fbpx

ใช้พาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์ ทารกเสี่ยงเป็นออทิสติกแค่ไหน ?

18 เมษายน 2567
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์กับการป่วยเป็นโรคออทิสติกในทารก สร้างข้อถกเถียงในวงการแพทย์มานาน แม้หลายปีที่ผ่านมาจะมีงานวิจัยที่พบความเสี่ยงการใช้ยาพาราเซตามอลกับออทิสติก แต่งานวิจัยส่วนใหญ่กลับเต็มไปด้วยข้อจำกัดจนไม่อาจยืนยันผลได้อย่างชัดเจน

การใช้พาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์ แม้จะมีความจำเป็น แต่ก็ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อเลี่ยงผลเสียจากการใช้ยา


การศึกษาเชิงสังเกตการณ์

ปี 2018 วารสารการแพทย์ American Journal of Epidemiology ได้ตีพิมพ์ผลวิจัยที่พบว่า แม่ที่ใช้ยาพาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงคลอดบุตรป่วยเป็นโรคออทิสติกมากกว่าแม่ที่ไม่ใช้ยา 19% และเสี่ยงคลอดบุตรที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) มากกว่าแม่ที่ไม่ใช้ยา 34%

ส่วนปี 2021 วารสารการแพทย์ Nature Reviews Endocrinology ได้ตีพิมพ์ข้อเสนอแนะตามมติที่ประชุมโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ระดับนานาชาติ ที่ร่วมกันศึกษางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ จนได้ข้อสรุปที่เชื่อว่า ยาพาราเซตามอลมีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ โดยผลกระทบจะแปรผันตามปริมาณยาที่ได้รับ จึงต้องการให้บุคลากรทางการแพทย์เตือนถึงการใช้ยาพาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์อย่างไม่ระมัดระวัง ทั้งการใช้ยาพาราเซตามอลโดยตรงหรือการใช้ยาที่มีส่วนประกอบของพาราเซตามอล


อย่างไรก็ดี งานวิจัยทั้งสองชิ้นสร้างเสียงโต้แย้งในแวดวงวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นงานวิจัยที่มีข้อจำกัดหลายประการ ส่งผลให้บทสรุปของงานวิจัยขาดความน่าเชื่อถือเพียงพอ

ประเด็นแรกคืองานวิจัยทั้งสองอยู่ในรูปแบบการศึกษาเชิงสังเกตการณ์ ซึ่งเป็นการศึกษาจากงานวิจัยในอดีต ไม่ใช่การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม ที่ผู้วิจัยต้องลงมือทดลองด้วยการแบ่งกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อให้ผลวิจัยชัดเจนและปราศจากความลำเอียงจากผู้วิจัย

ข้อจำกัดยังรวมถึงข้อมูลปริมาณการใช้ยา ที่ได้มาจากการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่อาจเชื่อถือได้ทั้งหมด เพราะไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าข้อมูลในรายงานตรงกับความเป็นจริงหรือไม่

นอกจากนี้ งานวิจัยที่ผ่านมายังถูกตั้งคำถามถึงอิทธิผลของตัวแปรกวน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการป่วยเป็นโรคออทิสติกมากกว่าการใช้ยาพาราเซตามอล เช่น ผู้ใช้พาราเซตามอลอาจป่วยด้วยโรคบางอย่างก่อนการใช้ยา ซึ่งการป่วยด้วยโรคเหล่านั้น อาจเป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ทารกป่วยเป็นโรคออทิสติก

รวมถึงการไม่ตรวจสอบประวัติการป่วยเป็นโรคออทิสติกของผู้ปกครอง เนื่องจากโรคออทิสติกสามารถส่งผ่านทางพันธุกรรม หากพ่อหรือแม่มีประวัติป่วยเป็นโรคออทิสติก อาจจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ทารกป่วยเป็นโรคออทิสติกมากกว่าการใช้ยาก็เป็นได้

การตรวจปริมาณพาราเซตามอลในเลือดจากสายสะดือก่อนคลอด

ปี 2019 วารสารการแพทย์ JAMA Psychiatry ได้ตีพิมพ์งานวิจัยที่ศึกษาปริมาณยาพาราเซตามอลในเลือดจากสายสะดือของสตรีที่กำลังใกล้คลอด

จากการแบ่งกลุ่มพบว่า ทารกที่เกิดจากมารดาที่มีปริมาณพาราเซตามอลในเลือดจากสายสะดือสูงที่สุด มีความเสี่ยงป่วยเป็นโรคโรคสมาธิสั้น (ADHD) มากกว่าทารกที่เกิดจากมารดาที่มีปริมาณพาราเซตามอลในเลือดจากสายสะดือน้อยที่สุดที่ 2.86 เท่า และมีความเสี่ยงป่วยด้วยโรคออทิสติกมากกว่า 3.62 เท่า

อย่างไรก็ดี ข้อจำกัดของงานวิจัยชิ้นนี้คือการไม่มีกลุ่มควบคุม หรือกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช้ยาพาราเซตามอลก่อนทำคลอด จึงไม่มีตัวเปรียบเทียบว่าความเสี่ยงของการไม่ใช้ยามีความแตกต่างกันเท่าใด

นอกจากนี้ ยังเป็นเรื่องปกติของการใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการปวดของแม่ใกล้คลอด ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะพบปริมาณยาพาราเซตามอลระดับสูงในเลือดจากสายสะดือ

ดังนั้น ปริมาณยาพาราเซตามอลในเลือดจากสายสะดือในช่วงใกล้คลอด จึงไม่สามารถบอกได้ว่า ในระหว่างตั้งครรภ์ตลอด 9 เดือน การมียาพาราเซตามอลในร่างกาย ส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์มากน้อยเพียงใด

วงการวิทยาศาสตร์ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน

รายงานปี 2019 ขององค์การยาของสหภาพยุโรป (EMA) ระบุว่า ข้อมูลทางการแพทย์ในปัจจุบัน ไม่อาจสรุปได้ว่าการใช้ยาพาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์ เพิ่มความเสี่ยงทำให้ทารกเป็นออทิสติกหรือไม่

รายงานปี 2021 ของสมาคมสูตินรีแพทย์สหรัฐอเมริกา (ACOG) ยืนยันว่า ไม่พบหลักฐานที่แน่ชัดถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาพาราเซตามอลอย่างเหมาะสม กับพัฒนาการของตัวอ่อนในทุกช่วงอายุครรภ์

ปี 2022 และ 2023 โฆษกขององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ชี้แจงต่อ Lead Stories และ Factcheck.org ว่า ข้อมูลจากงานวิจัยเกี่ยวกับยาพาราเซตามอลและโรคออทิสติกในปัจจุบัน ยังไม่เพียงพอที่จะนำไปสู่ข้อสรุปใด ๆ ได้ จึงแนะนำให้สตรีมีครรภ์ใช้ยาแก้ปวดอย่างระมัดระวัง และปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

การพิจารณาในชั้นศาล

เมื่อเดือนธันวาคม 2023 มีการพิจารณาคดีฟ้องร้องค่าเสียหายต่อบรรดาร้านขายยาและบริษัทผู้ผลิตยา Tylenol โดยกลุ่มผู้ปกครองที่กล่าวหาว่า การใช้ยาพาราเซตามอลทำให้ลูกป่วยเป็นโรคออทิสติก

แม้ในระหว่างการสืบพยาน ฝ่ายโจทก์จะนำผู้เชี่ยวชาญมาสนับสนุนแนวคิดเรื่องการใช้ยาพาราเซตามอลกับผลต่อการเกิดโรคออทิสติก แต่ผู้พิพากษาศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ไม่ยอมรับความเห็นดังกล่าว เนื่องจากยังไม่มีบทสรุปที่แน่ชัดทางวิทยาศาสตร์ว่า ปริมาณยาพาราเซตามอลในมดลูก ส่งผลให้เกิดโรคออทิสติกหรือโรคสมาธิสั้นหรือไม่

ทางเลือกที่จำเป็น แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง

ซูรา อัลวาน นักระบาดวิทยาด้านการพิการแต่กำเนิด มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ย้ำว่า การใช้ยาแก้ปวดระหว่างตั้งครรภ์เป็นสิ่งจำเป็น เพราะการเป็นไข้ในช่วงเริ่มตั้งครรภ์ จะส่งผลต่อการม้วนและปิดของหลอดประสาท ทำให้พัฒนาการของสมองและไขสันหลังทารกผิดปกติ ดังนั้นการเลี่ยงการใช้ยาพาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์ อาจส่งผลเสียทั้งต่อตัวแม่และเด็ก

สมาคมสูตินรีแพทย์สหรัฐอเมริกา (ACOG) ยังแนะนำว่า ยาพาราเซตามอลเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุด สำหรับใช้ลดไข้และแก้ปวดระหว่างทั้งครรภ์ เพราะการใช้ยาแก้ปวดประเภท NSAIDs เช่น แอสไพริน หรือ ไอบูโพรเฟน ระหว่างตั้งครรภ์มีความเสี่ยง หากใช้ในช่วงท้องแก่ อาจก่อให้เกิดปัญหาภาวะน้ำคร่ำน้อยและหลอดเลือดปิดตัวก่อนกำหนดของทารกในครรภ์ และหากใช้ยาแก้ปวดที่สกัดจากฝิ่น จะส่งผลเสียต่อตัวแม่และทารก เช่น อาการถอนยาในทารกแรกเกิด

ACOG ย้ำว่าประโยชน์ของการใช้ยาพาราเซตามอลในสตรีมีครรภ์ยังมีมากกว่าความเสี่ยง แต่จำเป็นต้องใช้อย่างระมัดระวัง และควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.factcheck.org/2023/02/limited-evidence-of-a-link-between-acetaminophen-and-autism-or-adhd/
https://healthfeedback.org/what-we-know-about-possible-link-between-acetaminophen-use-during-pregnancy-and-autism/
https://www.aol.com/lawsuits-claiming-tylenol-causes-autism-205738541.html

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผู้อพยพจากไทยคว้าแจ็กพอตเพาเวอร์บอล

ผู้อพยพจากไทยไปใช้ชีวิตอยู่ในสหรัฐดวงเฮง คว้ารางวัลแจ็กพอตลอตเตอรี่เพาเวอร์บอล ได้เงินรางวัลสูงถึง 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

“ซูเปอร์โพล” เผยผลสำรวจสเปก “ผบ.ตร.คนใหม่” ต้องซื่อสัตย์สุจริต

“ซูเปอร์โพล” เผยผลสำรวจสเปก “ผบ.ตร.คนใหม่” ต้องซื่อสัตย์สุจริต ชี้ประชาชนเบื่อมากข่าวนายตำรวจระดับสูง ควรเร่งทำงานสร้างความปลอดภัยให้ประชาชน

นายกฯ บอกขอโทษ “ปานปรีย์” แล้ว ไม่ขัดแย้ง

นายกฯ เผยขอโทษ “ปานปรีย์” แล้วหลังหลุดรองนายกฯ รับมีทั้งคนพอใจ ไม่พอใจ ยันสัมพันธ์ลูกเป็นเพื่อนกัน ไม่ขัดแย้ง เชื่อคนใหม่สานต่องานได้  

“ปานปรีย์” รับยื่นลาออก หลังถูกปรับพ้นรองนายกฯ

“ปานปรีย์” ยอมรับยื่นลาออก หลังถูกปรับออกจากรองนายกฯ ชี้หากไม่มีตำแหน่งพ่วงอาจทำงานไม่ราบรื่น ลั่นหากมีคนอื่นเหมาะสมกว่าให้มาทำงานแทน

ข่าวแนะนำ

“ทนายตั้ม” เดินหน้ายื่น ปปง.ยึด-อายัดทรัพย์สินภรรยา “บิ๊กตำรวจ”

“ทนายตั้ม” รุกคืบยื่น ปปง. ยึด-อายัดทรัพย์สินภรรยา “บิ๊กตำรวจ” ที่ได้จากการฟอกเงินเว็บพนัน พร้อมเปิดตัวละครใหม่ “สารวัตร สาวหล่อ” ให้ ปปง.ตรวจสอบด้วย

ผู้อพยพจากไทยคว้าแจ็กพอตเพาเวอร์บอล

ผู้อพยพจากไทยไปใช้ชีวิตอยู่ในสหรัฐดวงเฮง คว้ารางวัลแจ็กพอตลอตเตอรี่เพาเวอร์บอล ได้เงินรางวัลสูงถึง 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

“ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI แล้ว

อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศขึ้นทะเบียน “ทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด” สินค้า GI รายการใหม่ ประจำจังหวัดตราด เนื้อสีเหลืองอ่อน รสชาติหวาน มัน เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและผู้บริโภคสร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน