ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด-19 ทำให้หนูคลอดลูกเป็นออทิสติก จริงหรือ?

12 เมษายน 2566
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเผยแพร่ทางเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างงานวิจัยที่พบว่า ลูกหนูที่เกิดจากแม่หนูที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท Pfizer-BioNTech มีความเสี่ยงเป็นออทิสติกมากกว่าลูกหนูที่เกิดจากแม่ที่ไม่ฉีดวัคซีน นำไปสู่การอ้างอย่างผิด ๆ ว่าวัคซีนโควิด-19 เพิ่มความเสี่ยงเป็นออทิสติกหากมีการฉีดในสตรีมีครรภ์เช่นเดียวกัน


บทสรุป :

  1. เป็นการวิจัยในหนูทดลอง ผู้วิจัยย้ำว่าไม่อาจนำผลมาเปรียบเทียบกับการฉีดวัคซีนในมนุษย์ได้
  2. เป็นการวิจัยที่มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ให้ปริมาณวัคซีนกับหนูทดลองเท่ากับปริมาณที่ใช้กับมนุษย์

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :

ที่มาของงานวิจัย


งานวิจัยที่กล่าวอ้าง เป็นผลงานของนักวิจัยจากประเทศตุรกี ตีพิมพ์ทางวารสาร Neurochemical Research เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2024

ทีมวิจัยตั้งสมมติฐานว่า โปรตีนหนามจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือจากวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA อาจส่งผลต่อการอักเสบในร่างกาย นำไปสู่ผลกระทบต่อการพัฒนาระบบประสาท โดยเฉพาะในช่วงการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ซึ่งอาจส่งผลให้ทารกที่เกิดมามีอาการออทิสติกได้

ทีมวิจัยนำหนูทดลองเพศเมียจำนวน 15 ตัวไปผสมพันธุ์หนูเพศผู้จำนวน 5 ตัว

หลังจากหนูตั้งท้องได้ 13 วัน จึงแบ่งหนูเป็น 2 กลุ่ม ครึ่งหนึ่งได้รับวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท Pfizer-BioNTech ส่วนครึ่งหนึ่งได้รับน้ำเกลือเป็นยาหลอก

หลังจากลูกหนู 41 ตัวเกิดมาได้ 21 วัน จึงแยกหนูออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ หนูเพศผู้ที่ได้รับวัคซีน หนูเพศผู้ที่ได้รับยาหลอก หนูเพศเมียที่ได้รับวัคซีน หนูเพศเมียที่ได้รับยาหลอก

ผ่านไป 50 วัน จึงนำหนูทั้ง 4 กลุ่มมาทดสอบพฤติกรรมต่าง ๆ อาทิ พฤติกรรมทางสังคม ความกระตือรือร้นต่อสิ่งแปลกใหม่ และทักษะการพัฒนากล้ามเนื้อ

เมื่อการทดสอบเสร็จสิ้นลง ลูกหนูทดลองทั้ง 41 ตัวจะถูกการุณยฆาต ก่อนนำสมองออกมาตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อสำรวจปริมาณของไซโตไคน์ชนิดต่าง ๆ (Cytokine) ซึ่งเป็นกลุ่มโปรตีนในระบบภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองต่อการติดเชื้อและการอักเสบ

การสำรวจไม่พบว่าหนูกลุ่มที่แม่ได้รับวัคซีนและหนูกลุ่มที่แม่ได้รัยยาหลอก มีปริมาณไซโตไคน์ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

การตรวจสอบเซลล์ประสาทในสมองพบว่า หนูทดลองเพศผู้ที่แม่ได้รับวัคซีน มีเซลล์ประสาทน้อยกว่าหนูทดลองเพศผู้ที่แม่ได้รับยาหลอก อย่างไรก็ดี ไม่พบความแตกต่างในหนูทดลองเพศเมียทั้งกลุ่มที่แม่ได้รับวัคซีนหรือยาหลอก

