ศาลปกครองรับคำร้องใหม่ขอคุ้มครองชั่วคราวแบน 2 สาร

กรุงเทพฯ  11 มิ.ย. – กลุ่มเกษตรกรยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางอีกครั้ง เพื่อให้เร่งรัดการพิจารณาและมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ให้เกษตรกรได้รับผลกระทบจากการแบนพาราควอตและคลอร์ไพริฟอส นำเสนอข้อมูลใหม่ทั้งความเดือดร้อนของเกษตรกรและผลกระทบมหาศาลต่อเศรษฐกิจชาติ


นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เลขาธิการสมาพันธ์เกษตรปลอดภัย กล่าวว่า วันนี้ (11 มิ.ย.) ได้เดินทางไปยังศาลปกครองกลาง เพื่อยื่นคำร้องอีกครั้งให้ศาลเร่งรัดพิจารณาและมีคำสั่งคำร้องคุ้มครองชั่วคราวในการกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์จากประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่ให้แบนสารพาราควอตและคลอร์ไพริฟอส โดยมีเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบไปร่วมแสดงออกถึงความทุกข์ร้อนบริเวณหน้าศาลปกครองกลาง คดีนี้ร่วมกับเกษตรกรอีก 10 คน ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้ปลูกพืชหลายชนิดยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม ว่า ได้รับผลกระทบจากประกาศดังกล่าวที่กำหนดให้พาราควอตและคลอร์ไพริฟอสเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 อันเป็นผลให้ห้ามผลิต ห้ามนำเข้า ห้ามนำผ่าน ห้ามส่งออก และห้ามครอบครอง มีผลนับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบจากประกาศกระทรวงเป็นอย่างมาก โดยมีผู้ถูกฟ้อง 4 ราย คือ กระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการวัตถุอันตราย และกรมวิชาการเกษตร ศาลรับคำฟ้องและแจ้งว่าจะเร่งพิจารณาคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในการออกคำสั่งทุเลาการบังคับตามกฎหรือประกาศและกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ไว้เป็นการชั่วคราวในระหว่างพิจารณาคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุดโดยไม่ชักช้า แต่ผู้ร้องเห็นว่าเวลาเนิ่นนานพอสมควรแล้ว แต่ยังไม่มีการพิจารณาใด ๆ จึงได้นำเสนอข้อมูลใหม่ประกอบคำร้องวันนี้

สำหรับข้อมูลประกอบคำร้องใหม่ คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการยกเลิกพาราควอตและคลอร์ไพริฟอสนั้น ไม่ได้เป็นความเดือดร้อนของผู้ฟ้องเพียง 11 คน แต่เป็นความเดือดร้อนของเกษตรกรจำนวนมาก อีกทั้งกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ ซึ่งจะไม่สามารถใช้วัตถุดิบในประเทศที่ผลิตหรือกำลังผลิตในแปลงเกษตรกรก่อนหน้าการประกาศยกเลิกการใช้สารทั้ง 2 ชนิด อีกทั้งไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ เนื่องจากประเทศผู้ผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพและปริมาณเหมาะสมสำหรับการแปรรูปอาหารและอาหารสัตว์ยังคงใช้สารพาราควอตและ/หรือคลอร์ไพริฟอสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่สามารถใช้วัตถุดิบเหล่านั้นได้จะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท การเลิกจ้างงานประมาณ 12 ล้านคน ตลอดจนผลกระทบด้านสังคม รวมทั้งเกิดความสูญเสียความมั่นคงด้านอาหารจากการที่อาหารหลายชนิดที่ประชาชนทั่วไปใช้บริโภคประจำวันจะขาดตลาดและกระทบต่อการส่งออก นอกจากนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ไม่มีกำลังปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการให้สอดรับกับนโยบายรัฐ ขณะที่ภาครัฐยังไม่มีสารทดแทนที่เหมาะสมทั้งด้านประสิทธิภาพและต้นทุนให้แก่เกษตรกร


นายสุกรรณ์ กล่าวต่อว่า ศาลรับคำร้องใหม่ไว้แล้ว ซึ่งผู้ร้องรอการเรียกไต่สวนเพื่อพิจารณาข้อร้องขอ พร้อมกันนี้ได้เรียกร้องให้ภาครัฐพิจารณาถึงคำสั่งของกรมวิชาการเกษตรที่ให้เกษตรกรนำสารเคมีไปคืนร้านค้า ทางร้านค้ารับคืน แต่ไม่คืนเงินให้เกษตรกร หากไม่คืนภายในเวลาที่กำหนดจะมีโทษจำคุกถึง 10 ปี หรือปรับเป็นเงิน 1 ล้านบาท อีกทั้งเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว เกษตรกรต้องเริ่มเพาะปลูก หากไม่ใช้พาราควอตซึ่งเป็นสารป้องกันกำจัดวัชพืชที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ผลผลิตตกต่ำมากกว่าร้อยละ 40-80 โดยกรมวิชาการเกษตรยืนยันว่ายังไม่มีสารใดมีประสิทธิภาพทัดเทียม ดังนั้น จึงเป็นการออกคำสั่งที่ไม่มีความรับผิดชอบ

นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงการที่นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ร่วมประชุมพิจารณา (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ซึ่งที่ประชุมจะผ่อนปรนการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าเกษตรจากประเทศที่ยังใช้พาราควอตและคลอร์ไพริฟอสได้ถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2564 จึงเป็นการปฏิบัติ 2 มาตรฐาน ดังนั้น หากจะเปิดให้สินค้าจากต่างประเทศที่ใช้สารเคมี 2 ชนิดมาจำหน่ายในไทยได้ ก็ต้องผ่อนปรนให้เกษตรกรและอุตสาหกรรมเกษตรในประเทศใช้พาราควอตและคลอร์ไพริฟอสไปได้อีก 1 ปีเช่นกัน.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

ไทยตอนบนอากาศร้อน เตือนระวังพายุฤดูร้อน

กรมอุตุฯ รายงานไทยตอนบนอากาศร้อน เตือนระวังพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

เร่งปรับแผนค้นหาผู้สูญหายตึก สตง.ถล่ม

เกือบ 200 ชั่วโมง ปฏิบัติการค้นหาผู้สูญหายติดใต้ซากตึกถล่ม K9 เห่าส่งสัญญาณพบกลิ่นมนุษย์เพิ่มในโซน B แต่ยังอยู่ในจุดที่เข้าถึงยาก เจ้าหน้าที่เร่งปรับแผนให้เข้าถึงได้เร็วขึ้น

ค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

ทีมกู้ภัย USAR จากแคนาดา ถึงจุดตึกถล่ม ช่วยค้นหาผู้สูญหาย

ทีมกู้ภัย USAR จากแคนาดา ถึงอาคารกำลังสร้างของ สตง.ที่ถล่มแล้ว พร้อมช่วยเหลือกู้ภัยไทยในการค้นหาผู้สูญหาย

ค้นหาตึกถล่ม

ฉีดน้ำเครื่องจักรลดความร้อน-ไม่หมดหวังค้นหาผู้รอดชีวิต

ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต หรือ MCATT ลงพื้นที่ดูแลญาติผู้สูญหายจากตึก สตง.ถล่ม ขณะที่เจ้าหน้าที่ทีมค้นหายังคงเดินหน้าทำงานอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนจัด