ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : มิจฉาชีพอ้างคืนเงินกระเป๋าแบรนด์ดัง

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 เตือนภัยนักเดินทางและนักช้อป  ขณะนี้กำลังมีกลโกงรูปแบบใหม่ระบาดหนัก มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากแบรนด์กระเป๋าเดินทาง SAMSONITE โดยมีพฤติกรรมโทรศัพท์ติดต่อเหยื่อและหลอกว่า กระเป๋าที่คุณซื้อไปไม่ผ่านมาตรฐาน สคบ. พร้อมเสนอที่จะคืนเงิน โดย SAMSONITE ประเทศไทย ได้ประกาศยืนยัน ไม่มีนโยบายโทรศัพท์ติดต่อลูกค้าเพื่อขอข้อมูลส่วนตัว ให้โอนเงิน กดลิงก์ หรือให้แอดไลน์อื่นนอกจากช่องทางทางการของบริษัทฯ  ช่องทางการติดต่ออย่างเป็นทางการของ SAMSONITE มีดังนี้  เปิดโปงกลลวงที่มิจฉาชีพใช้  หากพบความผิดปกติของเบอร์โทร หรือ SMS ข้อความ ที่ติดต่อเข้ามา สามารถแจ้งผ่าน 02-761-9999 และ Email ecommerce.th@samsonite.com โดย SAMSONITE จะตรวจสอบร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป 19 มิถุนายน 2568 เสาวภาคย์ รัตนพงศ์ ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ : แบคทีเรียกินเนื้อ จุดเริ่มต้นจากแผลเล็ก ๆ

“แบคทีเรียกินเนื้อคน” โรคผิวหนังชื่อน่ากลัว จากแผลเล็ก ๆ ที่หากดูแลไม่ดี ไม่ได้รักษาตั้งแต่ต้นอาจติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อคนจนลุกลามได้ จากกรณีพบศพ ชาย อายุ 38 ปี ชาว ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง เสียชีวิตบนรถทัวร์โดยสารและพบศพขณะรถเข้าจอดที่สถานีขนส่งลำปาง เมื่อ 15 มิถุนายน 2568 ที่ผ่านมา นั้น เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเบื้องต้นไม่พบร่องรอยการถูกทำร้าย แต่บริเวณน่องด้านซ้ายมีอาการบวม มีแผลลุกลาม และมีเลือดไหลออกมา ญาติให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ผู้เสียชีวิตมีอาการน่องบวมตั้งแต่ 8 มิถุนายน 2568 และเคยป่วยเป็นโรคงูสวัดจนมีอาการลุกลามไปที่หู ผลการชันสูตรพลิกศพพบว่า ชายคนดังกล่าว เสียชีวิตด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือดและเป็นโรคแบคทีเรียกินเนื้อ หรือ โรคเนื้อเน่า ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในชั้นผิวหนัง โดยเริ่มจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังชั้นตื้นลงไปจนถึงผิวหนังชั้นลึก การติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังชั้นลึกถึงระดับเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ สาเหตุของการเป็นโรคแบคทีเรียกินเนื้อข้อมูลจาก อ.พญ.ภัทริยา จรรยาชัยเลิศ ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องโรคแบคทีเรียกินเนื้อ หรือ โรคเนื้อเน่า ในรายการชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : แบคทีเรียกินเนื้อคน ว่า โรคแบคทีเรียกินเนื้อ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการอักเสบแบบมีเนื้อตายที่ผิวหนังตั้งแต่ชั้นหนังกำพร้าถึงชั้นเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ  […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : จัดกระดูกแบบไคโรแพรกติก รักษาได้หลายโรค จริงหรือ ?

13 มิถุนายน 2568 – บนโซเชียลแชร์ว่า ไคโรแพรคติก (Chiropractic) เป็นการแพทย์ทางเลือก สามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้ เช่น กระดูกทับเส้นประสาท ไมเกรน พาร์กินสัน ออฟฟิศซินโดรม กระดูกสันหลังคด หรือแม้แต่ทำให้สูงขึ้นได้ 🎯 ตรวจสอบกับ นพ.สุธี เหล่าโกเมนย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง แผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สัมภาษณ์เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ไซนัสอักเสบทำให้ตาบอด

12 มิถุนายน 2568 – ไซนัส เกี่ยวข้องกับดวงตาอย่างไร การเป็นไซนัสอักเสบจะส่งผลให้เกิดภาวะตาบอดได้อย่างไร และจะมีวิธีการป้องกันและรักษาอย่างไรได้บ้าง ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 🎯 ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ 27 พฤษภาคม 2568 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 วิธีแก้อาการเมารถ จริงหรือ ?

15 มิถุนายน 2568 – บนโซเชียลแชร์ 10 วิธีแก้อาการเมารถ ง่าย ๆ ใช้ได้จริง เช่น นั่งแถวหน้า มองไกล ๆ อย่าสูบบุหรี่ หรือ ผลไม้รสเปรี้ยว 🎯 ตรวจสอบกับ พญ.นวรัตน์ อภิรักษ์กิตติกุล อาจารย์ประจำภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สัมภาษณ์เมื่อ 4 เมษายน 2568 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : 6 จุดตรวจเช็ก ก่อนใช้รถ EV ในหน้าฝน

17 มิถุนายน 2568 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในหน้าฝนว่า มีสิ่งใดบ้าง ที่ต้องตรวจเช็ก และระมัดระวัง เพื่อการใช้งานที่ปลอดภัย ไม่เกิดปัญหาตามมา ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญใน ชัวร์ก่อนแชร์ MOTOR CHECK กับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ 14 พฤษภาคม 2568 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดคำเตือนห้ามกินมะม่วง จริงหรือ ?

18 มิถุนายน 2568 – บนโซเชียลมีการแชร์ถึงคำเตือนห้ามกินมะม่วง ทั้งเตือนกินมะม่วงมีจุดทำให้กระเพาะและลำไส้อักเสบ อย่างไรก็ตามกลับมีการแย้งว่ามะม่วงนั้นกินได้ ปลอดภัย แถมยังอุดมไปด้วยคุณประโยชน์ ?! 🎯 ตรวจสอบกับ ผศ.(พิเศษ)นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร รพ.จุฬาลงกรณ์ ดร.เบญจคุณ แสงทองพราว ผู้ช่วยหัวหน้าภาค ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ รศ.ดร.ศวิตา จิวจินดา ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: แอปฯ กรุงไทย NEXT ปิดปรับปรุงตั้งแต่ 13-14 มิ.ย. 68 จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ ว่า ธนาคารกรุงไทย จะปิดปรับปรุงระบบ KTB NEXT ตั้งแต่วันที่ 13 – 14 มิ.ย. 68 นั้น ❌ บทสรุป ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ –วันศุกร์ที่ 13 มิ.ย. 68 เวลา 22.00 น. ถึง วันเสาร์ที่ 14 มิ.ย. 68 เวลา 18.00 น. ปิดปรับปรุงระบบ เฉพาะแอปพลิเคชัน Krungthai Business แอปพลิเคชันสำหรับกลุ่มลุกค้าธุรกิจเท่านั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ธนาคารกรุงไทยได้ออกประกาศชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดการปิดปรับปรุงระบบแอปพลิเคชัน NEXT โดยมีกำหนดการจริง ดังนี้ Krungthai NEXT แอปพลิเคชันสำหรับบุคคลทั่วไป จะปิดปรับปรุงระบบ วันศุกร์ที่ 20 มิ.ย. 68 เวลา 01.00 – 06.00 น.Krungthai […]

ETDA เตรียมเปิดคอร์ส “Digital Identity สำหรับประชาชน” เรียนฟรี! เสริมทักษะดิจิทัลสู่ยุคใหม่อย่างมั่นใจ

12 มิถุนายน 2568 – สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เตรียมเปิดตัว “หลักสูตร Digital Identity สำหรับประชาชน” สานต่อหลักสูตร ETDA Digital Citizen Plus (EDC Plus) ภายใต้โครงการ ETDA Digital Citizen (EDC) เพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจด้าน “อัตลักษณ์ดิจิทัล” หรือ Digital ID อย่างรอบด้านให้คนไทยทุกกลุ่ม เรียนฟรีผ่านระบบ e-Learning เร็ว ๆ นี้ ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA เปิดเผยว่า จากความสำเร็จของหลักสูตร ETDA Digital Citizen Plus (EDC Plus) ภายใต้โครงการ ETDA Digital Citizen (EDC) ที่จัดขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเราได้เห็นการตื่นตัวของประชาชนเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย โดยมีผู้ผ่านการอบรมภายใต้หลักสูตรนี้ รวมกว่า 85,266 ทั้งจากการลงพื้นที่ การอบรมเชิงปฏิบัติการ และระบบ e-Learning ซึ่งถือเป็นสัญญาณบวกที่สะท้อนความต้องการของสังคมในการเรียนรู้ทักษะดิจิทัลอย่างจริงจัง นอกจากนี้ เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการมาของ Generative AI, การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบน Social Media หรือภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ส่งผลให้ความรู้พื้นฐานเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จึงเป็นที่มาของการพัฒนา “หลักสูตร Digital Identity สำหรับประชาชน” ที่เป็นหนึ่งใน 5 โมดูลหลักของหลักสูตร EDC Plus ที่ถูกต่อยอดให้เป็นหลักสูตรเฉพาะทางแบบครบถ้วน เพื่อผลักดันและส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจและเกิดการใช้งาน Digital ID ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลในการทำธุรกรรมออนไลน์ขยายวงกว้าง ทั้งในภาครัฐ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 ภัยไซเบอร์ ที่มักเจอบน App Store