ทีมวิจัยยังพบว่า หนูทดลองเพศผู้ที่แม่ได้รับวัคซีน ขาดทักษะในการเข้าสังคม และไม่มีความกระตือรือร้นเมื่อเจอหนูจากครอกอื่น ซึ่งผู้วิจัยเปรียบเทียบได้กับพฤติกรรมของเด็กที่เป็นออทิสติก

อย่างไรก็ดี ไม่พบความแตกต่างด้านพฤติกรรมในหนูทดลองเพศเมีย ทั้งกลุ่มที่แม่ได้รับวัคซีนหรือยาหลอก

ผลจากการทดลอง ทีมวิจัยจึงสรุปว่าวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ส่งผลให้หนูทดลองเพศผู้ซึ่งเกิดจากแม่หนูที่ได้รับวัคซีน จะมีอาการคล้ายออทิสติก แต่ย้ำว่าผลวิจัยกับสัตว์ทดลอง ไม่สามารถอ้างอิงกับผลที่จะเกิดกับมนุษย์ได้

มูมิน อัลเปอร์ เออร์โดกัน รองศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยอิซเมียร์ คาทิป เซเลบี หนึ่งในทีมวิจัยชี้แจงต่อเว็บไซต์ Health Feedback ว่า จุดประสงค์ของงานวิจัย ไม่ได้ต้องการต่อต้านการฉีดวัคซีนโควิด-19 การนำผลวิจัยไปเผยแพร่เพื่อสนับสนุนความคิดส่วนตัวหรือเพื่อการใส่ร้ายทางออนไลน์ สำหรับเขาคือสิ่งไม่ถูกต้อง

ข้อจำกัดของงานวิจัย

นอกจากนี้ เมื่อนำเนื้อหาการวิจัยไปสอบถามความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่างานวิจัยชิ้นนี้เต็มไปด้วยข้อจำกัดที่ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือหลายประการ

  1. ปริมาณวัคซีนที่ใช้กับหนูเท่ากับฉีดในมนุษย์

ทีมวิจัยใช้วัคซีนโควิด-19 ของบริษัท Pfizer-BioNTech ปริมาณ 30 ไมโครกรัมต่อหนูทดลองหนึ่งตัว ซึ่งเป็นปริมาณเทียบเท่ากับที่ใช้สำหรับผู้ใหญ่ 1 คน เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวแล้ว เท่ากับว่าหนูทดลองได้รับปริมาณวัคซีนโควิด-19 มากกว่าที่มนุษย์ได้รับประมาณ 300 เท่า

นอกจากนี้ ข้อจำกัดเรื่องปริมาณวัคซีนในการทดลอง ยังไม่ถูกกล่าวไว้ในงานวิจัยอีกด้วย

มูมิน อัลเปอร์ เออร์โดกัน หนึ่งในทีมวิจัยอ้างว่า เหตุผลที่ใช้ปริมาณวัคซีนเท่ากับมนุษย์ เพราะไม่มีการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับปริมาณวัคซีน mRNA ที่ใช้ในหนูทดลอง นอกจากนี้ ปริมาณวัคซีนทั่วไปสำหรับใช้สร้างภูมิคุ้มกันในสัตว์หลาย ๆ ชนิด เช่น ไก่ สุกร อูฐ ก็อยู่ที่ปริมาณ 30-40 ไมโครกรัม ไม่ว่าสัตว์จะมีน้ำหนักตัวเท่าใด

สเตซี บิลโบ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบภูมิคุ้มกันทางระบบประสาท มหาวิทยาลัยดุ๊ก สหรัฐอเมริกา อธิบายว่า ปริมาณวัคซีนแต่ละชนิดต้องผ่านการคำนวณมาอย่างละเอียด เพื่อให้ใช้วัคซีนในปริมาณน้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้ ดังนั้นการฉีดวัคซีนในปริมาณที่มากกว่าปกติถึง 300 เท่า การพบการเปลี่ยนแปลงในการทดลองจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติ

เจฟฟรีย์ มอร์ริส ผู้อำนวยการศูนย์ชีวสถิติ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา อธิบายต่อ FactCheck.org ว่า ปริมาณโดสของวัคซีนในหนูทดลองที่สูงถึง 300 เท่าเมื่อเทียบกับน้ำหนักของมนุษย์ ทำให้ผลวิจัยไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกับผลที่จะเกิดกับมนุษย์ได้ หากเขาเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของงานวิจัย เขาจะบอกให้ผู้วิจัยเน้นถึงปริมาณวัคซีนเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณที่ใช้กับมนุษย์ และย้ำว่าสิ่งนี้คือเหตุผลสำคัญที่ไม่อาจนำผลวิจัยมาเปลี่ยนเทียบกับสิ่งที่จะเกิดกับคนที่ได้รับวัคซีนเช่นกัน

  1. กลุ่มตัวอย่างน้อยเกินไป

การทดลองครั้งนี้ ใช้หนูในการทดสอบปฏิกิริยาชีวเคมีเพียงแค่ 7 ตัว คือหนูเพศผู้ที่ได้รับยาหลอก 3 ตัว และหนูเพศผู้ที่ได้รับวัคซีน 4 ตัว ซึ่งอาจทำให้ผลลัพธ์คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

  1. ไม่ใช่การทดลองแบบ Blind Test

ในงานวิจัยไม่ได้ระบุว่า การทดลองเป็นแบบ Blind Test ทำให้ผู้วิจัยรู้ว่าหนูทดลองแต่ละกลุ่มได้รับวัคซีนหรือไม่ อาจนำมาซึ่งความลำเอียงระหว่างการสังเกตพฤติกรรมหนูทดลอง

การไม่ระบุตัวแปรของการทดลอง

เทเรซา เรเยส ศาสตราจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยาและสรีรวิทยาระบบ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยซินซินแนติ สหรัฐอเมริกา ชี้แจงว่า ยังมีตัวแปรสำคัญ 3 อย่างที่ไม่ได้รับคำอธิบายจากงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่

  1. ระยะเวลาตั้งครรภ์ของแม่หนูทดลอง

หากระยะเวลาตั้งครรภ์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ หนูที่มีความผิดปกติจากการคลอดก่อนกำหนด อาจมีปัจจัยจากอายุครรภ์ของแม่หนูมากกว่าการฉีดวัคซีน

  1. น้ำหนักตัวของแม่หนูทดลอง

หากน้ำหนักตัวของแม่หนูทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อาจบ่งบอกถึงการป่วยหนักของแม่หนูที่ได้รับวัคซีน ซึ่งอาจส่งผลต่อการทดลองเช่นกัน

  1. Litter Effects พฤติกรรมคล้ายกันของสัตว์จากครอกเดียวกัน

สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือการที่หนูทดลองในกลุ่มเดียวกันมีพฤติกรรมคล้ายกัน อาจมาจากปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Litter Effects หรือพฤติกรรมคล้ายกันของสัตว์จากครอกเดียวกัน มากกว่าอิทธิพลจากวัคซีน

คริสโตเฟอร์ โค ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตประสาทภูมิคุ้มกันวิทยา มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน ผู้มีผลงานศึกษาผลกระทบจากการติดเชื้อและการอักเสบระหว่างการตั้งครรภ์ต่อตัวอ่อน ยอมรับว่า หากเขาร่วมทดลองในงานวิจัยครั้งนี้ เขาจะเพิ่มกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับวัคซีนโดสต่ำ เพื่อดูว่าปริมาณของวัคซีนมีผลต่อหนูทดลองแค่ไหน

คริสโตเฟอร์ โค ย้ำว่า ผู้วิจัยและนักวิชาการที่ตรวจสอบงานวิจัย ควรจะทำการทดลองซ้ำเพื่อยืนยันผลวิจัย แทนที่จะรีบตีพิมพ์งานวิจัยที่ไม่สมบูรณ์จากการทดลองเพียงแค่ครั้งเดียว

ผลประโยชน์ทับซ้อน

นอกจากนี้ Health Feedback ยังพบว่า ทีมวิจัยไม่ได้ระบุผลประโยชน์ทับซ้อนในงานวิจัย ทั้ง ๆ ที่มีการใช้ซอฟต์แวร์และระบบวิเคราะห์พฤติกรรมด้วยปัญญาประดิษฐ์ที่ร่วมพัฒนาโดย มูมิน อัลเปอร์ เออร์โดกัน หนึ่งในผู้วิจัย มาใช้เพื่อศึกษาพฤติกรรมของหนู

ซึ่งผู้วิจัยยอมรับว่าจะระบุผลประโยชน์ทับซ้อนส่งในงานวิจัยฉบับแก้ไขต่อไป

ปัจจัยเสี่ยงออทิสติก

ความเสี่ยงการป่วยเป็นโรคออทิสติกมาจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งจากพันธุกรรมและตัวแปรอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดจากพ่อแม่สูงวัย การคลอดก่อนกำหนดชนิด Extreme Prematurity หรืออายุครรภ์ไม่ถึง 28 สัปดาห์ รวมถึงทารกที่เกิดมาด้วยน้ำหนักตัวน้อยผิดปกติ เป็นต้น

วัคซีนไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงออทิสติก

แม้จะมีการเผยแพร่ทฤษฎีสมคบคิดว่าการฉีดวัคซีนในแม่และเด็ก เพิ่มความเสี่ยงการป่วยเป็นออทิสติก แต่การศึกษาวิจัยในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา สามารถยืนยันได้ว่าการฉีดวัคซีนไม่มีความสัมพันธ์ต่อการป่วยเป็นโรคออทิสติกในเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่หรือการฉีดวัคซีนรวมโรคคอตีบ โรคไอกรน และบาดทะยักระหว่างตั้งครรภ์ของมารดา

ในส่วนของวัคซีนโควิด-19 นอกจากจะไม่พบผลเสียของการฉีดวัคซีนระหว่างตั้งครรภ์แล้ว การฉีดวัคซีนโควิด-19 ยังมีส่วนช่วยป้องกันการคลอดก่อนกำหนดและการแท้งบุตรอีกด้วย

โฆษกของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ยืนยันว่า ข้อมูลความปลอดภัยจากการใช้วัคซีนในสหรัฐอเมริกายืนยันว่า วัคซีนชนิดไหน ๆ รวมถึงวัคซีนโควิด-19 ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคออทิสติก

ข้อมูลอ้างอิง :

https://healthfeedback.org/claimreview/rat-study-alleged-link-covid-vaccines-autism-cannot-generalized-humans-important-limitations/
https://www.factcheck.org/2024/01/scicheck-viral-posts-misuse-rat-study-to-make-unfounded-claims-about-covid-19-vaccines-and-autism/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

มติกฤษฎีกา “กิตติรัตน์” คุณสมบัติไม่ผ่านนั่งประธานบอร์ด ธปท.

คณะกรรมการกฤษฎีกา 3 คณะ มีมติไม่ผ่านคุณสมบัติ “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” เป็นประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย

เครื่องบินโดยสาร อาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ตกในคาซัคสถาน

เครื่องบินโดยสารเอ็มบราเออร์ ของสายการบินอาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ที่บินจากอาเซอร์ไบจาน ไปยังประเทศรัสเซีย เกิดอุบัติเหตุตกที่บริเวณใกล้กับเมืองอัคเทา ในคาซัคสถาน โดยมีผู้โดยสาร 62 คน และลูกเรือ 5 คน บนเครื่อง เจ้าหน้าที่คาซัคสถานกล่าวว่า มีผู้รอดชีวิต 28 ราย