fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST: 5 เรื่องฮิต ข้อห้ามการใช้งานโทรศัพท์มือถือ จริงหรือ ?

6 มีนาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับข้อห้ามการใช้โทรศัพท์มือถือ ทั้งห้ามดูในที่มืดเพราะเสี่ยงตาบอด และห้ามใช้ไฟฉายมือถือส่องตู้ไฟฟ้าบ้าน อันตรายถึงชีวิต ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ดูมือถือในที่มืดทำให้ตาบอด จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความเตือนว่า  ถ้าเปิดดูจอมือถือในที่มืดจะทำให้ตาบอดได้ บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นายแพทย์ นนท์ รัตนิน จักษุแพทย์ โรงพยาบาลจักษุรัตนิน และ นายแพทย์ สมเกียรติ อธิคมกุลชัย จักษุแพทย์ โรงพยาบาลเอกชัย “การเล่นมือถือในที่มืดไม่ได้ทำให้ตาบอด แต่จะทำให้เกิดความไม่สบายตามากกว่าการเล่นมือถือขณะเปิดไฟ เพราะจะต้องเพ่งมากกว่าปกติ และมีแสงสะท้อนเข้าตามากกว่าปกติ ทำให้เกิดความไม่สบายตา ทำให้ตาล้ามากขึ้น อาการจากการใช้อุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นอาการเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อพักและหยุดใช้งานไป ก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม” อันดับที่ 2 : ชาร์จมือถือไป เล่นไป อันตรายถึงชีวิต จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความเตือนว่า แชร์เตือนว่า การชาร์จโทรศัพท์มือถือไปด้วย เล่นไปด้วย เป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะที่ชาร์จจะร้อนจนฉนวนภายในหลอมละลาย และไฟฟ้า 310 โวลต์ จะวิ่งเข้ามาช็อตทันที  บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สัญญาณเตือนผ้าเบรกใกล้หมด จริงหรือ ?

5 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์สัญญาณที่เตือนว่า ผ้าเบรกของรถยนต์ใกล้หมดแล้ว เช่น เบรกแล้วมีเสียงดัง และ น้ำมันเบรกในกระปุกน้ำมันเบรกลดลงนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัญญาณบอกอาการผ้าเบรกหมด มีดังนี้ 1. แป้นเบรกลึกขึ้น ระยะของผ้าเบรกอยู่ห่างจากจานเบรกมากขึ้น จึงทำให้ต้องเหยียบเบรกลึกขึ้น กรณีหากมีการตรวจเช็กแล้วว่าไม่มีรอยรั่ว ก็อาจจะทำให้ระดับของน้ำมันเบรกหายไปด้วย แต่อาการเหยียบแป้นเบรกลึกขึ้น อาจจะไม่ใช่อาการผ้าเบรกหมดซะทีเดียว อาจจะบอกถึงความเสื่อมสภาพของซีลยางของตัวชุดปั๊มเบรก หรือซีลยางในตำแหน่งต่าง ๆ ได้ด้วยเช่นกัน 2. เบรกแล้วมีเสียงดัง ส่วนมากเกิดมาจากผ้าเบรกและจานเบรก หากผ้าเบรกหมดจะทำให้เหล็กผ้าเบรกและจานเบรกที่เป็นเหล็กทั้งคู่เสียดสีกันจนทำให้เกิดเสียง หากผ้าเบรกบางลงจำเป็นที่จะต้องถอดออกมาเปลี่ยนใหม่ เพราะถือว่าเป็นความเสื่อมสภาพของตัวผ้าเบรกจนทำให้เหยียบเบรกแล้วมีเสียงดังเกิดขึ้น 3. น้ำมันเบรกในกระปุกลดลง หากน้ำมันเบรกลดต่ำกว่าปกติ แต่ตรวจเช็กแล้วไม่พบรอยรั่วใด ๆ อาจเป็นไปได้ว่าความหนาของผ้าเบรกลดลง จนทำให้น้ำมันเบรกเข้าไปอยู่ตามสายเบรกและลูกสูบเบรก เพราะลูกสูบที่อยู่ในคาลิปเปอร์เบรก จะเลื่อนตัวออกมามาก เพื่อดันให้ผ้าเบรกจับกับจานเบรกน้ำมันเบรกในกระปุกจึงลดลง สัมภาษณ์เมื่อ : 20 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : TLSU HANGSMI ? — การแสดงความคิดเห็น ที่เสี่ยงผิดกฎหมาย !

2 มีนาคม 2567 สิ่งนี้… เป็นการประณาม และตัดสินบุคคลอื่น ที่สุ่มเสี่ยงผิดกฎหมาย และสิ่งนี้ถือเป็นพฤติกรรมที่สะท้อนปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล SLOT SHAMING การประณามหยามเหยียดผู้หญิงที่มีพฤติกรรมทางเพศ หรือจัดการกับร่างกายตนเองต่างจากที่สังคมส่วนใหญ่คาดหวัง ซึ่งถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการประณาม และตัดสินบุคคลอื่น โดยบางครั้งบุคคลที่ประณามก็เป็นผู้หญิงด้วยกันเอง เช่น กรณีการมองผู้หญิงที่แสดงออกถึงอารมณ์ทางเพศว่าเป็นบุคคลที่ไม่ดี ทั้งที่จริงแล้วเรื่องทางเพศก็ถือเป็นเรื่องปกติ หรือกรณีมองว่าหญิงที่แต่งกายไม่มิดชิด ไม่เรียบร้อย เป็นบุคคลที่ไม่ดี ถึงแม้การประณามอาจจะเกิดจากความไม่ตั้งใจ หรือความไม่รู้มาก่อน อย่างไรก็ตามการประณามให้ผู้อื่นละอายใจก็เป็นปัญหาที่สังคมควรตระหนักและให้ความสำคัญเพราะผลกระทบของมันสามารถกัดกินความรู้สึกของคนที่โดนไปด้วย สัมภาษณ์เมื่อ : 17 มกราคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยงเรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ : หูตึงตอนแก่ แก้ด้วยสมุนไพรปรับสมดุล จริงหรือ ?

