“หมอโสภณ” แจงแอสตราเซเนกา อุดช่องโหว่กลุ่ม 60 ปีขึ้นไป

สำนักข่าวไทย 23 ก.พ.- “หมอโสภณ” แจงวัคซีนแอสตราเซเนกาถึงไทย 24 ก.พ. เช่นกัน โดยจะเข้ามาอุดช่องโหว่ กลุ่มคนอายุ 60 ปีขึ้นไป ให้ได้รับวัคซีนจนครบทุกกลุ่ม ย้ำไม่มีสิทธิเลือกวัคซีน ขึ้นอยู่กับปัจจัยความเหมาะสมและเกณฑ์การพิจารณาของแพทย์ ถึงไทยเข้าตรวจกรมวิทย์ รับรองประสิทธิภาพแล้ว สามารถดำเนินการฉีดได้ทันที

นพ.โสภณ เฆมธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการการให้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ว่า ทราบจากนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ว่าวัคซีนโควิด 19 จาก บริษัทแอสตราเซเนกาจะเดินทางถึงไทยพรุ่งนี้ จำนวน 117,000 โดส โดยจะนำมาอุดช่องโหว่ของกลุ่มประชาชนที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากผู้รับวัคซีนโควิดจากซิโนแวค ที่ครอบคลุมในกลุ่มอายุ 18-59 ปี ทั้งนี้เชื่อว่าจะสามารถบริหารจัดการวัคซีนได้อย่างเพียงพอ โดยเมื่อวัคซีนของแอสตราฯ มาถึง ต้องรับกระบวนการตรวจสอบโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่นเดียวกับวัคซีนของซิโนแวค โดยคาดว่าจะใช้เวลาไม่แตกต่างกัน 3 วัน การตรวจสอบรุ่นการผลิตในเรื่องประสิทธิภาพจะแล้วเสร็จเหมือนกับวัคซีนของซิโนแวค หากตรวจเสร็จวันไหน ก็สามารถจัดการฉีดในวันรุ่งขึ้นได้ทันที


นพ.โสภณ กล่าวว่าสำหรับจำนวนผู้ที่ได้รับวัคซีนของแอสตราฯ คาดว่าจะครอบคลุมประชากร 50,000 คน เนื่องจากกันวัคซีนไว้ให้เพียงพอกับเข็มที่ 2 ที่ไม่รู้ว่าจะมาถึงเมื่อไหร่ ส่วนรายละเอียดที่มาของวัคซีนไม่สามารถระบุได้เนื่องจากไม่อยากให้เกิดปัญหาซ้ำรอย ขอให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ให้ข้อมูลเอง โดยการฉีดการจะเน้นในจังหวัดพื้นที่สีแดงและสีส้ม ส่วนพื้นที่เศรษฐกิจและกลุ่มคนอาชีพเสี่ยง อย่างเช่นแม่ค้าในตลาด ส่วนพื้นที่ที่จะใช้ในการฉีดวัคซีนให้กับนายกรัฐมนตรี คาดว่าจะเป็นสถาบันบำราศนราดูร และหากเป็นไปได้ก็อยากให้ทั้งนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี ต่างรับวัคซีนจากคนละบริษัทเพื่อแสดงความปลอดภัย และทำให้ประชาชนมั่นใจถึงประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ

นพ.โสภณ กล่าวว่า ส่วนประชาชนที่มาลงทะเบียนรับวัคซีนแล้ว สามารถมีสิทธิเลือกวัคซีนที่จะฉีดได้หรือไม่นั้น ต้องขอชี้แจงว่าวัคซีนทั้ง 2 ชนิด มีความปลอดภัยเท่ากัน ส่วนจะรับตัวไหนนั้นไม่มีสิทธิเลือก วัคซีนที่ดีที่สุด คือ วัคซีนที่สามารถฉีดเข้าร่างกายได้ทันที สำหรับคุณสมบัติของวัคซีน 2 ชนิดไม่แตกต่างกัน วัคซีนซิโนแวค เป็นเชื้อตาย วัคซีนแอสตรา เป็นไวรัลเวกเตอร์ เก็บในอุณหภูมิ 2-8 องศาฯ เท่านั้น แต่รอบการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ของแต่ละบริษัทแตกต่างกัน ได้แก่ ไม่มีความแตกต่างกันมาก การจัดเก็บวัคซีนทั้งคู่อยู่ที่ 2- 8 องศาเซลเซียส วัคซีนของซิโนแวคเข็ม 1 กับเข็ม 2 ฉีดห่างกัน 2-4 สัปดาห์ แต่ทางอนุกรรมการฯ คิดว่าจะฉีดที่ 3 สัปดาห์ ส่วนวัคซีนของแอสตราฯ เข็ม 1 เข็ม 2 จะฉีดห่างกัน 10-12 สัปดาห์ .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง