ตามที่มีการแชร์ข้อความว่าเด็กที่ติดจอมีความเสี่ยงที่เป็นออสทิสติกได้นั้น
บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบข้อมูลกับ ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
ศ.นพ.วีระศักดิ์ กล่าวว่าจากข้อมูลงานวิจัยในประเทศและต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา พบว่าเด็กที่ใช้สื่อหน้าจอเยอะ เร็ว มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมคล้ายออทิสติก และในขณะเดียวกันเด็กที่เป็นออทิสติกมีความสัมพันธ์กับการใช้สื่อหน้าจอเหล่านี้เพิ่มขึ้น
ออทิสติก เป็นโรคเกี่ยวกับทางระบบประสาทและพัฒนาการ จะค่อยๆ ปรากฎอาการให้เห็นในภายหลัง มีอาการหลายอย่าง เช่น เด็กจะอยู่ในโลกส่วนตัว ไม่มองหน้าหรือสบตา เรียกชื่อแล้วไม่หัน พูดสื่อสารล่าช้า มีภาษาของตัวเอง มีพฤติกรรมซ้ำๆ หากเป็นมากจะมีกรณีทำร้ายตัวเองร่วมด้วย
ในปัจจุบันการวินิจฉัยว่าเป็นโรคออทิสติกของเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบเป็นเรื่องยาก เพราะยังไม่มีอาการปรากฎให้เห็นชัดเจน ส่วนใหญ่พ่อแม่หรือผู้ปกครองจะพาเด็กมาพบแพทย์ในช่วงอายุ 1-4 ขวบ
ในเด็กกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นออทิสติกอยู่แล้ว เมื่อถูกเลี้ยงดูด้วยสื่อหน้าจอเหล่านี้เยอะ อาจจะเปิดทิ้งไว้โดยที่เด็กจะดูหรือไม่ดูก็ตาม การเลี้ยงด้วยพฤติกรรมแบบนี้มีโอกาสเป็นตัวเร่งให้เกิดความเสี่ยงเป็นออทิสติกมากขึ้น
เด็กกลุ่มอาการเสมือนออทิสติก (ออทิสติกเทียม) ที่มีอาการติดหน้าจอ เมื่อมีการลดหรือปิดสื่อหน้าจอ และได้รับการฝึกฝนจากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง พบว่า หลายเคสมีอาการดีขึ้น เด็กที่อยู่ในโลกส่วนตัวกลับมาสนใจผู้ปกครองมากขึ้น
คุณหมอให้คำแนะนำว่าเด็กในวัยก่อน 3 ขวบ พ่อแม่หรือผู้ปกครอง ควรมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับลูกผ่านการเล่น การเล่านิทาน การร้องเพลงต่าง ๆ ตามวัยของเด็ด พยายามให้ลูกดูโทรศัพท์มือถือให้น้อยลงหรือไม่ดูเลยจะดีที่สุดสำหรับเด็ก
ดังนั้น ผู้ปกครองก่อน 3 ขวบ พยายามเลี้ยงลูกให้มีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับพ่อแม่ ผู้ปกครองผ่านการเล่น เล่านิทาน ร้องเพลงต่างๆ ตามวัยของเด็ก พยามให้ลูกดูมือถือให้น้อยลง หรือไม่ดูเลยจะดีที่สุด
สัมภาษณ์เมื่อ : 26 ธันวาคม 2565
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์
เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter