ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET  : เตือนห้ามทานเห็ดผัดกับมะเขือ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์คลิปเตือนว่า ห้ามกินเห็ดผัดกับมะเขือ เพราะมีพิษ ทำให้เสียชีวิตได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคดี สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จากที่แชร์กันว่า “ห้ามกินเห็ดผัดกับมะเขือ” สำหรับส่วนตัวมองว่า ไม่มีข้อควรระวังอะไร ก็เหมือนกับนำเห็ดมาปรุงประกอบอาหาร แล้วใส่ผักชนิดอื่นลงไป เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนมากขึ้น ไม่ต่างจากหลากหลายเมนูเห็ดที่คุ้นเคย สมมุติผัดเห็ดรวมกับผักต่าง ๆ ก็เหมือนกับผัดผักรวม ถ้าเป็นเห็ดที่กินได้ก็ไม่มีปัญหาอะไร ถ้าเป็นเห็ดชนิดอื่น ๆ ที่หน้าตาแปลกประหลาด สีสันฉูดฉาด คนก็ไม่กินอยู่แล้ว ทุกปีในเมืองไทยมีปัญหา “เห็ดระโงกหิน” เกี่ยวกับจุดสังเกตที่สามารถจะแยกได้ระหว่าง “เห็ดระโงกที่กินได้” กับ “เห็ดระโงกหินที่กินไม่ได้” คือส่วนของ “ก้านเห็ด” ถ้าเป็น “เห็ดระโงกที่กินได้” ก้านเห็ดเรียบ ไม่มีกระโปรงหรือที่เรียกว่าวงแหวน ถ้าเป็น “เห็ดระโงกหิน” ตรงส่วนที่เป็นก้านเห็ด จะเห็นลักษณะเหมือนกับเป็นวงแหวน เห็ดระโงกหินมีความเป็นพิษสูง จากสารอะมาท็อกซิน (Amatoxins) กินเข้าไปแล้วมีอาการเป็นพิษที่ปรากฏ ดังนี้   1. มีอาการแสดงหลังกินภายใน 6–24 ชั่วโมง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เตือนกินเห็ดเข็มทองเสี่ยงเสียชีวิต จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์ แชร์คลิปเตือนให้ระมัดระวังการกินเห็ดเข็มทอง เพราะมีผู้ที่กินแล้วเสียชีวิตถึง 4 คน ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.ทพญ.ดุลยพร ตราชูธรรม อาจารย์ประจำหลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล คลิปที่แชร์กันเป็นข่าวที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา จากการตรวจสอบพบว่ามีข่าวเรื่องนี้ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์สำนักข่าว CNN และ FDA (องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา) มีการเรียกคืนเห็ดเข็มทอง (ผลิตโดยบริษัทจากสาธารณรัฐประชาชนจีน) เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อลิสทีเรีย (Listeria monocytogenes) ที่ปนเปื้อนมาในเห็ดเข็มทอง ข่าวนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทย และในประเทศไทยก็ยังไม่มีรายงานการเรียกคืนเห็ดเข็มทองยี่ห้อนี้ “ลิสทีเรีย” เป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ในอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารดิบ รวมถึงผักและผลไม้ที่มีเศษดินปนมา และล้างไม่สะอาด อาการแสดงจากการติดเชื้อลิสทีเรีย คือ เริ่มแรกจะมีไข้สูง และคอแข็ง ถ้าในรายที่รุนแรงอาจจะติดเชื้อในกระแสเลือดถึงขั้นเสียชีวิตได้ หรือบางรายอาจจะขึ้นสมอง เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เสียชีวิตได้เช่นกัน ทำไมถึงเจาะจงพบเชื้อในเห็ดเข็มทอง ? เชื้อลิสทีเรียอาจจะไม่ได้อยู่ที่ตัวเห็ดเข็มทอง แต่น่าจะอยู่ที่กระบวนการหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการบรรจุเห็ดเข็มทองก่อนขนส่งไปจำหน่าย การทำความสะอาดไม่ดีพอ และดินที่ติดอยู่กับเห็ดเข็มทองอาจมีเชื้อลิสทีเรียปนมาด้วย เวลาขนส่งเห็ดสดต้องแช่เย็นด้วย เชื้อลิสทีเรียสามารถเติบโตได้ดี และการบรรจุเห็ดเข็มทองใส่ถุงเพื่อขนส่ง ถ้ามีเชื้อปนเปื้อนอยู่ในเศษดิน เชื้อลิสทีเรียก็ยังคงมีอยู่ในถุงนั้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 3 คำแนะนำในคนที่กระดูกสันหลังคด จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ 3 คำแนะนำ ในคนที่เป็นกระดูกสันหลังคด คือ พยายามอย่านอนตะแคง การยกของหนักทำให้กระดูกคดเพิ่มได้ และควรออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อด้วย 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.กภ. มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์ อาจารย์คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงบางส่วน บางกรณีอาจจะทำได้ ก่อนแชร์ควรแก้ไขและอธิบายให้ถูกต้อง ข้อ 1. พยายามอย่านอนตะแคง เพราะการนอนตะแคงอาจทำให้กระดูกสันหลังคดเพิ่มได้ จริงหรือ ? ในบางกรณี การนอนตะแคงเป็นการจัดให้กระดูกตรงขึ้น เพราะ “การนอนตะแคง” เป็นท่าแนะนำสำหรับคนที่กระดูกสันหลังคดด้วย การนอนตะแคงอาจจะนอนได้กรณีที่เมื่อนอนแล้วกระดูกสันหลังตรงขึ้น เช่น กระดูกทรวงอกเอียงไปทางด้านขวา ถ้าหากนอนตะแคงทับข้างซ้าย ด้านขวาอยู่ข้างบน กระดูกสันหลังก็จะค่อย ๆ หล่นลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้กระดูกสันหลังตรงขึ้น ดังนั้น การรู้ว่ากระดูกสันหลังคดหรือไม่ คดมากน้อยแค่ไหน อาจส่งผลดีต่อการรักษา นั่นคือต้องสังเกตตัวเองว่ามีกระดูกสันหลังคดไปทางด้านไหน เมื่อนอนตะแคงแล้วอาจให้คนอื่นมาช่วยดูว่ากระดูกของเราที่โค้ง ตรงขึ้นหรือไม่ ถ้านอนตะแคงท่านั้นแล้วกระดูกสันหลังตรงขึ้นก็สามารถนอนได้ ข้อ 2. การสะพายกระเป๋าหนัก ยกของหนักมากเกินไป เพราะคนที่กระดูกสันหลังคดกระดูกอ่อนแอ จริงหรือ ? กระดูกของคนเราไม่ได้อ่อนแอ แต่กล้ามเนื้อรอบ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 4 สิ่งที่ไม่ควรทำ เมื่อเป็นกระดูกสันหลังคด จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์เตือนว่า คนที่กระดูกสันหลังคด ไม่ควรทำ 4 สิ่งต่อไปนี้ ยกของหนัก นั่งท่าที่ผิด นั่งไขว่ห้าง หรือ นั่งพับเพียบ และทำกิจกรรมกระแทกหลัง หรือกีฬาผาดโผน จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.กภ. มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์ อาจารย์คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาพรวม จริงบางส่วน บางกรณีก็ไม่ควรทำ บางกรณีก็ทำได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะความคด อายุ และความแข็งแรงของแต่ละคนด้วย ยกของหนัก แบกของหรือสะพายกระเป๋าหนักมากที่หลัง ? ถ้าเป็นผู้ใหญ่แล้ว การยกของ การแบก การถือของก็ควรทำได้ เพราะตัวกระดูกไม่เพิ่มความคดแล้ว กรณีของเด็ก ก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น ต้องถือกระเป๋าข้างเดียวจนตัวเอียง สามารถทำให้กระดูกสันหลังคดมากขึ้นได้ จากการถือข้างที่ไปเพิ่มแรงกดฝั่งที่กระดูกสันหลังคด ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้เด็กถือกระเป๋าหรือสะพายกระเป๋าข้างใดข้างหนึ่ง แนะนำให้ใช้เป้สะพายหลัง หรือกระเป๋าลากแทน การยกของหนักต้องทำให้ถูกท่า เพราะคนกระดูกสันหลังคดอาจจะมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทั้ง 2 ข้างไม่สมดุล การยก หมุน หรือการเคลื่อนไหวอะไรก็ตาม มีความเสี่ยงเกิดการบาดเจ็บมากกว่าคนอื่นได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง นั่งในท่าที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 3 คำแนะนำในคนที่กระดูกสันหลังคด จริงหรือ ?

