ชัวร์ก่อนแชร์ : 6 วิธีทำให้พริกดก จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์แนะนำหลากหลายวิธีทำให้พริกดก ทั้งการรดราดด้วยสูตรส่วนผสมต่าง ๆ ไปจนถึงการตัดใบตัดยอด 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.จุติภรณ์ ทัสสกุลพนิช ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลากหลายวิธีที่ทำให้พริกดก มีทั้งส่วนจริงและไม่จริง เช่น ส่วนที่จริง การตัดแต่งกิ่ง ทำให้ดอกและผลดกได้จริง แต่เรื่องการเติมสารใด ๆ ลงไป ก็ต้องดูรายละเอียดของสารแต่ละชนิดที่ใส่ลงไป สูตร 1 : ยาพาราเซตามอล ผสม เครื่องดื่มชูกำลัง และ น้ำเปล่า ช่วยให้พริกดกได้ จริงหรือ ? ไม่จริง เพราะว่า ยาพาราเซตามอล  (Paracetamol) มีผลลบกับพืช ซึ่งอาจจะทำให้การสังเคราะห์แสงของพืชลดลง ส่วนเครื่องดื่มชูกำลัง มีรายงานเพียงว่าทำให้พืชโตดีขึ้น ไม่ได้มีรายงานการทำให้พริกมีดอกดกและผลดก สูตร 2 : น้ำหมัก 5 พลัง (มูลค้างคาว มูลไส้เดือน น้ำหมักปลา ยูเรียน้ำ และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง) ช่วยพริกดกได้ ? สูตรนี้ก็มีส่วนจริง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : กินไข่คนมะเขือเทศดิบ อันตราย จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์เตือนอันตรายใกล้ตัว เด็กในต่างประเทศหมดสติ หลังกินไข่คนมะเขือเทศดิบ เพราะในมะเขือเทศดิบมีสารพิษ ที่ทำให้อัมพาตและตายได้ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.จุติภรณ์ ทัสสกุลพนิช ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในมะเขือเทศดิบมีสารพิษจริง แต่ปริมาณน้อยมาก สารพิษในมะเขือเทศดิบ คือ โซลานีน (Solanine) จากข่าวที่แชร์กันบอกว่าเป็นพิษจากโซลานีน คิดว่าไม่จริง 1. ถึงแม้จะเป็น “มะเขือเทศดิบ” แต่มีปริมาณโซลานีนที่น้อยมาก 2. โซลานีนสัมผัสความร้อน 170 องศาเซลเซียสก็สลายหมดตั้งแต่ 20-90 เปอร์เซ็นต์ “โซลานีน” เป็นสารที่พบในพืชวงศ์พริก-มะเขือ หรือวงศ์โซลานาซี (Solanaceae) เมื่อคนเราได้รับสารโซลานีนเข้าสู่ร่างกายก็จะมีอาการปวดศีรษะ ตัวร้อน คลื่นไส้ อาเจียน ถ้าได้รับปริมาณสูงอาจมีอาการมึนงง อ่อนเพลีย จนกระทั่งหมดสติ สารโซลานีน พบได้ใน “มันฝรั่งดิบ” ? ความน่ากังวลของสารโซลานีน คือ ในมันฝรั่งดิบและมันฝรั่งที่กำลังแตกหน่อออกมา มันฝรั่งแตกหน่อใหม่ เซลล์บริเวณนั้นมีสีเขียว ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการสร้างสารโซลานีนสูงมาก สามารถหลีกเลี่ยงโดยการไม่ใช้มันฝรั่งที่กำลังแตกหน่อ ด้วยการเฉือนเนื้อบริเวณที่แตกหน่อทิ้ง เมื่อมันฝรั่งผ่านความร้อนสูงมากกว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : จอประสาทตาอักเสบ จากโรค VKH

จอประสาทตาอักเสบเกิดได้จากสาเหตุใด และจะมีอาการเป็นอย่างไร ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “จอประสาทตา” เป็นอวัยวะที่อยู่ข้างในลูกตา มีความสำคัญมาก ๆ สำหรับดวงตาของมนุษย์ จอประสาทตามีหน้าที่รับภาพต่าง ๆ ส่งไปที่สมองเพื่อแปลผลว่าเราเห็นอะไร ภาวะจอประสาทตาอักเสบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีหลายโรคที่ทำให้จอประสาทตาอักเสบ จอประสาทตาอักเสบพบร่วมกับความผิดปกติส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ที่เรียกภาวะนี้ว่า โรคโวกต์ โคยานางิ ฮาราดะ  (Vogt Koyanagi Harada disease : VKH) โรคนี้มักพบในคนวัยทำงาน ช่วงอายุมากกว่า 20 ถึงมากกว่า 40 ปี คนที่เป็นโรค Vogt Koyanagi Harada ถ้าได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้องก็จะทำให้เกิดอันตรายกับจอประสาทตาถาวรและเกิดความพิการตามมาได้ โรค Vogt Koyanagi Harada ทำให้จอประสาตาอักเสบ เกิดจากสาเหตุอะไร ? โรค Vogt Koyanagi […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สาเหตุและการรักษาโรคหลอดเลือดขอด

หลอดเลือดขอดคืออะไร เกิดได้จากสาเหตุใด มีวิธีการป้องกันและรักษาอย่างไร ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.นพ.เทิดภูมิ เบญญากร สาขาวิชาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลอดเลือดขอดก็คือหลอดเลือดดำชั้นตื้นเกิดการหดตัว และการคั่งของเลือด ทำให้มองเห็นเหมือนตัวหนอน มักพบบริเวณขาด้านใน หลอดเลือดขอด เกิดจากสาเหตุอะไร ? หลอดเลือดขอดเกิดจากความดันในหลอดเลือดดำที่มากขึ้น ขณะยืนหรือเดิน ทำให้เกิดการคั่งของเลือดและหลอดเลือดมีการโป่งพองและขดตัว พบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย นอกจากนี้ วิถีชีวิตประจำวันของแต่ละคนก็มีความสัมพันธ์กับหลอดเลือดขอด เช่น ทำงานที่ต้องเดินหรือยืนนาน ๆ มากเกินไป ชอบนั่งไขว่ห้าง น้ำหนักตัวเกิน (อ้วนลงพุง) รวมถึงการใส่รองเท้าส้นสูง จึงทำให้พบผู้ป่วยหลอดเลือดขอดที่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สำหรับอาชีพที่พบว่าเป็นหลอดเลือดขอดมากก็คือ อาชีพที่ต้องยืนหรือเดินเป็นระยะเวลานานต่อวันโดยไม่ได้กำหนดเวลาว่ากี่ชั่วโมง เช่น พยาบาล แต่ถ้ามีการพักขาบ้าง ยกขาบ้าง ก็จะช่วยชะลอการเป็นหลอดเลือดขอดได้ดีขึ้น “หลอดเลือดขอด” สังเกตได้อย่างไร ? สามารถสังเกต “หลอดเลือดขอด” ได้จากหลอดเลือดที่ปูดขึ้นบริเวณขา โดยเฉพาะขาด้านใน (บริเวณใต้เข่าลงมา) มีอาการที่บอกได้ว่าเป็นหลอดเลือดขอดก็คือ ยืนนาน ๆ มีอาการเมื่อยน่องบ่อย ๆ ขาตึงบ่อย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จักและเข้าใจหลอดเลือด

ระบบหลอดเลือดทำงานอย่างไร มีความสำคัญอย่างไร เราควรดูแลให้หลอดเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.นพ.เทิดภูมิ เบญญากร สาขาวิชาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คนเรามีระบบหลอดเลือดหลัก 2 ระบบคือ หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดแดง โดยมีหลอดเลือดฝอยอยู่ระหว่างกลาง หลอดเลือดแดง (artery) รับเลือดดีจากหัวใจ ส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ สมอง หลอดเลือดดำ (vein) รับเลือดที่มีออกซิเจนต่ำกลับเข้าสู่ปอด เพื่อไปฟอกและส่งคืนหัวใจ หลอดเลือดฝอย (capillary) ทำหน้าที่รับเลือดจากเซลล์เล็ก ๆ และส่งเข้าหลอดเลือดใหญ่ต่อไป “หลอดเลือด” สำคัญกับร่างกาย อย่างไร ? ถ้าเปรียบร่างกายเสมือนบ้าน หลอดเลือดก็เหมือนท่อน้ำที่ส่งสารอาหาร ส่งอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปในบ้านให้ทำหน้าที่ได้ปกติ หลอดเลือดเปรียบเสมือนท่อน้ำเลี้ยงหลัก ถ้าขาดเลือดทำให้อวัยวะต่าง ๆ มีปัญหาขึ้นมาได้ โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด มีอะไรบ้าง ? โรคของหลอดเลือดมีหลายโรค เช่น หลอดเลือดตีบ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานมีประสิทธิภาพแย่ลง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ให้สุนัขกินตับมากอันตราย จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่า การให้สุนัขกินตับมากจะเป็นอันตราย วิตามินเอสะสมจนเป็นพิษ ทำให้สุนัขซึม เบื่ออาหาร เจ็บขาเวลาเดิน ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.