เตือนระวังผู้ไม่หวังดีใช้ข่าวปลอม ปลุกปั่นหลอกรับบริจาค

26 ก.ค.- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนระวังผู้ไม่หวังดี ฉวยโอกาสใช้ข่าวปลอม ปลุกปั่นคนไทย และหลอกรับบริจาค วันนี้ (26 กรกฎาคม 2568) พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธ์ุเพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ชายแดนไทย – กัมพูชา ขณะนี้ ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันสำนักงานตำรวจแห่งชาติพบว่าในสื่อสังคมออนไลน์ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ดังกล่าว ทั้งที่เป็นความจริงและไม่เป็นความจริง สร้างความสับสนและก่อให้เกิดความตื่นตระหนกต่อพี่น้องประชาชนชาวไทย รวมไปถึงอาจมีการฉวยโอกาสของผู้ไม่หวังดี ใช้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเครื่องมือในการหลอกลวงพี่น้องประชาชน สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงขอเตือนพี่น้องประชาชน ให้ระมัดระวัง อย่ารีบตัดสินใจหลงเชื่อข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ โดยไม่มีการตรวจสอบความถูกต้อง เพราะอาจตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดี ที่ฉวยโอกาสในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ดังนี้ 1.เผยแพร่ข่าวปลอม สร้างความตื่นตระหนก – เผยแพร่ข่าวปลอมหรือบิดเบือนเกี่ยวกับสถานการณ์บริเวณแนวชายแดน โดยอาจมีการนำภาพเก่า หรือภาพจากเหตุการณ์อื่น มาประกอบกับข้อความเพื่อให้คนตื่นตกใจ 2.เผยแพร่ข้อมูลเพื่อสร้างความเกลียดชัง – เผยแพร่ข้อมูลเพื่อยุยงปลุกปั่นพี่น้องประชาชน โดยมุ่งหวังเพื่อให้เกิดความไม่สงบ หรือเกิดสถานการณ์ความรุนแรงภายในประเทศไทย อันจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในมุมมองของประชาคมโลก 3.หลอกรับบริจาค – อาศัยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของคนไทย หลอกเปิดรับบริจาคจากพี่น้องประชาชน อ้างว่าจะนำไปช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบตามแนวชายแดน […]

ตร.ไซเบอร์ ขอชาวโซเชียล ไม่แชร์-ไม่โพสต์-ไม่ส่งต่อข่าวปลอม

25 ก.ค. – ตำรวจไซเบอร์ ขอความร่วมมือชาวโซเชียล ไม่แชร์ ไม่โพสต์ ไม่ส่งต่อข่าวปลอมหรือข้อมูลที่ยังไม่ได้รับการยืนยัน โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความมั่นคง กองทัพ หรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และข้าราชการตำรวจในสังกัด แถลงการณ์ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิต และผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุปะทะบริเวณชายแดนประเทศไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะผู้ที่เป็นประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อันน่าเศร้าดังกล่าว และขอส่งกำลังใจและความห่วงใยไปยังเจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านความมั่นคงทุกนายตลอดจนพี่น้องประชาชนในพื้นที่แนวชายแดนที่อาจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ข้อพิพาทระหว่างประเทศในห้วงที่ผ่านมา โดยในช่วงเวลาที่สถานการณ์มีความอ่อนไหว ตำรวจไซเบอร์พบเบาะแสว่าได้มีการเผยแพร่ข่าวปลอม หรือ Fake News, คลิปบิดเบือน และข้อความปลุกปั่นในโซเชียลมีเดีย ที่อาจก่อให้เกิดความตื่นตระหนกในสังคม รวมทั้งพบการโพสต์ภาพหรือวิดีโอคลิปแสดงความรุนแรงต่อคนต่างด้าวที่เข้ามาทำมาหากินด้วยอาชีพสุจริตในประเทศไทย เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงขอความร่วมมือผู้ใช้บัญชีโซเชียล ดังนี้ โดยเฉพาะการโพสต์ปลุกระดมจะไปทำร้ายชาวกัมพูชาในประเทศ หรือโพสต์ภาพการบุกไปทำร้ายชาวกัมพูชา ล้วนแล้วแต่เป็นการทำผิดกฎหมายบ้านเมืองทั้งสิ้น เราควรกระทำตัวให้เป็นคนมีอารยะ รู้จักแยกแยะ หากพบมีการทำผิดในลักษณะดังกล่าวจะต้องถูกดำเนินคดีเช่นกัน สิ่งที่ประชาชนควรทำคือ-ติดตามข่าวสารจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ เช่น กองทัพ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สื่อกระแสหลัก และหน่วยงานภาครัฐ-ใช้วิจารณญาณก่อนแชร์ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สถานการณ์อ่อนไหว-แจ้งเบาะแสข่าวปลอม ได้ที่ www.thaipoliceonline.go.th หรือโทรสายด่วน 1441 ตลอด 24 ชั่วโมง. -412-สำนักข่าวไทย

