แนะวิธีสังเกตลูกเป็นออทิสติกหรือไม่?
ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย แนะวิธีสังเกตลูกเป็นออทิสติกหรือไม่ ย้ำต้องเริ่มต้นที่พ่อแม่ยอมรับและเข้าใจก่อน สิ่งสำคัญคือการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้พัฒนาการเด็กดีขึ้น
ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย แนะวิธีสังเกตลูกเป็นออทิสติกหรือไม่ ย้ำต้องเริ่มต้นที่พ่อแม่ยอมรับและเข้าใจก่อน สิ่งสำคัญคือการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้พัฒนาการเด็กดีขึ้น
19 เมษายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาอาการออทิสติกให้หายขาด แต่มีนักวิจัยที่พบความเป็นไปได้ของการใช้ยาซูรามิน (Suramin) เพื่อรักษาเด็กที่ป่วยเป็นโรคออทิสติก นำไปสู่การวิจัยศึกษาสรรพคุณของยาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากการวิจัยส่วนใหญ่ยังอยู่ในการทดลองขั้นต้นและมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อย ปัจจุบันจึงไม่อาจยืนยันได้ว่า ยาซูรามินสามารถใช้รักษาเด็กที่ป่วยเป็นโรคออทิสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยเพียงใด ข้อมูลจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) และสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NIH) ยืนยันว่า ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคออทิสติก และเตือนถึงอันตรายของการใช้ยารักษาผู้ป่วยออทิสติกอย่างไม่เหมาะสม อย่างไรก็ดี FDA ได้อนุมัติยาสำหรับรักษาอาการข้างเคียงของโรคออทิสติก ทั้งอาการกระตือรือร้นมากเกินไปหรือการขาดสมาธิ เช่น การใช้ยาระงับอาการทางจิตเพื่อบรรเทาอาการฉุนเฉียวง่ายของผู้ป่วยโรคออทิสติก งานวิจัยการใช้ยาซูรามินปี 2017 แต่เดิม ยาซูรามิน (Suramin) ถูกใช้สำหรับรักษาโรคพยาธิตาบอด (Onchocerciasis) และโรคเหงาหลับ (African Trypanosomiasis) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อปรสิต สื่อสังคมออนไลน์ได้แชร์ข้อความอ้างถึงสรรพคุณของยาซูรามินในการรักษาโรคออทิสติก ที่สามารถช่วยให้เด็กที่ป่วยเป็นออทิสติกสามารถพูดได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์อ้างงานวิจัยปี 2017 ที่พบว่าการใช้ยาซูรามินสามารถช่วยให้เด็กที่ป่วยเป็นโรคออทิสติกมีพัฒนาการด้านการพูดและการสื่อสารที่ดีขึ้น งานวิจัยชิ้นดังกล่าว ทีมวิจัยได้ตั้งข้อสมมติฐานว่า ผู้ป่วยโรคออทิสติกจะมีการทำงานของสารอะดีโนซีนไตรฟอสเฟตหรือ ATP มากผิดปกติ ซึ่งสารดังกล่าวทำหน้าที่ให้พลังงานแก่เซลล์ ดังนั้นความสามารถในการจำกัดการทำงานของ ATP ของยาซูรามิน อาจช่วยให้ผู้ป่วยโรคออทิสติกมีอาการดีขึ้น […]
18 เมษายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์กับการป่วยเป็นโรคออทิสติกในทารก สร้างข้อถกเถียงในวงการแพทย์มานาน แม้หลายปีที่ผ่านมาจะมีงานวิจัยที่พบความเสี่ยงการใช้ยาพาราเซตามอลกับออทิสติก แต่งานวิจัยส่วนใหญ่กลับเต็มไปด้วยข้อจำกัดจนไม่อาจยืนยันผลได้อย่างชัดเจน การใช้พาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์ แม้จะมีความจำเป็น แต่ก็ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อเลี่ยงผลเสียจากการใช้ยา การศึกษาเชิงสังเกตการณ์ ปี 2018 วารสารการแพทย์ American Journal of Epidemiology ได้ตีพิมพ์ผลวิจัยที่พบว่า แม่ที่ใช้ยาพาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงคลอดบุตรป่วยเป็นโรคออทิสติกมากกว่าแม่ที่ไม่ใช้ยา 19% และเสี่ยงคลอดบุตรที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) มากกว่าแม่ที่ไม่ใช้ยา 34% ส่วนปี 2021 วารสารการแพทย์ Nature Reviews Endocrinology ได้ตีพิมพ์ข้อเสนอแนะตามมติที่ประชุมโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ระดับนานาชาติ ที่ร่วมกันศึกษางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ จนได้ข้อสรุปที่เชื่อว่า ยาพาราเซตามอลมีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ โดยผลกระทบจะแปรผันตามปริมาณยาที่ได้รับ จึงต้องการให้บุคลากรทางการแพทย์เตือนถึงการใช้ยาพาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์อย่างไม่ระมัดระวัง ทั้งการใช้ยาพาราเซตามอลโดยตรงหรือการใช้ยาที่มีส่วนประกอบของพาราเซตามอล อย่างไรก็ดี งานวิจัยทั้งสองชิ้นสร้างเสียงโต้แย้งในแวดวงวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นงานวิจัยที่มีข้อจำกัดหลายประการ ส่งผลให้บทสรุปของงานวิจัยขาดความน่าเชื่อถือเพียงพอ ประเด็นแรกคืองานวิจัยทั้งสองอยู่ในรูปแบบการศึกษาเชิงสังเกตการณ์ ซึ่งเป็นการศึกษาจากงานวิจัยในอดีต ไม่ใช่การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม ที่ผู้วิจัยต้องลงมือทดลองด้วยการแบ่งกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อให้ผลวิจัยชัดเจนและปราศจากความลำเอียงจากผู้วิจัย ข้อจำกัดยังรวมถึงข้อมูลปริมาณการใช้ยา […]
16 เมษายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล งานวิจัยที่เกี่ยวกับวัคซีนและโรคออทิสติกที่โด่งดังที่สุด คือผลงานของ แอนดรูว์ เวคฟิลด์ อดีตแพทย์ชาวอังกฤษ เจ้าของงานวิจัยสุดอื้อฉาวที่เคยตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet เมื่อปี 1998 โดยอ้างว่า การฉีดวัคซีน MMR หรือวัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม และ หัดเยอรมัน มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคออทิสติก แม้การวิจัยซ้ำในแวดวงวิทยาศาสตร์จะไม่ได้ผลตามที่กล่าวอ้าง แต่ แอนดรูว์ เวคฟิลด์ ยังเรียกร้องผ่านสื่อ ให้มีการยุติการฉีดวัคซีน MMR โดยทันที โดยย้ำว่าวัคซีน MMR คือสาเหตุของการเกิดโรคออทิสติก นำไปสู่ความกังวลต่อการฉีดวัคซีน MMR ในสังคม ส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคหัดในหลายพื้นที่ทั่วโลกในช่วงเวลาดังกล่าว ภายหลังในปี 2004 หนังสือพิมพ์ Sunday Times ได้รายงานว่า แอนดรูว์ เวคฟิลด์ ปกปิดผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างการวิจัยวัคซีน MMR กับโรคออทิสติก การสืบสวนพบว่า กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยของแอนดรูว์ เวคฟิลด์ […]
สาเหตุที่พบเด็กป่วยเป็นโรคออทิสติกมากขึ้น เพราะปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้นและการคัดกรองละเอียดกว่าในอดีต ไม่พบหลักฐานว่าการใช้สารกันเสียในวัคซีนทำให้เสี่ยงเป็นโรคออทิสติกและยังไม่มีหลักฐานถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัคซีนกับโรคออทิสติก
เป็นการวิจัยในหนูทดลอง ผู้วิจัยย้ำว่าไม่อาจนำผลมาเปรียบเทียบกับการฉีดวัคซีนในมนุษย์ได้ และยังเป็นการวิจัยที่มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ให้ปริมาณวัคซีนกับหนูทดลองเท่ากับปริมาณที่ใช้กับมนุษย์
พี่ชายป่วยออทิสติก วัย 12 ขวบ เอาปืนลูกซองยาวมาเล่นกับน้อง ทำกระสุนลั่นใส่หัวน้องชายวัย 9 ขวบ เสียชีวิต ระหว่างพ่อแม่ออกไปเก็บน้ำยางพารา ครอบครัวเศร้า ยังทำใจกับความสูญเสียไม่ได้
เด็กกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นออทิสติกอยู่แล้ว เมื่อถูกเลี้ยงดูด้วยสื่อหน้าจอเหล่านี้เยอะ อาจจะเปิดทิ้งไว้โดยที่เด็กจะดูหรือไม่ดูก็ตาม การเลี้ยงด้วยพฤติกรรมแบบนี้มีโอกาสเป็นตัวเร่งให้เกิดความเสี่ยงเป็นออทิสติกมากขึ้น
ศธ.25 ม.ย.- รมช.ศึกษาฯ ผนึกกำลัง อพวช. นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ พัฒนาเด็กกลุ่มเป้าหมายพิเศษ โดยเฉพาะเด็กออทิสติก ให้มีความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ นอกจากด้านกีฬา ศิลปะ หรือดนตรี นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เปิดเผยว่า หลังได้เยี่ยมชมกิจกรรม ขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) คลองหลวง ปทุมธานี ทำให้เห็นศักยภาพในการพัฒนาการเรียนรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ของ อพวช. จึงได้หารือร่วมกับ ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.อพวช. และ ดร.กมล รอดคล้าย ที่ปรึกษา รมช.ศธ ถึงแนวทางการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มาพัฒนาเด็กกลุ่มเป้าหมายพิเศษ โดยเฉพาะเด็กออทิสติก ซึ่งสามารถพัฒนาให้มีความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ได้ เพราะที่ผ่านมา เด็กกลุ่มนี้จะพัฒนาในด้านกีฬา ศิลปะ หรือดนตรี เท่านั้น ล่าสุด ดร.รวิน ระวิวงศ์ และคณะ ได้นำเสนอโครงการวิจัยนำร่องแผนการเรียนรู้ตามอัธยาศัยด้าน นวัตกรรมและวิทยาศาสตร์การคำนวณ เพื่อส่งเสริมทักษะและพัฒนาการคณะบุคคลออทิสติก (The CODDY plan) ขึ้น โดยจะมีการวิจัยนำร่องกลุ่มเป้าหมายนักเรียนออทิสติก […]
ด.ช.อ้วน หนัก 200 กก. อายุ 13 ปี รพ.รับไปดูแลแล้ว พบชีวิตสุดอาภัพ แม่เสียชีวิตตั้งแต่ 3 ขวบ ป่วยออทิสติก พูดไม่ได้ ทุกวันนี้ต้องนั่งหลับ เพราะนอนไม่ได้ หายใจผิดจังหวะ
บนสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิปท่าโยคะรักษาและป้องกันอัลไซเมอร์และออทิสติกสำหรับเด็ก แต่ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์
ซามัว ประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่ใช้มานาน 6 สัปดาห์แล้ว หลังจากสามารถควบคุมสถานการณ์โรคหัดระบาดทั่วประเทศ