือความร่วมมือพลังงานของกลุ่มอาเซียนใน 7 สาขา และนำผลการประชุมที่ได้เข้าสู่ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน ที่จะมีขึ้นช่วงปลายปี63 นี้ ในระหว่างนี้ ยังมี การประชุมที่เกี่ยวข้อง (The 38th Senior Officials Meeting on Energy and Associated Meetings : The 38th SOME) โดยประเทศไทยได้ส่งมอบการเป็นประธานอาเซียนปี 2562 ให้ประเทศเวียดนามประธานอาเซียนปี 2563  ซึ่งประเทศเวียดนามเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอาเซียนในปี 2563 นี้ และการประชุมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก ที่มีการจัดประชุม SOME รูปแบบออนไลน์ ที่ถือเป็น New Normal จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 

ประเทศไทยได้นำนโยบาย “พลังงานร่วมใจ รวมไทยสร้างชาติ” ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่เน้นการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ และรองรับนวัตกรรมด้านพลังงานอนาคต เสนอต่อที่ประชุมเพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนสนับสนุนและร่วมมือกันลงทุนด้านพลังงานในโครงสร้างพื้นฐาน (สายส่งและท่อก๊าซธรรมขาติ) รวมถึงธุรกิจพลังงานสะอาดและนวัตกรรมใหม่ด้านพลังงาน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนและช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยได้ยกตัวอย่างนโยบายโรงไฟฟ้าชุมชนที่ใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานทดแทน (RE) และการนำน้ำมันปาล์มดิบมาผสมน้ำมันดีเซลกับการนำเอทานอลมาผสมน้ำมันเบนซินที่ทำเป็นนโยบายหลักของประเทศ  


การประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักที่จะผลักดันร่างแผนปฏิบัติการความร่วมมือพลังงานอาเซียน ระยะที่ 2 (ASEAN Plan of Action on Energy Cooperation : APAEC Phase 2) 2021 – 2025 ซึ่งแผนนี้เป็นแผนใหม่ที่ต่อเนื่องจากแผนระยะที่ 1 เพื่อที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะได้นำแผนปฏิบัติการนี้ไปดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จเริ่มตั้งแต่ปี 2564 (2021) เป็นต้นไป ภายใต้ 7 สาขาความร่วมมือ ดังนี้ 

1. ความร่วมมือการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid: APG) การขยายการซื้อขายไฟฟ้าแบบพหุภาคีไปยังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค รวมถึงการเพิ่มศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการดำเนินการเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานในอาเซียน  

2. ความร่วมมือด้านปิโตรเลียม (Trans ASEAN Gas Pipeline: TAGP) ที่ประชุมเห็นชอบการพัฒนาตลาดร่วมก๊าซธรรมชาติในภูมิภาค (Common Gas Market) และการเชื่อมโยงขยายการซื้อขายก๊าซธรรมชาติโดยใช้ Small Scale LNG พร้อมทั้งสนับสนุนการใช้ก๊าซ ในการเดินเรือ หรือ LNG Bunkering  


3. ความร่วมมือด้านถ่านหิน (Coal and Clean Coal Technology: CCT) ที่ประชุมเห็นชอบและพร้อมที่จะลงนามในบันทึกข้อตกลงจัดตั้งศูนย์ข้อมูลพลังงานถ่านหินสะอาดอาเซียน (ASEAN Coal Centre of Excellence) ณ ประเทศอินโดนีเซีย และระบบข้อมูลพลังงานถ่านหินอาเซียน (ASEAN Coal Data and Information System: ACDIS)  

4. ความร่วมมือในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน (Energy Efficiency & Conservation: EE&C) ที่ประชุมเห็นชอบการเพิ่มเป้าการลดความเข้มการใช้พลังงานจากที่กำหนดไว้เดิมร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 32 ภายในปี 2025 เนื่องจากในปัจจุบันประเทศสมาชิกได้ดำเนินการสำเร็จแล้วร้อยละ 24.4 ในปี 2019 

5. ความร่วมมือด้านพลังงานทดแทน (Renewable Energy: RE) ที่ประชุมเห็นชอบเป้าสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนร้อยละ 23 เทียบกับปริมาณพลังงานที่ผลิตได้ทั้งหมด (Total Primary Energy Supply) และร้อยละ 35 เทียบกับปริมาณกำลังการผลิตติดตั้งของโรงไฟฟ้าทั้งหมด (Installed Power Capacity) 

ในปี 2025 ซึ่งเป้าที่กำหนดเป็นเป้าหมายที่ท้าทายประเทศสมาชิกอาเซียนเนื่องจากในปัจจุบัน (2018) อาเซียนดำเนินการได้เพียงร้อยละ 13.3 เทียบกับปริมาณพลังงานที่ผลิตได้ทั้งหมด (Total Primary Energy Supply) และร้อยละ 27.1 เทียบกับปริมาณกำลังการผลิตติดตั้งของโรงไฟฟ้าทั้งหมด (Installed Power Capacity) ณ ปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังการผลิตติดตั้งจากพลังงานทดแทน 11,890 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นร้อยละ 18 ของกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนของทั้งอาเซียน และมีการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในภาคขนส่งมากที่สุดในอาเซียน และมีการใช้เอทานอลอยู่ที่ประมาณ 4 ล้านลิตรต่อวัน ในขณะที่การใช้ไบโอดีเซลอยู่ที่ 5.22 ล้านลิตรต่อวัน  