ดีอี เอาผิด​คนปล่อยข่าวปลอม​ไทย-กัมพูชา​ ขอประชาชนอย่าเชื่อ-อย่าแชร์

กทม.7มิ.ย.- ดีอี เอาจริง​ เอาผิดคนปล่อยข่าวปลอม “ไทย-กัมพูชา” ระบาดหนัก ขอประชาชนอย่าเชื่อ-แชร์ข้อมูลเท็จ ย้ำรับข้อมูลจากแหล่งข่าวทางการเท่านั้น นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่สื่อสังคมออนไลน์มีการเผยแพร่ข้อความและภาพ อ้างอิงถึงประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและกัมพูชานั้น พบว่าขณะนี้มีการบิดเบือนข้อมูลเพื่อให้ประชาชนสนใจ ทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด ตื่นตระหนก วิตกกังวล และสร้างความสับสนในสังคมเป็นวงกว้าง รัฐบาล โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย (Anti-Fake News Center) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ตรวจสอบพบว่ามีข่าวที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าวมากถึง 33 ข่าว และเป็นข่าวปลอมที่ได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานของรัฐแล้ว 9 ข่าวด้วยกัน โดยพบว่าประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจมากที่สุดคือ ข่าวปลอมที่อ้างว่า “รัฐบาลไทยเตรียมประกาศปิดด่านชายแดนไทย–กัมพูชา 6 แห่ง” ซึ่งไม่เป็นความจริงและเป็นการสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนในวงกว้าง ทั้งนี้ จากการประสานงานตรวจสอบร่วมกับของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) และหน่วยงานชายแดนที่เกี่ยวข้องแล้ว ยืนยันว่า ทุกด่านยังเปิดให้บริการตามปกติ และตรวจสอบพบว่าเป็นการสร้างข้อมูลปลอม โดยได้ทำการปิดกั้นการเผยแพร่แล้ว “เรื่องเขตแดนไทย–กัมพูชาเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนต่อความรู้สึกของคนทั้ง 2 ประเทศ การแชร์ข่าวปลอมยิ่งทำให้สถานการณ์ตึงเครียดยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีประเด็นของการทำภาพ AI ที่เผยแพร่เพื่อยั่วยุให้เกิดความรุนแรง หรือประเด็นการเผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จ รวมทั้งกรณีข่าวลือปลดแม่ทัพภาคที่ 3 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาบน้ำด้วยสบู่เหลว ตายเร็ว จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เตือนว่า การอาบน้ำด้วยสบู่เหลวอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต และทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้น เพราะในสบู่เหลวมีสารอันตราย จริงหรือ ? บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ สารอันตรายที่มีการแชร์คือ SLS (Sodium Lauryl Sulfate) ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักในสบู่เหลว เพื่อให้เกิดฟอง มีการใช้ในปริมาณต่ำและสามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้เพียงเล็กน้อย จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย อย่างไรก็ตาม การใช้สบู่เหลวอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรืออาการแพ้ในบางราย ซึ่งอาจเกิดจาก SLS หรือน้ำหอมและสารเติมแต่งอื่น ๆ ที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่าข้อมูลเรื่อง “สบู่เหลวอันตราย มีสารเคมีซึมลงผิวหนัง ทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้น” เป็นข้อมูลที่มักถูกส่งต่อและเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ในลักษณะการเตือนภัยเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้เป็นส่วนประกอบของสบู่เหลว จากการสืบค้นย้อนหลัง พบว่าข้อความลักษณะนี้เคยถูกแชร์บนออนไลน์ ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2552 ผ่านทางอีเมลที่ส่งต่อกัน และต่อมามีการแชร์อย่างกว้างบนสื่อสังคมออนไลน์ และเป็นหนึ่งในประเด็นที่ทำให้หลายคนเกิดความกังวล จนมีการตั้งกระทู้สอบถามเพิ่มเติมในเว็บไซต์สนทนาอย่าง Pantip อีกด้วย ตรวจสอบข้อเท็จจริงผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.กิติยศ ยศสมบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้แจงว่า ความเข้าใจผิดนี้เกิดขึ้นจากการผลิตสบู่เหลวในอดีต […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สมเด็จพระสังฆราชมีพระดำรัส ห้ามถวายเงินพระ จริงหรือ ?

ตามที่สื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความอ้างว่าเป็นพระดำรัสสมเด็จพระสังฆราช ห้ามประชาชนงดถวายเงินแด่พระสงฆ์ นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ข้อความดังกล่าวไม่ใช่พระดำรัสของสมเด็จพระสังฆราช โดยสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้ออกประกาศชี้แจงว่า สมเด็จพระสังฆราชไม่เคยมีพระดำรัสด้วยถ้อยคำในลักษณะบริภาษตามที่ปรากฏในสื่อดังกล่าวแต่อย่างใด FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความที่เผยแพร่กันดังกล่าว มีการเผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊กหนึ่ง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2568 ใจความว่า “ด่วน สมเด็จพระสังฆราช ทรงรับสั่งให้ประชาชนงดเอาเงินถวายพระโดยเด็ดขาด แม้กระทั่งงานศพ งดใส่ซองขาวถวายพระทุกกรณี”  ทั้งนี้ โพสต์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นโพสต์ข้อความธรรมดา ไม่มีข้อมูลอื่น ๆ เช่น ภาพประกอบ หรือแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม โพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีผู้ใช้เฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก เช่น ข่าวดี ประจำชาติเลยค่ะ ดีมากเลยคำสั่งจากสังฆราชน่าหยุดทุกอย่างได้จริง เป็นต้น อีกทั้งยังมีการแชร์ออกไปกว่า 2.5 พัน ครั้ง  ต่อมา เพจเฟซบุ๊ก สำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้เผยแพร่ประกาศสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จโดยแอบอ้างว่าเป็นพระดำรัส ความว่า […]

เตือนข่าวปลอม “ดิจิทัลวอลเล็ต” วอนฟังข่าวสารจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

“คารม” เตือนข่าวปลอมหลอกเรื่อง “ดิจิทัลวอลเล็ต” หลังพบแก๊งคอลฯ ยังทำงาน ย้ำไม่กดรับลิงก์ปลอมตามหลัก 4 ไม่ ‘ไม่กดลิงก์ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน’

“ผบ.ตร.-ผบ.ทบ.-รมว.ท่องเที่ยว” ยกระดับความปลอดภัยนักท่องเที่ยว

“ผบ.ตร.-ผบ.ทบ.-รมว.ท่องเที่ยว” ยกระดับการดูแลความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว ช่วยกันสร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยว แม้มีข่าวปลอม แต่ตัวเลขนักท่องเที่ยวต้นปี จนถึงวันนี้ยังไม่ลดลง

นายกฯ เผยปล่อยข่าวปลอมยังไม่กระทบตัวเลขนักท่องเที่ยว

นายกฯ เตรียมใช้ AI อัดคลิป สื่อสารสร้างความเชื่อมั่นเที่ยวไทยสนุกและปลอดภัย เผยปล่อยข่าวปลอมยังไม่กระทบตัวเลขนักท่องเที่ยว ทุกฝ่ายพร้อมดูแลเต็มที่

South Korea’s Vice Defence Minister Kim Seon-Ho

เกาหลีใต้ยืนยันกฎอัยการศึกรอบ 2 เป็นข่าวปลอม

โซล 6 ธ.ค.- กระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ยืนยันว่า ข่าวเรื่องจะมีการประกาศกฎอัยการศึกรอบที่ 2 เป็นข่าวปลอม หลังจากที่ประธานาธิบดีประกาศกฎอัยการศึกครั้งแรกในรอบกว่า 40 ปีเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา นายคิม ซอน-โฮ รักษาการรัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีช่วยกลาโหมของเกาหลีใต้แถลงขอโทษและขอแสดงความรับผิดชอบที่ทำให้ประชาชนเกิดความกังวลและไม่พอใจ กรณีประธานาธิบดียุน ซอก-ยอลประกาศกฎอัยการศึกเมื่อกลางดึกวันที่ 3 ธันวาคม พร้อมกันนี้ยังกล่าวถึงกระแสข่าวที่ว่าจะมีการประกาศกฎอัยการศึกรอบใหม่ว่า เป็นเรื่องไม่จริงอย่างสิ้นเชิง และหากจะมีการประกาศรอบใหม่ เขาก็จะไม่ยอมปฏิบัติตามกฎอัยการศึกอย่างแน่นอน ด้านหัวหน้าหน่วยข่าวกรองเกาหลีใต้ปฏิเสธว่า ไม่ได้รับคำสั่งให้จับกุมนักการเมืองจากประธานาธิบดียุน ตามที่สมาชิกสภานิติบัญญัติในพรรครัฐบาลออกมาเปิดเผยเมื่อเช้านี้  และทางเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้การดำเนินการใด ๆ ตามที่เป็นข่าว.-816(814).-สำนักข่าวไทย

ฟื้นศรัทธารัฐ สู้ภัยข่าวปลอม QAnon

ความซับซ้อนของปัญหา และความละเอียดอ่อนของคนที่หลงเชื่อชุมชนข่าวปลอมข้ามชาติ QAnon ทฤษฎีสมคบคิดขวาจัด ไม่อาจเอาชนะได้ด้วยข้อเท็จจริงเพียงลำพัง เพราะเกิดขึ้นด้วยอคติ ที่ไม่ไว้วางใจภาครัฐ และสถาบันทางสังคมต่างๆ นักมานุษยวิทยา จึงเสนอให้ภาครัฐแก้โครงสร้างทางสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ และโปร่งใส จับต้องได้ เพื่อดึงสติคนที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิด

ภูมิต้านภัย : รู้ทันชุมชนข่าวปลอม QAnon

รายงานพิเศษภูมิต้านภัยวันนี้ จะพาไปทำความรู้จักกับ QAnon ทฤษฎีสมคบคิดพันธุ์ใหม่ ที่ได้ชื่อว่าเป็นชุมชนข่าวปลอมใหญ่ที่สุดในโลก ต้นกำเนิดอยู่ที่สหรัฐอเมริกา และได้กระจายไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งมีคนหลายกลุ่มที่ตกเป็นเหยื่อ และได้ประโยชน์จาก QAnon

1 2 3 12
...