ชัวร์ก่อนแชร์: ฉีดวัคซีนยังเสี่ยงโควิดและผลข้างเคียง ไม่ฉีดปลอดภัยกว่า จริงหรือ?

1 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: CDC ย้ำว่าผู้รับวัคซีนโควิด 19 ยังมีโอกาสติดเชื้อแต่อาการจะไม่หนักเหมือนผู้ไม่ได้รับวัคซีน แองเจลา ราสมุสเซน นักไวรัสวิทยาชี้แจงว่าโอกาสเกิดอาการข้างเคียงระยะยาวจากวัคซีนน้อยมาก น้อยถึงขนาดที่ไม่สามารถวัดค่าได้ ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อความที่ถูกแชร์ทาง Instagram ก่อนจะถูกตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอม โดยเนื้อหาเป็นการชี้นำว่า “ถ้าฉันไม่ฉีดวัคซีน ฉันจะเสี่ยงติดโควิด ถ้าฉันฉีดวัคซีน ฉันก็ยังคงเสี่ยงติดโควิดแถมเสี่ยงกับอาการข้างเคียงระยะยาวจากวัคซีน ดังนั้นฉันจึงลดความเสี่ยงด้วยการไม่ฉีดวัคซีน” FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีวัคซีนชนิดไหนที่ป้องกันโควิด 19 ได้ 100% แต่วัคซีนทั้ง 3 ชนิดที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในสหรัฐอเมริกาอย่าง Pfizer-BioNTech, Moderna และ Johnson & Johnson ต่างมีประสิทธิผลป้องกันโรคที่น่าพอใจในระดับ 95%, 94% และ 66% ตามลำดับ หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้เผยแพร่ผลวิจัยเมื่อวันที่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ใช้ ฟอร์มาลีน เป็นสารตั้งต้นในการผลิต วัคซีนโควิด-19 จริงหรือ?

31 พฤษภาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ บนโซเชียลมีเดียมีการแชร์ข้อมูลว่า ขั้นตอนการผลิตวัคซีนโควิด-19 มีการใช้สารเคมีโลหะหนักที่เป็นพิษในการเพาะเลี้ยงไวรัสในห้องทดลองเพื่อฆ่าเชื้อไวรัสอู่ฮั่นให้ตายก่อน รวมถึงมีฟอร์มาลีนเป็นสารตั้งต้นในการผลิต ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแล้ว พบว่า จริงบางส่วน ยังไม่ควรแชร์   บทสรุป จริงบางส่วน ยังไม่ควรแชร์ เพราะทำให้เกิดความเข้าใจผิด ·        ใช้ฟอร์มาลีน เป็นส่วนหนึ่งในการผลิตวัคซีนเชื้อตายเพื่อทำให้เชื้อหมดฤทธิ์ในการก่อโรค จากนั้นจะสกัดสารให้บริสุทธิ์ ปราศจากสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกาย·        สารที่มีอยู่ในวัคซีนเป็นไปตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์·  สกัดสารเฉพาะส่วนที่กระตุ้นภูมิคุ้มกัน​โรคมาผลิตเป็นวัคซีน โดยชะล้างสารต่างๆ ในกระบวนการผลิตออกจนหมด เหลือเฉพาะในส่วนที่นำมาเป็นวัคซีน​เท่านั้น ข้อมูลที่ถูกแชร์ “ชิโนแวค โคแว็กซ์, และชิโนฟาร์ม พวกมีโรคประจำตัวไม่ควรฉีดตัวนี้, ผลิตจากเชื้อไวรัสอู่ฮั่นที่ตายแล้ว!! ประสิทธิภาพต่ำแต่ก็ไม่ค่อยมีผลข้างเคียงมาก! เพราะผลิตจากเชื้อตายแล้ว!! แต่มันใช้สารเคมีโลหะหนักที่เป็นพิษในการเพาะเลี้ยงไวรัสในห้องแล็บเพื่อฆ่าเชื้อไวรัสอู่ฮั่นให้ตายก่อน, วัคซีนมันจึงมีโลหะหนักปนเปื้อนเมื่อฉีดเข้าร่างกายเรา, เราจะได้รับสารโลหะหนักนี้ปนเข้าไปในเลือดด้วย, จึงทำให้เลือดดำอุดตัน มีภาวะ thrombosis ค่ะ!! สารเคมีที่เขาใช้คือ Aluminum และ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Q & A : รู้จักวัคซีนทางเลือก “ซิโนฟาร์ม” ฉีดได้เมื่อไหร่ ?

