กสม.แจงหลังถูกราชทัณฑ์โบ้ยทำตามข้อเสนอ

กสม. 15 ธ.ค.-กสม.แจงปมราชทัณฑ์อ้างออกระเบียบคุมขังนอกเรือนจำจากข้อเสนอแนะกสม. ย้ำผู้ต้องหา-ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาค-เท่าเทียม-ไม่เลือกปฏิบัติ


คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ชี้แจงกรณีกรมราชทัณฑ์ระบุถึงที่มาของการออกระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังในสถานที่คุมขัง พ.ศ. 2566 โดยอ้างว่าส่วนหนึ่งมาข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรณีปัญหาในการดำเนินงานด้านกระบวนการยุติธรรมที่พบจากการดำเนินโครงการตรวจเยี่ยมสถานที่เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน  เพื่อแก้ไขปัญหาความแออัดของเรือนจำนั้น ข้อเสนอแนะที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2562 กสม.เสนอให้คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาความแออัดของเรือนจำ ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลขององค์การสหประชาชาติ โดย 1. ใช้นโยบายกระบวนการยุติธรรมทางเลือก เช่น การเบี่ยงเบนคดีอาญาออกจากกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก   2. การแยกสถานที่คุมขังระหว่างผู้ต้องขังเด็ดขาดกับผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา    และ 3. กำหนดสถานที่ควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีและผู้ถูกกักขังแทนค่าปรับ    โดยกำหนดสถานที่อื่นเพื่อการควบคุมตัวนอกเหนือจากการควบคุมตัวในเรือนจำ  

ต่อมากสม.มีหนังสือลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์  2565 กราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อเน้นย้ำให้กรมราชทัณฑ์กำหนดสถานที่ที่เหมาะสมกับผู้ต้องขังแต่ละประเภท เพื่อแก้ไขปัญหาความแออัดของเรือนจำอันเนื่องมาจากการไม่แยกประเภทผู้ต้องขัง ซึ่งกสม.ได้ประชุมหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์และเดือนมีนาคม ที่ผ่านมาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง สิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยระหว่างการพิจารณาคดีตามหลักสันนิษฐานว่าบุคคลทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์  ที่ได้รับการรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคสอง ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 11 (1) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 14 วรรคสอง การแยกคุมขังผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีกับผู้ต้องขังเด็ดขาด การแก้ไขกฎกระทรวงออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 89/1 การติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ หรือกำไลอีเอ็ม และการกำหนดสถานที่คุมขังอื่นสำหรับผู้ต้องขังในคดีความแตกต่างทางความคิดหรือความเห็นต่าง   ซึ่งยังไม่มีการพิพากษาว่าเป็นผู้กระทำความผิด


กสม. ขอเน้นย้ำกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง(ICCPR) ข้อ 10 ที่กำหนดให้ผู้ต้องหาต้องได้รับการจำแนกออกจากผู้ต้องโทษ และต้องได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างออกไปให้เหมาะสมกับสถานะที่ไม่ใช่ผู้ต้องโทษ นอกจากนี้รัฐธรรมนูญและกติกา ICCPR ยังกำหนดไว้ว่า บุคคลทั้งปวงย่อมเสมอกันในกฎหมาย   และมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันตามกฎหมาย โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ ดังนั้น สิทธิของผู้ต้องขังทุกคนต้องเสมอภาค เท่าเทียม และไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะมีสถานะใด ๆ.-314.-สำนักข่าวไทย       

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

ศึกชิงนายก อบจ.เพชรบุรี แชมป์เก่ายังแรง

เลือกตั้งนายก อบจ.เพชรบุรี ไม่คึกคัก ผลไม่เป็นทางการ “ชัยยะ อังกินันทน์” แชมป์เก่า คะแนนนำทิ้งห่างคู่แข่ง ด้านเลขาฯ กกต. เผยภาพรวมทั้ง 3 จังหวัด คนมาใช้สิทธิน้อย คาดเบื่อเลือกตั้ง 2 รอบ

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

ลุ้นผลเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ขณะนี้การนับคะแนนตามหน่วยต่างๆ เสร็จสิ้นแล้ว อยู่ในขั้นตอนการรวมคะแนน ซึ่งในเขตเมือง ผลปรากฏว่าผู้สมัครจากพรรคประชาชนมีคะแนนนำ แต่อำเภอรอบนอก ตัวแทนพรรคเพื่อไทยมีคะแนนนำอยู่หลายหน่วยเลือกตั้ง