ชัวร์ก่อนแชร์ : ตำรวจช่างซ่อมรถฟรีทั่วประเทศจริงหรือ ?

6 เมษายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์ แชร์รายการหมายเลขโทรศัพท์ พร้อมข้อความระบุว่า ตำรวจช่างซ่อมรถฟรีทั่วประเทศ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ หน่วยงานที่ดูแลตำรวจช่าง ยืนยันว่า “จริงเพียงบางส่วน” บทสรุป : จริงบางส่วน และ แชร์ได้ถ้าอธิบายเพิ่ม• ตำรวจช่าง ให้บริการฟรีจริง แต่ยังครอบคลุมเฉพาะกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลเท่านั้น• 02-354-6324 ติดต่อตำรวจช่างได้จริง แต่ควรติดต่อที่ 1197 สายด่วน บก.จร. โดยตรง• รายการหมายเลขโทรศัพท์ เป็นหมายเลขฉุกเฉินของแต่ละจังหวัดจริง แต่ควรติดต่อที่ 191, 1784 และ 1669 สืบหาต้นตอ ข้อมูลที่ถูกแชร์รายการหมายเลขโทรศัพท์จำนวนมาก ถูกแชร์มาพร้อมกับข้อความระบุว่า ตำรวจช่าง ในโครงการพระราชดำริ ช่วยซ่อมรถฟรีทั่วประเทศ เพียงจ่ายเงินค่าอะไหล่ และขอถ่ายรูปเท่านั้น ชุดข้อมูลที่ใกล้เคียงกันนี้เริ่มมีการแชร์กันตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ. 2557 ซึ่งในเดือนมิถุนายน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : น้ำอัดลมผสมลูกอมรสมินต์ เทใส่หลุมที่ขุดไว้ใช้จับปลาได้ จริงหรือ ?

31 มี.ค. – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิปวิธีการจับปลาด้วยการเทน้ำอัดลมผสมลูกอมรสมินต์ลงในหลุมที่ขุดไว้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐี วัฒนกูล 📌 สรุป : ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ 🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” 🎯LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshareFB :: https://www.facebook.com/SureAndShareTwitter :: https://www.twitter.com/SureAndShareIG :: https://instagram.com/SureAndShareWebsite :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.comTikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิปโปรยเงินแจก อาลัยเพื่อนที่เสียชีวิตเพราะโควิด-19 จริงหรือ ?

1 เมษายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์แชร์คลิปวิดีโอ ชายโปรยเงินแจกที่นิวยอร์ก ไทม์สแควร์ พร้อมข้อความระบุว่า แจกเงินเพื่อระลึกถึงเพื่อนที่เสียชีวิตเพราะโควิด-19  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบแล้วพบว่า “จริงเพียงบางส่วน” บทสรุป : จริงบางส่วน และ  ไม่ควรแชร์ต่อ• ชายในคลิปวิดีโอแจกเงินเพื่อระลึกถึงเพื่อนที่เสียชีวิตไปแล้วจริง• แต่ยังไม่พบหลักฐานยืนยันว่า เพื่อนของเขาเสียชีวิตเพราะโควิด-19 คลิปวิดีโอและข้อความที่ถูกแชร์คลิปวิดีโอความยาว 02.33 นาที ถูกแชร์มาพร้อมกับข้อความระบุว่า “เพื่อนของชายในคลิปวิดีโอ เสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19 และขอร้องให้ชายคนดังกล่าวนำเงินของตัวเองไปโปรยแจกที่นิวยอร์ก ไทม์สแควร์ สหรัฐอเมริกา” เมื่อวิเคราะห์แล้ว พบว่า เป็นการนำคลิปวิดีโอจาก 2 เหตุการณ์มาตัดต่อรวมกัน เหตุการณ์แรก ในนาทีที่ 0.00 – 02.05 เป็นภาพชายสวมเสื้อกันหนาวสีดำโปรยเงินแจก ที่นิวยอร์ก ไทม์สแควร์ สหรัฐอเมริกา และหันมาพูดกับกล้องเป็นระยะ  เหตุการณ์ที่สอง ในนาทีที่ 02.05 – 02.33 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : พ่นแอลกอฮอล์ใส่กุญแจรถ ทำให้รถระเบิด จริงหรือ ?

30 มีนาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์ แชร์ข้อความ “ห้ามพ่นหรือทาแอลกอฮอลล์ที่กุญแจรถ” พร้อมกับคลิปวิดีโอ ที่ทำให้เข้าใจว่า อาจเป็นเหตุให้รถยนต์ระเบิดได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย ยืนยันว่า “ไม่เป็นความเป็นจริง” บทสรุป : ไม่จริง และ ไม่ควรแชร์ต่อ• พ่นแอลกอฮอล์ใส่กุญแจแล้วสตาร์ทรถ ไม่ทำให้รถระเบิด• คลิปวิดีโอที่มีการระเบิดไม่ใช่เหตุการณ์จริง แต่เป็นฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง “Narcos Season 3”• แต่แอลกอฮอล์เป็นสารไวไฟที่ต้องใช้และจัดเก็บอย่างถูกต้อง สืบหาต้นตอ ข้อมูลที่ถูกแชร์คลิปวิดีโอความยาว 1 นาที ถูกแชร์มาพร้อมข้อความระบุว่า “ห้ามพ่นหรือทาแอลกอฮอลล์ที่กุญแจรถ” โดยในคลิปวิดีโอมีภาพชายคนหนึ่งพ่นสเปรย์แอลกอฮอล์ปริมาณมากใส่กุญแจรถและภายในรถ เมื่อสตาร์ทรถ ภาพเปลี่ยนเป็นเหตุการณ์รถระเบิดอย่างรุนแรง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สืบหาต้นตอคลิปวิดีโอดังกล่าว พบคลิปต้นฉบับ บนแอปพลิเคชัน TikTok อัปโหลดตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2563 โดยผู้ใช้ที่ชื่อว่า @suleymanics ซึ่งอาศัยอยู่ที่สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เปิดไทม์ไลน์ข่าวปลอม “ไทยกำลังเข้าสู่การแพร่ระบาดโควิด-19 เฟส 3”

30 มีนาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ ตามที่มีการแชร์ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ว่า “ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เฟส 3” พร้อมระบุรายชื่อสถานที่ที่ไม่ควรเดินทางไปนั้น เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวแล้วพบว่า “ไม่เป็นความจริง” บทสรุป : ไม่เป็นความจริง เป็นประเด็นเก่าที่มีการแชร์ตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ในปี 2563 ที่ผ่านมา และถูกนำกลับมาแชร์ซ้ำอีกครั้ง ไทม์ไลน์ ·      26 ก.พ. 63 เริ่มพบต้นตอการแชร์ข้อมูล “ด่วน สาธารณสุขประกาศฉุกเฉิน…”·      24 ก.พ. 63 สธ. แถลงข่าวพร้อมรับมือหากเกิดการระบาดในระยะ 3·      12 มี.ค. 63 สธ.แถลงพบผู้ป่วยโควิดเป็นกลุ่มก้อน 11 ราย·  […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ปวดเข่า ไม่ต้องผ่า ใช้วิธีปั่นเลือดฉีดหัวเข่าได้ จริงหรือ ?

29 มี.ค. – บนสังคมออนไลน์แชร์คลิปพร้อมข้อความว่า ถ้ามีเพื่อนปวดเข่า ไม่ต้องผ่าแล้ว โรงพยาบาลวชิระใช้วิธีปั่นเลือดแล้วฉีดที่หัวเข่า ข้างละ 300 บาท ไม่ต้องผ่าตัด เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามกับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ ผศ.นพ.จักราวุธ มณีฤทธิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิรพยาบาล และ ศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช รองคณบดีฝ่ายสร้างเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ 📌 สรุป : ❌ มั่ว อย่าแชร์ ❌ไม่เป็นความจริง ไม่ควรจะแชร์ต่อ เพราะว่าเป็นการเปลี่ยนเทียบคนละระยะ และยังอยู่ในขั้นทดลองวิจัยเท่านั้น 🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” 🎯LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshareFB :: https://www.facebook.com/SureAndShareTwitter :: https://www.twitter.com/SureAndShareIG :: https://instagram.com/SureAndShareWebsite :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.comTikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ชัวร์ก่อนแชร์ : คำแนะนำในการจัดการระบบไฟบ้านเพื่อรองรับรถ EV ใช้ได้จริงหรือ ?

28 มี.ค. – บนสังคมออนไลน์แชร์ข้อความแนะนำในการจัดการระบบไฟบ้าน เพื่อรองรับการใช้งานรถ EV แต่ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ ชาติชาย ภุมรินทร์ รองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พงศ์อิทธิ์ เชิดชูวงศ์ สรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ส่วนใหญ่ก็เป็นข้อเท็จจริง สามารถแชร์ต่อได้ อย่างไรก็ตามมันมีเรื่องรายละเอียดพอสมควรที่หากมีความจำเป็นอยากจะรับทราบข้อมูลมากกว่านี้ สามารถติดต่อสอบถามมาที่เบอร์ 1129 เป็นคอลเซ็นเตอร์หรือสอบถามไปที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่อยู่ใกล้บ้านท่าน 🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” 🎯LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshareFB :: https://www.facebook.com/SureAndShareTwitter :: https://www.twitter.com/SureAndShareIG :: https://instagram.com/SureAndShareWebsite :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.comTikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ชัวร์ก่อนแชร์ : 4 สัญญาณอาการสายตาเอียง จริงหรือ ?

26 มี.ค. – บนสังคมออนไลน์ แชร์ข้อความแนะนำ 4 สัญญาณสังเกตอาการสายตาเอียง แต่ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พงศ์อิทธิ์ เชิดชูวงศ์ 📌 สรุป : ✅ ชัวร์ แชร์ได้ ✅ 🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” 🎯LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshareFB :: https://www.facebook.com/SureAndShareTwitter :: https://www.twitter.com/SureAndShareIG :: https://instagram.com/SureAndShareWebsite :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.comTikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิปเลี้ยงหนอนโดยใช้ทุเรียน จริงหรือ ?

25 มี.ค. – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิปใช้ทุเรียนเลี้ยงหนอน เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ ผศ. สุขสวัสดิ์ พลพินิจ อาจารย์ประจำภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร​ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐวัฒน์ จิตรมั่น 📌 สรุป : ✅ ชัวร์ แชร์ได้ ✅ 🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” 🎯LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshareFB :: https://www.facebook.com/SureAndShareTwitter :: https://www.twitter.com/SureAndShareIG :: https://instagram.com/SureAndShareWebsite :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.comTikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ชัวร์ก่อนแชร์ : การกินยาคุมกำเนิด ทำให้เสี่ยงเป็นเส้นเลือดอุดตัน จริงหรือ ?

24 มี.ค. – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์กันว่าการกินยาคุมกำเนิด ทำให้เสี่ยงเป็นเส้นเลือดอุดตันเรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ รศ.ดร.ภญ. จุราพร พงศ์เวชรักษ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและเภสัชศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ศ.ดร.นพ.พลภัทร โรจน์นครินทร์ สาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐี วัฒนกูล 📌 สรุป : ✅ แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ✅ ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนทั้งสองชนิด หรือยาคุมประเภทฮอร์โมนผสมที่ใช้กันทั่วไป สามารถจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดอุดตันได้ แต่อัตราการเกิดเส้นเลือดอุดตันจากการกินยาคุมนั้นต่ำมาก 🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” 🎯LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshareFB :: https://www.facebook.com/SureAndShareTwitter :: https://www.twitter.com/SureAndShareIG :: https://instagram.com/SureAndShareWebsite :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.comTikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ชัวร์ก่อนแชร์ : ใช้หม้อทอดไร้น้ำมันประกอบอาหารทำให้เกิดสารก่อมะเร็งจริงหรือ?

22 มีนาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ บนสังคมออนไลน์แชร์ข้อความ ไม่ควรกินอาหารจากหม้อทอดไร้น้ำมันเพราะมีความเสี่ยงในการสร้างสารก่อมะเร็งอะคริลาไมด์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบแล้วพบว่า จริง แชร์ได้แต่ต้องอธิบายเพิ่ม บทสรุป : จริง หากแชร์ต่อต้องอธิบายข้อมูลเพิ่ม เป็นเรื่องจริงแต่ต้องดูว่า วัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหารคืออะไร สารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในอาหารมี 2 ประเภท 1. สารที่มาจากกลุ่มพืชแป้ง (Starchy food) และ 2.สารที่มาจากอาหารประเภทโปรตีน สืบหาต้นตอของข้อมูล เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 เว็บไซต์ Consumer Council ได้เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้หม้อทอดไร้น้ำมัน โดยระบุให้ระวังอาหารที่ทอดด้วยอุณหภูมิสูงเพื่อลดความเสี่ยงในการก่อมะเร็ง จากนั้นเว็บไซต์ scmp.com ได้เผยแพร่ข่าวดังกล่าวเกี่ยวกับการประกอบอาหารผ่านหม้อทอดไร้น้ำมันใจความว่า สมาคมผู้บริโภคชาวฮ่องกงได้แนะนำผู้บริโภคไม่ควรรับประทานอาหารจากหม้อทอดไร้น้ำมัน เพราะมีความเสี่ยงในการได้รับสารก่อมะเร็ง โดยได้ทำการทดลองนำมันฝรั่งทอดชิ้นบางมาอบในหม้อทอดไร้น้ำมันถึง 12 รุ่น และพบสารก่อมะเร็งที่เรียกว่า อะคริลาไมด์ ซึ่งจะเกิดขึ้นกับอาหารบางชนิดเมื่อได้รับความร้อนจากอุณหภูมิที่สูงมาก จากนั้นได้มีการแชร์ข้อมูลผ่าน เฟซบุ๊ก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อินเดียพบตะปูในแคปซูลยา จริงหรือ ?

22 มีนาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์แชร์คลิปวิดีโอพร้อมข้อความระบุว่า ที่อินเดียพบตะปูอยู่ในแคปซูลยา ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบแล้วพบว่า “ไม่เป็นความจริง” บทสรุป : ไม่จริง และ ไม่ควรแชร์ต่อ• ไม่ใช่ที่อินเดีย และยังไม่พบที่มาของคลิปวิดีโอที่แน่ชัด คลิปวิดีโอและข้อความที่ถูกแชร์คลิปวิดีโอความยาว 0.30 นาที ถูกแชร์มาพร้อมข้อความระบุว่า ที่อินเดียพบตะปูอยู่ในแคปซูลยา และเตือนภัยให้ประเทศอื่นระวัง ในคลิปวิดีโอมีการทดลองแกะแคปซูลยาออกจากแผงเพื่อดูสิ่งที่บรรจุอยู่ภายในแคปซูล นาทีที่ 0.10 พบตะปูขนาดเล็ก 1 ตัว ในแคปซูลยาสีน้ำเงิน และนาทีที่ 0.24 พบตะปูขนาดเล็ก 6 ตัว ในแคปซูลยาสีเหลือง กลายเป็นคลิปที่ถูกแชร์ต่ออย่างแพร่หลายบนสังคมออนไลน์ และมีผู้ส่งเรื่องเข้ามาสอบถามข้อเท็จจริงกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริงของคลิปวิดีโอที่ถูกแชร์ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท ตรวจสอบพบว่า หน่วยงานด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเทศอินเดีย 2 แห่ง คือ Factly […]

1 34 35 36 37 38 46