สพ.ญ.ดร.อุตรา จามีกร ภาควิชาสัตวบาล คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ้าให้สุนัขกิน “ตับ” ปริมาณมากอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอสมควร สามารถเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ในภายหลัง มีหลายปัจจัยที่ให้สุนัขกินตับมากอาจเป็นอันตรายได้ ? “ตับ” มีวิตามินเอสูงมาก หากสะสมในร่างกายมากเกินไปจะเป็นพิษต่อสุนัขได้ ตับไก่ 100 กรัม มีวิตามินเอประมาณ 10,000 I.U. ตับหมู 100 กรัม มีวิตามินเอประมาณ 21,000 I.U. ถ้าเปรียบเทียบความต้องการวิตามินเอของสุนัขและแมว ก็จะอยู่ที่ประมาณ 100-110 I.U. ต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว พูดง่าย ๆ ถ้าเลี้ยงสุนัขมีน้ำหนักตัว 10 กิโลกรัม ก็จะต้องการวิตามินเอเพียงแค่ประมาณ 1,100 I.U. เท่านั้น ดังนั้น ถ้าให้ตับไก่ 100 กรัมก็มีวิตามินเอแล้ว 1,1000 I.U. […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ให้ความเย็นทั้งร่างกาย รักษาได้หลายโรค จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์แนะนำการบำบัดที่เรียกว่า Whole body Cryotherapy เดินเข้าไปในตู้ที่มีความเย็นจัด รักษาโรค ช่วยชะลอวัย แก้นอนไม่หลับ แก้ออฟฟิศซินโดรม จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.กภ.วรรธนะ ชลายนเดชะ อาจารย์คณะกายภาพบำบัด และศูนย์กายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา การบำบัดที่เรียกว่า Whole body Cryotherapy ยังไม่มีหลักฐานการวิจัยที่ยืนยันแน่นอน แต่น่าจะมีผลกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว เหมือนกับการออกกำลังกาย มีอะไรกระตุ้นผิวหนังทำให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว มีการหลั่งของสารเอ็นดอร์ฟินส์ (Endorphins) ทำให้รู้สึกสบาย ถ้าเปรียบเทียบกับวิธีการรักษาอื่น ๆ ที่ได้ผลมากกว่านี้ แนวคิด วิธีการรักษา Whole body Cryotherapy ? Whole body Cryotherapy คือการบำบัดด้วยความเย็นจัดทั้งตัว คนเข้าไปอยู่ในห้อง Chamber บางชนิดเข้าทั้งตัว บางชนิดโผล่ศีรษะ อุณหภูมิที่ใช้คือ ลบ 130 องศาเซลเซียส ประมาณ 2-3 นาทีเท่านั้น ส่งผลทำให้ร่างกายตื่นตัวหลั่งเอ็นดอร์ฟินส์ออกมา การให้ความเย็นทั้งร่างกาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนระวังเชื้อราในตู้เย็น จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เตือนให้ระวังเชื้อราในตู้เย็น โดยบอกว่า 98% กินเชื้อราโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น ควรใช้ผ้าชุบแอลกอฮอล์เช็ดตู้เย็นสัปดาห์ละครั้ง และวางวาซาบิไว้ ช่วยชะลอการโตของราในตู้เย็นได้ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.