ชัวร์ก่อนแชร์ : อาบน้ำด้วยสบู่เหลว ตายเร็ว จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เตือนว่า การอาบน้ำด้วยสบู่เหลวอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต และทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้น เพราะในสบู่เหลวมีสารอันตราย จริงหรือ ? บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ สารอันตรายที่มีการแชร์คือ SLS (Sodium Lauryl Sulfate) ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักในสบู่เหลว เพื่อให้เกิดฟอง มีการใช้ในปริมาณต่ำและสามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้เพียงเล็กน้อย จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย อย่างไรก็ตาม การใช้สบู่เหลวอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรืออาการแพ้ในบางราย ซึ่งอาจเกิดจาก SLS หรือน้ำหอมและสารเติมแต่งอื่น ๆ ที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่าข้อมูลเรื่อง “สบู่เหลวอันตราย มีสารเคมีซึมลงผิวหนัง ทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้น” เป็นข้อมูลที่มักถูกส่งต่อและเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ในลักษณะการเตือนภัยเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้เป็นส่วนประกอบของสบู่เหลว จากการสืบค้นย้อนหลัง พบว่าข้อความลักษณะนี้เคยถูกแชร์บนออนไลน์ ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2552 ผ่านทางอีเมลที่ส่งต่อกัน และต่อมามีการแชร์อย่างกว้างบนสื่อสังคมออนไลน์ และเป็นหนึ่งในประเด็นที่ทำให้หลายคนเกิดความกังวล จนมีการตั้งกระทู้สอบถามเพิ่มเติมในเว็บไซต์สนทนาอย่าง Pantip อีกด้วย ตรวจสอบข้อเท็จจริงผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.กิติยศ ยศสมบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้แจงว่า ความเข้าใจผิดนี้เกิดขึ้นจากการผลิตสบู่เหลวในอดีต […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง ! หลอกสแกนนิ้วมือ ดูดเงินหมดบัญชี จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความพร้อมรูป ระบุว่า ระวังมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ หลอกสแกนลายนิ้วมือ เพราะจะดูดข้อมูลส่วนตัวและเงินในบัญชีจนหมด นั้น ❌บทสรุป ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ -ปัจจุบันการวางนิ้วบนจอมือถือเพื่อวัดน้ำตาลในเลือด ไม่สามารถทำได้-ภาพที่แชร์กัน ไม่ใช่การสแกนลายนิ้วมือ เป็นเพียงการวางนิ้วบนรูปภาพปกติและการสแกนแล้วเงินหาย มีความเป็นไปได้จริงน้อยมาก เพราะก่อนจะโอนเงินออกไปได้ จะต้องผ่านหลายขั้นตอน เช่น การติดตั้งแอป การกรอกข้อมูล ฯลฯ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ภาพดังกล่าวเป็นโฆษณาบนเฟซบุ๊กให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน โดยอ้างว่า แอปพลิเคชันดังกล่าวสามารถวัดน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งในปัจจุบันการวางนิ้วบนจอโทรศัพท์มือถือเพื่อวัดน้ำตาลในเลือดนั้น ไม่สามารถทำได้ และการวางนิ้วบบนภาพลายนิ้วมือบนหน้าจอมือถือ ไม่ใช่การสแกน แต่เป็นเพียงการวางนิ้วบนรูปภาพปกติ ส่วนคำเตือนที่บอกว่า การวางนิ้วจะถูกดูดข้อมูลและเงินจนหมดนั้น มีความเป็นไปได้จริงน้อยมาก เพราะก่อนจะโอนเงินออกไปได้ จะต้องผ่านการสั่งงานและกดยืนยันหลายขั้นตอน ซึ่งคนร้ายมักจะใช้วิธีการ หลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน หลอกให้กรอกข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการโจรกรรมอีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีขั้นตอนมากกว่าการสแกนในคราวเดียว อย่างไรก็ตาม การกดโฆษณาที่มีลักษณะที่หลอกให้เข้าใจผิด ก็มีความเสี่ยงที่อาจจะโดนหลอกให้ดาวน์โหลดแอป ที่ใช้งานไม่ได้ หรือมีอันตราย หรือโดนหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัว  ❌ ดังนั้นข้อความและรูปภาพที่แชร์กันนี้ไม่เป็นความจริงงดส่งต่อข้อมูลที่สร้างความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง❌  23 พฤษภาคม 2568ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทเขียน โดย เสาวภาคย์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สมเด็จพระสังฆราชมีพระดำรัส ห้ามถวายเงินพระ จริงหรือ ?

