ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 สัญญาณมะเร็งตับ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ 10 สัญญาณเตือนโรคมะเร็งตับ เช่น ปวดท้องด้านขวา ตาเหลืองตัวเหลือง และมีอาการคลื่นไส้ อ่อนเพลีย เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ พล.ต.นพ.อนุชิต จูฑะพุทธิ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาโรคมะเร็งตับ และ ประธานมูลนิธิตับ สัญญาณทั้ง 10 ข้อที่แชร์กันมีส่วนถูก แต่สัญญาณต่าง ๆ หมอไม่อยากเจอ เพราะบอกว่าเป็นมะเร็งระยะค่อนข้างลุกลามแล้ว หมออยากเจอผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่มีอาการ แล้วตรวจพบโดยการเฝ้าระวังมากกว่า เพราะจะมีขนาดไม่ใหญ่และให้การรักษาที่ทำให้หายได้ ข้อ 1. คลื่นไส้บ่อย ๆ จนผิดปกติ การทํางานของตับล้มเหลว ระบบการขจัดสารพิษทําได้ไม่ดีเท่าที่ควร เนื้องอกทําให้เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ยิ่งทําให้การคลื่นไส้ อาเจียนรุนแรงขึ้น ? คลื่นไส้ อาเจียน มักไม่ค่อยพบในผู้ป่วยมะเร็งตับ ยกเว้นก้อนมะเร็งกดกระเพาะอาหาร ทำให้กินอาหารไม่ได้ มักจะทำให้มีอาการอาเจียน ส่วนที่บอกว่าแคลเซียมเพิ่มขึ้น เรื่องนี้พบน้อยมาก นาน ๆ จะพบสักครั้ง เนื่องจากก้อนมะเร็งสร้างสารบางอย่างทำให้กระตุ้นสร้างแคลเซียมมากขึ้น ข้อ 2. ปวดท้องด้านขวาผิดปกติ และมีปวดบริเวณไหล่ขวา การเจริญเติบโตของมะเร็งทําให้เกิดความดันในช่องท้องมากขึ้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ผัก 5 ชนิด ดีต่อตับ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์แนะนำ ผักสีเขียว 5 ชนิด ดีต่อตับ ทั้งผลกีวี บรอกโคลี ต้นหอม แตงกวา และหน่อไม้ฝรั่ง จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ พล.ต.นพ.อนุชิต จูฑะพุทธิ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาโรคมะเร็งตับ และ ประธานมูลนิธิตับแห่งประเทศไทย ปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าผัก 5 ชนิดมีประโยชน์ชัดเจนดีต่อตับ แต่ว่าโดยรวมแล้วการกินผักชนิดต่าง ๆ (ล้างสะอาด ปลอดภัยจากสารพิษฆ่าแมลง) ก็มีประโยชน์ต่อร่างกายอยู่แล้ว ไม่จำเป็นว่าต้องส่งผลดีต่อตับเท่านั้น ข้อ 1. กีวี : วิตามินซีสูง บำรุงผิว ช่วยลดความดัน ป้องกันโรคท้องผูก ดีต่อตับ จริงหรือ ? กินกีวีแล้วได้ทั้งวิตามินและป้องกันท้องผูก เป็นเรื่องจริง แต่จะเป็นผลดีต่อตับหรือไม่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจน ข้อ 2. บรอกโคลี : กระตุ้นการขับถ่าย ลดระดับน้ำตาล ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ส่งผลดีต่อตับ ? ไม่มีข้อมูลว่าบรอกโคลีดีต่อตับ แต่คำแนะนำของสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เก็บข้าวเหนียวในกระติกพลาสติก อาจมีสารปนเปื้อนได้ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์ว่า เก็บข้าวเหนียวในกระติกพลาสติก อาจมีสารปนเปื้อนจากพลาสติกสู่ข้าวเหนียวได้ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.บุศรินทร์ จงเจริญยานนท์ ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่แชร์กันว่ามีการละลายของพลาสติกลงไปในเนื้อของข้าวเหนียว เรื่องนี้คงจะไม่เห็นการละลายของพลาสติกด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน แต่มีโอกาสที่สารเคมีจากตัวเนื้อพลาสติกส่วนที่สัมผัสกับข้าวเหนียวโดยตรง สามารถแพร่ออกมาที่ตัวข้าวเหนียวได้ ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “ปรากฏการณ์ไมเกรชัน” (Migration) ปรากฏการณ์ไมเกรชัน หมายถึง การเคลื่อนย้าย หรือการแพร่กระจายของสารจากภาชนะบรรจุ หรือวัสดุสัมผัสอาหารลงสู่อาหาร มีหลายปัจจัยที่ส่งเสริมปรากฏการณ์ไมเกรชัน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อพลาสติกเอง และชนิดของอาหาร ตัวเนื้อพลาสติกที่สัมผัสกับอาหาร “เปรี้ยว” หรืออาหาร “มัน” การแพร่สารลงไปจะได้มากขึ้น หรือปัจจัยที่เด่น ๆ ก็คือเรื่อง “อุณหภูมิ” อุณหภูมิยิ่งสูงก็จะยิ่งทำให้สารแพร่จากพลาสติกไปได้มากขึ้น และยังมีอีกปัจจัยหนึ่งก็คือ “ระยะเวลา” การเก็บอาหารไว้ในภาชนะพลาสติกนานมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มการแพร่ของสารเคมีลงไปในอาหารได้มากขึ้น กรณีของ “ข้าวเหนียว” ที่ใส่กระติกน้ำแข็ง (กระติกพลาสติก) ตัวอุณหภูมิเป็นปัจจัยหลักที่จะกระตุ้นการแพร่ของสารจากเนื้อพลาสติกไปสู่ข้าวเหนียวได้ ผ้าไนลอนบาง ๆ ที่ใช้คลุมข้าวเหนียว เส้นใยสังเคราะห์สามารถละลายได้เมื่อสัมผัสความร้อน จริงหรือ ? ผ้าขาวบางที่ทำจากไนลอน (Nylon หรือ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ความรุนแรงและอาการไวรัสตับอักเสบ

ไวรัสตับอักเสบ แต่ละชนิดมีอาการอย่างไร รุนแรงแค่ไหน และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี เลขาธิการมูลนิธิตับแห่งประเทศไทย หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล “ไวรัสตับอักเสบ” คือ ไวรัสที่ชอบอยู่ในเซลล์ตับ เพราะเซลล์ตับเป็นสถานที่ไวรัสอยู่แล้วสามารถแบ่งเพิ่มปริมาณได้ ไวรัสตับอักเสบ A และ ไวรัสตับอักเสบ E มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ อาการที่ปรากฏดูได้จากภายนอกคือมีตัวเหลือง ตาเหลือง แต่กรณีไม่มีตัวเหลือง ตาเหลือง ก็ผ่านระยะตับอักเสบไปโดยที่ไม่รู้ เพราะไม่ได้มาเจาะเลือดตรวจ แล้วก็หาย มีภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบ ถ้าป่วยชนิดมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์เพราะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปัสสาวะเข้ม ผะอืดผะอม คลื่นไส้ อาเจียน ยิ่งถ้าเป็นไวรัสตับอักเสบ A จะมีไข้สูง น่ากลัวมาก เมื่อตัวเหลืองไข้เริ่มลด ไวรัสตับอักเสบ A และ E ไม่พลาดแน่ ถ้ามีอาการผู้ป่วยจะรีบมาพบแพทย์ อาการ “ไวรัสตับอักเสบ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ความรุนแรงและอาการไวรัสตับอักเสบ

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ความรุนแรงและอาการไวรัสตับอักเสบ

ไวรัสตับอักเสบ แต่ละชนิดมีอาการอย่างไร รุนแรงแค่ไหน และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี เลขาธิการมูลนิธิตับแห่งประเทศไทย หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล “ไวรัสตับอักเสบ” คือ ไวรัสที่ชอบอยู่ในเซลล์ตับ เพราะเซลล์ตับเป็นสถานที่ไวรัสอยู่แล้วสามารถแบ่งเพิ่มปริมาณได้ ไวรัสตับอักเสบ A และ ไวรัสตับอักเสบ E มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ อาการที่ปรากฏดูได้จากภายนอกคือมีตัวเหลือง ตาเหลือง แต่กรณีไม่มีตัวเหลือง ตาเหลือง ก็ผ่านระยะตับอักเสบไปโดยที่ไม่รู้ เพราะไม่ได้มาเจาะเลือดตรวจ แล้วก็หาย มีภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบ ถ้าป่วยชนิดมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์เพราะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปัสสาวะเข้ม ผะอืดผะอม คลื่นไส้ อาเจียน ยิ่งถ้าเป็นไวรัสตับอักเสบ A จะมีไข้สูง น่ากลัวมาก เมื่อตัวเหลืองไข้เริ่มลด ไวรัสตับอักเสบ A และ E ไม่พลาดแน่ ถ้ามีอาการผู้ป่วยจะรีบมาพบแพทย์ อาการ “ไวรัสตับอักเสบ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สาเหตุการติดไวรัสตับอักเสบ

