กยศ.จับมือกรมบังคับคดี ช่วยปรับโครงสร้างหนี้

กรุงเทพฯ 1 ก.พ.- กยศ. จับมือ กรมบังคับคดี ช่วยปรับโครงสร้างหนี้ ณ สำนักงานบังคับคดีทั่วประเทศ ลดเบี้ยปรับเดิม พักไว้ทั้งหมด 100% กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ร่วมมือกับกรมบังคับคดีเพื่อให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้ผู้กู้ยืมในการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ที่สำนักงานบังคับคดีทั่วประเทศซึ่งเป็นการประหยัดเวลาในการเดินทางของผู้กู้ยืม ซึ่งผู้กู้ยืมสามารถลงทะเบียนนัดทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดได้ทางหน้าเว็บไซต์ กยศ. ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ดร.นันทวัน วงศ์ขจรกิตติ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ได้เปิดเผยว่า “จากการที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และกรมบังคับคดี ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการแก้ไขหนี้ให้ประชาชนสำหรับหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เพื่อเป็นการช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้ผู้กู้ยืมในการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ โดยไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางออกนอกภูมิลำเนาซึ่งผู้กู้ยืมสามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดทั่วประเทศ โดยผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้มีสิทธิทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ทุกราย สำหรับผู้กู้ยืมที่ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้จะสามารถผ่อนชำระเงินคืน กยศ. เป็นรายเดือนในอัตราเท่ากันภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน และสามารถชำระให้เสร็จสิ้นได้ภายใน 15 ปี โดยชำระเงินงวดสุดท้ายได้ถึงอายุ 65 ปี เมื่อผู้กู้ยืมชำระหนี้งวดสุดท้ายเสร็จสิ้น กยศ. จะให้ส่วนลดเบี้ยปรับเดิมที่ตั้งพักไว้ทั้งหมด 100% ซึ่งการปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวจะส่งผลให้ผู้กู้ยืมสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน และไม่ถูกฟ้องคดีหรือบังคับคดี” ผู้จัดการกองทุนฯ เปิดเผยต่อไปว่า “สำหรับขั้นตอนในการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกรมบังคับคดีดังกล่าว ผู้กู้ยืมต้องลงทะเบียนนัดหมายผ่านทางหน้าเว็บไซต์ กยศ. www.studentloan.or.th หรือแจ้งความประสงค์โดยตรงที่สำนักงานบังคับคดี เพื่อนัดหมายวันและเวลาเข้าทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ […]

ลูกหนี้บัตรเครดิตเฮ! ธปท. ขยายเวลาจ่ายขั้นต่ำ 8% ออกไปอีก 1 ปี ถึงสิ้นปี 68

ธปท. ขยายเวลาจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ 8% จากเดิม 10% ออกไปอีก 1 ปี จนถึงสิ้นปี 68 หรือจ่าย 8%ไม่ไหวปรับโครงสร้างหนี้ได้ พร้อมขยายระยะเวลาปิดจบหนี้ที่เสี่ยงเป็นหนี้เรื้อรังจากภายใน 5 ปี เป็น 7 ปี

รัฐบาลเชิญชวนผู้กู้ยืม กยศ. เข้าร่วม “มหกรรมแก้หนี้”

รัฐบาลเชิญชวนผู้กู้ยืม กยศ. เข้าร่วม “มหกรรมแก้หนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม” ตามสถานที่ที่กำหนดตลอดเดือน ก.ค.67 เผยมียอดผู้กู้ยืมที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้ว 67,194 ราย

กยศ.แจ้งผู้กู้ยืม 6 หมื่นราย ถูกดำเนินคดีปี 57 มาเจรจาขยายเวลาผ่อน

กยศ. แจ้งผู้กู้ยืม 60,000 ราย ถูกดำเนินคดีในปี 57 และมีหนี้ค้าง ขอเชิญมาเจรจาขยายเวลาผ่อนอีก 15 ปี เพื่อปลดภาระผู้ค้ำประกัน ย้ำอาจบังคับคดี มิให้ขาดอายุความ

กยศ.นำร่องให้กู้ฝึกอาชีพ 5 หมื่นบาท/ราย 

กรุงเทพฯ 19 ก.ย. – กองทุน กยศ. นำร่อง ปล่อยกู้ฝึกอาชีพระยะสั้น 5 หมื่นบาทต่อราย   เผยปี 66 ยื่นกู้  ยอดพุ่ง46,000  ล้านบาท   เดินหน้าปรับโครงสร้างหนี้ ทั้งก่อนฟ้อง  หลังฟ้องทุกกลุ่มในปลายปีนี้ 

ผู้นำศรีลังกาเผยจีนยอมปรับโครงสร้างหนี้ให้

โคลัมโบ 7 มี.ค.- ประธานาธิบดีรานิล วิกรมสิงเหของศรีลังกาเผยว่า จีนตกลงที่จะปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่ศรีลังกา ซึ่งเป็นเงื่อนไขสุดท้ายที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (IMF) จะให้เงินช่วยเหลือแก่ศรีลังกา ประธานาธิบดีวิกรมสิงเหแถลงต่อรัฐสภาว่า ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกของจีนได้ส่งจดหมายถึงไอเอ็มเอฟเมื่อคืนวันจันทร์ แสดงความพร้อมที่จะปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่ศรีลังกา เขาจึงได้รีบลงนามจดหมายแสดงเจตนาจำนงที่จะเข้าร่วมโครงการของไอเอ็มเอฟทันที และคาดหวังว่า ไอเอ็มเอฟจะปล่อยเงินช่วยเหลืองวดแรกให้แก่ศรีลังกาได้ภายในเดือนนี้ ศรีลังกาผิดนัดชำระหนี้จำนวน 46,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.58 ล้านล้านบาท) เมื่อเดือนเมษายน ปี 2565 ช่วงที่กำลังเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนขาดแคลนอาหารและเชื้อเพลิงนานหลายเดือน หนี้ที่ผิดนัดชำระจำนวน 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 483,483 ล้านบาท) เป็นหนี้ทวิภาคีกับรัฐบาลต่างชาติ และในจำนวนนี้ร้อยละ 52 เป็นหนี้ของรัฐบาลจีน รัฐบาลศรีลังกากำลังหาทางขอเงินช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟจำนวน 2,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 100,150 ล้านบาท) เพื่อกอบกู้ฐานะการคลังที่ย่ำแย่ และได้ประกาศใช้มาตรการหลายอย่างเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของไอเอ็มเอฟ เช่น ขึ้นภาษี ยกเลิกการให้เงินอุดหนุนราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้า ขายกิจการของรัฐที่ขาดทุน.-สำนักข่าวไทย

ลูกค้าธอส.ลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืนแล้วกว่า 53,280 ล้านบาท

กรุงเทพฯ 14 ม.ค.-ลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืนจนถึงวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมาแล้วกว่า 53,280 ล้านบาท รายงานข่าวจากธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) เปิดเผยว่า หลังเปิดให้ลูกค้าเดิมที่ยังอยู่ระหว่างการใช้มาตรการความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จาก COVID-19 หากความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ยังไม่เป็นปกติและ จำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ สามารถลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วม “มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน” ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2564 ล่าสุด ณ วันที่ 11 มกราคม 2565 มีลูกค้าลงทะเบียนแจ้งความประสงค์แล้วจำนวน 50,592 บัญชี เงินต้นคงเหลือ 53,280 ล้านบาท ทั้งนี้  ธอส.ยังเปิดให้ลูกค้าลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการที่ 18 [M18]สำหรับลูกค้ารายย่อยที่มีสถานะบัญชีปกติ และมาตรการที่ 19 [M19] สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการสินเชื่อแฟลต ถึงวันที่ 25  มกราคม 2565 ขณะที่มาตรการที่ 17[M17] สำหรับลูกค้ารายย่อยสถานะ NPL และลูกค้า NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ สามารถลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565 […]

รองนายกรัฐมนตรี ย้ำให้สถาบันการเงินดูแลลูกหนี้ใกล้ชิด

“สุพัฒนพงษ์” ย้ำให้สถาบันการเงินดูแลลูกหนี้ใกล้ชิด เร่งให้ความช่วยเหลือหรือปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้โดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดภาวะวิกฤติ

รับทราบ..แบงก์ชาติให้ความสำคัญลูกหนี้กระทบโควิดเท่าเทียม

กรุงเทพฯ 18 ก.ค.-ธปท. แจงใหัความสำคัญกับการเร่งช่วยเหลือลูกหนี้ทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยประชาชนกลุ่มลูกหนี้ที่ที่ยังไม่สามารถกลับมาทำงานได้ หรือมีรายได้ลดลงมาก แนะติดต่อสถาบันการเงินปรับโครงสร้างหนี้

1 2
...