ตามที่สื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความอ้างว่าเป็นพระดำรัสสมเด็จพระสังฆราช ห้ามประชาชนงดถวายเงินแด่พระสงฆ์ นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ข้อความดังกล่าวไม่ใช่พระดำรัสของสมเด็จพระสังฆราช โดยสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้ออกประกาศชี้แจงว่า สมเด็จพระสังฆราชไม่เคยมีพระดำรัสด้วยถ้อยคำในลักษณะบริภาษตามที่ปรากฏในสื่อดังกล่าวแต่อย่างใด FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความที่เผยแพร่กันดังกล่าว มีการเผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊กหนึ่ง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2568 ใจความว่า “ด่วน สมเด็จพระสังฆราช ทรงรับสั่งให้ประชาชนงดเอาเงินถวายพระโดยเด็ดขาด แม้กระทั่งงานศพ งดใส่ซองขาวถวายพระทุกกรณี”  ทั้งนี้ โพสต์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นโพสต์ข้อความธรรมดา ไม่มีข้อมูลอื่น ๆ เช่น ภาพประกอบ หรือแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม โพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีผู้ใช้เฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก เช่น ข่าวดี ประจำชาติเลยค่ะ ดีมากเลยคำสั่งจากสังฆราชน่าหยุดทุกอย่างได้จริง เป็นต้น อีกทั้งยังมีการแชร์ออกไปกว่า 2.5 พัน ครั้ง  ต่อมา เพจเฟซบุ๊ก สำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้เผยแพร่ประกาศสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จโดยแอบอ้างว่าเป็นพระดำรัส ความว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: 5 สัญญาณเตือนภัย ! ระวังให้ดี หากไม่อยากได้ “ของปลอม”

ในยุคที่การซื้อขายออนไลน์เฟื่องฟู มิจฉาชีพก็พัฒนารูปแบบการหลอกลวงให้แนบเนียนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเสนอขายสินค้าแบรนด์ดังในราคาที่เย้ายวนใจ จนหลายคนหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อได้ง่ายๆ หากไม่ทันได้ตรวจสอบให้ถี่ถ้วน ต่อไปนี้คือ 5 สัญญาณเตือนสำคัญที่คุณต้องระวัง หากไม่อยากได้ “ของปลอม” มาครอบครอง การซื้อสินค้าออนไลน์ต้องอาศัยความรอบคอบและการสังเกต หากพบเจอสัญญาณเตือนเหล่านี้ อย่าหลงเชื่อข้อเสนอที่ดูดีเกินจริง ตรวจสอบข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ เพื่อป้องกันไม่ให้เงินในกระเป๋าของคุณต้องสูญเปล่าไปกับ “ของปลอม” ที่ไร้คุณภาพ 16 พฤษภาคม 2568ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทเขียน โดย เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : ระวัง ! เพจปลอมรับซื้อเสื้อผ้ามือสอง ลวงเข้าไลน์ สูบเงินค่าสมัคร

เหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ และผู้ที่สนใจหารายได้จากการขายเสื้อผ้ามือสอง โปรดระมัดระวัง ! ขณะนี้เกิดกลโกงรูปแบบใหม่จากมิจฉาชีพที่ปลอมตัวเป็นร้านรับซื้อเสื้อผ้ามือสอง โดยอ้างว่าจะรับซื้อสินค้าจำนวนมากในราคาเหมา เพื่อล่อลวงเหยื่อให้ตกหลุมพราง 7 ขั้นตอนลวงหลอกเหยื่อ ดังนั้น เหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์และผู้ที่ต้องการขายเสื้อผ้ามือสอง จึงควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่าหลงเชื่อข้อเสนอที่ดูดีเกินจริง และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้ซื้อให้ถี่ถ้วนก่อนทำธุรกรรมใด ๆ หากพบเจอความผิดปกติหรือสงสัยว่าอาจตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ อย่าลังเลที่จะแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินการตามกฎหมายทันที เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น 15 พฤษภาคม 2568ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทเขียน โดย เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : เมื่อความรุนแรงในครอบครัวขยายตัวสู่โลกไซเบอร์

“ครอบครัว” เป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม ที่สมาชิกในครอบครัวใช้ชีวิตร่วมกันด้วยความผูกพันทางสายเลือด กฎหมาย และจิตใจ นับเป็นจุดเริ่มต้นของความรัก ความอบอุ่น และความผูกพัน เป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม แต่กลับเกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่างน่าห่วง โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่โลกก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้รูปแบบของความรุนแรงในครอบครัว ขยายขอบเขตออกไปสู่พื้นที่ออนไลน์ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากสถิติความรุนแรงในครอบครัว โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่า ในปี 2567 ที่ผ่านมา พบผู้ถูกกระทำความรุนแรง จำนวน 4,833 ราย ซึ่งสาเหตุหลักมาจากยาเสพติด ความเครียดทางเศรษฐกิจ และปัญหาสุขภาพจิต ทั้งนี้ สถิติความรุนแรงที่เกิดขั้นนั้น เป็นความรุนแรงภายในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 71 จำนวน 3,421 ราย ส่วนใหญ่เป็นเด็ก 1,450 ราย โดยแบ่งเป็น – ถูกทำร้ายร่างกาย จำนวน 1,029 ราย  – ถูกล่วงละเมิดทางเพศ 270 ราย  – ถูกกระทำอนาจาร 118 ราย  – ถูกทอดทิ้ง 33 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : โอนเงินก่อนเริ่มงาน = ระวังมิจฉาชีพ!

รู้ทันมิจฉาชีพ งานง่ายได้เงินเยอะ ไม่มีจริง! มิจฉาชีพแฝงตัวมาในคราบ “นายจ้าง” หลอกให้ทำงานเสริมออนไลน์ พร้อมออกอุบาย “โอนเงินก่อนทำภารกิจ” สุดท้ายสูญเงินหมดบัญชี! จากกรณีมีผู้โพสต์หางานเสริมทางออนไลน์ แล้วถูกมิจฉาชีพหลอกลวงโดยแฝงตัวในรูปแบบ “นายจ้าง” เสนอให้ทำงานง่าย ๆ แลกกับค่าตอบแทนและโบนัส พร้อมอุบายให้โอนเงินล่วงหน้าเพื่อเริ่มทำภารกิจและรับรายได้ โดยครั้งแรกมีการโอนเงินจริงกลับมา ทำให้เหยื่อหลงเชื่อและยินยอมทำภารกิจต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อหวังจะถอนเงินทุนคืนได้ในภายหลัง แต่สุดท้ายกลับถูกหลอกซ้ำจนสูญเงินจำนวนมาก นั้น จะเห็นได้ว่ามิจฉาชีพใช้วิธีการหลอกลวงที่แฝงมากับการหางาน โดยลักษณะการเรียกเก็บเงินล่วงหน้าก่อนทำภารกิจดังกล่าวนั้น คล้ายกับ “การเรียกหลักประกัน” ก่อนเริ่มงาน ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 10 กำหนดไว้ชัดเจนว่า “นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกเงินหรือหลักประกันใด ๆ จากลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบเงินสด หรือการให้บุคคลค้ำประกัน เว้นแต่กรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานนั้น ลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งมีความเสี่ยงต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้” ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 10 จะต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 144 แห่งพระราชบัญัติดังกล่าว รู้ทันก่อนตกเป็นเหยื่อ! วิธีหลอกล่อฉบับมิจฉาชีพ 1. มิจฉาชีพแนะนำตัวว่ามาจากแอปพลิเคชันต่าง ๆ […]

ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท x กองทุนสื่อฯ ผนึกกำลังติวเข้ม “รู้เท่าทันกับดักไซเบอร์” เจาะลึก มายากล-ภาพดิจิทัล-AI

กรุงเทพฯ — 30 เมษายน 2568 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดกิจกรรม “Exclusive Workshop อบรมเชิงปฏิบัติการ รู้เท่าทันกับดักไซเบอร์” ในหัวข้อ “กับดักมายากล” “กับดักภาพดิจิทัล” และ “กับดัก AI” ณ ห้อง MCOT Academy ชั้น 6 อาคารปฏิบัติการวิทยุ-โทรทัศน์ บมจ. อสมท เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่เยาวชน ครู ผู้สูงวัย และประชาชนทั่วไป ให้พร้อมรับมือกับภัยออนไลน์รูปแบบใหม่ กิจกรรมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “นักสืบสายชัวร์ 404: ถอดสลักกับดักไซเบอร์” ที่มุ่งยกระดับทักษะการสังเกต ตรวจจับ และหลีกเลี่ยง “กับดักไซเบอร์” ให้แก่ประชาชน โดยนับเป็นการอบรมครั้งที่ 2 ต่อจากหัวข้อ “กับดักการเงิน” ที่จัดขึ้นช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ณ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 50 คนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านที่มาถ่ายทอดประสบการณ์และเทคนิคการรับมือภัยไซเบอร์ […]