เมื่อภัยคุกคามทางไซเบอร์อาจแฝงตัวในรูปแบบแอปพลิเคชัน ที่หลอกขโมยข้อมูลสำคัญ และล่อให้ทำธุรกรรมทางการเงิน ปัจจุบัน เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน แอปพลิเคชันก็กลายเป็นประตูสู่โลกดิจิทัลที่ทั้งสะดวกและรวดเร็ว แต่ภายใต้ความสะดวกนั้นอาจมี “ภัยไซเบอร์” ที่แฝงตัวอย่างแนบเนียนในรูปแบบต่าง ๆ  จากรายงานการป้องกันธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกงประจำปีบน App Store ที่เผยแพร่โดย Apple เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 พบว่า บน App Store มีปัญหากลโกงไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบทั้งด้านการละเมิดลิขสิทธิ์ การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล และความเสียหายทางการเงิน อย่างน้อย 5 กลโกง ได้แก่ 1. แอปพลิเคชันปลอม เลียนแบบผู้ไม่หวังดีเผยแพร่แหล่งดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่ลอกเลียนแบบแอปพลิเคชันต่าง ๆ ใน App Store ซึ่งเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์นักพัฒนา Apple ด้วยการดัดแปลงแก้ไข โดยแอปพลิเคชันเหล่านี้อาจมีความเสี่ยงในการละเมิดข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ หรือนำไปใช้เป็นอาวุธในการเผยแพร่ซอฟต์แวร์ที่มุ่งร้ายได้อีกด้วย  ในเดือนที่ผ่านมา Apple ได้หยุดความพยายามในการติดตั้งหรือเปิดแอปพลิเคชันที่แจกจ่ายอย่างผิดกฎหมายนอก App Store หรือมาร์เกตเพลสของบริษัทอื่นที่ได้รับการอนุมัติไปเกือบ 4.6 ล้านครั้ง 2. แอปพลิเคชันผิดกฎหมายนอก App Storeผู้ไม่หวังดีมักหลอกลวงให้ผู้ใช้งานติดตั้งแอปพลิเคชันผิดกฎหมาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ฉีดวัคซีนมาเลือดจะหนืดข้น จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่า อาการของผู้ที่ไปฉีดวัคซีนมาเลือดจะหนืดข้นจนสุดท้ายเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ และวูบจนถึงขั้นเสียชีวิต จากนั้นแพทย์จะแจ้งว่าหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จริงหรือ​ ? บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ วัคซีนดังกล่าว คาดว่าหมายถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าวัคซีนโควิด-19 ทำให้เลือดจะหนืดข้นจนสุดท้ายเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ และวูบจนถึงขั้นเสียชีวิต ทั้งนี้ การดำเนินการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้จัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และองค์การอนามัยโลกได้รับรองว่าวัคซีนดังกล่าวสามารถใช้ได้กับทุกประเทศ  FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริงศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อมูลเรื่อง “อาการของผู้ที่ไปฉีดวัคซีนมาเลือดจะหนืดข้นจนสุดท้ายเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ และวูบจนถึงขั้นเสียชีวิต” เป็นข้อมูลที่มักถูกส่งต่อและเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2566 และเป็นหนึ่งในประเด็นที่ทำให้หลายคนเกิดความกังวล ตรวจสอบข้อเท็จจริงข้อมูลจาก พ.อ.นพ.วิริสสร วงศ์ศรีชนาลัย อายุรแพทย์ โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พบว่า  ความเป็นไปได้ที่วัคซีนจะทำให้เกิดลิ่มเลือด เป็นไปได้ว่าวัคซีนโควิด-19 บางชนิดอาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในร่างกาย ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดลิ่มเลือดได้บ้าง แต่ต้องย้ำว่า ความรุนแรงและอัตราการเกิดลิ่มเลือดจากวัคซีนนั้นน้อยกว่าการติดเชื้อโควิด-19 มาก นอกจากนี้ วัคซีนแต่ละชนิดยังมีผลกระทบที่แตกต่าง โดย วัคซีนเชื้อตาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ชาไทย ใส่สีสังเคราะห์ จริงหรือ ?

26 พฤษภาคม 2568 – บนโซเชียลแชร์เตือนว่า เครื่องดื่ม ชาไทย มีการใส่สีสังเคราะห์ หากดื่มมาก อาจเสี่ยงอันตรายนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ชาไทยมีส่วนผสมของสีสังเคราะห์ Sunset Yellow ซึ่งเป็นสีผสมอาหารที่ได้รับอนุญาตและปลอดภัยภายใต้การควบคุมของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือการบริโภคอย่างมีสติและไม่มากจนเกินไป ปัจจัยด้านสุขภาพอื่น ๆ เช่น ปริมาณน้ำตาล ไขมัน และกาเฟอีนในชาไทย อาจเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่า ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.กฤษกมล ณ จอม อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สัมภาษณ์เมื่อ 1 พฤษภาคม 2568) สีส้มชาไทยมาจากไหน ? ผู้เชี่ยวชาญจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ยืนยันอย่างชัดเจนว่า สีส้มของชาไทยส่วนใหญ่มาจาก สีผสมอาหารสังเคราะห์ที่เรียกว่า Sunset Yellow (ซันเซ็ต เยลโลว์) แต่แม้จะเป็นสีสังเคราะห์ Sunset Yellow ไม่ได้เป็นสารอันตรายอย่างที่หลายคนกังวล […]

1 2 3 4 5 210
...