28 พฤษภาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ 3 หน่วยงาน ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือการนำเข้าวัคซีนโควิดทางเลือก “ซิโนฟาร์ม” ทำไมต้อง “ซิโนฟาร์ม” มาเมื่อไหร่ นำเข้าโดยใคร? ร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันกับ “ชัวร์ก่อนแชร์”               วันที่ 28 พ.ค. 64 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ร่วมแถลงข่าว การนำเข้าวัคซีนทางเลือกล็อตแรก “ซิโนฟาร์ม” โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) และพล.อ.ต.นพ.สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เข้าร่วมการแถลงข่าว Q : ทำไมวัคซีนทางเลือกต้องเป็น “ซิโนฟาร์ม” ?A :  เพราะซิโนฟาร์มเป็นวัคซีนที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การรับรองแล้ว อีกทั้งเป็นวัคซีนเชื้อตาย มีความปลอดภัยสูง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อังกฤษพบเชื้อโควิด “สายพันธุ์ไทย” จริงหรือ ?

28 พฤษภาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์ แชร์ข้อมูลว่า “อังกฤษพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดใหม่จากประเทศไทย สายพันธุ์ C.36.3” ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว พบว่า “จริงเพียงบางส่วน” บทสรุป : จริงเพียงบางส่วน ยังไม่ควรแชร์ต่อ• “สายพันธุ์ไทย” เป็นการใช้คำของสื่อต่างชาติ โดยเอกสารการรายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังสายพันธุ์ในอังกฤษไม่ได้ใช้คำนี้แต่อย่างใด• สธ.ชี้ C.36.3 ไม่ควรเรียกว่า “สายพันธุ์ไทย” เพียงแต่ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ตรวจพบในผู้ที่เดินทางมาจากอียิปต์ โดยไม่พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้รายอื่นในประเทศไทยแต่อย่างใด ข้อมูลที่ถูกแชร์บนสังคมออนไลน์ มีการเผยแพร่ข้อมูลว่า เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 สำนักงานสาธารณสุขของอังกฤษ (Public Health England – PHE) แถลงพบ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 “สายพันธุ์ไทย” ในอังกฤษ จำนวน 109 ราย ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย ในผู้ที่เดินทางมาจากประเทศอียิปต์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : กินกระชาย “ป้องกัน-รักษา” โควิด-19 ได้ จริงหรือ ?

28 พฤษภาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อมูลว่ากินกระชายสามารถป้องกันและรักษาโควิด-19 ได้ มีสรรพคุณในการต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ดีกว่าขิงและฟ้าทะลายโจรได้มากถึง 10-20 เท่านั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลกับ ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร พบว่า จริงบางส่วน บทสรุป จริงบางส่วน ต้องอธิบายเพิ่ม ·        กระชายเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการดูแลสุขภาพเท่านั้น ไม่ใช่การกินเพื่อป้องกันหรือรักษาโควิด-19 ได้ ·        การศึกษากระชายรักษาและป้องกันโควิด-19 ยังเป็นการศึกษาในระดับเซลล์ ซึ่งพบว่าประสิทธิภาพของการยับยั้งเชื้อเมื่อเข้าสู่เซลล์ จะดีกว่าการป้องกันเชื้อเข้าสู่เซลล์ ยังคงต้องมีการศึกษาในระดับสัตว์ทดลอง และในมนุษย์ต่อไป ·        การป้องกันและรักษาโควิด-19 เป็นการรักษาสุขภาพแบบองค์รวม ไม่สามารถใช้ยาสมุนไพร หรือยาชนิดใดชนิดหนึ่ง ทำการรักษาเพียงอย่างเดียว ·    […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สาวเสียชีวิตขณะไลฟ์สด เพราะวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ ?

