fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์ : อังกฤษพบเชื้อโควิด “สายพันธุ์ไทย” จริงหรือ ?

28 พฤษภาคม 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที

บนสังคมออนไลน์ แชร์ข้อมูลว่า “อังกฤษพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดใหม่จากประเทศไทย สายพันธุ์ C.36.3” ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว พบว่า “จริงเพียงบางส่วน”

บทสรุป : จริงเพียงบางส่วน ยังไม่ควรแชร์ต่อ
• “สายพันธุ์ไทย” เป็นการใช้คำของสื่อต่างชาติ โดยเอกสารการรายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังสายพันธุ์ในอังกฤษไม่ได้ใช้คำนี้แต่อย่างใด
• สธ.ชี้ C.36.3 ไม่ควรเรียกว่า “สายพันธุ์ไทย” เพียงแต่ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ตรวจพบในผู้ที่เดินทางมาจากอียิปต์ โดยไม่พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้รายอื่นในประเทศไทยแต่อย่างใด

ข้อมูลที่ถูกแชร์
บนสังคมออนไลน์ มีการเผยแพร่ข้อมูลว่า เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 สำนักงานสาธารณสุขของอังกฤษ (Public Health England – PHE) แถลงพบ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 “สายพันธุ์ไทย” ในอังกฤษ จำนวน 109 ราย ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย ในผู้ที่เดินทางมาจากประเทศอียิปต์ ⁣โดยตั้งชื่อว่า VUI-21MAY-02 หรือ C.36.3 ทั้งนี้ VUI เป็นตัวย่อของศัพท์ทางวิชาการว่า Variant Under Investigation หรือ สายพันธุ์ที่อยู่ระหว่างการสอบสวน

ข้อมูลดังกล่าวได้รับความสนใจ และถูกแชร์ต่อเป็นจำนวนมาก ทำให้มีผู้ส่งเรื่องเข้ามาสอบถามข้อเท็จจริงกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท ตรวจสอบแล้วพบว่า “สายพันธุ์ไทย” เป็นการใช้คำของสื่อต่างชาติ ด้านกระทรวงสาธารณสุข ยืนยันว่า C.36.3 ไม่ใช่สายพันธุ์ไทย เพียงแต่ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ตรวจพบในผู้ที่เดินทางมาจากอียิปต์ โดยไม่พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้รายอื่นในประเทศไทย

คำว่า “สายพันธุ์ไทย” หรือ “Thai variant” เป็นคำที่สื่อในต่างประเทศนำมาพาดหัวข่าว โดยนำมาจากเอกสารการรายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังสายพันธุ์ในอังกฤษ ซึ่งเอกสารดังกล่าวไม่ได้ใช้คำว่า “สายพันธุ์ไทย” แต่อย่างใด

เอกสารดังกล่าวระบุว่า กำลังจับตา สายพันธุ์ C.36.3 ซึ่งพบการระบาดในอังกฤษแล้ว 109 ราย โดยระบุว่าสายพันธุ์นี้มีที่มาจาก Thailand-ex-Egypt เป็นการรายงานครั้งแรกในประเทศไทย แต่เป็นการพบในชาวต่างชาติที่เดินทางมาจากอียิปต์เข้ามากักตัวในประเทศไทย

ดังนั้น การเรียกว่า “สายพันธุ์ไทย” ยังเป็นคำที่สื่อใช้ในกรณีที่ค่อนข้างแตกต่างจากสายพันธุ์อังกฤษ หรือ สายพันธุ์อินเดีย ที่พบการระบาดเป็นครั้งแรก และระบาดเป็นวงกว้างในประเทศนั้น ๆ แล้ว

ขณะที่เอกสารดังกล่าวยังระบุว่า ในฐานข้อมูลพันธุกรรมไวรัส GISAID มีรายงานการพบ C.36.3 ใน 34 ประเทศ โดยมาจากเยอรมนี 148 ชุดข้อมูล ส่วนในไทยนั้นพบ 1 ชุดข้อมูล

สธ. ชี้ C.36.3 ไม่ควรเรียกว่า “สายพันธุ์ไทย”
เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และ นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชี้แจงรายละเอียดของผู้ที่ตรวจพบเชื้อ ว่า ข้อมูลจากการสอบสวนโรค กองระบาดวิทยา พบการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ C.36.3 ในชาย อายุ 33 ปี สัญชาติอียิปต์ อาชีพผู้ช่วยนักบิน มีประวัติอาศัยอยู่ที่ประเทศอียิปต์ โดยมี Timeline ดังนี้

25 มกราคม 2564 เดินทางไปฮ่องกงและกรุงเทพมหานคร โดยสายการบิน Egypt Airline

26 มกราคม 2564 เข้ากักตัวที่โรงแรม NOVOTEL สมุทรปราการ ซึ่งเป็นสถานกักกันทางเลือก (Alternative State Quarantine หรือ ASQ) และเก็บมีการตัวอย่างเพื่อตรวจเชื้อ ครั้งที่ 1 

29 มกราคม 2564 ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ตรวจพบเชื้อโควิด-19 และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน ในจังหวัดสมุทรปราการ

31 มกราคม 2564 ส่งตัวอย่างไปตรวจหาสายพันธุ์พบว่า เป็นสายพันธุ์ B.1.1.1 ปัจจุบันคือ C.36.3

16 กุมภาพันธ์ 2564 ตรวจไม่พบเชื้อ บินกลับประเทศอียิปต์ทันที และไม่พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้รายอื่นในประเทศไทยแต่อย่างใด

ดังนั้น ตามหลักการจึงไม่ควรเรียก “สายพันธุ์ไทย” เพราะเป็นผู้ติดเชื้อมาจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม

นอกจากนี้ น.พ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ชี้แจงไว้อย่างชัดเจนว่า 

“ข้อเท็จจริงคือ สายพันธุ์ C.36.3 เป็นการตรวจพบในชายชาวอียิปต์ที่เดินทางมาประเทศไทย และถูกกักตัวในสถานกักกันทางเลือก (Alternative State Quarantine หรือ ASQ) ไม่ได้ตรวจพบในชุมชนประเทศไทย จึงยังไม่ใช่สายพันธุ์ไทย”

ทั้งนี้ จากการจัดระบบสายพันธุ์เชื้อกลายพันธุ์นั้น อักษร C ที่นำหน้าชื่อสายพันธุ์ จะเป็นตัวย่อของสายพันธุ์ B.1.1.1 ดังนั้น เชื้อสายพันธุ์ C.36.3 นั้น จึงนับเป็นเชื้อสายพันธุ์เดียวกับ B.1.1.1.36.3 (ดูเพิ่มเติม https://cov-lineages.org/lineages/lineage_B.1.1.1.html)

บทสรุป : จริงเพียงบางส่วน ยังไม่ควรแชร์ต่อ
สายพันธุ์ C.36.3 เป็นการตรวจพบในชายชาวอียิปต์ที่เดินทางมาประเทศไทย และถูกกักตัวในสถานกักกันทางเลือก (Alternative State Quarantine หรือ ASQ) โดยไม่พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้รายอื่นในประเทศไทย ส่วนคำว่า “สายพันธุ์ไทย” เป็นการใช้คำของสื่อต่างชาติ โดยที่เอกสารการรายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังสายพันธุ์ในอังกฤษไม่ได้ใช้คำนี้

ข้อมูลอ้างอิง
กระทรวงสาธารณสุข : https://bit.ly/3vyhIOS
สำนักข่าวไทย : https://tna.mcot.net/social-705696
ไทยรู้สู้โควิด : https://web.facebook.com/thaimoph/posts/317938736482703
Public Health England : https://assets.publishing.service.gov.uk/government/uploads/system/uploads/attachment_data/file/990177/Variants_of_Concern_VOC_Technical_Briefing_13_England.pdf
PANGO lineages : https://cov-lineages.org/lineages/lineage_B.1.1.1.html 

🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare


ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รวบผู้ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพที่นนทบุรี นำตัวเข้าเซฟเฮาส์

รวบตัวชายไทย อายุประมาณ 35-40 ปี ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพ ภายในซอยจัดสรรสวิง 2 ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ตำรวจนำตัวเข้าเซฟเฮาส์ อยู่ระหว่างสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน

ผู้ว่าการ ธปท.เตือน ครม. หวั่นดิจิทัลวอลเล็ตก่อหนี้จำนวนมาก

ทำเนียบฯ 24 เม.ย.- ผู้ว่าการ ธปท. ทำหนังสือถึง ครม. เตือนเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หวั่นก่อหนี้จำนวนมาก นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 เม.ย.2567 มองว่า โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เป็นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ  ต้องใช้เงินจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดภาระหนี้ผูกพันต่อรัฐบาลในอนาคตดังนี้ 1.ความจำเป็น โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ ควรดูแลครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง  โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ 15 ล้านคน ซึ่งดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณเพียง 150,000 ล้านบาท และควรทำแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลัง  […]

“สารวัตรแจ๊ะ” ยื่นฟ้องหมิ่น “ทนายรัชพล” กล่าวหาจับแพะติดคุกฟรีปีกว่า

“สารวัตรแจ๊ะ” พร้อมทนายความ ยื่นฟ้องหมิ่นประมาททนายดัง และฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท ยันไม่ได้นําตัวไปเซฟเฮาส์ ด้านทนายเผยพบหลักฐานทนายคู่กรณีบีบผู้เสียหายกลับคําให้การ แบ่งเงินคนละครึ่ง

ข่าวแนะนำ

สถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา เริ่มมีสัญญาณที่ดี-การสู้รบเงียบสงบ

สถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา ด้าน อ.แม่สอด จ.ตาก เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น หลังการสู้รบเงียบสงบเกินกว่า 24 ชั่วโมง คาดมีการเจรจากันของกลุ่มต่อต้านและทางการเมียนมา หยุดยิงชั่วคราวเพื่อลดผลกระทบ

“บิ๊กโจ๊ก” ยื่น ป.ป.ช.อีกรอบ สอบตำรวจทำคดีเว็บพนันออนไลน์

“บิ๊กโจ๊ก” บุกสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อีกครั้ง เพื่อยื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษหัวหน้าและคณะพนักงานสอบสวนทั้งหมดในคดีเว็บพนันออนไลน์ที่มีการทำคดีโดยมิชอบ

ผู้ว่าการ ธปท.เตือน ครม. หวั่นดิจิทัลวอลเล็ตก่อหนี้จำนวนมาก

ทำเนียบฯ 24 เม.ย.- ผู้ว่าการ ธปท. ทำหนังสือถึง ครม. เตือนเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หวั่นก่อหนี้จำนวนมาก นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 เม.ย.2567 มองว่า โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เป็นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ  ต้องใช้เงินจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดภาระหนี้ผูกพันต่อรัฐบาลในอนาคตดังนี้ 1.ความจำเป็น โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ ควรดูแลครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง  โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ 15 ล้านคน ซึ่งดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณเพียง 150,000 ล้านบาท และควรทำแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลัง  […]

อุตุฯ เผยเหนือ-อีสาน-ใต้ พายุฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

กรมอุตุฯ เผยภาคเหนือ ภาคอีสาน มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนอง กรุงเทพฯ-ปริมณฑล อากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนองเล็กน้อย