แนะวิธีปฏิบัติตัว เรื่องการกลืนในผู้สูงอายุ

สธ. 16 ส.ค.-กรมการแพทย์ แนะผู้สูงอายุทานอาหารอ่อน ที่ย่อยง่ายและมีรสจืด ในปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง  ช่วยลดอาการสำลัก



นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่าการกลืนปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุเมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายเลื่อมลง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการกลืนในวัยสูงอายุ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของช่องปาก คอหอย กล่องเสียง หลอดอาหาร และกลไกของระบบประสาทที่ควบคุมการกลืน ส่งผลให้ความสามารถในการกลืนของผู้สูงอายุลดลง ทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะกลืนลำบากยิ่งขึ้น กลไกในการกลืนในผู้สูงอายุแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1.ระยะช่องปาก ผู้สูงอายุไม่มีฟันและกำลังกล้ามเนื้อที่ใช้ในการบดเคี้ยวลดลง ทำให้บดเคี้ยวได้ไม่ละเอียด กำลังและการประสานการทำงานของริมฝีปากและลิ้นลดลง ทำให้กระบวนการเตรียมอาหารและการส่งผ่านอาหารใช้เวลานานขึ้น ต้องมีการกลืนหลายครั้งกว่าอาหารจะหมดจากช่องปาก ร่วมกับผู้สูงอายุบางรายอาจมีอาหารเหลือค้างในปากเป็นแหล่งสะสมของเชื้อก่อโรคเสี่ยงต่อภาวะปอดอักเสบจากการสำลัก 


2. ระยะคอหอย การกลืนที่คอหอยจะเกิดช้ากว่าวัยอื่น กล่องเสียงยกตัวขึ้นมารับกับฝาปิดกล่องเสียงช้า ความแรงในการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณคอหอยลดลง หูรูดของหลอดอาหารส่วนต้นเปิดช้า ทำให้อาหารอยู่ในระยะคอหอยนาน ส่งผลให้มีความเสี่ยงสูงในการเกิดสำลักอาหารเข้าสู่ทางเดินหายใจได้จึงเป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุ  

3. ระยะหลอดอาหาร ระยะเวลาที่หูรูดของหลอดอาหารส่วนต้นเปิดจะสั้นลง จึงมีอาหารเหลือค้างที่คอหอยเสี่ยงต่อการสำลักเข้าทางเดินหายใจ แรงบีบไล่อาหารของหลอดอาหารลดลง  ทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะไส้เลื่อนกระบังลมมากขึ้น  เมื่ออายุมากขึ้นกลไกการกลืนจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 ระยะ และมีส่วนสัมพันธ์กับระบบประสาทสั่งการและการควบคุมการหายใจ


นพ.สกานต์ บุนนาค  ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ  กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่าสาเหตุของภาวะกลืนลำบากที่พบได้บ่อยของความผิดปกติของช่องปากและคอหอยในวัยสูงอายุคือ โรคหลอดเลือดสมองและภาวะสมองเสื่อม แต่อาจมีสาเหตุจากภาวะอื่นๆ ได้แก่  โรคทางระบบประสาท โรคทางจิตเวช รวมถึงโรคพาร์กินสันที่ทำให้กล้ามเนื้อมีภาวะเกร็ง ทำให้การกลืนอาหารยากขึ้น และวิธีแก้ ปัญหาภาวะกลืนลำบาก 

ควรปรับอาหารผู้สูงอายุหรือผู้ใกล้ชิดเลือกชนิดของอาหารที่ใช้ในการฝึกกลืนอย่างเหมาะสม  ได้แก่ อาหารอ่อนที่ย่อยง่ายและมีรสจืด โดยทานปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งและเลือกใช้ช้อนที่มีขนาดเล็กลงและหลุมไม่ลึก ทำให้ปริมาณการทานอาหารต่อคำลดลง รวมถึงปริมาณน้ำที่น้อยลงในแต่ละคำจะช่วยลดอาการสำลักได้ 

ขณะเดียวกันปัจจุบันมีนวัตกรรมสารเพิ่มความหนืดที่ผสมได้ทั้งอาหารเหลวและของเหลว ช่วยให้ผู้มีปัญหากลืนลำบากมีความปลอดภัยมากขึ้น และการใช้เทคนิคช่วยกลืน คือจัดท่าให้ศีรษะและลำตัวผู้สูงอายุสามารถชดเชย กลไกการกลืนที่บกพร่องไปเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการรับประทานอาหารทางปากมากขึ้น  

