กรุงเทพฯ 20 พ.ค.-เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เผยเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกได้รับแรงหนุนจากบริโภคในประเทศและท่องเที่ยวดันให้ดัน GDP ไทยไตรมาสแรกโต 1.5% แต่จับตาผลผลิตอุตสหกรรมลดและส่งออกเริ่มลง ทำให้ สศช.ปรับลด GDP ทั้งปี 67 ใหม่เหลือเพียงโตแค่ 2-3 %จากเดิม 2.2-3.2 %
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2567 และแนวโน้มปี 2567 ว่า แม้ GDP ไทยในช่วงไตรมาส 1/2567 ขยายตัวถึง 1.5% จากแรงส่งการบริโภคในประเทศสูงและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ในช่วงหลังจากนี้ไปยังมีหลายปัจจัย โดยเฉพาะผลผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้นลดลงรวมถึงภาคการส่งออกของไทยเริ่มชะลอตัวลง ทำให้ สศช.ปรับลดคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ของไทยปี 2567ใหม่ โดยคาดว่าจะขยายตัว 2.0 – 3.0 % จากเดิมอยู่ที่จากเดิม 2.2-3.2 % โดยมี(ค่ากลางการประมาณการ 2.5 % ) แต่ถือยังดีกว่าปี 66 ที่โตเพียง 1.9 % ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจาก การเร่งตัวขึ้นของการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการที่เกี่ยวเนื่อง การขยายตัวในเกณฑ์ดีของอุปสงค์ภายในประเทศทั้งการอุปโภคบริโภคและการลงทุน และการกลับมาขยายตัวอย่างช้า ๆ ของการส่งออกสินค้าตามการฟื้นตัวของการค้าโลก การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 4.5% และ 3.2 % ตามลำดับ มูลค่าการส่งออก สินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 2.0 % อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในช่วง 0.1 – 1.1 % และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.2 %
ส่วนในช่วงไตรมาสที่ 1 /2567 จะขยายตัวได้ในระดับสูง 1.5 % ต่อเนื่องจากการขยายตัว 1.7 % ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้วเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของ ปี 67 จากขยายตัวจากไตรมาสที่ 4 ของ ปี 66 อยู่ที่ 1.1 % เป็นผลมาจากการส่งออกบริการและการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์สูง โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 6.9 % ในเกณฑ์ดี ขณะที่การส่งออกสินค้า การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลและการลงทุนภาครัฐลดลง
ขณะที่ด้านการผลิต โดยสาขาที่ขยายตัวเร่งขึ้น คือ ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาไฟฟ้า ก๊าซฯ และสาขา ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร ขยายตัวเร่งขึ้น ส่วนสาขาการขายส่งขายปลีกและการซ่อมฯ ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สาขาก่อสร้าง และสาขาเกษตรกรรม ปรับตัวลดลง
อย่างไรก็ตาม ไทยยังเผชิญข้อจำกัดการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าและการผลิตอุตสาหกรรม โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงต่อเนื่องกัน 6 ไตรมาส สอดคล้องกับกำลังการผลิตที่อยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นการส่งออกเป็นหลัก ตามการลดลดลงของมูลค่าและปริมาณการส่งออกสินค้า 1.0 % และ 2.3 % จากการขยายตัว4.6 % และ3.2 % ในไตรมาสก่อนเป็นต้น
ส่วนโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทนั้น ยังไม่ได้รวมกับการประมาณการเศรษฐกิจ ซึ่งหากดูช่วงเวลาในการดำเนินการในไตรมาสที่ 4 คาดว่าเม็ดเงินจากการใช้จ่ายจริง จะไม่ออกพร้อมกัน 5 แสนล้านบาท ในไตรมาสที่ 4 เพราะมีระยะเวลาการใช้ 6 เดือน ซึ่งหากมีการเริ่มทยอยใช้จ่ายในไตรมาสที่ 4 แต่ไม่ครบทั้ง 100% จะช่วยเพิ่มจีดีพี ได้อีก 0.25% จากค่ากลางที่คาดการณ์ไว้ 2.5% เพราะยังมีแหล่งเงินที่ยังต้องดำเนินการตามขั้นตอนหลายส่วน.-514-สำนักข่าวไทย