ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 ข้อควรปฏิบัติ แก้นอนกรนด้วยตนเอง จริงหรือ ?
แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม สามารถใช้วิธีนี้ได้ในเบื้องต้น แต่ควรพบแพทย์เพื่อประเมินอาการและรักษาอย่างเหมาะสม
แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม สามารถใช้วิธีนี้ได้ในเบื้องต้น แต่ควรพบแพทย์เพื่อประเมินอาการและรักษาอย่างเหมาะสม
วิธีหลอก : สร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมอุบาย : คัดเลือกรูปภาพ คุณสมบัติเครื่องฟอกอากาศจากเว็บไซต์จริง ตั้งราคาต่ำกว่าท้องตลาด และยิงโฆษณา เพื่อให้ประชาชนเห็นมากขึ้น รวมถึงใช้บัญชีหน้าม้ารีวิวสินค้า เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือช่องทาง : เพจเฟซบุ๊ก ตำรวจไซเบอร์เตือนระวังถูกหลอกขายเครื่องฟอกอากาศผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ในช่วงสถานการณ์หมอกควัน และฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพฯ 4 เม.ย. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ประชาสัมพันธ์เตือนภัยประชาชน กรณีมิจฉาชีพหลอกลวงขายสินค้าเครื่องฟอกอากาศผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ พบว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีประชาชนตกเป็นเหยื่อจากการถูกหลอกลวงขายสินค้าออนไลน์กว่า 1,500 ราย มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 13 ล้านบาท เฉลี่ยได้รับความเสียหายประมาณ 8,600 บาทต่อราย ตัวอย่างสินค้าที่มักถูกหลอกลวง ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ ผลไม้ บัตรคอนเสิร์ต รถจักรยานยนต์มือสอง เสื้อผ้า และปลาแซลมอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์ปัญหาหมอกควัน และฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีมิจฉาชีพฉวยโอกาสสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมหลอกลวงประชาชนขายเครื่องฟอกอากาศยี่ห้อต่าง ๆ ประกอบกับมีการยิงโฆษณา […]
SPYWARE เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นสำหรับสังเกตพฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต และดักจับข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อนำไปหาผลประโยชน์โดยที่ผู้ใช้งานอาจไม่รู้ตัว ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหานี้เราควรระมัดระวังการใช้อินเทอร์เน็ตทุกครั้ง ไม่กดลิงก์ ไม่ดาวน์โหลด หรือติดตั้งแอปพลิเคชัน จากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
งานวิจัยพบว่าวัคซีนโควิด-19 สูตร 2 สายพันธุ์ป้องกันการติดเชื้อได้เพียง 30% แต่ไม่ได้ระบุว่าวัคซีนทำให้เสี่ยงติดเชื้อมากขึ้น เป็นผลวิจัยที่ทดลองกับบุคลากรทางการแพทย์ ไม่อาจใช้อ้างอิงกับประชากรทั่วไปได้
วิธีหลอก : แอบอ้างชื่อของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.)อุบาย : ใช้เพจและบัญชีไลน์ปลอม หลอกให้ส่งข้อมูลสำคัญช่องทาง : Facebook, LINE, โทรศัพท์มือถือ ตร.ไซเบอร์เตือนภัย มิจฉาชีพปลอมเพจเฟซบุ๊กของหน่วยงาน แอบอ้างเป็นจนท. ช่วยเหลือประชาชน ลวงให้เพิ่มไอดีไลน์ ฉวยข้อมูลไปใช้ ด้าน ‘โฆษก’ แนะเพิ่ม “อย่าหลงเชื่อเพียงเพราะมีเพจ หรือใช้สัญลักษณ์” พร้อมแนบวิธีการหลีกเลี่ยงการเข้าสู่เว็บฯ และเพจปลอมของหน่วยงาน กรุงเทพฯ 3 เม.ย. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือ ตำรวจไซเบอร์ ออกประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีมิจฉาชีพปลอมเพจเฟซบุ๊กของหน่วยงาน หลอกลวงให้เพิ่มไอดีไลน์และนำข้อมูลสำคัญของเหยื่อไป เพื่อใช้ก่อเหตุสร้างความเสียหาย และแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ สร้างเพจปลอม แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ บช.สอท. ได้รับรายงานจาก กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) ว่าตรวจสอบพบเพจปลอมชื่อ “สืบสวน สอบสวน การป้องกัน และปราบปรามการกระทำผิดทางเทคโนโลยี” สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 […]
29 มีนาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์เกี่ยวกับสารพัดพิษของเครื่องดื่มเอาไว้มากมาย หลายคนก็ว่าห้ามนำน้ำกรองมาต้มรับประทานจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย, ห้ามรับประทานหรืออาบน้ำเย็น จะทำให้เส้นเลือดในสมองแตก เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ภัยเงียบน้ำ RO เสี่ยงโรคร้ายแรง จริงหรือ ? มีการแชร์เตือนภัยเงียบน้ำ Reverse Osmosis (RO) ทำให้ร่างกายเสียสมดุล และเสี่ยงโรคร้ายแรง ตรวจสอบข้อมูลกับ : ดร.นัฐพล ตั้งสุภูมิ อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ “น้ำดื่มระบบ Reverse osmosis (RO) สามารถรับประทานได้ และถึงแม้ไม่เป็นอันตรายก็ยังต้องระวังเรื่องความสะอาดของเครื่องกรอง ควรสะอาดและได้มาตรฐาน” อันดับที่ 2 : ดื่มน้ำเย็นทำให้ไขมันจับตัวเป็นก้อน จริงหรือ ? มีการแชร์คลิปเตือนว่า ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารพร้อมน้ำเย็น เพราะจะทำให้ไขมันจับตัวเป็นก้อน อุดตันร่างกายได้ ตรวจสอบข้อมูลกับ […]
28 มีนาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์ข้อดี ข้อเสีย ของการปรับแต่งเครื่องยนต์ใหม่ หรือที่คนไทยเรียกว่า “การรีแมพโปรแกรมรถยนต์” เช่น เมื่อรีแมพแล้วจะทำให้รถยนต์แรงขึ้นแต่ประกันจะหมด หรือ จะช่วยทำให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลกับคุณสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ การรีแมพ คืออะไร ? รีแมพ (Remap) คือ การปรับจูนค่าระบบต่างๆ ในกล่อง ECU (Electronic Control Unit) เพื่อทำให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพดีขึ้น ทำให้ออกตัวดีขึ้น รถแรงขึ้น จริงหรือ ? การรีแมพโปรแกรมรถยนต์ทำให้รถเร็วแรงขึ้นได้จริง ซึ่งการตอบสนองจุดนี้จะมากน้อยก็จะเป็นไปตามพื้นฐานของรถแต่ละคัน เช่น รถที่มีระบบอัดอากาศจะสามารถเพิ่มกำลังเครื่องยนต์ เพราะรถที่มีระบบอัดอากาศ สามารถตั้งค่าปริมาณอากาศที่อัดเข้าไปในกระบอกสูบได้มากขึ้นด้วยการเพิ่มปริมาณอากาศนั่นเอง ทำให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้น จริงหรือ ? เรื่องความประหยัดอาจแตกต่างกันไม่มากนัก แต่พอจับความรู้สึกได้ เช่น เคยใช้คันเร่ง 5% เท่ากันแต่ตอบสนองเร็วขึ้น การเร่งแซงใช้เวลาสั้นลง เมื่อไม่ต้องแช่คันเร่งยาวในการเร่งแซง […]
CyberAlert!🚨 โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ “ต้องขอบคุณ คุณแฮกเกอร์ ที่ให้เกียรติผมเป็นคนแรก” อ.ปริญญาเผยหลังข้อมูลถูกขึงสู่สาธารณะ โดนสายโทรเข้ากระหน่ำ ซ้ำโดนยิง SMS ด้วยบอต แนะแฮกเกอร์หันมาพูดคุย นำทักษะความเชี่ยวชาญที่มีกลับมาปกป้องคนไทยด้วยกัน ขณะที่หน่วยงานทุกแห่งควรเรียนรู้จากบทเรียนนี้ และยกระดับความปลอดภัยข้อมูลประชาชน จากกรณีแฮกเกอร์สร้างเว็บไซต์ 9Near.org โดยระบุว่ามีข้อมูลส่วนตัวหลุดรั่วของคนไทย 55 ล้านคน และขีดเส้นตาย 5 เมษายน 2566 เวลา 16.00 น. ให้หน่วยงานที่คิดว่าเป็นผู้ดูแลข้อมูลนั้นติดต่อกลับ ซึ่งล่าสุดเว็บไซต์ดังกล่าวถูกปิดกั้นโดยกระทรวงดิจิทัลฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น พื้นที่ส่วนบนสุดของเว็บไซต์ แฮกเกอร์วางคลิปวิดีโอบทสัมภาษณ์ของ “อ.ปริญญา หอมเอนก” ซึ่งให้สัมภาษณ์กับสื่อแห่งหนึ่งเกี่ยวกับกรณีข้อมูลหลุด 55 ล้านคนดังกล่าว และด้านล่างวิดีโอยังมีข้อมูลส่วนบุคคล ทั้ง ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด หมายเลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่ และ เบอร์โทรศัพท์มือถือ ชัวร์ก่อนแชร์ LIVE สัมภาษณ์สด อ.ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน […]
ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ กรุงเทพฯ 2 เม.ย. 66 – เมื่อเวลา 12.23 น. วันที่ 2 เมษายน 2566 ตัวแทนแฮกเกอร์ 9Near ประกาศผ่านข้อความซึ่งส่งในกลุ่มสนทนาของแอป Telegram ชื่อ 9Near.Aunouncement ซึ่งมีสมาชิกติดตามกว่า 2,200 ราย และเป็นกลุ่มที่ไม่อนุญาตให้มีการส่งข้อความใด ๆ ผู้ใช้งานชื่อ Smit Near ซึ่งเป็นเจ้าของกลุ่ม ได้ส่งข้อความเข้าในกลุ่มดังกล่าว โดยมีเนื้อหาสำคัญ ประกาศข่าวดีว่า “OPERATION STOPPED” as our sponsor conflict. ซึ่งหมายถึงว่า การปฏิบัติการได้หยุดลงแล้ว เนื่องจากความขัดแย้งไม่ลงรอยกับ “สปอนเซอร์” ของเรา เนื้อความซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ ยังกล่าวถึงคนทั่วไปว่า พวกตนไม่ต้องการทำร้ายคุณทุกคน และเราไม่เห็นด้วยกับการปฏิบัติการทางการเมืองตามแผนการที่พวกเขาวางไว้ ซึ่งมันกำลังสกปรกยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น เราจึงไม่มีเหตุผลใด ๆ […]
บทความ โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ สืบเนื่องจากกระแสทั่วโลกที่ “ข่าวปลอม” “ข่าวลวง” ข้อมูลเท็จโหมกระหน่ำ และ ลามไปถึงการหลอกลวงในรูปแบบภัยไซเบอร์ ซึ่งไม่เพียงสร้างความความเข้าใจผิดทางสุขภาพ การเมือง กฎหมาย ข่าวสาร แต่ยังสร้างความเดือดร้อนถึงตัวตนและทรัพย์สินแก่ผู้คนมากมาย วันที่ 2 เมษายน 2566 จึงถูกกำหนดไว้ให้เป็น International Fact-Checking Day หรือ วันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล ซึ่งวัตถุประสงค์ของการกำหนดวันนี้ขึ้นมา ก็ตรงไปตรงมาตามชื่อ นั่นคือ วันที่จะร่วมกันรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือ Fact-Checking หรือถ้าแปลเป็นไทยง่าย ๆ คือ การตรวจสอบข่าวปลอม การจับข่าวลวง เราจึงได้ยินการเรียกขานวันนี้ว่า “วันตรวจสอบข่าวลวงโลก” หรือแม้แต่ “วันชัวร์ก่อนแชร์” วันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล นับเป็น “วันตั้งใหม่” เมื่อไม่นานมานี้ ข้อมูลของเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล (International Fact-Checking Network หรือ IFCN) บันทึกไว้ว่า วันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล หรือ IFCD ถูกกล่าวถึงในการประชุมเครือข่ายเมื่อปี […]
บทความ โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ถึงเวลาปัดฝุ่นฝีมือและวิจารณญาณกันอีกครั้ง เพื่อป้องกันภัยจากการหลอกลวงที่กำลังยกระดับไปอีกขั้น ในยุคที่ “คนร้าย” ร่วมมือกับ “เอไอ” เนื่องในวันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล 2 เมษายน 2566 “ชัวร์ก่อนแชร์” มีเทคนิคสั้นกระชับฉบับเข้าใจง่าย ทุกคนปฏิบัติได้มาฝากไว้ให้เป็นเคล็ดวิชาและวิธีคิดในการรับมือกับ ข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ และภัยไซเบอร์ ที่มีอยู่ดาษดื่น เมื่อ “ข่าวปลอม” หล่อหลอมกับ “เอไอ” กลายเป็น “ภัยไซเบอร์” ที่ลึกล้ำ ย้อนไปในช่วงเริ่มต้น ไม่กี่ปีก่อนที่โลกนี้จะรู้จัก “ข่าวปลอม” แบบที่เรารู้จักกันอยู่ เรื่องราวของข้อมูลเท็จและคำลวงหลอก ถูกเผยแพร่ในรูปแบบ “ข่าวลือ” หรือเรื่องที่ “เขาเล่าว่า” ส่งผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งปากต่อปาก ประชาคม หรือแม้กระทั่ง กระดานข่าว และ อีเมล แต่เมื่อเทคโนโลยีก้าวล้ำ ทำให้คนเชื่อมต่อพูดคุยกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แบ่งกลุ่มลับได้ไม่จำกัด และการสร้างเนื้อหาทั้งข่าว ภาพ คลิป เผยแพร่สู่วงกว้าง เป็นไปได้โดยง่ายและราคาถูก ปัญหาที่ดูเหมือนเล็ก จึงกลายเป็น […]
วิธีหลอก : ส่ง SMS ปลอมให้ลงทะเบียนรับสิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5อุบาย : แนบลิงก์ให้เพิ่มเพื่อนบัญชีไลน์ปลอม หลอกติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อดักเอาข้อมูลสำคัญช่องทาง : ข้อความสั้น (SMS), LINE, โทรศัพท์มือถือ ตร.ไซเบอร์ เตือนภัยมิจฉาชีพ ส่ง SMS ปลอม ให้ลงทะเบียนรับสิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ สร้างความน่าเชื่อถือ ก่อนส่งลิงก์ให้เหยื่อโหลดแอปฯ ปลอม หลอกให้ตั้งรหัสผ่าน 6 ตัวซ้ำหลายครั้ง จากนั้นขอสิทธิ์ควบคุมอุปกรณ์ หวังใช้รหัสผ่านเข้าแอปฯ ธนาคารหลอกโอนเงิน กรุงเทพฯ 1 เม.ย. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ประชาสัมพันธ์เตือนภัยกรณีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นหน่วยงานรัฐ ส่งข้อความสั้น (SMS) ไปยังประชาชน เพื่อหลอกลวงให้กดลิงก์ลงทะเบียนรับสิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 แนบลิงก์ SMS เพิ่มเพื่อนไลน์ปลอม อ้างเป็นเจ้าหน้าที่สร้างความน่าเชื่อถือตามที่ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์กรณีประชาชนหลายรายได้รับ SMS จากหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา แจ้งข้อความว่า “โครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 […]