เผย 3 สายพันธุ์โควิดที่ไทยต้องเฝ้าระวัง

สธ.15 ก.พ. – หน.ศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก รพ.จุฬาฯ เผยเชื้อโควิด 3 สายพันธุ์ที่ไทยต้องเฝ้าระวัง หลังไทยเจอผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้รายแรก ย้ำการป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ได้ดีที่สุดคือ ตัดวงจรการระบาด ขณะที่ผู้สัมผัสชายติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ผลตรวจเป็นลบไม่พบเชื้อ


นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยถึงกรณีที่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งเป็นรายแรกของไทยที่ตรวจพบเป็นเชื้อกลายพันธุ์ ชนิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นชายไทยอายุ 41 ปี และเดินทางมาจากประเทศแทนซาเนีย และเข้ารับการกักตัวในสถานกักกันของรัฐ ก่อนมีอาการไข้ต่ำ ไอ ก่อนจะย้ายไปเข้ารักษาโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง และตรวจหาเชื้อโควิด-19 ยืนยันผลเป็นบวกนอกจากนี้จากการเอกซเรย์ปอดพบปอดอักเสบ จากนั้นนำเชื้อไปจึงพบเป็นโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ ตอนนี้ย้ายมารักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์แล้ว มีการให้ยาฆ่าเชื้อ ไข้ยังสูง แต่อาการโดยรวมดีขึ้นตามลำดับ

หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิค โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องธรรมชาติของไวรัสที่มีการกลายพันธุ์ การกลายพันธุ์ในมนุษย์บางที่ทำให้การกลายพันธุ์เร็วกว่าปกติ ขณะนี้เชื้อโควิด-19 มี 3 สายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง คือ


สายพันธุ์ B.1.1.7 พบการระบาดครั้งแรกที่อังกฤษ พบมีการกลายพันธุ์ในตำแหน่งพิเศษบนผิวของไวรัส ทำให้ไวรัสจับกับเซลล์ของผิวมนุษย์ได้ดี และแบ่งตัวได้เยอะ ทำให้พบเชื้อในโพรงจมูกเยอะ ส่งผลติดเชื้อง่าย

สายพันธุ์ B.1.351 พบระบาดครั้งแรกที่แอฟริกาใต้ กลายพันธุ์บริเวณผิวของไวรัส และอีกตำแหน่งหนึ่ง ทำให้ไวรัสจับกับเซล์ได้ดี หนีภูมิคุ้มกันได้เร็วขึ้น ซึ่งอาจมีผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีน และสายพันธุ์สุดท้ายคือ P.1 พบการระบาดครั้งแรกที่บราซิล

ทั้งนี้ การระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกแรกในประเทศไทย พบมีการกลายพันธุ์ทุก 2 เดือน ซึ่งฐานข้อมูลพบการระบาดครั้งนั้นมีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ ส่วนระลอกใหม่ตรวจสอบจากการสายพันธุกรรมยังไม่พบการกลายพันธุ์ ยังคงเป็นสายพันธุ์ที่มาจากพม่า แต่ทั้งนี้หากไม่สามารถยับยั้งการแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ สายพันธุ์พม่าที่อยู่ในคนไทยก็อาจจะมีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ได้ โดยวิธีการป้องกันไม่ให้ไวรัสกลายพันธุ์คือ หยุดวงจรการแพร่ระบาดให้เร็วที่สุด ไม่ให้ไวรัสอยู่ในคน เพราะการที่ไวรัสแบ่งตัวในคน หมายถึงการกลายพันธุ์ ซึ่งนอกจากการป้องกันตัวเองแล้ว วัคซีนก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งทื่จะช่วยได้


นพ.เฉวตสรร นามวาท รักษาราชการแทน ผอ.กองควบคุมโรค และภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน เปิดเผยถึงการสอบสวนโรคกรณีผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริการายแรกของไทย ว่า ขณะนี้มีการตรวจหาเชื้อบุคลากรในสถานกักกันที่ผู้ป่วยรายนี้เข้าไปพัก ซึ่งผลตรวจผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำทุกคน ไม่พบการติดเชื้อ ขณะเดียวกันประเด็นการห้ามให้คนที่มาจากแอฟริกาใต้เข้าประเทศไทยจะช่วยเรื่องการควบคุมป้องกันโรคหรือไม่ มาตรการดังกล่าวอาจไม่ช่วย เพราะพบมีเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริการะบาดในหลายประเทศแล้ว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง