ชัวร์ก่อนแชร์: ห้ามผู้รับวัคซีนมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลาหนึ่งเดือน จริงหรือ?

9 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Myth Detector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนโควิด 19 ผ่านการทดสอบกับสัตว์ทดลอง วัคซีนโควิด 19 ของ Pfizer ปลอดภัยต่อผู้ที่มีโรคประจำตัว บริษัท Pfizer-BioNTech ไม่มีข้อห้ามการมีเพศสัมพันธ์หลังจากรับวัคซีน บริษัท Pfizer-BioNTech ไม่มีข้อห้ามเรื่องการเปิดเผยอาการข้างเคียงจากวัคซีน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโควิด 19 หลายประเด็น ถูกเผยแพร่ผ่านรายการโทรทัซน์ Ghamis Studia ของสถานี Obiektivi TV ในประเทศจอร์เจียเมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Myth Detector เว็บไซต์ตรวจสอบความจริงของประเทศจอร์เจียได้ทำการหักล้างข้อมูลเท็จต่างๆ ดังนี้ 1.วัคซีนโควิด 19 ผลิตออกมาอย่างเร่งรีบ จนข้ามขัดตอนการทดลอง และไม่เคยทดสอบในสัตว์ทดลอง – ข้อมูลเท็จ เนื่องจากวิกฤตการระบาดของโควิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ได้ผลที่สุดเมื่อฉีดที่อวัยวะเพศชาย จริงหรือ?

8 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: BOOM (อินเดีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: การฉีดวัคซีนเกือบทุกชนิด ควรจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขนหรือกล้ามเนื้อหน้าขาด้านนอก ซึ่งช่วยให้วัคซีนไหลเวียนได้ดีที่สุด ส่วนอวัยวะเพศชายที่ประกอบไปด้วยเนื้อเยื้อและเส้นเลือด ไม่ใช่บริเวณที่เหมาะสมต่อการฉีดวัคซีน ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นรูปภาพและข้อความเท็จที่เผยแพร่ผ่านทาง Twitter ในประเทศอินเดีย โดยอ้างว่าแพทย์จากมหาวิทยาลัย University of California ค้นพบว่าการฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่บริเวณอวัยวะเพศชาย จะทำให้ตัวยาไหลเวียนได้ดีที่สุด ซึ่งการอ้างว่าเป็นรายงานจากสถานีข่าว CNN ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ทไม่น้อยหลงเชื่อแล้วนำข้อมูลไปแชร์ต่อ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: จากการตรวจสอบของ BOOM พบว่ารูปภาพและข้อมูลดังกล่าวเป็นการตัดต่อโลโก้ของ CNN และนำชื่อมหาวิทยาลัย University of California การผลิตซ้ำเพื่อการล้อเลียน ส่วนนายแพทย์ผู้ถูกนำรูปภาพมาแอบอ้าง เป็นแพทย์ที่ทำงานให้กับโรงพยาบาล Claremont Medical Center ในเมืองแคลร์มอนต์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งเจ้าตัวยืนยันว่าไม่เคยเสนอแนะวิธีการฉีดยาดังกล่าว ข้อมูลจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขระบุว่า การฉีดวัคซีนเกือบทุกชนิดควรจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ชาวอเมริกันอ่อนแอลงเรื่อยๆ เพราะวัคซีน จริงหรือ?

8 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (ฝรั่งเศส)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) ยืนยันว่าชาวอเมริกันในปัจจุบันมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น เด็กที่ป่วยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลง การพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิผลและปลอดภัย ทำให้โรคติดต่อร้ายแรงอย่างโปลิโอและไข้ทรพิษหมดไปจากสหรัฐฯ วัคซีนยังช่วยป้องกันโรคสำคัญๆ ทั้ง โรคคอตีบ, โรคหัด, ตับอักเสบ และ โรคอีสุกอีใส ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่โดย แพทริก ฟลินน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกระดูก ที่กล่าวหาว่าการรณรงค์ฉีดวัคซีนในสหรัฐอเมริกา ทำให้คุณภาพชีวิตของชาวอเมริกันแย่ลงเรื่อยๆ และเมื่อสหรัฐฯ เปิดโครงการชดเชยผลกระทบจากวัคซีนเพื่อปกป้องบริษัทยาจากการถูกฟ้องร้องเมื่อปี 1986 นำไปสู่การกำหนดวัคซีนที่ผู้คนจำเป็นต้องฉีดหลากหลายชนิดอย่างไม่เคยมีมาก่อน ข้อความนี้ถูกเผยแพร่ผ่านทาง Facebook ช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา และมีผู้แสดงความคิดเห็นและส่งต่อข้อความรวมกันกว่า 2,800 ครั้ง FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ข้อกล่าวอ้างที่ว่าชาวอเมริกันในยุคนี้มีสุขภาพย่ำแย่ลงเพราะวัคซีนเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง โดยรายงานประจำปี 2019 ของหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) ยืนยันว่าชาวอเมริกันในปัจจุบันมีอายุที่ยืนยาวกว่าเมื่อทศวรรษที่แล้ว และอัตราการรอดชีวิตของทารกแรกเกิดก็สูงกว่า 10 ปีที่แล้วเช่นกัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ของ Pfizer ทำให้สตรีเป็นหมัน จริงหรือ?

7 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Chequeado (อาร์เจนติน่า)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: องค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) ระบุว่า การทดลองความเป็นพิษของวัคซีนบริษัท Pfizer ต่อการสืบพันธุ์ในสัตว์ พบว่าวัคซีนไม่ส่งผลต่อการเป็นหมัน, การตั้งครรภ์ และการพัฒนาของตัวอ่อนในสัตว์เพศเมียแต่อย่างใด ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นการบิดเบือนข้อมูลเมื่อครั้งที่ นาบแพทย์ ไมเคิล เยียดอน และ นายแพทย์ วูลฟ์กัง วูดาร์ก ได้ยื่นคำร้องต่อองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) เพื่อให้ระงับการทดลองทางคลินิกของวัคซีนโควิด 19 จาก Pfizer ด้วยข้อกังวลเรื่องผลกระทบด้านสุขภาพ แต่ไม่เกี่ยวข้องกับข้ออ้างที่ว่าวัคซีนโควิด 19 ของ Pfizer จะทำให้สตรีเป็นหมันแต่อย่างใด ไมเคิล เยียดอน เป็นนักชีวเคมีชาวอังกฤษ เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิจัยชีววิทยาระบบทางเดินหายใจของบริษัท Pfizer แต่ได้ออกจากบริษัทไปตั้งแต่ปี 2011 หรือ 9 ปีก่อนการพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ในข้อมูลที่บิดเบือนระบุว่า โปรตีนบนหนามไวรัสมีส่วนคล้ายกับโปรตีนในรกของมนุษย์ที่ชื่อว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน AstraZeneca ไม่ป้องกันการตายจากโควิดกลายพันธุ์ จริงหรือ?

5 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Stopfake (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca มีประสิทธิผลป้องกันการเจ็บป่วยเล็กน้อยถึงปานกลางต่อโควิด 19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ลดลง Oxford Research Group ยืนยันว่าวัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca ป้องกันการป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากโควิด 19 กลายพันธุ์ได้ ผลการทดสอบพบว่า วัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca มีประสิทธิผลป้องกันโควิด 19 ในกลุ่มผู้สูงอายุอย่างมาก ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อความเผยแพร่บนโลกออนไลน์ในประเทศยูเครนว่า วัคซีนโควิด 19 ไม่สามารถป้องกันการป่วยหนักหรือการเสียชีวิตจากไวรัสโควิด 19 กลายพันธุ์ได้ โดยเฉพาะวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca ที่ไม่สามารถป้องกันการเสียชีวิตจากไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ผู้โพสต์อ้างข้อมูลการศึกษาเมื่อวันที่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: มีอนุภาคนาโนในวัคซีน ช่วยชี้เป้าผู้รับวัคซีนผ่านระบบ 5G จริงหรือ?

4 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนไม่มีไมโครชิปสำหรับเชื่อมต่อเครือข่าย 5G อนุภาคนาโนที่มีอยู่ในวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA คืออนุภาคนาโนของลิพิด ทำหน้าที่ห่อหุ้มและลำเลียง mRNA เข้าสู่ร่างกาย ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่ผ่านคลิปวิดีโอที่ถูก Facebook แจ้งเตือนว่าเป็นข่าวปลอม โดยเนื้อหาอ้างว่าในวัคซีนโควิด 19 มีอนุภาคนาโนคล้ายกับไมโครชิปที่ติดตั้งบนผิวหนังสัตว์เลี้ยง เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้ว ตำแหน่งของคนผู้นั้นจะเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนทันที และด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G ที่อยู่ของคนผู้นั้นก็จะไม่เป็นความลับอีกต่อไป FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ตามข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตวัคซีน อนุภาคนาโนชนิดเดียวที่ยืนยันได้ว่ามีอยู่ในวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA ก็คือ อนุภาคนาโนของลิพิด สารชีวโมเลกุลที่ไม่ละลายในน้ำ ซึ่งทำหน้าที่ห่อหุ้มและลำเลียง mRNA เข้าสู่ร่างกาย ส่วนอนุภาคนาโนที่ทำหน้าที่เป็นไมโครชิปหรือเชื่อมต่อกับเครือข่าย 5G นั้น เป็นการกล่าวอ้างที่ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ข้อมูลอ้างอิง: https://www.politifact.com/factchecks/2021/mar/12/facebook-posts/no-covid-19-vaccines-do-not-contain-nanoparticles-/https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2673971/ หากได้รับอะไรมา […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ไม่ควรทิ้ง “หน้ากากอนามัย” ในขวด PET จริงหรือ ?

4 มิถุนายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความว่า ไม่ควรทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้วในขวดน้ำพลาสติกหรือขวดน้ำ PET เพราะเสี่ยงติดเชื้อกับผู้เก็บขยะ และเสี่ยงต่อการถูกนำมาใช้ใหม่ รวมถึงสร้างมลภาวะจากการเผามากกว่าเดิม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวกับกรุงเทพมหานคร แล้วพบว่า เป็นเรื่องจริง แชร์ต่อได้             บทสรุป จริง แชร์ได้·   ไม่ควรทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วในขวด PET เพราะเสี่ยงต่อการถูกนำกลับมาใช้ใหม่ และเป็นการเพิ่มปริมาณการเผาไหม้· ขวด PET มีมูลค่าสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ·   กทม. แนะทิ้งหน้ากากอนามัยในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น เขียนกำกับหน้าถุงให้ชัดเจน ข้อมูลที่ถูกแชร์ มีการแชร์ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊ก “พลังงานจากขยะ (Energy from Wastes)” เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา ข้อความระบุใจความว่า  “อันตราย ! ไม่ควรทิ้งขยะ ‘หน้ากากอนามัย’ ใส่ขวด PET ! เตือนภัย […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ยาคุมกำเนิดทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันมากกว่าวัคซีนโควิด19 จริงหรือ?

4 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (ฝรั่งเศส)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: แม้สถิติการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากยาเม็ดคุมกำเนิดจะมากกว่าวัคซีนโควิด 19 แต่บริเวณเกิดลิ่มเลือดอุดตันแตกต่างกัน จึงไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากยาเม็ดคุมกำเนิดส่วนใหญ่จะเกิดที่บริเวณขาในหลอดเลือดดำส่วนลึก (DVT) ภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนโควิด 19 มักจะพบที่หลอดเลือดดำในสมอง (CVT) ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการแชร์ความเห็นบนโลกออนไลน์ว่า ผู้ที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดได้มากกว่าวัคซีนโควิด 19 ทุกชนิด ซึ่งเป็นข้อความที่มียอดแชร์, ยอดไลค์ และคอมเมนต์รวมกันกว่า 5 หมื่นครั้ง ตามการประเมินของเว็บไซต์ CrowdTangle FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: แถลงการณ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อวันที่ 16 เมษายา 2021 ระบุว่า โอกาสการเกิดภาวะเส้นเลือดอุดตันจากลิ่มเลือดของผู้รับวัคซีน AstraZeneca ในสหราชอาณาจักร อยู่ที่ 1 คน ต่อ 250,000 คน ส่วนอัตราการเกิดกับผู้รับวัคซีน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน AstraZeneca ทำให้เกิดรอยช้ำทั้งแขน จริงหรือ?

3 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Mythdetector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: พิสูจน์ไม่ได้ บทสรุป: เป็นการสร้างความเข้าใจผิดด้วยรูปภาพที่ไม่สามารถระบุที่มาได้ นักภูมิคุ้มกันวิทยาลงความเห็นว่ารอยช้ำในภาพซึ่งมีจุดศูนย์กลางที่ข้อศอก ไม่ใช่อาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน เพราะรอยช้ำจากวัคซีนจะอยู่บริเวณต้นแขนซึ่งเป็นจุดที่ใช้ฉีดยา ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการเผยแพร่ข้อมูลและรูปภาพจากผู้ใช้ Facebook ที่ชื่อว่า Katya Petrova โดยอ้างว่า Mayya Zankova ซึ่งอยู่ในรูปภาพเพิ่งจะผ่านการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca มาได้ 7 ชั่วโมง และเกิดรอยช้ำรุนแรงไปทั่วทั้งแขน จนภาพและข้อมูลดังกล่าวถูกนำไปแชร์ต่อกันกว่า 7 หมื่นครั้ง FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงของ Mythdetector พบว่าภาพดังกล่าวถูกนำไปส่งต่ออีกหลายครั้งโดยกลุ่มผู้ที่มีแนวคิดต่อต้านการฉีดวัคซีน แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าบุคคลในรูปที่ระบุชื่อว่า Mayya Zankova มีตัวตนหรือไม่ ลาลี เพิร์ทชาลิสวิลลี นักภูมิคุ้มกันวิทยาจากโรงพยาบาล Evex Hospitals อธิบายว่าการฉีดวัคซีนอาจก่อให้เกิดรอยช้ำบริเวณที่ฉีดยา หากเกิดอาการข้างเคียง รอยช้ำจะขยายตัวจากต้นแขนซึ่งเป็นจุดที่ฉีดยา แต่รอยช้ำที่ดูเหมือนมีการตกเลือดในรูปภาพที่เห็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Sinovac ไม่น่าเชื่อถือ ผลข้างเคียงเหมือนยาหลอก จริงหรือ?

3 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Colombiacheck (โคลัมเบีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ของวัคซีน Sinovac ในฉบับ pre-print พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่รับวัคซีนมีอาการข้างเคียงมากกว่าในกลุ่มตัวอย่างที่รับยาหลอกประมาณ 11% กลุ่มผู้รับวัคซีนเกิดอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดยาจำนวน 77.1% ส่วนกลุ่มที่ได้รับยาหลอกเกิดอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดยาจำนวน 66.4% ข้อมูลที่ถูกแชร์: บทความโจมตีประสิทธิผลวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Sinovac โดย The Epoch Times สำนักข่าวสายอนุรักษ์นิยมในสหรัฐอเมริกา ถูกนำไปเผยแพร่ในหลายประเทศ ทั้งทาง Facebook และ Twitter บทความได้ตั้งข้อสงสัยเรื่องการทดลองทางคลินิกของวัคซีน Sinovac โดยอ้างว่าอาการข้างเคียงของผู้รับวัคซีน กลับไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo) ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเกิดขึ้นน้อยกว่าด้วยซ้ำ และอาการข้างเคียงในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสต่ำๆ ยังไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสสูงๆ อีกด้วย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 และระยะที่ 2 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: “มารายห์ แคร์รี” จัดฉากฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

2 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Demagog (โปแลนด์)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เข็มฉีดยาที่ใช้กับนักร้องดัง เป็นชนิดที่เข็มถูกดูดกลับคืนสู่หลอดฉีดโดยอัตโนมัติหลังจากฉีดยาแล้ว จึงทำให้ดูเหมือนไม่มีเข็มอยู่ที่หลอด เหตุผลของการใช้เข็มฉีดยาชนิดนี้เพื่อลดอุบัติเหตุในโรงพยาบาล ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่โดยกลุ่มต่อการการฉีดวัคซีน (Anti-vaccine) และกลุ่มผู้ไม่เชื่อว่าแพร่ระบาดของโควิด 19 มีอยู่จริง (Covid sceptics) โดยทั้งสองร่วมกันจับผิดว่า มารายห์ แคร์รี นักร้องสาวชาวอเมริกัน แสร้งทำการฉีดวัคซีนโควิด 19 ผ่านคลิปวิดีโอ โดยอ้างว่าเข็มในหลอดฉีดยาหายไปทันทีที่นางพยาบาลฉีดวัคซีนให้กับนักร้องสาวแล้ว คลิปวิดีโอดังกล่าวถูกเผยแพร่ผ่านทาง Twitter และ Instagram ของ มารายห์ แคร์รี เมื่อวันที่ 4 เมษายน โดยในวันที่ 13 เมษายน Facebook ของกลุ่ม Ministerstwo Propagandy (Ministry of Propaganda) ได้นำคลิปไปแชร์ต่อและบิดเบือนข้อมูล โดยเนื้อหาเป็นการจับผิดนักร้องสาวเรื่องการจัดฉากฉีดวัคซีนให้ตนเอง เพราะไม่เห็นเข็มอยู่ที่หลอดฉีดยา […]

ชัวร์ก่อนแชร์: Molnupiravir ยาต้านไวรัสรักษาโควิด 19 หายภายใน 5 วัน จริงหรือ?

2 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ไม่มีหลักฐานยืนยัน บทสรุป: 1.ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 พบว่า Molnupiravir ได้ผลดีกับผู้รับเชื้อโควิด 19 ไม่เกิน 5 วัน แต่ไม่มีผลทางการรักษากับผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาล2.ประสิทธิภาพของยายังต้องรอผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ต่อไป ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อกล่าวอ้างที่ไม่มีหลักฐานยืนยันเกี่ยวกับ Molnupiravir ยาต้านไวรัสโควิด 19 ซึ่งอยู่ในระหว่างการทดลองโดย Merck บริษัทผู้ผลิตยาในประเทศสหรัฐอเมริกา หนึ่งในข้อความอวดอ้างสรรพคุณของ Molnupiravir คือข้อความจาก Facebook ซึ่งส่งต่อกันในไต้หวันช่วงต้นเดือนเมษายน โดยข้อความระบุว่าบริษัทผู้ผลิตยาจากอเมริกา ได้ผลิตยาต้านไวรัสโควิด 19 ชนิดน้ำในชื่อ Molnupiravir ผู้ป่วยสามารถกินยาอยู่กับบ้านและเชื้อจะหมดไปจากร่างกายภายใน 5 วัน ตัวยาผ่านการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 และ 2 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งการทดลองในมนุษย์ประสบผลสำเร็จ 100% การทดลองทางคลินิกระยะที่ […]

1 30 31 32 33 34 46