อรอุมา เพียซ้าย ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ กรรมการสมาคมสารพิษจากเชื้อราแห่งประเทศไทย ในตู้เย็นสามารถพบเชื้อราได้ ข้อมูลนี้เป็นความจริง และมีราหลายชนิดที่สามารถเจริญได้ที่อุณหภูมิต่ำ โดยปัจจัยที่ทำให้ “เชื้อราเจริญเติบโต” ได้ในตู้เย็น ดังนี้ 1. ความชื้น 2. อาหารที่เน่าเสีย 3. สภาพแวดล้อม 4. อุณหภูมิ ในคลิปที่แชร์กัน บอกว่า 98% กินเชื้อรากันโดยไม่รู้ตัว จริงหรือ ? “98%” เป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง ทั้งนี้ ถ้าในบ้านที่มีการรักษาความสะอาดสุขอนามัยภายในตู้เย็นดี ตัวเลขก็อาจจะไม่สูงมากถึงขนาดนี้ เรื่องนี้มีวิธีการป้องกัน หรือยับยั้งไม่ให้เกิดการปนเปื้อนภายในตู้เย็นได้ เชื้อราที่พบบ่อย ๆ ในตู้เย็น หรือปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ก็จะเป็นเชื้อรากลุ่มแอสเพอร์จิลลัส (Aspergillus) เพนิซิลเลียม (Penicillium) ฟูซาเรียม […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ยา 3 ชนิดที่ก่อไตวายมากขึ้น จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิปเตือนว่า มียา 3 ชนิดที่ก่อให้เกิดไตวายได้มากขึ้น ยาเป็นสาเหตุไตวายอันดับ 1 ที่ต้องระวังมีทั้งยาเบาหวาน ยาลดไขมันในเลือด และยาลดกรด จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.) และ กรรมการแพทยสภา เรื่องนี้ไม่จริง ยาทั้ง 3 ชนิด (ยาเบาหวาน ยาลดไขมัน ยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะ) เป็นยาที่ไม่ได้มีผลเสียโดยตรงต่อไตเลย ขอให้ประชาชนที่ใช้ยาอยู่ใช้ยาต่อไปตามคำสั่งของแพทย์ ถ้าหากผู้ป่วยหยุดยาก็จะมีโรคอื่น ๆ ตามมา จากเรื่องน้ำตาลในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง หรือถ้ากินยาเพื่อป้องกันกระเพาะอยู่แล้วไปหยุดยาก็จะเกิดแผลในทางเดินอาหาร อาเจียนเป็นเลือดและเสียชีวิตได้ ยาเป็นสาเหตุ “ไตวาย” อันดับหนึ่ง จริงหรือ ? คนไทยเป็นโรคไตมาก เป็นสิ่งที่ถูก สิ่งที่บอก “โรคไตมากกว่าครึ่งเกิดจากยา” เรื่องนี้ไม่ใช่ มีข้อมูลจากเว็บไซต์สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย อันดับ 1 โรคเบาหวาน (คุมน้ำตาลไม่ดี) อันดับ 2 โรคความดันเลือดสูง อันดับ 3 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ริดสีดวงที่ดวงตา

ริดสีดวงที่ดวงตา เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายแค่ไหน และควรป้องกันอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย โรคริดสีดวงดวงตา ทางการแพทย์เรียกว่า (Trachoma) คือโรคตาอักเสบเรื้อรัง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ในประเทศไทย โรคริดสีดวงตาเคยระบาดใหญ่ ปี พ.ศ. 2500 ทำให้เด็กยุคนั้นสูญเสียการมองเห็นมาจนถึงปัจจุบันนี้ เนื่องจากไปอยู่ระยะสุดท้ายของโรคที่เรียกว่า “ริดสีดวงตา” ปัจจุบัน โรคริดสีดวงตาพบได้น้อยมากในประเทศไทย โรคริดสีดวงตา เกิดขึ้นได้อย่างไร โรคริดสีดวงตา (Trachoma) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า คลามีเดียทราโคมาทิส (Chlamydia trachomatis) ในสมัยก่อน สุขอนามัยไม่ค่อยดี การไม่รักษาความสะอาด ใช้มือไปจับดวงตาบ่อย ๆ หรือคนที่ติดเชื้อมีการนำเสื้อผ้าผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวที่มีการปนเปื้อนของเชื้อคลามีเดียไปซักล้างในแหล่งน้ำของชุมชน ทำให้เกิดการกระจายของเชื้อได้ หลังจากมีการติดเชื้อแบคทีเรียคลามีเดียทราโคมาทิสก็จะเกิดการอักเสบต่อเนื่อง แบ่งระยะตามองค์การอนามัยโลก (WHO) ออกเป็น 5 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1. มีตุ่มที่เยื่อบุตา (ใต้หนังตาบน) ระยะที่ 2. เยื่อบุตาทั่ว […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 7 ประโยชน์ของมังคุด จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ 7 ประโยชน์ของมังคุดที่มีตั้งแต่การลดความเสี่ยงเรื่องเลือดออกตามไรฟัน ไปจนถึงรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 1. ผศ.