นอกจากนี้ผู้สูงอายุควรดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อลดการสะสมแบคทีเรีย ลดความเสี่ยงการเกิดปอดอักเสบจากการสำลัก โดยพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอและเช็ดทำความสะอาดช่องปากและลิ้นหลังอาหารทุกมื้อ ดูแลเอาอาหารที่ค้างในปากออกให้หมด เพื่อเลี่ยงการเกิดเชื้อราในช่องปากและช่วยให้ผู้สูงอายุมีรอยยิ้มที่สดใส .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เพลิงไหม้ห้องพักคอนโดฯ หรูกลางเมืองพัทยา

เพลิงไหม้คอนโดมิเนียมหรูกลางเมืองพัทยา จ.ชลบุรี เจ้าหน้าที่ระดมรถน้ำควบคุมเพลิงได้ทัน ทำให้ไฟไม่ลุกลามห้องข้างเคียง

จับ “ใบเฟิร์น” อินฟลูฯสาวชื่อดัง โพสต์ชวนเล่นพนันออนไลน์

ตำรวจไซเบอร์ รวบ “ใบเฟิร์น กุลธาดา” อินฟลูฯ สาวแนวเซ็กซี่ ผู้ติดตามหลักล้าน แปะลิงก์เว็บพนันออนไลน์ เจ้าตัวยอมรับ ทำมาแล้ว 2-3 เดือน

ลิงลพบุรีแหกกรง กว่า 200 ตัว จ่าฝูงนำทีมบุกโรงพัก

ลิงลพบุรีกรงแตก เพ่นพ่านกว่า 200 ตัว จ่าฝูงนำทีมบุกโรงพักท่าหิน ตำรวจปิดประตูหน้าต่างวุ่น ล่าสุดกลับมากินอาหารในกรงแล้วกว่า 100 ตัว กรมอุทยานฯ เร่งลุยจับ คาดใช้เวลา 2-3 วัน

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผยไทยตอนบน อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ

กรมอุตุฯ เผยประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ กับมีลมแรง โดยมีอากาศเย็นในตอนเช้าในภาคเหนือและภาคอีสาน ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง

คุมตัวสาวใหญ่โหดฆ่าตัดนิ้วชิงทรัพย์ทำแผนฯ

ตร. คุมตัวสาวใหญ่โหด ลวงเพื่อนฆ่าตัดนิ้วชิงทรัพย์ ไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ เจ้าตัวสำนึกผิด ฝากขอโทษญาติผู้เสียชีวิต ยอมรับทำเพราะติดหนี้พนันออนไลน์

Drone video captures severe flooding caused by super typhoon Man-Yi in the Philippines

ฟิลิปปินส์น้ำท่วมหนัก หลังไต้ฝุ่น “หม่านหยี่” ถล่ม

มะนิลา 18 พ.ย. – ฟิลิปปินส์เกิดน้ำท่วมรุนแรงในหลายพื้นที่ หลังจากซูเปอร์ไต้ฝุ่นหม่านหยี่ (Man-yi) พัดถล่มเกาะลูซอน ช่วงสุดสัปดาห์ เป็นไต้ฝุ่นลูกที่ 6 ในรอบ 1 เดือน ไต้ฝุ่นขึ้นฝั่งด้วยความเร็วลมสูงสุด 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้เกิดคลื่นสูง 7 เมตรบริเวณริมชายฝั่ง ส่งผลกระทบประชากรกว่า 760,000 คน และทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่จังหวัดนูเอวาเอซีฮา ทางตอนกลางของเกาะลูซอน ที่มีน้ำท่วมสูงเฉลี่ยเกือบ 1 เมตร นอกจากนี้ยังทำให้เกิดดินถล่มและสาธารณูปโภคพังเสียหายมากมาย ประชาชนมากกว่า 1 ล้านคนต้องอพยพไปอาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราว ขณะนี้ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ พายุหม่านหยี่เป็นพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 6 ที่พัดถล่มฟิลิปปินส์ในช่วง 1 เดือน ทั่วทั้งประเทศต้องตื่นตัวเพื่อรับมือภัยพิบัติด้วยมาตรการต่าง ๆ.-812(814).-สำนักข่าวไทย