26 พฤษภาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ชณิดา ภิรมณ์ยินดี, กลาง ณัฐนที ตามที่มีการแชร์ คลิปวิดีโอและภาพผู้เสียชีวิตขณะไลฟ์สด พร้อมข้อความระบุว่า “น.ส. พิมพร จันทร์แดง อายุ 40 ปี เสียชีวิตเนื่องจากวัคซีนโควิด-19” นั้น บทสรุป : ข้อมูลถูกบิดเบือน ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า คลิปวิดีโอและภาพดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง โดยครอบครัวของผู้เสียชีวิตได้โพสต์ข้อความบน Facebook “ครูหนึ่ง พิมพร จันทร์แดง” ระบุว่า ครูหนึ่งเสียชีวิตจาก “ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันเนื่องจากหัวใจโต” พร้อมยืนยันว่าผู้เสียชีวิต “ไม่เคยเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19” แต่อย่างใด นอกจากนี้ ครอบครัวของผู้เสียชีวิต ยังขอความร่วมมือไม่ให้แชร์คลิปวิดีโอหรือภาพ รวมถึงข้อความที่เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงต่อ เพื่อเป็นการไม่ละเมิดสิทธิของผู้เสียชีวิตและครอบครัว ครอบครัวผู้เสียชีวิตชี้แจงบน Facebook ครูหนึ่ง พิมพร จันทร์แดง (26 พ.ค. 64) […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ทำไม ศบค. ต้องชะลอลงทะเบียนรับวัคซีนโควิด-19 ผ่านระบบ“หมอพร้อม”?

26 พฤษภาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ โฆษก ศบค. เผยมีมติชะลอการลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีนโควิด-19 ผ่านระบบ “หมอพร้อม” เพราะเหตุใดจึงต้องชะลอ ? และการจองวัคซีนหลังจากนี้เป็นอย่างไร ติดตามคำตอบไปกับ “ชัวร์ก่อนแชร์” ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. โดย นพ. ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. แถลงว่า ที่ประชุม ศบค. มีมติขอให้การลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีนโควิด-19 ผ่านระบบ “หมอพร้อม” ชะลอออกไปก่อน ทำไมจึงต้องชะลอการลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีนโควิด-19 ผ่านระบบ “หมอพร้อม” ? หากประชาชนต้องการรับวัคซีนโควิด-19 จะต้องลงทะเบียนผ่านช่องทางใด ? บทบาทของระบบ “หมอพร้อม” หลังจากนี้จะเป็นเช่นไร? ร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันกับ “ชัวร์ก่อนแชร์” Q : ที่มาของการชะลอลงทะเบียนรับวัคซีนโควิด-19 ผ่านระบบ “หมอพร้อม” ?A […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : WHO รับรอง “ซิโนแวค” แล้ว จริงหรือ ?

26 พฤษภาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์ แชร์ข้อมูลว่า “WHO รับรองวัคซีนซิโนแวคแล้ว” และมีการแชร์ Final Review ของวัคซีนดังกล่าว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว พบว่า “มีความคลาดเคลื่อน” บทสรุป : ข้อมูลคลาดเคลื่อน ไม่ควรแชร์ต่อ• WHO ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อรับรองวัคซีนซิโนแวค (26 พ.ค. 64)• ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าอาจมีแนวโน้มจะได้รับการรับรอง• เอกสารที่เผยแพร่กันเป็นของคณะกรรมการย่อย ที่กำลังนำเสนอ WHO ข้อมูลที่ถูกแชร์ ข้อความที่ระบุว่า “องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้การรับรองวัคซีนซิโนแวคแล้ว” ถูกแชร์มาในหลายรูปแบบ โดยส่วนใหญ่จะถูกแชร์มาในลักษณะบทความ ซึ่งระบุด้วยว่า เป็น Final Review จาก WHO ต่อวัคซีนชิโนแวค โดยข้อมูลดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ทำให้มีผู้นำไปเผยแพร่ในหลายช่องทาง รวมถึงมีผู้สอบถามข้อเท็จจริงเข้ามาที่ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริงศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ตอบข้อสงสัยแผนฉีดวัคซีนโควิดดีเดย์ 7 มิ.ย.จองที่ไหน-ฉีดเมื่อไหร่?

21 พฤษภาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ บนสื่อสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับแผนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของรัฐบาลเป็นจำนวนมาก เช่น เกิดความสงสัยว่าจะได้ฉีดเมื่อไหร่ คนกลุ่มไหนจะได้รับวัคซีนโควิด-19 ก่อน หลัง และลงทะเบียนรับวัคซีนได้ที่ไหน อย่างไรบ้าง “ชัวร์ก่อนแชร์” ได้รวบรวมข้อมูลจากภาครัฐเพื่อให้ประชาชนเข้าใจในภาพรวมของการบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19 ดังนี้  วันที่ 21 พ.ค. 64 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงข่าวว่า รัฐบาลประกาศให้การฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นวาระแห่งชาติ โดยจะเริ่มการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้งระบบ พร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 7 มิถุนายน 2564 นี้ บทสรุปจองที่ไหน ? : มี 3 ช่องทาง ได้แก่ Line และ App หมอพร้อม / จุดบริการฉีด / สถานพยาบาลฉีดเมื่อไหร่ ? : ขึ้นอยู่กับว่าจัดอยู่ในกลุ่มใด […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ภาพโรงพยาบาลสนามรัฐ กับงบประมาณ 239 ล้าน จริงหรือ ?

20 พฤษภาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์แชร์ข้อมูลว่า รัฐบาลสร้างโรงพยาบาลสนาม 1,092 เตียง ใช้งบประมาณ 239 ล้านบาท พร้อมกับภาพโรงพยาบาลสนามแห่งหนึ่งที่ไม่มีฉากกั้น และที่เก็บของนั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบแล้วพบว่า “ไม่เป็นความจริง” บทสรุป : ไม่จริง เป็นการโยงมั่ว ไม่ควรแชร์ต่อ• ภาพและข้อความที่แชร์ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน• ภาพโรงพยาบาลสนามที่ถูกแชร์ คือโรงพยาบาลสนาม ที่จังหวัดสมุทรสาคร มีจำนวน 350 เตียง• โรงพยาบาลสนาม 1,092 เตียง คือโรงพยาบาลสนามบุษราคัม มีศักยภาพในการรักษาระดับโรงพยาบาล ข้อมูลที่ถูกแชร์ภาพโรงพยาบาลสนาม 2 แห่ง ถูกแชร์มาพร้อมกับข้อความระบุว่า อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังรายหนึ่ง สร้างโรงพยาบาลสนาม 50 เตียง ด้วยงบประมาณ 170,000 บาท (เฉลี่ยค่าใช้จ่ายเตียงละ 3,400 บาท) ซึ่งมีฉากกั้น, […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ต้องทำอะไรบ้าง? รวมคำแนะนำจากแพทย์

20 พฤษภาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมากในวันต่อวัน ดังนั้นการบริหารจัดการของภาครัฐจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการทำงานให้ทันกับสถานการณ์ โดยเฉพาะการฉีดวัคซีน ที่จะเริ่มฉีดอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน   2564 ให้กับประชาชนที่มีอายุระหว่าง 18-59 ปี กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง “ชัวร์ก่อนแชร์” ได้รวบรวมคำแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมเพื่อเข้ารับวัคซีน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข  “คู่มือวัคซีนสู้โควิด ฉบับประชาชน” จัดทำโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ (UNICEF) สถาบันวัคซีนแห่งชาติ  […]

ชัวร์ก่อนแชร์:ข้อเท็จจริงกรณี CDC รายงานโควิดสามารถติดเชื้อในระยะห่างเกิน 6 ฟุต

20 พฤษภาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : อดิศร สุขสมอรรถ / พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้ปรับปรุงข้อมูลลักษณะการติดต่อของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระบุเชื้อไวรัสโควิด-19 มีโอกาสล่องลอยอยู่ในอากาศได้นานหลายนาทีถึงหลายชั่วโมง สามารถรับเชื้อผ่านการสูดดมละอองฝอย น้ำมูก น้ำลายขนาดเล็กๆ ได้ โดยกรณีดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้หากผู้ป่วยพูดหรือหายใจโดยไม่สวมหน้ากาก และจะเกิดขึ้นในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทได้ไม่ดี อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ปรับปรุงใหม่นี้ ไม่ได้ส่งผลให้ประชาชนต้องปรับเปลี่ยนวิธีหรือแนวทางการป้องกันที่แนะนำอยู่แล้วแต่อย่างใด เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention – CDC) ได้ปรับปรุงข้อมูลลักษณะการติดต่อของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตามข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้  SARS-CoV-2 แพร่เชื้อผ่านสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ จะแพร่กระจายผ่านการหายใจ, การพูดคุย, ร้องเพลง, ออกกำลังกาย, ไอ และจาม (Respiratory […]

1 31 32 33 34 35 46