ดร.อรสา สุริยาพันธ์ ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2. ผศ.ดร.ภกญ.นิศารัตน์ ศิริวัฒนเมธานนท์ ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คุณค่าและประโยชน์ทางโภชนาการของมังคุดที่แชร์กันมีความจริงเพียงบางส่วน มังคุดเป็นแหล่งของวิตามินและใยอาหารหลากหลาย แต่ปริมาณที่พบในมังคุดเป็นปริมาณที่ไม่ได้สูงโดดเด่นไปจากผลไม้อื่น สิ่งสำคัญที่ต้องระวังก็คือมังคุดมีน้ำตาลสูง ถ้ากินมังคุดในปริมาณมากก็อาจจะได้รับน้ำตาลสูงเกินไป ข้อ 1. มังคุดมี “วิตามินซี” ช่วยให้ไข้หวัดหายเร็วขึ้น เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงโรคเลือดออกตามไรฟัน ? วิตามินซี (Vitamin C) หรือกรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid) ช่วยเรื่องการสังเคราะห์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันคอลลาเจน (Connective tissue Collagen) ทำให้หลอดเลือดแข็งแรง ถ้าได้รับวิตามินซีปริมาณต่ำต่อเนื่อง 1-2 เดือน ก็จะเกิดภาวะเลือดออกตามไรฟัน ส่วนเรื่องเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคก็มีส่วน เพราะวิตามินซีช่วยในการทำงานของเม็ดเลือดขาว นอกจากนี้ ตัววิตามินซีทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อาจจะทำให้อาการป่วยจากไข้หวัดหายเร็วขึ้น อาการไม่รุนแรง สำหรับผู้ใหญ่ปริมาณที่ต้องการ 100 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : 10 อาหารห้ามให้แมวกิน จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์เตือนคนที่เลี้ยงแมวว่า มีอาหาร 10 ชนิดที่ห้ามให้แมวกิน ตั้งแต่ยาพาราเซตามอล ช็อกโกแลต ผักและผลไม้บางชนิด ไปจนถึงปลาดิบ และตับ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.น.สพ.ดร.สถาพร จิตตปาลพงศ์ คณบดีคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาหารแมว 10 ชนิดที่แชร์กัน มีบางส่วนจริง แต่บางส่วนไม่ถึงขนาดห้าม เป็นเรื่องที่บอกได้ยากว่าแมวจะแพ้หรือไม่แพ้ อาหารคนหลายชนิดทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในสัตว์ได้ เพราะว่าด้วยเหตุสรีรวิทยาของคนและสัตว์แตกต่างกัน อาหารที่ดูเหมือนมีคุณประโยชน์ในคน อาจจะทำให้เกิดโทษหรือเป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงได้ ข้อ 1. ยาพาราเซตามอล ? คนเลี้ยงไม่ควรให้ “ยาพาราเซตามอล” กับสัตว์เลี้ยงด้วยตนเอง โดยเฉพาะแมวมีการแพ้ยาพาราเซตามอลค่อนข้างมาก แมวที่แพ้ยาพาราเซตามอลจะมีอาการเหมือนกับขาดออกซิเจนในเลือด มีอาการของ Cyanosis (ภาวะผิวหนังเขียวคล้ำ) หรือได้รับยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจจะทำให้ตายได้ ข้อ 2. หัวหอม กระเทียม องุ่น และลูกเกด ? องุ่น และลูกเกดมีความเป็นพิษต่อแมว บางอย่างยังไม่รู้รายละเอียดว่าเป็นสารพิษตัวไหน หรือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร แต่ในแมวพบว่าแพ้มาก ส่วนหัวหอม กระเทียม […]

1 2 3 4 16