‘ฟิชชิงและคลิกเบต’ ไม่ใช่แค่น่ารำคาญแต่ยังเสียดทานเสรีภาพสื่อ | ชัวร์ก่อนแชร์

เมื่อคลิกเบตกลายเป็นเครื่องมือฟิชชิ่ง ภัยเงียบที่บ่อนทำลายเสรีภาพสื่อในยุคดิจิทัล ?วันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปี สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้เป็น “วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก” เพื่อส่งเสริมบทบาทของสื่อที่เสรี มีจริยธรรม และรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมย้ำเตือนรัฐบาลให้เคารพสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกตามข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในยุคที่ข้อมูลหลั่งไหลผ่านหน้าจอเพียงปลายนิ้ว การคงไว้ซึ่ง “เสรีภาพของสื่อ” ต้องเดินคู่กับ “ความตระหนักรู้ของผู้รับสาร” เพราะภัยอย่างฟิชชิงอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในระบบสื่อโดยรวมได้ ฟิชชิง (Phishing) คืออะไร ?ฟิชชิง (Phishing) คือรูปแบบหนึ่งของการหลอกลวงทางออนไลน์ โดยมักใช้อีเมล ข้อความ หรือหน้าเว็บไซต์ปลอม เพื่อให้ผู้ใช้หลงเชื่อและเปิดเผยข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยไม่รู้ตัวคำว่า “Phishing” มีที่มาจากคำว่า “Fishing” ซึ่งหมายถึงการตกปลา เปรียบได้กับการที่อาชญากรไซเบอร์โยนเหยื่อล่อ เช่น ลิงก์ปลอมหรือข้อความเร่งด่วน เพื่อให้เหยื่อหลงคลิกและตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีข้อมูลจาก พันตำรวจเอก มรกต แสงสระคู ผู้กำกับการ 2 กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 3 กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พบว่า มีความพยายามโจมตีแบบฟิชชิงมากถึง 11 ล้านรายการต่อปี และฟิชชิงยังถูกจัดอยู่ใน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : กรุ๊ปเลือดไหน ให้-รับ กันได้บ้าง ?

“กรุ๊ปเลือด” เป็นปัจจัยสำคัญในการถ่ายเลือดอย่างปลอดภัย เพราะไม่ใช่ทุกกรุ๊ปเลือดที่จะสามารถให้หรือรับกันได้อย่างอิสระ แล้วกรุ๊ปเลือดไหนรับหรือให้กันได้บ้าง ? ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเลือดประมาณร้อยละ 9–10 ของน้ำหนักตัว ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการลำเลียงออกซิเจน สารอาหาร และขับของเสียออกจากเซลล์ของร่างกาย โดยแต่ละคนจะมีหมู่โลหิต หรือกรุ๊ปเลือด ที่แตกต่างกันตามพันธุกรรม โดยการแยกโลหิตของคนเราออกเป็นหมู่/เป็นกรุ๊ป (Group หรือ Type) ตามชนิดของสารชีวเคมี (Biochemicalsubstance) ที่มีชื่อว่า ไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) หรือไกลโคไลปิด(Glycolipid) ที่ร่างกายสร้างขึ้นและปรากฏบนผิวเม็ดโลหิตแดงและเรียกว่าแอนติเจน/สารก่อภูมิต้านทาน (Antigen) ซึ่งมีลักษณะจำเพาะในแต่ละหมู่ โดยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้ 1. หมู่โลหิตระบบ ABOระบบหมู่โลหิต ABO ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1900 โดย Karl Landsteiner ซึ่งสามารถจำแนกหมู่โลหิตออกเป็น A, B และ O ต่อมาในปี ค.ศ. 1902 Von Decastello และ Sturli ได้ค้นพบหมู่โลหิต AB […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : วันรหัสผ่านโลก ตั้งรหัสผ่านอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่โดนแฮก !