ไวรัสตับอักเสบคืออะไร มีกี่ชนิด และติดได้จากสาเหตุใด ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี เลขาธิการมูลนิธิตับแห่งประเทศไทย หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ไวรัสตับอักเสบ A B C D E (เรียงตามอักษรภาษาอังกฤษ) หลักการคือ มีอวัยวะที่ไวรัสชอบเป็นพิเศษ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ชอบที่เยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบน นี่คือไวรัสตอบอักเสบ ที่ชอบอยู่ในเซลล์ตับและสามารถแบ่งเพิ่มปริมาณได้ ไวรัสตับอักเสบมี 5 สายพันธุ์หลัก ๆ จำได้ง่ายคือ A B C D E จำง่าย ๆ ว่า มีสระ 2 ตัว คือ A E และ B C D สาเหตุการเกิดไวรัสตับอักเสบ A และ E “จากการกินอาหาร” ? […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ไม่ควรปิดฝาไมโครเวฟทันทีหลังใช้งาน จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์แนะนำว่า การใช้เตาอบไมโครเวฟ หลังใช้เสร็จแล้วไม่ควรปิดฝาประตูทันที เพราะอาจทำให้เกิดสนิมและนำไปสู่การช็อตเสียหายได้ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.สิริชัย ส่งเสริมพงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเรื่องจริง เห็นด้วยอย่างยิ่ง และควรเป็นวิธีปฏิบัติที่ดีทุกครั้งที่ใช้เตาอบไมโครเวฟ คือไม่ควรปิดฝาประตูทันที เพราะเวลาที่อุ่นอาหารในเตาอบไมโครเวฟ จะใช้คลื่นไมโครเวฟทำให้อาหารร้อนอย่างรวดเร็ว จากนั้นน้ำก็จะกลายเป็นไอน้ำระเหยออกมาจากอาหาร ไอน้ำที่เกิดขึ้นจะออกไปทางช่องระบายด้านหลังแต่ไม่หมด ส่วนใหญ่ไอน้ำก็จะเกาะบนผนังของเตาอบไมโครเวฟ เมื่อน้ำไปเกาะก็จะควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำ เพราะฉะนั้นจะมีไอน้ำเกาะอยู่บนผนังด้านบนจำนวนมาก เวลาที่เราเปิดประตูนำอาหารออกมา ควรเปิดฝาประตูทิ้งไวเพื่อให้หยดน้ำและไอน้ำที่หลงเหลืออยู่ในเตาอบไมโครเวฟได้ระบายออกไปสู่อากาศด้านนอกอย่างรวดเร็วเพื่อลดการเกิดสนิม ประตูเตาอบไมโครเวฟ เปิดนานแค่ไหน ? เปิดทิ้งไว้นานประมาณ 1 ชั่วโมง คือให้มั่นใจว่าหยดน้ำที่เกาะอยู่ในเตาอบไมโครเวฟแห้งแล้ว หรือถ้าไม่อยากเปิดนานก็ใช้ผ้าแห้งเช็ดหยดน้ำที่อยู่บริเวณผนังให้แห้ง ตรงนี้ก็จะลดการเกิดสนิมในเตาอบไมโครเวฟได้มาก ดังนั้น ควรทำความสะอาดบ่อย ๆ เพราะเวลาอุ่นอาหารจะมีเศษอาหารกระเด็นเกาะผนังเตาอบไมโครเวฟ และเมื่อมีไอน้ำหรือน้ำมาเกาะบริเวณนั้น โอกาสจะเกิดสนิมสูงมาก ถ้าอยากใช้เตาอบไมโครเวฟได้นาน ๆ ก็ควรระมัดระวังอย่าให้เกิดสนิมข้างใน ก็คือทำความสะอาดบ่อย ๆ “สนิม” เป็นโลหะ คล้ายกับช้อนหรือภาชนะโลหะที่ห้ามนำเข้าเตาอบไมโครเวฟเพราะว่าจะเกิดประกายไฟ เวลาคลื่นไมโครเวฟยิงไปที่โลหะก็จะเกิดการสะท้อนคลื่นกลับไปสู่แมกนีตรอน (magnetron) ทำให้แมกนีตรอนเสียได้ง่าย และนอกจากนั้นอาจเกิดประกายไฟขึ้นมาได้ เตาอบไมโครเวฟที่นำมาให้ดูนี้ ใช้งานนาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรค Mpox (ฝีดาษลิง) จาก “แอฟริกา” ถึง “อาเซียน”