6. ความร่วมมือด้านนโยบายและแผนพลังงานอาเซียน (Regional Energy Policy & Planning: REPP) จัดทำ ASEAN Energy Outlook ฉบับที่ 7 เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาความมั่นคงด้านพลังงาน เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมและความร่วมมือระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบที่จะพิจารณาแนวทางการเพิ่มการค้าการลงทุนด้านพลังงาน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานเป็นการเพิ่มเติมด้วย 

7. ความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์ (Civilian Nuclear Energy: CNE) ที่ประชุมสนับสนุนการสร้างความร่วมมือด้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในภูมิภาคอาเซียนสำหรับประชาชนอย่างปลอดภัยและยั่งยืน แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อสร้างขีดความสามารถและเครือข่ายความร่วมมือเชิงเทคนิคและเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ มุ่งสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจแก่สาธารณชนเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์เพื่อการผลิตไฟฟ้าในภูมิภาค 

นอกจากนี้ อาเซียนจะได้ประชุมหารือร่วมกับประเทศคู่เจรจา อาทิ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย เป็นต้น เกี่ยวกับความร่วมมือในการเชื่อมโยงทางพลังงานเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานของอาเซียน รวมถึงการหารือกับองค์กรพลังงานระหว่างประเทศ อาทิ ทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (IEA).-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ คาดโซน C พบผู้เสียชีวิตมากสุด

เข้าสู่วันที่ 10 ค้นหาผู้ประสบภัยในซากตึก สตง.ถล่ม “ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” คาดโซน C น่าจะพบผู้เสียชีวิตมากที่สุด เบื้องต้นพบผู้เสียชีวิตบริเวณนี้ประมาณ 10-20 ร่าง ด้าน “ช่างเบิร์ด” ที่ทำงานวางระบบไฟฟ้า เผยเจรจากับบริษัทผู้จ้างมาแล้ว 3 ครั้ง แต่จนถึงวันนี้ยังไม่ได้รับเงินที่ค้างอยู่

สิ้น “ผ่องศรี วรนุช” ศิลปินแห่งชาติ วัย 85 ปี

วงการบันเทิงเศร้า “ผ่องศรี วรนุช” ศิลปินแห่งชาติ ราชินีลูกทุ่งคนแรกของไทย จากไปอย่างสงบ ในวัย 85 ปี หลังป่วยมะเร็งปอดและเข้ารับการรักษามาระยะหนึ่ง

Trump signs order on new tariffs

สหรัฐเริ่มแล้วเก็บภาษี 10% สินค้านำเข้าจากทั่วโลก

วอชิงตัน 6 เม.ย.- ศุลกากรสหรัฐเริ่มมาตรการเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 10 กับสินค้านำเข้าทั้งหมดจากทั่วโลกแล้วตั้งแต่วันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ ก่อนที่จะเก็บภาษีเพิ่มกับแต่ละประเทศในสัปดาห์หน้า อัตราภาษีพื้นฐานร้อยละ 10 มีผลกับสินค้าทั้งหมดที่นำเข้าสหรัฐผ่านด่านทางทะเล ทางอากาศ และโกดังของศุลกากรตั้งแต่เวลา 00.01 น.วันที่ 5 เมษายน 2568 ตามเขตเวลาตะวันออก ตรงกับเวลา 11.01 น.วันเดียวกันตามเวลาไทย อย่างไรก็ดี สินค้าที่ถูกลำเลียงแล้วหรืออยู่ระหว่างขนส่งเข้าสหรัฐก่อนเวลาดังกล่าวจะได้รับการผ่อนผันไม่ถูกเก็บภาษีร้อยละ 10 โดยต้องมาถึงสหรัฐภายในวันที่ 27 พฤษภาคมหรือภายใน 51 วัน ส่วนภาษีที่สหรัฐจะเรียกเก็บเพิ่มจากแต่ละประเทศในอัตราที่แตกต่างกัน มีตั้งแต่ร้อยละ 11 ไปจนถึงร้อยละ 50 จะเริ่มมีผลตั้งแต่เวลา 00.01 น.วันที่ 9 เมษายน 2568 ตามเขตเวลาตะวันออก ซึ่งขณะนี้ช้ากว่าไทย 11 ชั่วโมงเนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูร้อน โดยไทยจะถูกเรียกเก็บเพิ่มในอัตราร้อยละ 36 สำหรับสินค้าประมาณ 1,000 ประเภทที่ได้รับการยกเว้นจากมาตรการภาษีใหม่ของสหรัฐ เช่น ยา ยูเรเนียม เซมิคอนดักเตอร์ รัฐบาลสหรัฐกำลังพิจารณาเรื่องอัตราภาษีใหม่ที่จะใช้กับสินค้าเหล่านี้ ประธานาธิบดีโดนัลด์ […]

ทีมกู้ภัยนำร่างผู้เสียชีวิตออกมาได้เพิ่ม

วันที่ 9 ของภารกิจค้นหาผู้ติดค้างใต้ซากตึก สตง. เจ้าหน้าที่กู้ภัยและเจ้าหน้าที่ส่วนอื่นๆ นำกำลังเข้าพื้นที่ค้นหา ล่าสุดสามารถนำร่างผู้เสียชีวิตออกมาได้เพิ่ม