รู้หรือไม่ ? รหัสผ่านไม่รัดกุม อาจทำให้ข้อมูลสำคัญของเรารั่วไหลได้ภายในพริบตา “วันรหัสผ่านโลก”  จึงถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการตั้งรหัสผ่านที่ปลอดภัย  รหัสผ่าน (Password) คือด่านแรกของความปลอดภัยในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นบัญชีโซเชียลมีเดีย อีเมล หรือแอปพลิเคชันด้านการเงินต่าง ๆ ล้วนต้องอาศัยรหัสผ่านในการยืนยันตัวตนและปกป้องข้อมูลสำคัญของเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ  ด้วยเหตุนี้ จึงมีการกำหนดให้ วันพฤหัสบดีแรกของเดือนพฤษภาคมของทุกปี เป็น “วันรหัสผ่านโลก” (World Password Day) ซึ่งในปี 2568 นี้ ตรงกับ วันพฤหัสบดี ที่ 1 พฤษภาคม เพื่อรณรงค์ให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการตั้งรหัสผ่านที่รัดกุม ปลอดภัย และหมั่นปรับปรุงให้ทันต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 5 ข้อห้ามทำ ! ถ้าไม่อยากโดนแฮก1. ไม่ตั้งรหัสผ่านง่ายเกินไป เช่น การพิมพ์ไล่ตามแป้นพิมพ์ 123456 ใช้คำหรือประโยคง่าย ๆ เช่น password2. ไม่ใช้ขอมูลส่วนตัวตั้งรหัสผ่าน3. ไม่ตั้งรหัสผ่านเหมือนกันทุกบัญชี4. ไม่กด “จำรหัสผ่าน” ในเครื่องที่มีคนอื่นใช้งานร่วมด้วย5. ไม่บอกรหัสผ่านให้คนอื่นรู้ จากฐานข้อมูลการวิจัยของ NordPass พบว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ไหล่ติด

20 เมษายน 2568 ภาวะไหล่ติด หรือที่มีชื่อทางการแพทย์ว่า Adhesive Capsulitis เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ สร้างความเจ็บปวดและข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยหลายราย แม้ภาวะนี้อาจดูเหมือนเป็นเพียงอาการปวดเมื่อยธรรมดาในระยะแรก แต่หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่การจำกัดการเคลื่อนไหวของหัวไหล่อย่างถาวรได้ บทความนี้จะพาไปรู้จักสาเหตุ อาการ การฟื้นตัวตามธรรมชาติ ไปจนถึงบทบาทสำคัญของกายภาพบำบัดในการฟื้นฟู ภาวะไหล่ติดคืออะไร? ผู้เชี่ยวชาญ อธิบายถึงภาวะไหล่ติดคือการอักเสบของเส้นเอ็นและแคปซูลหุ้มข้อบริเวณข้อไหล่ แคปซูลหุ้มข้อนี้โดยปกติจะมีลักษณะยืดหยุ่นและช่วยรองรับการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ แต่เมื่อเกิดการอักเสบขึ้น แคปซูลนี้จะค่อย ๆ หนาตัวขึ้น ตึงตัว และเกิดการหดรั้ง ทำให้พื้นที่ภายในข้อไหล่ลดลง การเคลื่อนไหวของกระดูกต้นแขนที่อยู่ในเบ้าข้อไหล่จึงถูกจำกัดไปด้วย สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง ภาวะไหล่ติดสามารถเกิดขึ้นได้โดยมีสาเหตุที่หลากหลาย บางครั้งอาจเริ่มต้นจากเพียงการเคลื่อนไหวแขนที่ผิดท่าเล็กน้อยหรือการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยที่ผู้ป่วยอาจจำไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้ยังมีความเชื่อมโยงอย่างชัดเจนกับโรคประจำตัวบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะไหล่ติดได้สูงกว่าคนทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ยังรวมถึง: กลไกที่โรคเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะไหล่ติดยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ แต่อาจเกี่ยวข้องกับการอักเสบในร่างกายหรือการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน อาการและการดำเนินของโรค ภาวะไหล่ติดมักมีการดำเนินของโรคเป็น 3 ระยะ การวินิจฉัย การวินิจฉัยภาวะไหล่ติดส่วนใหญ่อาศัยการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด ผู้เชี่ยวชาญจะทดสอบพิสัยการเคลื่อนไหวของหัวไหล่ ทั้งแบบที่ผู้ป่วยขยับเอง (Active ROM) และแบบที่ผู้ตรวจช่วยขยับ (Passive ROM) หากพบว่าทั้งการเคลื่อนไหวแบบ Active และ […]

1 2 3 207
...