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ Mpox (ฝีดาษลิง) เป็น “ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ” หลังจากโรคแพร่กระจายไปตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 450 คน โรค Mpox น่ากลัวจริงหรือ ? และทำไมองค์การอนามัยโลกถึงต้องประกาศภาวะฉุกเฉินรอบที่ 2 ? รู้จัก “โรคฝีดาษลิง : monkeypox” โรคฝีดาษลิง เกิดจากเชื้อไวรัส monkeypox ถูกค้นพบครั้งแรกในโลกเมื่อปี พ.ศ. 2501 จากลิงที่ป่วย ปี พ.ศ. 2513 พบการติดเชื้อในคนเป็นครั้งแรกที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก จากนั้นแพร่ระบาดในประเทศแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก คนที่ติดเชื้อไวรัส monkeypox มีอาการคล้ายกับไข้ทรพิษ (โรคฝีดาษ : Smallpox) แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า ศ.นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จึงตั้งชื่อภาษาไทยว่า “โรคฝีดาษลิง” จาก “ฝีดาษลิง” ถึง โรค “Mpox” […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : น้ำตาเทียม ใช้มากส่งผลให้ “ไตวาย ไตเสื่อม” จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความว่า “น้ำตาเทียม” เมื่อใช้นาน ๆ อาจทำให้ “ไตวาย ไตเสื่อม” ได้ เรื่องนี้จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย โดยปกติแล้วคนเรามี “น้ำตา” ทำหน้าที่ให้ออกซิเจนและความชุ่มชื้นแก่กระจกตาและเยื่อบุตา ช่วยปรับสภาพของกระจกตาให้มีความเรียบเพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน และช่วยป้องกันการติดเชื้อและขจัดของเสียออกจากกระจกตา เมื่อใดก็ตามที่น้ำหล่อเลี้ยงกระจกตาระเหยไป หรือร่างกายผลิตน้ำตาธรรมชาติไม่เพียงพอที่จะใช้ในการหล่อเลี้ยงกระจกตาและเยื่อบุตา จะทำให้เกิดอาการตาแห้ง ตาแดง ระคายเคืองตา แสบตา และตาพร่า ซึ่งเป็นสาเหตุให้ต้องใช้ “น้ำตาเทียม” เพื่อช่วยหล่อเลี้ยงและให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตา “น้ำตาเทียม” คือยาหยอดตารูปแบบหนึ่ง ผลิตจากสารสังเคราะห์คล้ายน้ำตาธรรมชาติเพื่อทดแทนน้ำตาธรรมชาติ ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นหรือหล่อลื่นดวงตา ใช้สำหรับบรรเทาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียม ทำให้ไตวาย ไตเสื่อม จริงหรือ ? เรื่องนี้ไม่จริง ยังไม่พบผู้ป่วยไตเสื่อม ไตวาย จากการใช้น้ำตาเทียมที่ผลิตจากสารที่มีส่วนประกอบคล้ายกับน้ำตาธรรมชาติของคนเรา น้ำตาธรรมชาติแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ น้ำตาพื้นฐาน น้ำตาจากสิ่งเร้าภายนอก น้ำตาจากอารมณ์ 1. น้ำตาพื้นฐาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : กินกุ้งกับวิตามินซี ก่อสารหนูถึงตาย จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เรื่องราวของคนที่เสียชีวิต คาดว่าเพราะกินวิตามินซีกับกุ้ง ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีแปรรูปเป็นสารหนูได้นั้น เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ชฎามาศ พรหมคำ นักปฏิบัติการวิจัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ข้อความที่แชร์กัน “กินวิตามินซีและกุ้ง เกิดปฏิกิริยาเคมีเป็นสารหนูทำให้เสียชีวิต” เป็นจริงมากน้อยแค่ไหน ? รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ กล่าวว่าเรื่องนี้ไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าผู้หญิงคนนี้และศาสตราจารย์ที่ถูกอ้างว่าพูดถึงเรื่องนี้มีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ ซึ่งข่าวที่ออกมาดูเหมือนถูกสร้างขึ้นมาลอย ๆ อาหารทะเลโดยเฉพาะในกุ้งก็ไม่ได้มีสารหนูมากถึงขนาดทำอันตรายจนถึงตาย สอดคล้องกับความเห็นของ อาจารย์ชฎามาศ พรหมคำ ข้อความที่แชร์กันยังไม่พบว่ามีหลักฐานปรากฏ ทั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่กล่าวอ้าง หรือบุคคลที่ถูกกล่าวอ้างก็ยังไม่พบว่ามีข้อมูลที่เป็นจริง กินวิตามินซี มีอันตรายอะไรหรือไม่ ? วิตามินซี (Vitamin C) หรือ กรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid) คือวิตามินที่ร่างกายต้องการเพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยรักษาสุขภาพของเนื้อเยื่อต่าง ๆ และปกป้องเซลล์ภายในร่างกาย ช่วยในการสมานแผล และการดูดซึมธาตุเหล็ก รวมถึงเป็นตัวช่วยในการสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยในการซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น กระดูก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เจ็บอกโรคหัวใจ ให้กินปลาทะเล น้ำมันมะกอก ชาเขียว จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อมูลเรื่องโรงพยาบาลธรรมชาติ ระบุว่า “เจ็บอกโรคหัวใจ หลอดเลือดตีบ ให้กินปลาทะเล น้ำมันมะกอก ผลอะโวคาโด และชาเขียวสด (ชงดื่มวันละถ้วย) จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ ประธานหลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหาร สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล หลอดเลือดหัวใจตีบมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีความอ่อนแอลง มีความเสื่อม ซึ่งก็คือไม่แข็งแรง หลอดเลือดตรงส่วนนั้นอาจจะมีการอุดตัน การกินสิ่งที่กล่าวถึงไม่น่าจะไปช่วยลดตะกรันที่ติดอยู่ตามหลอดเลือดได้ ปลาทะเล น้ำมันมะกอก มีไขมันดีไปช่วยขับตะกรัน น้ำมันเก่าออก ? การที่บอกว่าจะไปช่วยลดตะกรันที่มีอยู่แล้ว ก่อตัวอยู่แล้ว คงไม่สามารถทำได้ แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนที่กล่าวมานั้นเห็นว่าเป็นอาหารที่มีไขมันคุณภาพดี ก็อาจจะช่วยทำให้การสร้างคอเลสเตอรอลไม่สูงมากเมื่อเทียบกับประเภทน้ำมันที่ใช้ทอด ซึ่งตัวนั้นเองจะส่งผลเสียต่อร่างกาย สำหรับอะโวคาโด ? อะโวคาโด 1 ผลจะให้น้ำมันหรือไขมันเทียบเท่ากับประมาณ 8 ช้อนชา ดังนั้นถ้ากินปริมาณที่มากก็อาจทำให้ได้รับไขมันที่มากเกิน อาจจะส่งผลต่อการควบคุมน้ำหนักตัว ทำให้มีภาวะอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเริ่มหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยเช่นเดียวกัน “ชาเขียว” ช่วยคนเป็นโรคหัวใจ ได้จริงหรือ ? มีรายงานการศึกษาว่าชาเขียวมีสารประเภทเดียวกับสารต้านอนุมูลอิสระ บางการศึกษาพบว่ามีส่วนช่วยทำให้ระดับการอุดตันของหลอดเลือดอาจจะลดน้อยลงได้ อย่างไรก็ตาม ชาเขียวก็เหมือนกับกาแฟ หรือชาอื่น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ความจำไม่ดี ให้กินปลาทู หอยแครง หอยนางรม จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เรื่องโรงพยาบาลธรรมชาติ มีข้อหนึ่งระบุว่า หากความจำไม่ดี ให้กินปลาทูวันละ 2 ขีด หอยแครง และหอยนางรม ซึ่งมีธาตุสังกะสี ช่วยสมองได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.ทพญ.ดุลยพร ตราชูธรรม ประธานหลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จากการแนะนำให้กินสังกะสีจากปลาทูวันละ 2 ขีด หอยแครง และหอยนางรม ปริมาณเท่านี้ สำหรับผู้ใหญ่ “ได้” เพราะถือเป็นปริมาณที่เหมาะสมสำหรับผู้ใหญ่ที่กินได้ต่อวัน สำหรับเด็กอายุ 1-6 ขวบ และกินปริมาณเท่านี้ ถือว่าเป็นอันตราย มีงานวิจัยที่บอกว่า “สมดุลระหว่างสังกะสีกับทองแดง” มีบทบาทสำคัญในเรื่องความจำ การเรียนรู้ต่าง ๆ แล้วก็มีรายงานพบว่าผู้ที่กินสังกะสีจากอาหารไม่เพียงพอ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การกินสังกะสีให้เพียงพอก็เป็นแนวทางหนึ่งในการลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ และในเรื่องของความจำด้วย ปลาทู หอยแครง หอยนางรม มี “สังกะสี” ? ตามโจทย์ที่ว่ามา ปลาทู 100 กรัม (1 ขีด) […]

1 2 3 4 5 6 16