“สมคิด” ย้ำ ความสำคัญของความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาค ACMECS

กรุงเทพฯ 15 มิ.ย.-  “สมคิด” ปาฐกถาในการประชุม ACMECS CEO Forum ย้ำ ความสำคัญของความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาค ที่จะนำไปสู่การรับมือความท้าทายที่มีประสิทธิภาพ ระบุ ภาคเอกชนจะต้องเป็นพระเอกในการขับเคลื่อน 


นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษ   “ทิศทางในอนาคต การส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสมาชิกลุ่มน้ำโขง” ในการประชุม ACMECS CEO Forum วันนี้ (15 มิ.ย.) ว่า ตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา  เอเชียได้กลายเป็นจุดหมายใหม่ของเศรษฐกิจโลก  การเติบโตหลักๆ มาจาก จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย แต่ปัจจุบันประเทศในกลุ่มแม่น้ำอิรวดี เจ้าพระยา และเเม่น้ำโขง มีบทบาทมากขึ้น   มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยสูงถึง ร้อยละ 6-8 ต่อปี ถือว่าสูงสุดในภูมิภาคอาเซียน

“ประเทศไทยก็มีพัฒนาการการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์ทางการเมืองที่สงบ  จึงเป็นโอกาสครั้งสำคัญในการร่วมมือของกลุ่ม ACMECS  เพื่อสร้างความเจริญเติบโตระหว่างประเทศมากขึ้น และเชื่อมต่อไปยังประเทศในภูมิภาคอื่นๆ” นายสมคิด กล่าว


อย่างไรก็ตาม  นายสมคิด กล่าวว่า ประเทศในกลุ่ม ACMECS ยังคงต้องเผชิญกับความท้ายทายที่สำคัญอย่างความเหลื่อมล้ำ และความสามารถในการแข่งขันภายในสมาชิกประเทศ  รวมถึง กระแสการปกป้องทางการค้าจากประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และ  เทรนด์ของดิจิทัลใหม่ๆ ที่เข้ามาเปลี่ยนภูมิทัศน์ของเศรษฐกิจ   ซึ่งแต่ละประเทศต่างมีนโยบาย และมาตรการในการรับมือที่แตกต่างกัน  แต่การที่จะรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีความเชื่อมโยงกันละกัน 

นายสมคิด กล่าวว่า การประชุมครั้งล่าสุดที่ฮานอย ประเทศเวียดนาม ได้มีการออกแผนแม่บทระยะ 5 ปี ที่จะขับเคลื่อนร่วมกันระหว่างอนุภูมิภาค ด้วยการเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ เชื่อมโยงโดยสอดรับกันทางยุทธศาสตร์ แบบ Win – Win   และการสนับสนุนให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยจะผลักดันให้เกิดเป็นกองทุน ACMECS TRUST FUND  ขึ้น เพื่อให้เป็นตัวกลางที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

นายสมคิด กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังจะเกิดความร่วมมือกันทางด้านภาคการท่องเที่ยว ที่เป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ผ่านการกระจายนักเดินทางต่างชาติที่เข้ามาไทย ถึง 35 ล้านคน ซึ่งได้สร้างรายได้มากถึงร้อยละ 15-20 ต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ20 ของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ให้ได้เดินทางไปยังภูมิภาคอื่นๆ ในกลุ่มสมาชิกมากขึ้น ไม่กระจุกตัวอยู่แต่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง ด้วยการกำหนดจุดท่องเที่ยว หรือ landmark ร่วมกัน และพัฒนาเส้นทางคมนาคมให้มีความเชื่อมโยง


“ความร่วมมือในครั้งนี้ ภาคเอกชนจะต้องเป็นพระเอกในการขับเคลื่อน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการป้องกันอุปสรรคจากการเคลื่อนย้ายแหล่งเงินทุน และกำลังแรงงาน อันจะนำไปสู่ One Single ACMECS จนขยายผลเกิดเป็น One Asean ซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดในการก่อตั้งประชาคม และประชาชนทุกภาคส่วนจะได้รับประโยชน์สูงสุด” นายสมคิด กล่าว         .- สำนักข่าวไทย    

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง