ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดสรรพคุณมะกรูด จริงหรือ ?

19 เมษายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์เกี่ยวกับสรรพคุณมะกรูดเอาไว้มากมาย เช่น ชามะกรูดช่วยแก้ความดันสูง และยังช่วยรักษาริดสีดวงทวารอีกด้วย เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ดื่มชาใบมะกรูดลดความดัน จริงหรือ ? ตรวจสอบข้อมูลกับ : ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “หากร่างกายได้รับวิตามินซีและฟลาโวนอยด์ในใบมะกรูดมากเกินไป อาจทำให้เกิดพิษสะสมอยู่ในร่างกายได้ ดังนั้นสูตรที่ชี้ให้กินใบมะกรูดจำนวนมากจึงไม่ควรทำตาม” อันดับที่ 2 : มะกรูดรักษาริดสีดวงทวารได้ จริงหรือ ? ตรวจสอบข้อมูลกับ : พ.ต.อ.ณัฎฐพงษ์ กุลสิทธิจินดา นายแพทย์ สบ 5 หัวหน้ากลุ่มงานศัลยกรรม รพ.ตำรวจ, รศ.ดร.ภญ.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ ที่ปรึกษาสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล […]

เตือนภัย ! หลอกสมัครงาน อ้าง “แค่นอนก็ได้เงิน” ลวงเข้ากลุ่มลงทุน พาสูญเงิน | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

วิธีหลอก : สร้างคลิปวิดีโอโฆษณาชวนเชื่อ เกี่ยวกับการรับสมัครผู้ทดสอบการนอนโรงแรมอุบาย : ให้ทดลองงานออนไลน์ และให้ค่าตอบแทนจริง แต่หลังจากนั้นจะหลอกให้เข้ากลุ่มผ่านแอปพลิเคชัน Telegram เพื่อทำภารกิจเสริม โดยต้องโอนเงินร่วมลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนท้ายที่สุดจะอ้างเหตุผลที่ไม่สามารถถอนเงินดังกล่าวกลับมาได้ช่องทาง : เผยแพร่โฆษณาทางแอปพลิเคชัน Facebook, TikTok หรือ Instagram ส่วนการหลอกลวงให้เสียเงินจะเกิดขึ้นทางแอปพลิเคชัน LINE และ Telegram ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย มิจฉาชีพสร้างโฆษณารับสมัครผู้ทดสอบการนอนโรงแรม หลอกแอดไลน์ อ้างเรื่องทดลองงาน ก่อนต้มซ้ำให้เข้ากลุ่ม Telagram ไปทำภารกิจเสริม พาสูญเงิน ด้านโฆษกแนะให้ระมัดระวังการหารายได้ในลักษณะนี้ พร้อมแนบ “แนวทางการป้องกันการถูกหลอกลวงหารายได้จากการทำกิจกรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์“ กรุงเทพฯ 20 เม.ย. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือ ตำรวจไซเบอร์ ออกประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีมิจฉาชีพสร้างคลิปวิดีโอโฆษณาชวนเชื่อ หลอกลวงให้เหยื่อทดลองงานในฐานะผู้ทดสอบการนอนโรงแรม นอกจากนี้ยังใช้อุบายกลุ่มภารกิจเสริมบนแอปพลิเคชันอื่น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คือ กลุ่มอันตราย หลอกให้โอนเงินลงทุน โดยท้ายที่สุดเหยื่อจะไม่สามารถถอนเงินดังกล่าวกลับมาได้ สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สารพัดสรรพคุณ “หัวหอมหั่นแช่เย็น” จริงหรือ ?

20 เมษายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ตามที่มีการแชร์เรื่องสรรพคุณของ “หัวหอมหั่นแช่เย็น” หลากหลายสรรพคุณนั้น บทสรุป ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบสืบหาต้นตอ พบว่า ข้อความดังกล่าวเคยมีการส่งต่อกันในภาษาจีนก่อนหน้านี้ โดยหน่วยงานตรวจสอบข้อเท็จจริง Taiwan Fact-Check Center ได้เคยนำเสนอรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงไว้แล้ว พบว่าประเด็นต่าง ๆ ที่อยู่ในบทความ ไม่มีหลักฐานที่หนักแน่นรองรับ รวมทั้งการวางหัวหอมหั่นไว้ในอุณหภูมิปกติเป็นเวลานาน จะทำให้หัวหอมเน่าและเป็นแหล่งเพาะแบคทีเรียได้ สามารถติดตามรายละเอียด (ภาษาจีน) ได้จากเว็บไซต์นี้ https://tfc-taiwan.org.tw/articles/5664 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบเพิ่มเติมกับ รศ.ดร.พานิช อินต๊ะ หัวหน้าหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ยืนยันว่า หัวหอมไม่สามารถทดแทนเครื่องฟอกอากาศได้ เนื่องจากไม่สามารถกำจัดฝุ่น หรือสร้างอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างแน่นอน สำหรับเนื้อหาฉบับเต็มและรายละเอียดในประเด็นต่าง ๆ ชัวร์ก่อนแชร์ จะนำเสนอต่อไป 19 เมษายน 2566ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ตัวอย่างข้อความที่แชร์กัน

ชัวร์ก่อนแชร์ : กินยาหอม ป้องกันฮีตสโตรกได้ จริงหรือ ?

20 เมษายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ตามที่มีการแชร์คลิปแนะนำการรับประทานยาหอม ป้องกันฮีตสโตรก นั้น บทสรุป : แชร์ได้ หากมีการอธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร อธิบายว่า ยาหอม เป็นสมุนไพรที่กินได้ มีสรรพคุณลดความร้อน จึงสามารถใช้เสริมได้ เมื่อมีอาการอันเนื่องจากอากาศร้อน อย่างไรก็ตาม ควรต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันที่สำคัญ เช่น ไม่ไปที่ร้อนจัด ไม่ทำงานกลางแดดจัดเป็นเวลานาน ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ เมื่อมีอาการรุนแรงหรืออาการมาก ควรเข้าสู่กระบวนการรักษาและช่วยเหลือตามระดับความรุนแรง โดยเฉพาะหากหมดสติ ห้ามให้ผู้ป่วยรับประทานสิ่งใด ๆ เด็ดขาด เพื่อป้องกันการสำลัก อย่างไรก็ตาม ยาหอมที่เลือกใช้ จะต้องเลือกประเภทที่มีส่วนผสมของพวกดอกไม้ ในบัญชียาหลักแห่งชาติจะมี ยาหอมเทพจิต กับ ยาหอมทิพโอสถ ใช้ได้ แต่ระวังกลุ่มผู้ที่แพ้ดอกไม้จะต้องระวัง นอกจากนั้น ระมัดระวังไม่ใช้ ยาหอมที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น ยาหอมอินทรจักร นวโกฐ ซึ่งหากกินเข้าไปแล้วร่างกายจะร้อนยิ่งขึ้น […]

“ศ.พญ.กุลกัญญา” แจงข้อสงสัยโควิด-19 XBB.1.16 แนะฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

19 เมษายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์และเสาวภาคย์ รัตนพงศ์ ตามที่มีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ XBB .1.16 อ้างว่ามาจาก ศ.พญ. กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ได้รับการยืนยันว่าเป็นเป็นข้อความที่เขียนจริง โดยเป็นการเขียนและส่งให้กับเพื่อนที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับไวรัสโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 และสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมากในขณะนี้ ข้อความที่แชร์กัน วันที่ 19 เมษายน 2566      ในช่วงสองวันที่ผ่านมานี้ได้รับ คำถามจากหลายหลายท่านเกี่ยวกับการระบาดของ โควิด-19 ที่กำลังเกิดขึ้น      -มันกลับมาใหม่แล้วใช่ไหม?      -สายพันธุ์ใหม่ XBB .1.16 น่ากลัวขึ้นไหม รุนแรงขึ้นกว่าเดิมไหม และดื้อยาแล้วหรือ?       -เราจะต้องฉีดวัคซีนอีกแล้วเหรอ? ฉีดมาแล้วตั้งหลายเข็ม      -ใช้วัคซีนแบบไหนรุ่นไหนดี?       -ควรฉีดเมื่อไหร่?      -วัคซีนจะป้องกันสายพันธุ์ใหม่ได้ไหม?      -ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB, Evusheld) ยังใช้ได้ผลอยู่หรือไม่?       จึงขอรวบรวมความสงสัยเหล่านี้มาตอบคำถาม ซึ่งคิดว่าน่าจะมีประโยชน์       -ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่าโรค โควิด-19 จะอยู่กับมนุษยชาติตลอดไป และ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้งผ่านเว็บไซต์ เช็กง่าย ตลอด 24 ชม.

