ชัวร์ก่อนแชร์: กำแพงน้ำแข็งยักษ์กั้นมหาสมุทรไม่ให้ไหลออกนอกโลก จริงหรือ?

05 พฤษภาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับทฤษฎีโลกแบนเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยอ้างว่าสัณฐานของโลกมีลักษณะแบน โดยมีน้ำทะเลล้อมรอบทวีปต่าง ๆ ที่อยู่เหนือกว่าระดับน้ำทะเล และสิ่งที่ล้อมรอบมหาสมุทรอีกทีก็คือกำแพงน้ำแข็งขนาดยักษ์ที่รู้จักในชื่อทวีปแอนตาร์กติกา บทสรุป : 1.สิ่งที่ดึงน้ำในมหาสมุทรเอาไว้บนผิวโลก ก็คือแรงที่เรียกว่าแรงโน้มถ่วง (Gravity) ของโลกนั่นเอง2.แรงโน้มถ่วง ยังเป็นสาเหตุให้โลกมีสัณฐานเป็นทรงกลม จากการดึงดูดสรรพสิ่งไปยังศูนย์กลางของโลก3.ระดับน้ำทะเลในแต่ละที่ของโลกยังมีความแตกต่างกันเพราะแรงโน้มถ่วงที่ต่างกันอีกด้วย FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่า สัณฐานของโลกไม่ได้มีรูปทรงแบนหรือมีลักษณะเป็นชามตามที่กล่าวอ้าง โดยสิ่งที่ดึงน้ำในมหาสมุทรเอาไว้บนผิวโลก ก็คือแรงที่เรียกว่าแรงโน้มถ่วง (Gravity) ของโลกนั่นเอง แรงโน้มถ่วง ยังเป็นสาเหตุให้โลกมีสัณฐานเป็นทรงกลม จากการดึงดูดสรรพสิ่งไปยังศูนย์กลางของโลก นอกจากนี้ ไม่ใช่พื้นดินทุกส่วนบนโลกจะอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลตามที่กล่าวอ้าง ประเทศเนเธอร์แลนด์มีพื้นที่ 26% ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล โดยจุดต่ำที่สุดอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลถึง 7 เมตร ยิ่งไปกว่านั้น ระดับน้ำทะเลในแต่ละที่ของโลกยังมีความแตกต่างกันเพราะแรงโน้มถ่วงที่ต่างกันอีกด้วย ระดับน้ำทะเลแต่ละแห่งของโลกมีความแตกต่างกัน เพราะโลกไม่ได้มีสัณฐานเป็นทรงกลมสมบูรณ์ ความแตกต่างของพื้นผิวของโลกในแต่ละแห่ง ส่งผลให้แรงโน้มถ่วงของโลกที่ไม่เท่ากัน (Gravity […]

ชัวร์ก่อนแชร์: โลกแบนเพราะมองไม่เห็นส่วนโค้งของโลกจากที่สูง จริงหรือ?

03 พฤษภาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับสนับสนุนทฤษฎีโลกแบนเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยอ้างว่าคลิปวิดีโอที่ถ่ายจากบอลลูนสูงกว่า 120,000 ฟุตหรือ 37 กิโลเมตร แสดงขอบฟ้าของโลกเป็นเส้นตรง แสดงให้เห็นว่าแท้จริงแล้วสัณฐานของโลกเป็นพื้นที่แบนราบ ไม่ใช่ทรงกลม พร้อมอ้างว่าหนึ่งในความพยายามปิดบังข้อเท็จจริงเรื่องโลกแบนคือการยุติการจำหน่ายกล้องถ่ายรูปของบริษัท Nikon รุ่น Coolpix P1000 เนื่องจากสามารถซูมภาพได้ไกลมาก ๆ อาจจะเปิดเผยเส้นขอบของโลกที่ถูกปกปิดเป็นความลับมานาน บทสรุป : 1.การจะสังเกตส่วนโค้งของโลกจำเป็นต้องอยู่สูงอย่างน้อย 1% ของรัศมีโลกที่ 63 กิโลเมตรหรือประมาณ 200,000 ฟุต2.ภาพจากสถานีอวกาศที่ความสูง 400 กิโลเมตร หรือ 1.3 ล้านฟุต เทียบเท่า 7% ของรัศมีโลก แสดงสัณฐานของโลกทรงกลมชัดเจน FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ส่วนโค้งของโลกสังเกตได้จากตำแหน่งที่สูงเพียงพอ โลกมีรัศมีเฉลี่ย 6,371 กิโลเมตร […]

สัญญาณชีวิตนอกโลกจากดาว Bennu

30 เมษายน 2568แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล การศึกษาที่มาของดาวเคราะห์น้อย ประโยชน์ไม่ได้มีเพียงแค่การป้องกันการสูญพันธุ์ของมนุษยชาติจากเหตุการณ์พุ่งชนครั้งใหญ่เท่านั้น แต่ยังนำไปสู่การไขปริศนาครั้งใหญ่เกี่ยวกับคุณสมบัติของจักรวาลในยุคแรก และปัจจัยที่นำไปสู่การกำเนิดสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลก Bennu ความเสี่ยงพุ่งชนโลกในศตวรรษหน้า ดาวเคราะห์น้อย Bennu ถูกค้นพบในปี 1999 ตั้งชื่อนกในเทพปกรณัมอียิปต์ ซึ่งเป็นตัวแทนของดวงอาทิตย์ การก่อกำเนิด และการเกิดใหม่ Bennu เป็นดาวเคราะห์น้อยชนิด C-type (โครงสร้างหลักเป็นคาร์บอน) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 490 เมตร ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ประมาณ 1.19 ปี Bennu อยู่ในกลุ่มดาวเคราะห์น้อย Apollo มีต้นกำเนิดจากแถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid Belt) ซึ่งอยู่ระหว่างวงโคจรดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี คาดว่าเริ่มโคจรมาใกล้โลกเมื่อ 1-2.5 ล้านปีที่แล้ว โอกาส Bennu เฉียดโลกในปี 2060/2135 คาดว่า ดาวเคราะห์น้อย Bennu จะโคจรมาใกล้โลกที่สุดในวันที่ 23 กันยายน 2060 โดยจะอยู่ห่างจากโลกประมาณ 750,000 […]

การพุ่งเฉียดโลกของดาว Apophis ในปี 2029

29 เมษายน 2568แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล หนึ่งในดาวเคราะห์น้อยที่เคยได้รับการคาดหมายว่ามีโอกาสจะพุ่งชนโลกมากที่สุดได้แก่ Apophis ดาวเคราะห์น้อยที่นักดาราศาสตร์เคยเชื่อว่าจะพุ่งชนโลกในปี 2029 ทำสถิติเป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีความเสี่ยงพุ่งชนโลกตามมาตรวัดความเสี่ยงของ Torino scale สูงที่สุดในระดับที่ 4 Apophis ถูกค้นพบในปี 2004 ตั้งชื่อในภาษากรีกตามเทพเจ้าแห่งความชั่วร้ายและความตายของอียิปต์ (Apep) Apophis เป็นดาวเคราะห์น้อยชนิด S-type (โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นซิลิกาหรือหิน) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 340 เมตร ความยาวสูงสุดประมาณ 450 เมตร มีรูปร่างคล้ายถั่วลิสง ความสูงเทียบเท่าตึกเอ็มไพร์สเตตในนิวยอร์ก Apophis อยู่ในกลุ่มดาวเคราะห์น้อย Aten เดินทางด้วยความเร็ว 107,928 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ 29.98 กิโลเมตรต่อวินาที การค้นพบดาวเคราะห์น้อย Apophis นับเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างความแปลกใจให้กับวงการดาราศาสตร์โลก เพราะโอกาสที่ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่เช่นนี้จะโคจรมาใกล้โลกมีเพียง 1 ครั้งในรอบ 800 ปี และโอกาสที่ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่เช่นนี้จะพุ่งชนโลกมีเพียง 1 ครั้งในรอบ 80,000 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: NASA ใช้ยานชนดาวเคราะห์น้อยที่จะพุ่งชนโลก จริงหรือ?

28 เมษายน 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อยเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีการอ้างว่า องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือองค์การ NASA เคยส่งยานอวกาศไปพุ่งชนดาวเคราะห์น้อยที่จะพุ่งชนโลกมาแล้ว ส่วนบางกระแสก็อ้างว่าคลิปวิดีโอที่ NASA ใช้ยืนยันหลักฐานการพุ่งชนดาวเคราะห์น้อยเป็นของปลอม บทสรุป : 1.ภารกิจ DART ของ NASA มีจุดประสงค์ใช้การพุ่งชนเพื่อเปลี่ยนวงโคจรของดาวเคราะห์น้อย2.ดาวเคราะห์น้อยที่ทดลองในภารกิจ DART ไม่มีความเสี่ยงพุ่งชนโลกแต่อย่างใด FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : แม้องค์การ NASA จะเคยส่งยานอวกาศไปพุ่งชนดาวเคราะห์น้อยจริง แต่ดาวเคราะห์น้อยดวงดังกล่าวไม่ได้กำลังพุ่งชนโลกตามที่กล่าวอ้าง ส่วนคลิปวิดีโอการพุ่งชนดาวเคราะห์น้อย ถูกทำให้เร็วขึ้น 10 เท่าจากความเป็นจริง และถ่ายมาจากยานอวกาศไปพุ่งชนดาวเคราะห์น้อยจริง ๆ ภารกิจ DART Double Asteroid Redirection Test (DART) คือภารกิจที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างองค์การ NASA และศูนย์วิจัยฟิสิกส์ประยุกต์ของมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกินส์ […]

โอกาสชนโลกและดวงจันทร์ของดาว 2024 YR4

26 เมษายน 2568แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล เมื่อช่วงต้นปี 2025 วงการดาราศาสตร์ต่างตื่นเต้นกับการค้นพบ 2024 YR4 ดาวเคราะห์น้อยที่โคจรมาใกล้โลกอย่างมากในช่วงปลายปี 2024 ซึ่งแต่เดิมมีการทำนายความเป็นไปได้ที่ 2024 YR4 จะพุ่งชนโลกในอีก 7 ปีข้างหน้า โดยช่วงเดือนกุมภาพันธ์มีการคาดการณ์ความเป็นไปได้ถึง 3.1% แม้ต่อมาจะมีการปรับลดความเป็นไปได้เหลือเกือบ 0% แต่กลับพบว่า โอกาสที่ 2024 YR4 จะพุ่งชนดวงจันทร์ในเดือนธันวาคม 2032 กลับเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 4% การติดตามวงโคจรและที่มาของ 2024 YR4 จึงเป็นข้อมูลที่จำเป็นต่อการวางแผนรับมือเหตุการณ์ดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางพุ่งชนโลก ซึ่งเคยเป็นเหตุการณ์เปลี่ยนโฉมโลกในยุคดึกดำบรรพ์และพร้อมจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ทุกเมื่อ ที่มาดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) เป็นเทหวัตถุที่มีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ (Planet) แต่ใหญ่กว่าสะเก็ดดาว (Meteoroid) มีขนาดตั้งแต่เส้นผ่านศูนย์กลาง 1,000 กิโลเมตรจนถึง 1 เมตร ดาวเคราะห์น้อยจะโคจรรอบดวงอาทิตย์ พบได้มากในระบบสุริยะชั้นใน โดยเฉพาะบริเวณแถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid Belt) […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ฟลูออไรด์ทำให้ฟันผุ จริงหรือ?

24 เมษายน 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประโยชน์ของฟลูออไรด์ต่อสุขภาพฟันเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐฯ เมื่อมีการอ้างว่าการใช้ฟลูออไรด์คือสาเหตุของการเกิดฟันผุ บทสรุป : ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุผ่านกระบวนการคืนแร่ธาตุที่ผิวฟัน (Remineralization) FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : หน้าที่ป้องกันฟันผุของฟลูออไรด์ บทบาทป้องกันฟันผุของฟลูออไรด์คือการคืนแร่ธาตุที่ผิวฟัน (Remineralization) ให้กับผิวเคลือบฟัน เมื่อมีการกินของหวาน แบคทีเรียที่อยู่ในช่องปากจะทำการย่อยสลายแป้งและน้ำตาลให้กลายเป็นกรดแล็กติก มีส่วนทำให้เกิดการละลายแร่ธาตุที่ผิวฟัน (Demineralization) เป็นต้นเหตุของอาการฟันผุ หน้าที่ของฟลูออไรด์คือการเติมเต็มสารที่จำเป็นต่อผิวฟันที่สูญเสียไป ทั้งแคลเซียมและฟอสเฟต เพื่อป้องกันฟันผุอย่างมีประสิทธิภาพผ่านกระบวนการคืนแร่ธาตุที่ผิวฟัน (Remineralization) งานวิจัยปี 2018 กับกลุ่มตัวอย่างเด็กอเมริกันเกือบ 20,000 ราย พบว่า เด็กที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่ 75% ของแหล่งน้ำผสมฟลูออไรด์อย่างน้อย 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร มีอัตราการเกิดฟันน้ำนมผุลดลง 30% และมีอัตราการเกิดฟันแท้ผุลดลง 12% ข้อมูลจาก Cochrane Review เมื่อปี 2024 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ฟลูออไรด์เป็นสารก่อมะเร็ง จริงหรือ?

23 เมษายน 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประโยชน์ของฟลูออไรด์ต่อสุขภาพฟันเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐฯ เมื่อมีคลิปที่เชื่อมโยงว่าฟลูออไรด์ในยาสีฟันเป็นสารก่อมะเร็ง บทสรุป : 1.งานวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างฟลูออไรด์กับมะเร็งในมนุษย์ไม่ชัดเจน2.พบความเสี่ยงมะเร็งกระดูก Osteosarcoma จากการสัมผัสฟลูออไรด์ปริมาณสูงในหนูทดลองเพศผู้ แต่ความเสี่ยงในมนุษย์ยังไม่ชัดเจน FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ข้ออ้างเรื่องฟลูออไรด์กับมะเร็ง มาจากงานวิจัยปี 1990 ที่เผยแพร่โดยโครงการพิษวิทยาแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NTP) ที่พบว่า เมื่อให้หนูได้รับฟลูออไรด์ปริมาณสูงจากน้ำดื่มผสมฟลูออไรด์ จะพบว่าหนูทดลองเพศผู้ป่วยเป็นมะเร็งกระดูกชนิด Osteosarcoma มากผิดปกติ Osteosarcoma เป็นมะเร็งกระดูกชนิดที่พบได้ยาก แต่พบได้บ่อยในเด็กวัยรุ่นตอนต้นที่มีอายุเฉลี่ยประมาณ 15 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หากไม่รับการรักษา ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลาไม่เกิน 2 ปี ข้อมูลจากสมาคมโรคมะเร็งอเมริการะบุว่า หนึ่งในทฤษฎีที่เชื่อมโยงฟลูออไรด์กับมะเร็งกระดูกชนิด Osteosarcoma มากจากการที่ฟลูออไรด์มักสะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของกระดูกที่กำลังเติบโต หากได้รับฟลูออไรด์จำนวนมาก ฟลูออไรด์จะไปกระตุ้นการเติบโตของเซลล์ในกระดูกอย่างต่อเนื่อง จนเซลล์ดังกล่าวกลายเป็นเซลล์มะเร็ง งานวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างฟลูออไรด์กับมะเร็งในมนุษย์ไม่ชัดเจน แม้จะมีการวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างฟลูออไรด์กับมะเร็ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์: กลืนยาสีฟันเสี่ยงสมองเสื่อม จริงหรือ?

22 เมษายน 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประโยชน์ของฟลูออไรด์ต่อสุขภาพฟันเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐฯ โดยอ้างว่ายาสีฟันผสมฟลูออไรด์ไม่ปลอดภัย เพราะมีคำเตือนให้ระวังการใช้สำหรับเด็ก ส่วนขนาดที่ใช้สำหรับผู้ใหญ่ซึ่งมีปริมาณฟลูออไรด์ถึง 5,000 ppm เพิ่มความเสี่ยงโรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ โดยการทดลองพบว่า ฟลูออไรด์ปริมาณสูงทำให้หนูทดลองเสียชีวิตมาแล้ว บทสรุป : 1.ปริมาณฟลูออไรด์ที่เผลอกลืนจากการแปรงฟันในแต่ละวัน ไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ2.ยาสีฟันปริมาณฟลูออไรด์ 5000 ppm ใช้สำหรับผู้ป่วยฟันผุรากฟันเท่านั้น3.ไม่มีงานวิจัยเชื่อมโยงฟลูออไรด์กับอาการสมองเสื่อม FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ไม่มีงานวิจัยเชื่อมโยงฟลูออไรด์กับอาการสมองเสื่อม คริสตีน ทีล นักประสาทจิตวิทยา ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยยอร์ก ประเทศแคนาดา ยืนยันว่า ตั้งแต่ทำการศึกษาเกี่ยวกับฟลูออไรด์มาหลายปี ไม่พบว่าหลักฐานที่พบว่าการแปรงฟันหรือใช้น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ มีความเกี่ยวข้องกับอาการสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์แต่อย่างใด หน่วยงานสุขภาพช่องปากจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ก็ยืนยันเช่นกันว่า ไม่พบรายงานการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์อย่างถูกวิธี กับปัญหาทางสุขภาพเช่นกัน ส่วนการอ้างว่ามีหนูทดลองตายเพราะรับฟลูออไรด์ปริมาณสูง แท้จริงแล้วเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับหนูทดลองที่สัมผัสก๊าซไฮโดรเจนฟลูออไรด์ ไม่ใช่ฟลูออไรด์ที่ใช้เพื่อการทันตกรรม ยาสีฟันปริมาณฟลูออไรด์ 5000 ppm ใช้สำหรับผู้ป่วยฟันผุรากฟัน ส่วนการอ้างว่ายาสีฟันฟลูออไรด์สำหรับผู้ใหญ่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ฟลูออไรด์ในน้ำดื่มทำให้เด็กไอคิวต่ำ จริงหรือ?

21 เมษายน 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประโยชน์ของฟลูออไรด์ต่อสุขภาพฟันเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐฯ เมื่อ โรเบิร์ต เอฟ. เคนเนดี จูเนียร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐฯ เคยกล่าวถึงโทษของการเติมฟลูออไรด์ในน้ำดื่มของสหรัฐฯ ระหว่างการหาเสียงเมื่อปี 2024 โดยให้ความเห็นว่าฟลูออไรด์ในน้ำดื่มส่งผลเสียต่อพัฒนาการสมองของเยาวชน โดยอ้างคดีเมื่อเดือนกันยายน 2024 ที่สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ (EPA) ถูกตัดสินให้ปรับปรุงคำแนะนำเรื่องระดับปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม และงานวิจัยจากโครงการพิษวิทยาแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Toxicology Program – NTP) ที่เนื้อหาฉบับร่างที่เผยแพร่เมื่อเดือนสิงหาคม 2024 ระบุว่า ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่มระดับสูง ส่งผลต่อพัฒนาการสมองที่ลดลงในเยาวชน การต่อต้านฟลูออไรด์ในน้ำดื่มโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐฯ ส่งผลให้กระแสต่อต้านฟลูออไรด์ในน้ำดื่มถูกเผยแพร่ในวงกว้าง โดยล่าสุดผู้ว่าการรัฐยูทาห์เตรียมประกาศแบนการเติมฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม ส่งผลให้ยูทาห์อาจเป็นรัฐแรกในสหรัฐฯ ที่มีนโยบายแบนฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม บทสรุป : 1.การเติมฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม ทำให้ได้รับฟลูออไรด์ในรูปแบบ Systemic Fluoride เสริมจากการแปรงฟันซึ่งเป็นการรับฟลูออไรด์ในรูปแบบ Topical Fluoride2.แม้จะมีงานวิจัยพบว่าการน้ำดื่มที่มีฟลูออไรด์สูง ส่งผลต่อไอคิวของเด็ก แต่ไม่มีรายงานว่า การน้ำดื่มที่มีปริมาณฟลูออไรด์เหมาะสม […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ฝูงกิ้งกืออพยพจากใต้ดิน ระวังเกิดแผ่นดินไหว จริงหรือ?

19 เมษายน 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวิธีบอกเหตุแผ่นดินไหวล่วงหน้าเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีการแชร์คลิปวิดีโอฝูงกิ้งกืออพยพจากใต้ดินในไต้หวัน โดยอ้างว่าเป็นสัญญาณเตือนเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ บทสรุป : 1.ฝูงกิ้งกืออพยพจากใต้ดินจากความชื้น ไม่ใช่ลางบอกเหตุแผ่นดินไหว2.ข้อมูลปัจจุบันไม่พบว่าสัญชาตญาณของสัตว์รับรู้การเกิดแผ่นดินไหว FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ชูหมิงชุง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยเนชันแนลไต้หวัน ชี้แจงว่า กิ้งกือในธรรมชาติมีหลายประเภท แต่ละชนิดมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป สาเหตุที่ฝูงกิ้งกืออพยพจากใต้ดินจำนวนมาก อาจเป็นเพราะอยู่ในช่วงผสมพันธุ์หรือเนื่องจากฝนตกหนัก เนื่องจากกิ้งกืออาศัยอยู่ในโพรงของหน้าดิน เมื่อฝนตกหนักจนน้ำท่วมหน้าดิน กิ้งกือที่ไม่มีอากาศหายใจจึงต้องอพยพมาอยู่ยังพื้นดิน เช่นเดียวกับศูนย์เฝ้าระวังเหตุแผ่นดินไหวของไต้หวัน ที่ยืนยันว่าพฤติกรรมของกิ้งกือในคลิปน่าจะมีปัจจัยจากความชื้นและอุณหภูมิในบรรยากาศ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุแผ่นดินไหว พฤติกรรมของสัตว์ไม่ใช่สิ่งบอกเหตุแผ่นดินไหว สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS) อธิบายว่า ความเชื่อเรื่องพฤติกรรมของสัตว์คือสัญญาณบอกเหตุแผ่นดินไหว ถูกบันทึกเอาไว้ตั้งแต่ 373 ปีก่อนคริสตกาลโดยชาวกรีกโบราณ ที่พบว่าสัตว์ที่อยู่ตามพื้นดิน เช่น หนู วีเซิล งู และตะขาบ จะออกมาจากรังเพื่อหาที่ปลอดภัยก่อนเหตุแผ่นดินไหว มีหลักฐานบันทึกว่า ปลา นก […]

ชัวร์ก่อนแชร์: แม่เหล็กเสื่อมสภาพ สัญญาณเตือนแผ่นดินไหว จริงหรือ?

18 เมษายน 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวิธีบอกเหตุแผ่นดินไหวล่วงหน้าเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในไต้หวัน โดยอ้างว่าแม่เหล็กสามารถพยากรณ์การมาถึงของเหตุแผ่นดินไหวล่วงหน้าได้ เพราะแผ่นดินไหวจะทำให้สนามแม่เหล็กโลกปั่นป่วน โดยแนะนำให้แขวนแม่เหล็กไว้บนราวแขวน แล้วให้แม่เหล็กดูดกับวัตถุที่เป็นเหล็ก หากแม่เหล็กเสื่อมสภาพจนวัตถุที่เป็นเหล็กตกลงมาจากราว แสดงว่ากำลังจะเกิดเหตุแผ่นดินไหวเร็ว ๆ นี้ บทสรุป : 1.แผ่นดินไหวไม่ทำให้แม่เหล็กเสื่อมสภาพ2.การนำแม่เหล็กไปแขวนเพื่อดูดกับวัตถุที่เป็นเหล็ก นอกจากไม่ช่วยทำนายเหตุแผ่นดินไหว ยังเป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยในบ้าน FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ศูนย์เฝ้าระวังเหตุแผ่นดินไหวของไต้หวัน ออกมาปฏิเสธพร้อมยืนยันว่า เหตุแผ่นดินไหวไม่ทำให้แม่เหล็กเสื่อมสภาพ ผลกระทบต่อสนามแม่เหล็กโลกจากแผ่นดินไหวอาจเกิดได้เพียงเล็กน้อย หย่านฮงหยวน ศาสตราจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์โลก มหาวิทยาลัยเนชันแนลเซ็นทรัล ของไต้หวัน อธิบายว่า สนามแม่เหล็กโลกทอดยาวตั้งแต่ขั้วโลกเหนือจรดขั้วโลกใต้ การเกิดแผ่นดินไหวของพื้นโลกเพียงจุดเดียว ไม่มีพลังงานมากพอจะเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กโลก หรือทำให้แม่เหล็กเสื่อมสภาพในทันที เฉินเวิ่นชาน ศาสตราจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเนชันแนลไต้หวัน ชี้แจงว่า จุดกำเนิดแผ่นดินไหวยังจะอยู่ลึกจากเปลือกโลกลงไปแค่ 10 กิโลเมตร แต่สนามแม่เหล็กโลกเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในส่วนของเนื้อโลกและแกนโลก แผ่นดินไหวบนเปลือกโลกไม่มีพลังมากพอจะเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กโลกได้ ผู้เชี่ยวชาญยังเตือนว่า การนำแม่เหล็กไปแขวนเพื่อดูดกับวัตถุที่เป็นเหล็ก นอกจากไม่ช่วยทำนายเหตุแผ่นดินไหว […]

1 2 3 39