ชัวร์ก่อนแชร์ : 3 คำแนะนำในคนที่กระดูกสันหลังคด จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ 3 คำแนะนำ ในคนที่เป็นกระดูกสันหลังคด คือ พยายามอย่านอนตะแคง การยกของหนักทำให้กระดูกคดเพิ่มได้ และควรออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อด้วย 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.กภ. มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์ อาจารย์คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงบางส่วน บางกรณีอาจจะทำได้ ก่อนแชร์ควรแก้ไขและอธิบายให้ถูกต้อง ข้อ 1. พยายามอย่านอนตะแคง เพราะการนอนตะแคงอาจทำให้กระดูกสันหลังคดเพิ่มได้ จริงหรือ ? ในบางกรณี การนอนตะแคงเป็นการจัดให้กระดูกตรงขึ้น เพราะ “การนอนตะแคง” เป็นท่าแนะนำสำหรับคนที่กระดูกสันหลังคดด้วย การนอนตะแคงอาจจะนอนได้กรณีที่เมื่อนอนแล้วกระดูกสันหลังตรงขึ้น เช่น กระดูกทรวงอกเอียงไปทางด้านขวา ถ้าหากนอนตะแคงทับข้างซ้าย ด้านขวาอยู่ข้างบน กระดูกสันหลังก็จะค่อย ๆ หล่นลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้กระดูกสันหลังตรงขึ้น ดังนั้น การรู้ว่ากระดูกสันหลังคดหรือไม่ คดมากน้อยแค่ไหน อาจส่งผลดีต่อการรักษา นั่นคือต้องสังเกตตัวเองว่ามีกระดูกสันหลังคดไปทางด้านไหน เมื่อนอนตะแคงแล้วอาจให้คนอื่นมาช่วยดูว่ากระดูกของเราที่โค้ง ตรงขึ้นหรือไม่ ถ้านอนตะแคงท่านั้นแล้วกระดูกสันหลังตรงขึ้นก็สามารถนอนได้ ข้อ 2. การสะพายกระเป๋าหนัก ยกของหนักมากเกินไป เพราะคนที่กระดูกสันหลังคดกระดูกอ่อนแอ จริงหรือ ? กระดูกของคนเราไม่ได้อ่อนแอ แต่กล้ามเนื้อรอบ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิธีสังเกตกระดูกสันหลังคด จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์แนะนำวิธีสังเกตอาการกระดูกสันหลังคด โดยให้ดูระดับไหล่ ระดับหน้าอก สะโพกไม่เท่ากัน หรือตัวเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง แสดงว่ามีกระดูกสันหลังคด จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.กภ. มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์ อาจารย์คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง เพราะเราไม่สามารถมองเห็นแนวกระดูกของเขาได้ เมื่อกระดูกมีความเอียง ทำให้ร่างกายข้างนอกที่สังเกตเห็นได้มองเห็นว่าไม่เท่ากัน ข้อ 1. ระดับไหล่ไม่เท่ากัน ระดับไหล่ไม่เท่ากันใช้สังเกตว่ากระดูกสันหลังคดได้ แต่คนที่ไหล่ไม่เท่ากันก็ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องกระดูกสันหลังคด บางคนอาจเกิดจากตัวกล้ามเนื้อของไหล่ 2 ข้างไม่เท่ากัน หรือเกิดจากสะบักสูงต่ำไม่เท่ากันก็เป็นไปได้ ข้อ 2. ระดับหน้าอกไม่เท่ากัน ถ้าหากหน้าอกไม่เท่ากัน บอกได้คร่าว ๆ ว่ามีกระดูกสันหลังคด ถ้าสำรวจดูด้วยตัวเองในห้องน้ำ ระดับหัวนมสูง-ต่ำ เท่ากันหรือไม่ หรือตัวหน้าอกข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้างหนึ่ง ถ้าไม่เท่ากันแสดงว่าทรวงอกมีการบิดหมุน แปลว่ากระดูกสันหลังเอียง การเอียงของกระดูกสันหลังทำให้เกิดการบิดหมุนของกระดูกซึ่โครงจะสูง-ต่ำไม่เท่ากัน ซึ่งสามารถให้คนรอบข้างในบ้านช่วยดูให้ก็ได้ ว่าคนที่หน้าอกไม่เท่ากันที่มองเห็นจากด้านหน้า ให้ทดลองก้มหลังดู แล้วดูระดับหลัง 2 ข้าง ถ้าสูง-ต่ำไม่เท่ากัน แปลว่ากระดูกซี่โครงมีการบิด คนที่กระดูกซี่โครงบิดคือคนที่มีกระดูกสันหลังคด ข้อ 3. ระดับสะโพกไม่เท่ากัน สะโพกไม่เท่ากันก็อาจจะไม่จำเป็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ความดันโลหิตมาตรฐานคือ 150/90 สำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่า สหรัฐอเมริกาได้กำหนดอย่างเป็นทางการว่า “ความดันเลือดมาตรฐาน สำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป คือ 150/90” เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ สาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ข้อมูลที่แชร์ส่วนใหญ่ไม่จริง เป็นข้อมูลเก่า และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันเลือดสูงเสียโอกาสในการรักษาได้ สหรัฐอเมริกากำหนดอย่างเป็นทางการว่า “ความดันเลือดมาตรฐาน คือ 150/90” จริงหรือ ? สำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่อ้างกันตรงนี้ไม่เป็นความจริง ตามวิทยาลัยโรคหัวใจของสหรัฐอเมริกา และสมาคมหัวใจของสหรัฐอเมริกา การวินิจฉัยความดันเลือดสูงในผู้ใหญ่ทุกกลุ่มอายุ ถือว่าความดันเลือดในเกณฑ์ปกติคือ “ตัวบน” น้อยกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท (มม.ปรอท)  และ “ตัวล่าง” น้อยกว่า 80 มม.ปรอท โดยไม่ได้กินยาลดความดัน ผู้สูงอายุปกติ อายุมากกว่า 80 ปี ความดันเลือด 160 หรือ […]

วร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : 4 ปรสิตใกล้ตัวคนไทย ที่มีภัยต่อสมอง

ปรสิตหลายชนิดเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วอาจส่งผลร้าย มีบางชนิดอาจจะส่งผลถึงสมองของเรา มาทำความรู้จัก 4 ปรสิตใกล้ตัวคนไทย ที่มีภัยต่อสมอง 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.ทวี สายวิชัย ภาควิชาปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล “ปรสิต” สิ่งมีชีวิตที่เข้าสู่ร่างกายของเราแล้วอาจส่งผลร้าย และบางชนิดอาจจะมีภัยถึงสมองได้ ตัวที่ 1. “อะมีบา” ? อะมีบา (Amoeba) หรือเชื้ออะมีบา เป็นสัตว์เซลล์เดียวประเภทโปรโตซัว (protozoa) ชนิดหนึ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า มีขนาดใหญ่กว่าแบคทีเรียไม่มากนัก ปกติแล้ว “อะมีบา” เข้าสู่ร่างกายคนจากการกินอาหาร ดื่มน้ำ ที่มีการปนเปื้อนของอะมีบาระยะติดต่ออยู่ โดยส่วนใหญ่ปนออกมากับอุจจาระ และอุจจาระไปปนเปื้อนกับผัก ผลไม้ น้ำ เมื่อคนเรากินเข้าไป อะมีบาตัวนี้จะมีผลกับลำไส้ ไปทำลายเซลล์ลำไส้ เมื่อเซลล์ลำไส้ทำงานไม่ได้ก็จะเกิดอาการท้องร่วง และอาการอาจจะรุนแรงกว่าท้องร่วงได้ ถ้าอาการรุนแรง ปรสิตชนิดนี้จะกินเซลล์ลำไส้ลึกลงไปถึงหลอดเลือดฝอยที่มาเลี้ยงลำไส้ เข้าสู่กระแสเลือด จากนั้นส่วนใหญ่จะไปที่ปอดและสมอง เมื่อปรสิตไปที่ไหนก็จะกินเซลล์ตัวนั้น ไปที่สมองก็จะเกิดเป็นฝีที่สมอง อะมีบาบางชนิดก่อให้เกิดโรคในคนได้ เป็นอะมีบาที่อาศัยเป็นอิสระในธรรมชาติตามแหล่งน้ำ ดิน โคลนเลน มีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : กินมันหวานช่วยให้อายุยืน จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์แนะนำให้กิน “มันหวาน” ช่วยให้อายุยืน เพราะมันหวานมีสารอาหารมาก ช่วยป้องกันโรค ทำให้แก่ช้า จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางส่วนเป็นเรื่องจริง แต่ข้อมูลบางอย่างก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่ามันหวานสามารถทำให้คนเราอายุยืนได้ ข้อ 1. มันหวานมีสารอาหารสูงมาก ? ไม่ว่าจะเป็น ไฟเบอร์ (ใยอาหาร) วิตามิน แร่ธาตุ รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ทำให้แก่ช้า ช่วยป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็ง ป้องกันไม่ให้เป็นโรคหัวใจ ไฟเบอร์ที่สูงเหล่านี้จะช่วยดูดซับน้ำตาลไม่ให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายมาก จึงทำให้การกินมันหวานไม่ส่งผลต่อน้ำตาลในเลือดมาก ต่างจากการกินอาหารหวานอื่น ๆ มันหวานมีไฟเบอร์ (Fiber) สูงจริง มีวิตามินกลุ่มบีตาแคโรทีน (Beta-carotene) แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) มีแร่ธาตุต่าง ๆ ที่สำคัญ ถ้าพูดเรื่องทำให้แก่ช้า มักจะพูดถึงสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) มากกว่า เนื่องจากมันหวานมีปริมาณของ phenolic contents มีกรดฟีนอลิก  (Phenolic) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : เติมน้ำมันเชื้อเพลิงผิด วิธีปฏิบัติ-แก้ไข

บนสื่อสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยว่า เมื่อเติมน้ำมันเชื้อเพลิงผิดประเภท จะเป็นอย่างไร ส่งผลเสียต่อชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ชิ้นใดบ้าง และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ คุณธนเทพ ธเนศนิรัตศัย นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญด้านรถยนต์ และ Website Director www.Headlightmag.com สถานการณ์ที่เจ้าของรถยนต์เผลอไผล เจ้าของรถยนต์เผอเรอ ปัญหาที่เกิดขึ้น ต้องยอมรับว่าปั๊มน้ำมันส่วนใหญ่จะต้องพึ่งพาแรงงานชาวต่างชาติมากขึ้น มีแรงงานชาวต่างชาติที่ไม่คุ้นชินกับการใช้ภาษาไทย และไม่คุ้นชินกับประเภทของน้ำมัน สุดท้ายก็เติมน้ำมันผิดประเภท อีกกรณี เจ้าของรถยนต์มือใหม่ ไม่รู้ว่ารถยนต์ที่ขับใช้น้ำมันประเภทไหน ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์บางรายทำสติ๊กเกอร์บอกประเภทของน้ำมันที่จะเติมติดไว้ด้านในของฝาถังน้ำมัน ถึงแม้จะมีสติ๊กเกอร์บอกประเภทของน้ำมันที่จะเติมติดไว้ด้านในของฝาถังน้ำมันแล้ว แต่ก็ยังเกิดปัญหา เพราะว่าสติ๊กเกอร์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเท่านั้น ไม่มีภาษาของแรงงานต่างชาติ (กัมพูชา เมียนมาร์ ลาว เวียดนาม) ทำให้โอกาสเติมน้ำมันผิดก็มีเหมือนกัน นอกจากนี้ รถกระบะมีทั้งเครื่องยนต์ดีเซล และเครื่องยนต์เบนซิน จึงมีโอกาสเติมน้ำมันผิดประเภทได้ ถ้าเป็นรถเก๋งบางรุ่น บางคันเติมน้ำมันเบนซิน บางคันก็เติมน้ำมันดีเซล เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของเจ้าของรถยนต์ ผู้ขับรถยนต์ ที่จะต้องจดจำให้ได้ว่ารถยนต์ของตัวเองเติมน้ำมันประเภทใด แล้วบอกเด็กปั๊มให้ถูกต้อง เติมน้ำมันผิดประเภท รถยนต์มีอาการเป็นอย่างไร กรณีเครื่องยนต์ “เบนซิน” แต่เติมน้ำมัน “ดีเซล” อาการที่ปรากฏให้สังเกตได้ 1. มีควันออกมา 2. […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ดื่มยาดองเหล้าเสี่ยงตาบอด และเสียชีวิต จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์คำเตือนจากข่าวน่าตกใจ ดื่มยาดองเหล้าแล้วได้รับอันตราย หากมีเมทานอลหรือเมทิลแอลกอฮอล์ อาจถึงขั้นตาบอดและเสียชีวิตได้ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย มีส่วนเป็นไปได้จริง แต่ข่าวที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ ที่มีการนำเมทิลแอลกอฮอล์ (Methyl Alcohol) ที่รู้จักกันว่า “เมทานอล” (Methanol) มาใช้ผสมยาดองเหล้าแทนเอทิลแอลกอฮอล์ (Ethylalcohol) หรือ “เอทานอล” (Ethanol) การนำเมทิลแอลกอฮอล์มาผสมยาดองเหล้าจะทำให้ผู้ดื่มเป็นอันตรายถึงตาบอดและเสียชีวิตได้ เอทิลแอลกอฮอล์ กินได้ และกินไม่ได้ ? เอทิลแอลกอฮอล์มีความเข้มข้นหลายอย่าง มีทั้งกินได้และกินไม่ได้ ที่คนทั่วไปรู้จักก็คือ เอทิลแอลกอฮอล์ที่ผสมในสุราหรือเบียร์ สำหรับแอลกอฮอล์ล้างแผลก็คือ เอทิลแอลกอฮอล์ 70% ส่วนยาดองเหล้าก็อาจขึ้นกับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ที่ผสม ถ้าเอทิลแอลกอฮอล์มีความเข้มข้นมากเกินไปก็อาจเกิดอันตรายกับร่างกายได้เช่นเดียวกัน เมทานอลผสมยาดองเหล้า อันตราย ? เมทานอลกินไม่ได้ ใช้ในอุตสาหกรรม เป็นตัวทำละลายและอันตรายมาก แอลกอฮอล์เมทานอลกินไม่ได้ ถ้ามีการปนเปื้อน หรือเข้าใจผิดนำเมทิลแอลกอฮอล์มาผสมลงไปจะทำให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงถึงขั้นตาบอดและเสียชีวิตได้ ถ้ากินเข้าไปปริมาณมากจะเกิดอาการเร็วตั้งแต่ต้น ขณะที่บางคนถ้าปนเปื้อนปริมาณไม่มากนักอาจมีอาการตั้งแต่ 12-72 ชั่วโมง อาการระยะแรกหลังจากดื่มเหล้าผสมเมทิลแอลกอฮอล์ ส่งผลต่อร่างกาย ดังนี้ 1. […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ผิวมะนาว ป้องกัน และรักษาโรค จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่า “ผิวมะนาว” มีประโยชน์ มีสารสำคัญช่วยป้องกันโรค และฆ่าเซลล์มะเร็งได้ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยภาพรวม “ผิวมะนาว” กินได้ และผิวมะนาวก็มี “วิตามินซี” สูงกว่าน้ำมะนาว แต่ยังไม่ควรคาดหวังที่จะนำผิวมะนาวมาใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็ง ถึงแม้ว่าในผิวมะนาวมีสารประกอบหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นวิตามินซี (Vitamin C) ฟีนอลิกแอซิด (Phenolic acid) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid)  ดังนั้น การนำมากินก็น่าจะได้รับสารประกอบเหล่านั้นจากเปลือกมะนาว การขูดผิวมะนาวโรยอาหารต่าง ๆ ช่วยให้อาหารมีรสชาติดีขึ้น จริงหรือ ? ผิวมะนาวกินได้เพียงแค่ล้างให้สะอาด และผิวมะนาวมีสารระเหิดช่วยให้กลิ่นหอมเมื่อนำมาใส่อาหารช่วยให้อาหารอร่อยขึ้นได้ ผิวมะนาว มีวิตามินซีมากกว่าน้ำมะนาว 5-10 เท่า จริงหรือ ? เรื่องนี้แล้วแต่บางสายพันธุ์ แต่โดยทั่วไปผิวมะนาวมีสารสำคัญมากกว่าน้ำมะนาวอยู่แล้ว ถ้าพูดถึงกรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid) หรือวิตามินซี บางสายพันธุ์มีมากกว่าเกือบ 9 เท่า แต่บางสายพันธุ์ก็มีน้อยกว่า เช่น มะนาวตาฮิติ […]

1 2 3 4 5 16