19 เมษายน 2566ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้เปิดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ก่อนวันเลือกตั้งล่วงหน้า (7 พฤษภาคม 2566) และวันเลือกตั้งทั่วไป (14 พฤษภาคม 2566) ผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ 2 ขั้นตอนตรวจสอบสิทธิเลือกตั้งผ่านเว็บไซต์ ขั้นตอน 1 : เข้าสู่เว็บไซต์ สำนักบริหารการทะเบียน ขั้นตอน 2 : กรอกเลขบัตรประชาชนและกดปุ่มตรวจสอบ ระบบจะแสดงข้อมูลรายชื่อ วันที่เลือกตั้ง จังหวัด เขตที่มีสิทธิ รวมถึงสถานที่ใช้สิทธิเลือกตั้ง  หากไม่พบรายชื่อประชาชนสามารถยื่นคำร้องแจ้งเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ ต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1444

ชัวร์ก่อนแชร์: ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ทำให้ตับอักเสบ จริงหรือ?

ไวรัสโควิด-19 มีผลในการทำลายปอดเท่านั้น แต่ความเสียหายของปอดอาจส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในอื่นๆ เช่นตับ ไต และหัวใจ

ชัวร์ก่อนแชร์ : ผู้ป่วย 5 โรค ห้ามดื่มน้ำดอกอัญชัน จริงหรือ ?

การกินดอกอัญชันยังมีความปลอดภัยหากกินในรูปแบบของอาหาร เช่น การนำดอกอัญชันไปทำเครื่องดื่ม, ยำดอกอัญชัน

ข้อควรระวัง‼️ ไม่ควรกินดอกอัญชันติดต่อกันเป็นเวลานาน และไม่ควรกินดอกอันชันเพื่อไปทดแทนยาแผนปัจจุบันเพราะอาจทำให้เกิดอันตราย

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนภัยร้อน 40-50 องศา อย่าดื่ม-อย่าอาบน้ำเย็นทันที จริงหรือ ?

ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ตามที่มีการแชร์เตือนให้เตรียมรับมือกับอุณหภูมิ 40-50 องศา โดยเลี่ยงน้ำเย็นน้ำแข็ง เพราะจะทำให้เส้นเลือดปริแตก นั้น บทสรุป ⚠️ จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พ.อ.นพ.วิริสสร วงศ์ศรีชนาลัย อายุรแพทย์ โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อธิบายว่า เมื่ออากาศร้อน อุณหภูมิสูงขึ้น ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างไรก็ตาม การดื่มน้ำเย็นจัดในปริมาณมากคราวเดียวอาจส่งผลต่อร่างกายได้เช่นกัน เนื่องจากเป็นกลไกการปรับตัวของร่างกายเพื่อรับกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว “แต่ถามว่า จะถึงขั้นที่เส้นเลือดจะตีบขณะที่เป็นสโตรกไหม หรือว่า ที่บอกว่า เอาเท้าแช่น้ำ แล้วตาบอดนั้น ลักษณะนี้เกิดได้จริง แต่ว่าเกิดได้น้อย แต่มักเกิดกับคนไข้ที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดอยู่แล้ว เช่น คนที่มีหินปูนเกาะที่หลอดเลือด มีพวกเส้นเลือดสมองตีบบางส่วนอยู่แล้ว แล้วพอมันหดตัวลง การไหลของเลือดมันก็น้อยลง หรือกระทั่งที่ลูกตาก็เช่นกัน เส้นเลือดที่เลี้ยงลูกตา เล็กนิดเดียว พอหดตัวก็เกิด ตาบอดชั่วคราวได้ พอเส้นเลือดคลายตัวก็หาย ส่วนเรื่องเส้นเลือดแตก ก็เป็นกลไกตรงกันข้ามกัน เมื่อหดแล้วเกิดการคลายตัว ทำให้เส้นเลือดที่เปราะอยู่แล้ว เกิดการปริแตกง่ายเช่นกัน” พ.อ.นพ.วิริสสร […]

ชัวร์ก่อนแชร์: โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ระบาดในจีน ทำให้ปอดกลายเป็นสีขาว จริงหรือ?

ฝ้าจางชนิด GGO ที่ปอด สามารถเกิดได้จากการติดเชื้อชนิดต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นโควิด-19 เสมอไป

1 50 51 52 53 54 202
...