เมียนมาพยายามเปลี่ยนตัวทูตประจำ ยูเอ็น อีกครั้ง

รัฐบาลทหารเมียนมา พยายามหาทางเปลี่ยนตัวทูตประจำสหประชาชาติอีกครั้ง หลังจากที่แสดงตัวต่อต้านการที่กองทัพก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งของนางอองซาน ซูจี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ตำรวจเฮติยิงปะทะกลุ่มมือปืนที่ลอบสังหาร ปธน.

กองกำลังความมั่นคงของเฮติยิงปะทะกับกลุ่มมือปืนผู้ก่อเหตุลอบสังหารประธานาธิบดีโฌเวแนล โมอิส ผู้นำเฮติ วัย 53 ปี ที่บ้านพักของเขาในวันพุธ

ธุรกิจอาหารวางแนวทางพัฒนาระบบอาหารยั่งยืน

กรุงเทพฯ 6 ก.ค.-กลุ่มธุรกิจอาหารเสวนาวางแนวทางและข้อเสนอการพัฒนาระบบอาหารอย่างยั่งยืนรองรับการประชุม UN Food Systems Summit 2021เดือนกันยายนนี้ ในงานเสวนาในหัวข้อระบบอาหารที่ยั่งยืนของผู้บริหารและพนักงานในเครือเจริญโภคภัณฑ์เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การประชุมสุดยอดสหประชาชาติ UN Food Systems Summit 2021 ที่จะจัดขึ้นในเดือนกันยายนนี้ รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องระบบอาหาร นายนพปฎล เดชอุดม ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ในการเสวนา มีการเสนอแนวทางพัฒนาระบบอาหาร เช่น การพัฒนานวัตกรรมร่วมกับเกษตรกรรายย่อยและ SME ในการผลิตอาหารที่ปลอดภัยและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ การใช้ฐานข้อมูลและระบบ GIS เพื่อตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูกไม่ให้รุกล้ำพื้นที่ป่าและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ การให้บริการทางการเงินแก่เกษตรกรรายย่อย การเสนอให้ภาครัฐออกนโยบายจูงใจผู้ประกอบการมุ่งสู่การบริหารจัดการขยะอาหารเป็นศูนย์ เช่นมาตรการจูงใจทางภาษีและความช่วยเหลือเชิงเทคนิค ทั้งนี้ เป้าหมายของการประชุม UN Food Systems Summit 2021 เน้นการพัฒนาแผนงานไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี ค.ศ. 2030 ศึกษาและร่วมกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาในระบบอาหาร เรียกร้องให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้บริโภค ร่วมมือกันเพื่อขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลง รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ และกระตุ้นให้เกิดการหารือกันในเวทีสาธารณะ ในประเด็นการพัฒนาระบบอาหารให้เกิดความยั่งยืนต่อธรรมชาติและมนุษย์-สำนักข่าวไทย

แนะขึ้นบัญชี “เกรต แบร์ริเออร์ รีฟ” อยู่ในภาวะอันตราย

องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก แนะนำว่า ควรขึ้นบัญชี “เกรต แบร์ริเออร์ รีฟ” ของออสเตรเลียเป็นมรดกโลกที่อยู่ในภาวะอันตราย ขณะที่ออสเตรเลียแย้งด้วยความไม่พอใจว่า คำแนะนำดังกล่าวเป็นการโจมตีแบบไม่ทันตั้งตัว พร้อมระบุว่า เป็นการแทรกแซงทางการเมือง

ยูเอ็นเรียกร้องให้ระงับการส่งอาวุธให้เมียนมา

สมัชชาใหญ่ขององค์การสหประชาชาติเรียกร้องเมื่อวานนี้ ให้หยุดการจัดส่งอาวุธไปยังเมียนมาและเรียกร้องให้กองทัพเมียนมาเคารพผลการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วและปล่อยตัวผู้ที่ถูกคุมขังทางการเมือง รวมถึงนางอองซาน ซูจี ผู้นำรัฐบาลพลเรือนที่ถูกกองทัพยึดอำนาจ

