ชัวร์ก่อนแชร์ : ท้องอิ่มดื่มน้ำอุ่น ก่อนฉีดวัคซีน ป้องกันอาการไม่สบาย จริงหรือ ?

1 พฤษภาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์ แชร์คำแนะนำว่า “ท้องต้องอิ่ม ดื่มน้ำอุ่น ก่อนฉีดวัคซีน ช่วยป้องกันอาการไม่สบายได้” ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ยืนยันว่า “ไม่เป็นความจริง” บทสรุป : ไม่จริง และ ไม่ควรแชร์ต่อ• ไม่มีหลักฐานทางวิชาการยืนยันว่า ท้องอิ่มและดื่มน้ำอุ่นก่อนฉีดวัคซีน จะช่วยป้องกันอาการไม่สบายได้ ข้อมูลที่ถูกแชร์เพื่อนนักเรียนเก่า เป็นคนเห๋อเป่ยคุยกับคนสิงคโปร์ เรื่องการฉีดวัคซืนโควิด สิ่งที่ต้องระวังก่อนฉีดวัคซีนโควิด1. ท้องต้องอิ่ม (ฉีดหลังอาหาร)2. ดื่มน้ำอุ่น หรือ น้ำอุณหภูมิห้อง 250 ซีซี (หนึ่งแก้วกาแฟ)ถ้าทำได้สองอย่างนี้ ตอนฉีดวัคซีนจะไม่มีอาการไม่สบาย ความรู้สึกแย่มากปกติคนเราก็ต้องกินอาหาร ดื่มน้ำอยู่แล้ว โปรดทำสองสิ่งนี้ก่อนฉีดวัคซีนโควิด อย่า ฉีดวัคซีนตอนหิว หรือท้องว่าง ให้ฉีดหลังอาหาร และอย่าดื่มน้ำเย็น ให้ดื่มน้ำอุณหภูมิห้อง หรืออุ่นๆ หนึ่งแก้วเต็ม 250 ซีซีหลังฉีดวัคซีนอาจจะรู้สึกไม่ค่อยสบาย 10-15 นาทีเท่านั้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์:เปิดไทม์ไลน์“หมอพร้อม”ทำไมคิวแรกต้อง“กลุ่มผู้สูงอายุ-7โรคเรื้อรัง”

28 เมษายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ ในวันที่ 28 เม.ย. ที่ผ่านมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง ได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าวเพื่อเดินหน้าการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยด้วย 7 โรคเรื้อรังเป็นคิวแรกในเดือนมิ.ย.-ก.ค. 64 ผ่านการจองคิวรับวัคซีนในระบบ “ไลน์หมอพร้อม” โดยมีผู้ที่มีคุณสมบัติในการรับวัคซีนในครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 16 ล้านคน ทำไมกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยด้วย 7 โรคเรื้อรังถึงมีสิทธิได้รับวัคซีนก่อนกลุ่มอื่น และผู้ที่จะได้รับวัคซีนในลำดับถัดไปคือกลุ่มไหน แผนการกระจายวัคซีนให้เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมายจะทำได้อย่างไร มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกับ “ชัวร์ก่อนแชร์” Q : 1 พ.ค.นี้ ลงทะเบียน “ผ่านไลน์หมอพร้อม” นัดฉีดวัคซีนโควิด19 คิวแรกกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรังA : ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รมช.กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า ในเดือน มิ.ย.-ก.ค. 64 กลุ่มแรกที่จะได้รับการฉีดวัคซีนมีจำนวนทั้งสิ้น 16 ล้านคน จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง 7 โรค ส่วนประชาชนที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : มหาเศรษฐีชาวอินเดียแห่เช่าเครื่องบินเหมาลำเข้าไทย จริงหรือ?

26 เมษายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ ตามที่มีการแชร์กันผ่านสื่อโซเซียลว่า มหาเศรษฐีชาวอินเดียจำนวนมากเช่าเครื่องบินเหมาลำบินออกนอกประเทศหลังระบบสาธารณสุขในประเทศล่มจากโควิด-19 นอกจากนี้ยังมีการแชร์ข้อมูลพบนักศึกชาวอินเดีย 7 คนทำการรักษาโควิด-19 อยู่ที่ประเทศไทยด้วยนั้น ไม่เป็นความจริง บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ศบค.ยืนยันไม่มีเครื่องบินเช่าเหมาลำจากอินเดียเข้ามาลงที่ประเทศไทย กต. แจง 7 ชาวอินเดียที่รักษาโควิดในไทย เข้ามาตามเที่ยวบินปกติที่ได้จองไว้ล่วงหน้า โดยขออนุญาตเข้ามายังประเทศไทยแล้ว ไม่ใช่การเช่าเหมาลำ เป็นผู้มีใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย 1 คน  อีก 6 คนเป็นนักศึกษาและผู้ติดตามนักศึกษา ข้อมูลที่ถูกแชร์ “มหาเศรษฐีอินเดียจำนวนมาก เร่งเหมาเครื่องบินส่วนตัวบินออกต่างประเทศ หลังระบบสาธารณสุขในประเทศล่มจากโควิด-19 โดยเที่ยวบินอินเดีย-ดูไบ อยู่ที่ 38,000$ หรือหรือ 1.1 ล้านบาท/เที่ยว พรุ่งนี้มีถึง 12 เที่ยวบินไปดูไบ เต็มทุกที่นั่งและตามรายงานมีบางส่วนเดินทางเข้าไทยด้วย” Fact Check : ตรวจสอบข้อเท็จจริง กต.ยันข่าวชาวอินเดียเช่าเหมาลำมาไทยคาดเคลื่อน สื่อแปลผิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ปรับคนขับรถไม่ใส่แมสก์-ออกนอกเคหสถาน จริงหรือ?

26 เมษายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ ตามที่มีการแชร์ภาพใบเสร็จรับเงินค่าปรับผ่านสื่อโซเซียลมีเดีย พร้อมคำเตือนว่า หากไม่สวมใส่หน้ากากอนามัยขณะขับรถ ต้องระวางโทษถูกปรับเงินด้วยนั้น จริงบางส่วน ต้องอธิบายเพิ่ม บทสรุป จริงบางส่วน ต้องอธิบายเพิ่ม ไม่ควรแชร์ ใบเสร็จค่าปรับที่แชร์กัน เป็นการปรับผู้ไม่สวมหน้ากากที่ตลาดบางปะหัน ไม่ใช่การจับปรับที่ด่านตรวจหรือการขับขี่รถแต่อย่างใด ฝ่ายกฎหมาย กรุงเทพมหานคร ชี้แจงว่า ถ้าขับรถหรืออยู่ในรถคนเดียวไม่ใส่หน้ากากอนามัยได้ แต่ถ้ามีคนอื่นนั่งมาด้วยต้องใส่หน้ากากอนามัย คนที่ไม่ใส่หน้ากากอนามัยที่อยู่ในรถนั้นจะเป็นผู้ที่ถูกปรับ ข้อมูลที่ถูกแชร์ มีการแชร์ภาพใบเสร็จรับเงินค่าปรับ พร้อมคำเตือนว่า “ถึงจะอยู่ในรถส่วนตัว ก็ต้องใส่แม๊สด้วยนะครับ จับปรับทันที” หรือ “”ถึงจะอยู่ในรถส่วนตัว ก็ต้องใส่Maskด้วยนะ เจอด่านตรวจ จับปรับทันที..” Fact Check : ตรวจสอบข้อเท็จจริง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท ตรวจสอบต้นตอภาพ พบว่า เป็นภาพที่มีการเผยแพร่โดย Facebook ที่ทำการปกครองอำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 25 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ทำความรู้จักกับ “Line หมอพร้อม” จองฉีดวัคซีนโควิด-19 ดีเดย์ 1 พ.ค. นี้

24 เมษายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์เปิดขั้นตอนจองวัคซีนโควิด-19 ผ่าน LINE “หมอพร้อม” พร้อมตอบข้อสงสัย ไม่โหลด-ไม่เพิ่มเพื่อนจะได้ฉีดวัคซีนหรือไม่? “วัคซีน” เป็นกุญแจสำคัญที่จะหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ เป็นปัจจัยลดความเสี่ยงการป่วยหนักและเสียชีวิตของผู้ป่วย และการที่จะทำให้วัคซีนทำหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คือ การที่ประชากรไทยร้อยละ 70 หรือ 50 ล้านคน ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนและทั่วถึง เป็นที่มาของระบบ “หมอพร้อม” ระบบการจองและรายงานการฉีดวัคซีน ที่เกิดจากความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน เชื่อมต่อแบบ real-time กับโรงพยาบาลที่เปิดฉีดวัคซีนทั่วประเทศ 1,500 แห่ง พร้อมออกเอกสารรับรองการได้รับวัคซีนโควิด-19 (Vaccine Certificate) วันนี้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ “หมอพร้อม” ผ่านแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและผู้คิดค้นระบบ “หมอพร้อม” นพ.สุภโชค เวชภัณฑ์เภสัช ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข   “หมอพร้อม” เตรียมเปิด Line Official Account จองฉีดวัคซีน 1 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : นอนกัดฟัน ทำให้หน้าสั้น-หน้าบานจริงหรือ?

15 เม.ย. – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ ว่าการนอนกัดฟันจะทำให้หน้าสั้น และหน้าบาน เรื่องนี้จะจริงหรือไม่ ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ ผศ.ทพญ.พนมพร วานิชชานนท์ หัวหน้าภาควิชาทันตกรรมบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐวัฒน์ จิตรมั่น สรุป : ไม่ควรแชร์ต่อ หน้าสั้น หน้าบาน มีหลายสาเหตุหากกังวลควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวิเคราะห์หาสาเหตุต่อไป 🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” 🎯LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshareFB :: https://www.facebook.com/SureAndShareTwitter :: https://www.twitter.com/SureAndShareIG :: https://instagram.com/SureAndShareWebsite :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.comTikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ชัวร์ก่อนแชร์ : สธ.ออกแนวทาง “ติดโควิด แยกกักตัวที่บ้านได้” จริงหรือ ?

21 เมษายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์ แชร์ข้อมูลว่า สธ.ออกแนวทางการพิจารณาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เหมาะสมสำหรับการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบจาก การแถลงข่าวสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข พบว่า “จริงเพียงบางส่วน” บทสรุป : จริงบางส่วน และ ยังไม่ควรแชร์• กรมการแพทย์ยืนยันเมื่อ 19 เม.ย.64 ว่า ยังไม่ได้ประกาศใช้แนวทางดังกล่าว เป็นเพียงการเตรียมรับมือล่วงหน้า ในกรณีหากยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงและเตียงไม่เพียงพอ• ปัจจุบันเตียงยังเพียงพอ และผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทุกราย ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ข้อมูลที่ถูกแชร์แนวทางการพิจารณาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เหมาะสมสำหรับการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) ถูกแชร์มาในลักษณะภาพใบประกาศ 3 ใบ มีใจความสำคัญว่า โรงพยาบาลอาจพิจารณาให้ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ใช้ที่พักอาศัยเป็นสถานที่แยกกักตัวได้ หากได้รับความยินยอมจากเจ้าของสถานที่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ฉีดวัคซีนแล้วไม่มีอาการ จะไม่เกิดภูมิคุ้มกัน จริงหรือ ?

21 เมษายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที สังคมออนไลน์ ตั้งคำถาม “ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วไม่มีอาการ จะไม่เกิดภูมิคุ้มกัน จริงหรือ ?” ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ยืนยันว่า “ไม่เป็นความจริง” บทสรุป : ไม่เป็นความจริง• ยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่า ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วไม่มีอาการ จะไม่เกิดภูมิคุ้มกัน ข้อสงสัยบนสังคมออนไลน์จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน วัคซีนถือเป็นตัวช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด – 19 ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ แต่การฉีดวัคซีนอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น ปวดบวมแดงร้อน เป็นไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยร่างกาย ถือเป็นปฏิกิริยาตามปกติที่ร่างกายต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม อย่างไรก็ตามบนสังคมออนไลน์ มีผู้เกิดความสงสัย และตั้งคำถามว่า หากฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วร่างกายไม่มีอาการเจ็บปวดหรือปฏิกิริยาใดเลย จะไม่เกิดภูมิคุ้มกัน หรือไม่? FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริงศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : กินฟ้าทะลายโจรป้องกันโควิด-19 ได้ จริงหรือ?

20 เมษายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ ตามที่มีการแชร์ผ่านสื่อโซเซียลมีเดียว่า กินฟ้าทะลายโจรสามารถป้องกันโควิด-19 ได้ รวมถึงเป็นทางเลือกที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องไปฉีดวัคซีนนั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบข้อมูลกับ ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งของประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล (สยส.) ระบุตรงกันว่า ไม่เป็นความจริง บทสรุป : ไม่เป็นความจริง ไม่ควรแชร์ต่อ ยังไม่มีหลักฐานรองรับว่าการใช้ฟ้าทะลายโจรสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ และการกินฟ้าทะลายโจรไม่สามารถทดแทนการฉีดวัคซีนได้ ไม่ควรกินสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรจำนวนมาก เสี่ยงตับพัง หากติดเชื้อโควิด-19 จริงจะทำให้การรักษาโควิดทำได้ยาก เมื่อมีอาการเข้าข่ายติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ควรรีบพบแพทย์ “ผู้เชี่ยวชาญ” ยืนยัน ยังไม่มีผลการศึกษาว่าฟ้าทะลายโจรสามารถป้องกันการเชื้อโควิด-19 ได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวกับ ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โดย ภญ.ดร.ผกากรอง กล่าวยืนยันกรณีที่มีการแชร์ข้อมูลระบุว่าฟ้าทะลายโจรสามารถใช้เป็นทางเลือกแทนวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้นั้น  ไม่เป็นความจริง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ฟ้าทะลายโจร ป้องกันโควิด ไม่ต้องฉีดวัคซีน จริงหรือ ?

19 เม.ย. – บนสังคมออนไลน์แชร์แนะนำว่า การกินยาฟ้าทะลายโจร สามารถช่วยป้องกันโควิด-19 ได้ อาจเป็นหนึ่งในทางเลือกแทนการฉีดวัคซีน เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามกับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ… ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งของประชาชน ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.)🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ 📌 สรุป : ❌ไม่ควรแชร์ต่ออย่างยิ่ง ❌ เป็นเรื่องที่ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน 🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” 🎯LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshareFB :: https://www.facebook.com/SureAndShareTwitter :: https://www.twitter.com/SureAndShareIG :: https://instagram.com/SureAndShareWebsite :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.comTikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ชัวร์ก่อนแชร์ : 9 ท่าพิชิตโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จริงหรือ ?

18 เม.ย. – บนสังคมออนไลน์ แชร์คลิปแนะนำ 9 ท่าพิชิตหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แต่ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ ผศ.นพ.ชัชวาลย์ เจริญธรรมรักษา อาจารย์ประจำภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มศว🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พงศ์อิทธิ์ เชิดชูวงศ์ 📌 สรุป : ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ เพราะว่าโอกาสเกิดผลเสียมากกว่าได้ผลดี 🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” 🎯LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshareFB :: https://www.facebook.com/SureAndShareTwitter :: https://www.twitter.com/SureAndShareIG :: https://instagram.com/SureAndShareWebsite :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.comTikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ชัวร์ก่อนแชร์ : อย่าเพิ่งหลงเชื่อ ข้อมูลเท็จ “โควิด-19” มั่ว-เก่า-วนซ้ำ

12 เมษายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที เมื่อเกิดการแพร่ระบาดที่เป็นข่าวใหญ่ ความตระหนักและความตระหนกเกี่ยวกับภัยจาก “โควิด-19” ก็กลับมาอยู่ในความสนใจของผู้คนอีกครั้ง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ประมวลหลากหลายข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ เรื่องมั่ว เรื่องเก่า วนซ้ำกลับมาแชร์ใหม่ ให้เป็นภูมิคุ้มกัน INFODEMIC ไว้ล่วงหน้า “ เช็กอาการโควิด ” แชร์กันว่า : “สัญญาณ Covid-19 สรุปจาก สธ. น่าจะช่วยกันได้บ้าง อาการวันต่อวัน…”บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ และอาจก่ออันตรายต่อตนเองและคนรอบข้างข้อเท็จจริง : การรอเช็กอาการตนเอง รอจนถึงวันที่ 3-4 ว่ามีไข้หรือไม่นั้น อาจจะทำให้เข้ารับการรักษาล่าช้าและระหว่างนั้นอาจแพร่เชื้อให้คนรอบข้างไปแล้ว ดังนั้น หากมีประวัติเสี่ยง หรือ มีอาการคล้ายไข้หวัด ควรเพิ่มความระมัดระวัง หรือกักตัว สังเกตอาการ และปรึกษาแพทย์หรือหน่วยงานสาธารณสุขข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.youtube.com/watch?v=0xfIirHcuB0 […]

1 33 34 35 36 37 46