
นายกฯ เตรียมผลักดันการกระชับความร่วมมืออาเซียน
25 พ.ค. – นายกรัฐมนตรีเตรียมผลักดันการกระชับความร่วมมืออาเซียน รับมือความผันผวนของเศรษฐกิจโลก พร้อมเสริมสร้างความร่วมมือปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ.-สำนักข่าวไทย
25 พ.ค. – นายกรัฐมนตรีเตรียมผลักดันการกระชับความร่วมมืออาเซียน รับมือความผันผวนของเศรษฐกิจโลก พร้อมเสริมสร้างความร่วมมือปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ.-สำนักข่าวไทย
มาเลเซีย 25 พ.ค- “พิชัย” ร่วมประชุม ‘คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council)’ ที่มาเลเซีย รับทราบสถานการณ์ความผันผวนเศรษฐกิจโลก ชูขยายการค้า-ลงทุน นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เข้าร่วมการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Council: AEC Council) ครั้งที่ 25 ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2568 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยมี H.E. Senator Tengku Datuk Seri Utama Zafrul Tengku Abdul Aziz รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุน การค้า และอุตสาหกรรมของมาเลเซีย เป็นประธาน ซึ่งเป็นการประชุมรัฐมนตรีของเสาเศรษฐกิจ เพื่อเตรียมเสนอผลงานสำคัญต่อการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 46 ระหว่างวันที่ 26 – 27 พฤษภาคม 2568 […]
กัวลาลัมเปอร์ 25 พ.ค. – รัฐมนตรีต่างประเทศสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน รับปากจะให้การสนับสนุนเมียนมาต่อไป และขอให้ทุกฝ่ายในเมียนมาขยายการหยุดยิง รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจัดการประชุมที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซียในวันนี้ ก่อนที่จะมีการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 46 ในวันที่ 26-27 พฤษภาคม นายโมฮัมหมัด ฮาซัน รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซียกล่าวในฐานะที่มาเลเซียเป็นประธานอาเซียนวาระปัจจุบันว่า อาเซียนได้ดำเนินการอย่างฉับพลันและทันทีหลังจากเกิดแผ่นดินไหวกระทบหลายพื้นที่ในเมียนมาและไทย การตอบสนองอย่างรวดเร็วเป็นการสะท้อนถึงจิตวิญญาณของความเห็นอกเห็นใจ ความเป็นปึกแผ่น และมนุษยธรรม ที่เป็นแรงบันดาลใจของการก่อตั้งอาเซียน นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงการให้คำมั่นอย่างแน่วแน่ของครอบครัวอาเซียนที่จะให้การสนับสนุนเมียนมาในยามที่เผชิญภัยพิบัติเช่นนี้ นายฮาซันกล่าวว่า อาเซียนขอเรียกร้องให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเมียนมายุติความเป็นปรปักษ์และขยายการหยุดยิง เพื่อเปิดทางให้แก่หนทางที่ยากลำบากและยาวไกลไปสู่การฟื้นตัว และเพื่อบรรเทาความทุกข์ยากของประชาชนชาวเมียนมา นายฮาซันกล่าวด้วยว่า อาเซียนไม่สามารถนิ่งเฉยต่อวิกฤตในภูมิภาคได้ เพราะอาเซียนมีสิทธิมีเสียงในกิจการของโลก จึงต้องใช้เสียงพูดให้แก่ผู้ถูกกดขี่ และเสนอทางออกที่ตั้งอยู่บนหลักการและกฎหมายสากล.-814.-สำนักข่าวไทย
จาการ์ตา 25 พ.ค.- เลขาธิการสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน เปิดเผยว่า ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่มาเลเซียในสัปดาห์หน้าจะมุ่งเน้นเรื่องวิกฤตในเมียนมาและการหารือเรื่องทะเลจีนใต้ นายเกา กึมฮวน เลขาธิการอาเซียนคนที่ 15 ซึ่งดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2566 ให้สัมภาษณ์เรื่องการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 46 ระหว่างวันที่ 26-27 พฤษภาคมที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซียว่า ประเด็นสำคัญและวาระหลักของการประชุม คือ การลงนามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2045 และแผนยุทธศาสตร์ใหม่ 4 ฉบับ เขามั่นใจว่า เมียนมาจะเป็นประเด็นในการประชุม เนื่องจากสถานการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ทั้งเรื่องแผ่นดินไหวขนาด 7.7 เมื่อไม่นานมานี้ และเรื่องอาเซียนจะตอบสนองต่อเมียนมาอย่างไรในเรื่องแผ่นดินไหวและสถานการณ์ในประเทศ ส่วนอีกประเด็น คือ การเจรจาที่กำลังดำเนินอยู่เรื่องประมวลการปฏิบัติในทะเลจีนใต้หรือซีโอซี (Code of Conduct in the South China Sea: COC) ที่ทั้ง 2 ฝ่าย คือ อาเซียนและจีนมุ่งมั่นที่จะสรุปการเจรจาให้แล้วเสร็จภายในปี 2569 เลขาธิการอาเซียนกล่าวด้วยว่า อาเซียนไม่ได้ทำงานเชิงรับ แต่มีจินตนาการด้วยการมีวิสัยทัศน์ระยะยาวที่เป็นโรดแมปสำหรับนำทางการสร้างประชาคมอาเซียน และนำทางการเดินหน้าในการเร่งการบูรณาการภูมิภาคและติดต่อกับหุ้นส่วนภายนอกภูมิภาค.-814.-สำนักข่าวไทย
กัวลาลัมเปอร์ 22 พ.ค. – นายกรัฐมนตรีอันวาร์ อิบราฮิม ของมาเลเซียกล่าววานนี้ เรียกร้องให้อาเซียนมีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งมากกว่าเดิมกับทุกกลุ่มในเมียนมา พร้อมกับระบุว่า แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเมียมา เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา ถือเป็นโอกาสสำคัญในการรื้อฟื้นการทูตในระดับภุมิภาคขึ้นมาใหม่ นายอันวาร์ กล่าวว่า เขาได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นเอกฉันท์จากสมาชิกอื่น ๆ ของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ให้เดินหน้าเจรจาหลังจากเกิดแผ่นดินไหวในเมียนมา ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 3,700 คน นายอันวาร์ กล่าวว่า เมื่อเขาปรึกษาหารือกับเพื่อนผู้นำชาติอาเซียนคนอื่น ๆ ไม่มีใครเลยที่บอกให้เขาระมัดระวัง ทุกคนกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าดีแล้ว ให้เขาใช้โอกาสที่เกิดแผ่นดินไหวในการเจรจากับทุกฝ่ายในเมียนมา ผู้นำมาเลเซีย ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนมาปีนี้กล่าวว่า มาเลเซียไม่มีความประสงค์ที่จะตั้งเงี่นอไขใด ๆ กับเมียนมา นายอันวาร์ เปิดเผยว่า มาเลเซียมาเลเซียได้เริ่มการเจรจาอย่างไม่เป็นทางการกับหลายกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในเมียนมา โดยระบุว่าการเคลื่อนไหวนี้เป็น ‘ความพยายามในการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังครั้งแรก’ ของอาเซียนในการแก้ไขวิกฤตการณ์ เขาระบุว่า สิ่งที่สำคัญอีกครั้งคือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จะต้องหยุดการเข่นฆ่าผู้คนหรือเผาบ้านของประชาชนด้วย.-813.-สำนักข่าวไทย
จาการ์ตา 21 พ.ค. – เกา กิม ฮวน (Kao Kim Hourn) เลขาธิการอาเซียนกล่าววันนี้ว่า สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน จะเปิดการประชุม 2 ครั้ง ที่จะมุ่งเน้นเรื่องสงครามในเมียนมา ก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในสัปดาห์หน้า ซึ่งเป็นความพยายามในการผลักดันกระบวนการสันติภาพในเมียนมา นายเกา กิม ฮวน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวรอยเตอร์สว่า ถือเป็นเรื่องใหม่ที่อาเซียนจะมุ่งเน้นเฉพาะเรื่องเมียนมา โดยที่จะไม่มีการหยิบยกประเด็นอื่น ๆ ขึ้นมาพูดคุย โดยการประชุมทั้ง 2 ครั้งนี้จะจัดขึ้นที่มาเลเซีย ซึ่งเป็นประธานอาเซียนในปีนี้ นายเกา กิม ฮวน ไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจงถึงประเด็นที่จะหยิบยกขึ้นมาหารือ หรือว่าจะมีประเด็นข้อเสนอใหม่ๆ ในการหาทางยุติสงครามในเมียนมาหรือไม่ นายเกา กิม ฮวน กล่าวว่า การประชุมครั้งแรกจะมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นชาติที่เป็นประธานอาเซียนในปัจจุบัน ประธานอาเซียนปีที่แล้วและประธานอาเซียนชาติถัดไป ได้แก่ มาเลเซีย ลาว และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ ส่วนการประชุมครั้งที่ 2 จะเป็นการหารือของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เลขาธิการอาเซียนไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับความคาดหมายของผลการหารือ แต่กล่าวว่า การเจรจาจะมีขอบเขต […]
นายกรัฐมนตรีหลี่ เฉียง ของจีน จะเดินทางเยือนมาเลเซียช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อร่วมประชุมสุดยอดกลุ่มชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับชาติอาหรับที่เป็นกลุ่มที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่
“พิชัย” รมว.คลัง รับห่วงเรื่องกติกา มากกว่าภาษี เหตุแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน บอกหลายเรื่องอาเซียนต้องเกาะกลุ่ม หวั่นหากเงื่อนไขต่างอาจมีปัญหากันเอง ยังไม่ชัดกรอบเวลา เหตุเจ้าหน้าที่สหรัฐมีจำกัด
รีโอเดจาเนโร 29 เม.ย.- รัฐมนตรีต่างประเทศจีนเปิดเผยว่า จีนให้ความสำคัญระดับสูงต่อความสัมพันธ์จีน-ไทย ในการดำเนินนโยบายการทูตกับประเทศเพื่อนบ้าน สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานว่า นายหวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน ซึ่งไปร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่มบริกส์ (BRICS) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วที่นครรีโอเดจาเนโรของบราซิลเมื่อวานนี้ ได้กล่าวขณะพบปะหารือกับมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยว่า จีนให้ความสำคัญระดับสูงกับความสัมพันธ์จีน-ไทยในการดำเนินนโยบายทูตกับประเทศเพื่อนบ้าน นายหวังกล่าวว่า จีนพร้อมทำงานร่วมกับไทยเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือเชิงปฏิบัติด้านต่าง ๆ และเพิ่มความแน่นอนให้แก่สันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยจีนยินดีต้อนรับการมีส่วนร่วมของไทยในฐานะประเทศหุ้นส่วนของกลุ่มบริกส์ (BRICS) และการมีส่วนร่วมในความร่วมมือกลุ่มบริกส์ ด้านนายมาริษกล่าวว่า การสร้างความทันสมัยของจีนจะเป็นโอกาสใหญ่ของไทย และไทยหวังจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มบริกส์ เสริมสร้างความร่วมมือในกลุ่มประเทศโลกใต้ (Global South) และปกป้องผลประโยชน์ร่วมกันของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซินหัวรายงานด้วยว่า รัฐมนตรีต่างประเทศทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันเรื่องจะเร่งการก่อสร้างทางรถไฟจีน-ไทย เดินหน้าความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการวิจัยแพนด้ายักษ์ ปราบปรามการฉ้อโกงทางโทรคมนาคมและอาชญากรรมข้ามพรมแดนอื่น ๆ อย่างจริงจัง ตลอดจนผลักดันการพัฒนาความตกลงเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน รุ่น 3.0 (Version 3.0 China-ASEAN Free Trade Area).-814.-สำนักข่าวไทย
“มาริษ” รมว.กต. เผยไทย-มาเลเซีย-อาเซียน ช่วยเหลือมนุษยธรรม เหตุแผ่นดินไหวเมียนมาต่อเนื่อง ขอบคุณผู้มีส่วนร่วมทุกคนปฏิบัติหน้าที่ขันแข็ง
กรุงเทพฯ 17 เม.ย.- สื่อทางการมาเลเซียรายงานข่าวนายกรัฐมนตรีอันวาร์ อิบราฮิมเดินทางถึงกรุงเทพฯ ในวันนี้ เพื่อเริ่มการเยือนเพื่อการเจรจาทำงาน (working visit) ที่ประเทศไทยเป็นเวลา 2 วัน เว็บไซต์สำนักข่าวเบอร์นามาของทางการมาเลเซียรายงานว่า เครื่องบินพิเศษได้นำนายกรัฐมนตรัอันวาร์เดินทางถึงสนามบินของฐานทัพอากาศใกล้ดอนเมือง เมื่อเวลา 13.20 น.วันนี้ตามเวลาไทย โดยมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและนายบอง ยิก จุย อุปทูตรักษาการ สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย มาต้อนรับนายกรัฐมนตรีอันวาร์และคณะ ซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีกระทรวงการลงทุน การค้าและอุตสาหกรรม รัฐมนตรีกระทรวงโยธาธิการ ปลัดกระทรวงต่างประเทศ และนายออธมาน ฮาชิม ทูตพิเศษเรื่องเมียนมาของอาเซียน ก่อนหน้านี้กระทรวงต่างประเทศมาเลเซียออกถ้อยแถลงว่า นายกรัฐมนตรีอันวาร์มีกำหนดหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีแพรทองธาร ชินวัตร ของไทยที่ทำเนียบนายกรัฐมนตรี เพื่อติดตามความคืบหน้าผลการประชุมหารือประจำปีมาเลเซีย-ไทยครั้งที่ 7 ที่เมืองปุตราจายาเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 อีกทั้งยังจะหารือความสัมพันธ์ทวิภาคี และสำรวจแนวทางเดินหน้าความร่วมมือในด้านอื่น ๆ ระหว่างกัน รวมถึงหารือในประเด็นภูมิภาคและสากลที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีของทั้ง 2 ประเทศจะเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจหรือเอ็มโอยู (MoU) ข้อตกลงการก่อสร้างในโครงการสะพานรันเตา ปันจัง-สุไหงโก-ลก ระหว่างรัฐมนตรีโยธาธิการของมาเลเซียและรัฐมนตรีคมนาคมของไทย นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีอันวาร์ยังมีกำหนดพบหารือกับกลุ่มที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการของประธานอาเซียนและพบปะกับบรรดาผู้นำในภาคอุตสาหกรรมของไทย […]
กัวลาลัมเปอร์ 17 เม.ย.- ผู้นำจีนระบุว่า ความสัมพันธ์ของจีนกับมาเลเซียกำลังก้าวสู่ยุคทองรอบใหม่ ขณะที่ทั้ง 2 ฝ่ายประกาศสนับสนุนอาเซียน คัดค้านการบังคับย้ายถิ่นคนในกาซา และให้จัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ที่เป็นอิสระ สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานว่า เมื่อวานนี้ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนได้พบปะกับอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียในโอกาสที่เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ และได้กล่าวว่าความสัมพันธ์จีน-มาเลเซียกำลังก้าวสู่ยุคทองรอบใหม่ เขาพร้อมทำงานร่วมกับนายอันวาร์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาประชาคมจีน-มาเลเซียที่มีอนาคตร่วมกันในเชิงยุทธศาสตร์ระดับสูง และการมีส่วนสนับสนุนความเจริญรุ่งเรืองและเสถียรภาพในภูมิภาค หลังจากนั้นผู้นำทั้ง 2 ประเทศได้ออกแถลงการณ์ร่วมกันว่า จีนและมาเลเซียมุ่งมั่นจะสนับสนุนสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน โดยสนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียน การเสริมสร้างกลไกที่นำโดยอาเซียน เพื่อส่งเสริมสถาปัตยกรรมระดับภูมิภาคที่เปิดกว้างและครอบคลุม นำพามาซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และการเอื้ออำนวยประโยชน์สู่การพัฒนา การเติบโต และความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค ขณะที่มาเลเซียประกาศสนับสนุนจีนในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ปี 2026 และสนับสนุนเขตบริหารพิเศษฮ่องกงของจีนเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ด้วย แถลงการณ์ร่วมยังได้คัดค้านการบังคับประชาชนในกาซาย้ายถิ่นฐาน โดยระบุว่า กาซาเป็นของประชาชนชาวปาเลสไตน์และเป็นส่วนหนึ่งที่มิอาจแบ่งแยกจากดินแดนปาเลสไตน์ “ชาวปาเลสไตน์ปกครองปาเลสไตน์” เป็นหลักการสำคัญที่ต้องยึดถือในการบริหารปกครองกาซาในยุคหลังความขัดแย้ง พร้อมเรียกร้องการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ที่เป็นอิสระตามแนวทางแก้ไขปัญหาแบบ 2 รัฐ (Two-State Solution) และการให้ปาเลสไตน์เป็นสมาชิกสหประชาชาติ (UN) อย่างเต็มรูปแบบด้วย ก่อนหน้านั้นในวันเดียวกัน ประธานาธิบดีสีได้พบหารือกับสุลต่าน อิบราฮิม สุลต่าน อิสกันดาร์ […]