เผยรัฐกะยาในเมียนมาอาจมีผู้เสียชีวิตมากจากเหตุขัดแย้ง

ย่างกุ้ง 9 มิ.ย. – ผู้ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ หรือยูเอ็น กล่าวเตือนวันนี้ว่า ชาวเมียนมาในรัฐกะยาทางตะวันออกของเมียนมาและมีพื้นที่ติดชายแดนไทยอาจเสียชีวิตเป็นจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนับตั้งแต่เกิดเหตุรัฐประหาร ขณะที่ประชาชนกว่า 100,000 คนพากันทิ้งบ้านเรือนเพื่อหนีความขัดแย้งที่เกิดขึ้น นายโทมัส แอนดรูวส์ ผู้เสนอรายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนในเมียนมาของยูเอ็น ระบุในแถลงการณ์ว่า การโจมตีที่โหดร้ายตามอำเภอใจของรัฐบาลทหารเมียนมากำลังคุกคามชีวิตชาวเมียนมาและเด็ก ๆ หลายแสนคนในรัฐกะยา รัฐดังกล่าวอาจมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากจากความอดอยาก โรคภัยไข้เจ็บ และการติดเชื้อโรคอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนับตั้งแต่เกิดเหตุรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ หากยังขาดการดำเนินการแก้ไขในทันที ในขณะเดียวกัน นักเคลื่อนไหวหญิงไม่เผยนามในรัฐกะยาระบุว่า ขณะนี้ไม่อาจเข้าถึงผู้พลัดถิ่นจำนวนมากได้ ซึ่งรวมถึงในพื้นที่เมืองเดโมโซที่อยู่ห่างจากนครลอยกอ ซึ่งเป็นเมืองเอกของรัฐกะยา ราว 15 กิโลเมตร ชาวบ้านบางคนในพื้นที่ทางตะวันออกของเมืองเดโมโซต้องกินน้ำข้าวต้มเพื่อประทังชีวิต เนื่องจากเธอส่งข้าวสารไปให้พวกเขาไม่ได้ ทั้งยังระบุเพิ่มเติมว่า เจ้าหน้าที่กองทัพเมียนมาได้จับกุมชาวเมียนมา 3 คนที่พยายามส่งความช่วยเหลือไปยังเมืองดังกล่าวในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ทางการเมียนมายังตัดไฟฟ้าในหลายพื้นที่ รวมถึงอาหาร วัสดุก่อสร้างที่พักพิง และน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง พร้อมทั้งเรียกร้องให้นานาชาติยื่นมือเข้าช่วยเหลือโดยด่วน อย่างไรก็ดี โฆษกของรัฐบาลทหารยังไม่ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว.-สำนักข่าวไทย

ญี่ปุ่นจะบริจาคเงินเพิ่มเติมและวัคซีนโควิดให้โคแวกซ์

หนังสือพิมพ์ไมนิจิ ของญี่ปุ่นรายงานวันนี้ว่า นายกรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ ซูงะ กำลังวางแผนที่ประประกาศให้คำมั่นว่า ญี่ปุ่นจะบริจาคเงินเพิ่มเติมให้แก่โครงการโคแวกซ์ ขององค์การอนามัยโลกอีก 800 ล้านดอลลาร์

อาเซียนต้องการปรับถ้อยคำในร่างมติยูเอ็นเรื่องเมียนมา

สมาชิก 9 ประเทศจาก 10 ประเทศของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน เสนอให้ปรับถ้อยคำลดความรุนแรงลงในร่างมติของสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติเกี่ยวกับเมียนมา ซึ่งรวมถึงการห้ามขายหรือจัดส่งอาวุธให้กับเมียนมา เพื่อให้ได้รับเสียงสนับสนุนอย่างเป็นเอกฉันท์จากสมาชิกสหประชาชาติทั้ง 193 ประเทศ

ยูเอ็นจะพิจารณาญัตติคว่ำบาตรอาวุธเมียนมา

นิวยอร์ก 17 พ.ค.- สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) เตรียมพิจารณาญัตติไม่มีผลผูกพันที่เรียกร้องให้ระงับทันทีการจัดส่งอาวุธให้แก่รัฐบาลทหารเมียนมา เจ้าหน้าที่ยูเอ็นเผยว่า ที่ประชุมเต็มคณะจะพิจารณาในเวลา 19:00 น.วันอังคารตามเวลามาตรฐานสากล ตรงกับเวลา 02:00 น.วันพุธตามเวลาในไทย หากไม่ได้รับความเห็นชอบด้วยเสียงเอกฉันท์ สมาชิกสมัชชายูเอ็น 193 ประเทศจะลงมติต่อไป มติของสมัชชาใหญ่ยูเอ็นแม้ไม่มีผลผูกพัน แต่เป็นการแสดงนัยยะทางการเมืองอย่างสำคัญ ญัตติดังกล่าวเสนอโดยลิกเตนสไตน์ ประเทศในยุโรปกลาง ได้รับการสนับสนุนจาก 48 ประเทศ ในจำนวนนี้มีเอเชียเพียงประเทศเดียวคือเกาหลีใต้  ผ่านการเจรจาต่อรองมาหลายสัปดาห์จนกระทั่งได้ญัตติเรียกร้องให้ระงับทันทีการจัดส่ง จำหน่าย หรือลำเลียงอาวุธ เครื่องกระสุน และอุปกรณ์ทางทหารทุกอย่างให้เมียนมา เรียกร้องให้เมียนมายุติการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ยุติทันทีการใช้ความรุนแรงทั้งหมดต่อผู้เดินขบวนอย่างสันติ ปล่อยตัวโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไขทั้งประธานาธิบดีวิน มินต์ นางออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ และทุกคนที่ถูกควบคุมตัว ตั้งข้อหา หรือจับกุมตามอำเภอใจตั้งแต่การรัฐประหารวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ญัตติยังเรียกร้องให้เมียนมาเร่งปฏิบัติทันทีตามมติเอกฉันท์ 5 ประการที่ผู้นำ 10 ชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนตกลงไว้เมื่อวันที่ 24 เมษายน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ทูตพิเศษยูเอ็นเรื่องเมียนมาเดินทางไปตรวจสอบ และเพื่อเปิดทางให้แก่การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างปลอดภัย.-สำนักข่าวไทย

ยูเอ็นชี้ชาวเมียนมาประสบปัญหาอดอยากมากขึ้น

นิวยอร์ก 22 เม.ย. – องค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ระบุว่า เมียนมากำลังเผชิญกับปัญหาความมั่นคงทางอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเหตุรัฐประหารและวิกฤตการณ์การเงินที่รุนแรง ซึ่งอาจทำให้ชาวเมียนมาหลายล้านคนประสบปัญหาอดอยากในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า รายงานของโครงการอาหารโลก (WFP) ของยูเอ็นระบุว่า ชาวเมียนมาราว 3.4 ล้านคนจะต้องดิ้นรนเพื่อให้มีอาหารรับประทานในอีก 3 – 6 เดือนข้างหน้า และชาวเมียนมาที่อยู่ในเขตเมืองจะได้รับผลกระทบหนักสุด เนื่องจากปัญหาตกงานที่เพิ่มขึ้นในภาคการผลิต การก่อสร้าง และบริการต่าง ๆ รวมถึงราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น รายงานดังกล่าวยังระบุว่า ราคาข้าวและน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหารตามท้องตลาดในเมียนมาเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 5 และร้อยละ 18 ตามลำดับนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ และมีสัญญาณบ่งชี้ว่าครัวเรือนในนครย่างกุ้ง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าของเมียนมา กำลังอดอาหารบางมื้อ กินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อยลง และมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ โครงการอาหารโลกได้วางแผนขยายการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า เพื่อช่วยเหลือชาวเมียนมาราว 3.3 ล้านคน และขอระดมเงินบริจาคราว 106 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (3,300 ล้านบาท) นายสตีเฟน แอนเดอร์สัน ผู้อำนวยการโครงการอาหารโลกประจำเมียนมาระบุในแถลงการณ์ว่า ผู้คนที่ยากจนในเมียนมากำลังตกงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และไม่อาจหาซื้ออาหารได้ […]

สหประชาชาติ เตือนเมียนมา เสี่ยงเกิดสงครามกลางเมือง

ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษชนสหประชาชาติ เตือนเมียนมา เสี่ยงเกิดสงครามกลางเมืองเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในซีเรีย เรียกร้องนานาชาติช่วยยุติการเข่นฆ่าประชาชน

1 9 10 11 12 13 37
...