4 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์คำแนะนำสูตรสมุนไพรปรับสมดุล แก้ปัญหา หูตึงตอนแก่ หายเป็นปลิดทิ้ง โดยใช้ น้ำผึ้ง กระชาย มะนาว เกลือ น้ำมาปั่นดื่ม หูตึงจะกลับมาดีเหมือนเดิมนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา รองคณบดี วิทยาลัยแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ คลินิกการแพทย์แผนไทย มรว.สะอาดทินกร สูตรน้ำสมุนไพรปั่นตามที่แชร์มา  แพทย์แผนไทยกล่าวว่า อาจมีการอ้างอิงสรรพคุณของกระชาย ส่วนน้ำผึ้ง มะนาว เกลือ นั้นใช้ปรุงแต่งกลิ่นรส แต่สิ่งที่กล่าวมานี้ไม่ได้ช่วยเรื่องหูตึงแต่อย่างใด ผู้สูงอายุมักมีปัญหาการได้ยิน เนื่องจากมีภาวะเสื่อมตามวัยของระบบประสาทหู ในกรณีที่อาการหูตึงในผู้สูงวัยมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์แผนไทยแนะนำให้ใส่เครื่องช่วยฟัง สัมภาษณ์เมื่อ : 8 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จักโรคพาร์กินสัน

3 มีนาคม 2567 – โรคพาร์กินสันคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด เกิดได้ในคนกลุ่มไหน ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรคพาร์กินสัน คืออะไร ? โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมองทำให้การผลิตสารโดพามีนในร่างกายลดลง ผู้ป่วยจะมีปัญหาหลัก คือ อาการสั่น เคลื่อนไหวช้า เกร็ง และเดินลำบาก สาเหตุของโรคพาร์กินสัน เนื่องจากโรคพาร์กินสันเกิดจากสาเหตุที่หลากหลาย เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ที่มารวมกันและเหมาะเจาะในคน ๆ หนึ่ง เช่น ผู้ป่วยบางรายที่อาจจะมีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นพาร์กินสัน อายุที่เพิ่มมากขึ้นความเสี่ยงพาร์กินสันก็เพิ่มมากขึ้น อาการของโรคพาร์กินสัน โรคพาร์กินสัน แม้ว่าจะเป็นโรคที่แสดงออกเกี่ยวกับความผิดปกติของการเคลื่อนไหว แต่ก็มีอาการอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการเคลื่อนไหวเกิดร่วมในผู้ป่วยได้ อาการของโรคพาร์กินสัน คือ อาการที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวช้าลง ร่วมกับ อาการสั่น เป็นต้น อาการที่ควรสังเกต ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีอาการที่พบได้บ่อย ๆ ได้แก่ การเคลื่อนไหวช้า อาการสั่นของส่วนต่าง ๆ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังมิจฉาชีพส่งที่ชาร์จแบตดูดเงินอ้างชื่อ SCB จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ระวังมิจฉาชีพส่งที่ชาร์จแบตดูดเงินอ้างชื่อ SCB นั้น บทสรุป : ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ไม่มีหลักฐานเพียงพอจะตัดสินได้ อาจทำให้เข้าใจผิดและตื่นตระหนก ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ SCB ยืนยัน เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง และยังไม่เคยมีกรณีลูกค้าถูกดูดเงินจากการใช้พาวเวอร์แบงก์ สำหรับภาพที่แชร์กันนั้น เป็น Wireless Charger ซึ่งเป็นของพรีเมียมที่ธนาคารได้มอบให้กับลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ตามเงื่อนไขในช่วงของการจัดโปรโมชัน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้จริง ไม่ใช่อุปกรณ์ขโมยข้อมูลหรือดูดเงินแต่อย่างใด ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ข้อความที่แชร์กันนั้น กรณีดังกล่าว เป็นไปได้ยาก ที่จะถูกดูดเงินทันทีที่เสียบอุปกรณ์ เนื่องจากการที่เงินจะออกจากบัญชีธนาคารบนมือถือได้นั้น จะต้องผ่านกระบวนการอย่างน้อยคือการ กดโอนเงินออกไปเอง หรือการถูกหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อเข้าควบคุมเครื่อง รวมทั้งถูกหลอกให้กดรหัส และสแกนใบหน้า ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่เสียบอุปกรณ์แล้วจะดูดเงินทันที ในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ มีการออกแบบระบบตัดการเชื่อมต่อข้อมูลกับอุปกรณ์ภายนอก เมื่อเสียบชาร์จแล้ว จะมีกล่องข้อความขึ้นมาสอบถามว่าต้องการจะเชื่อมต่อถ่ายโอนข้อมูลหรือไม่ ซึ่งผู้ใช้สามารถกดตอบ ไม่ และใช้เพียงเฉพาะการถ่ายโอนกระแสไฟฟ้าอย่างเดียว ด้าน พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (บช.สอท.) ให้ข้อมูลกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ว่า ไม่เคยได้รับรายงานการแจ้งความการโดนดูดเงินด้วยอุปกรณ์ชาร์จพาวเวอร์แบงก์ อย่างที่แชร์กันแต่อย่างใด  พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน ยังกล่าวถึงกรณีที่เป็นข่าวที่ทำให้เข้าใจว่า โดนดูดเงิน เพราะสายชาร์จ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนมิจฉาชีพปลอมจดหมายสรรพากร หลอกยืนยันตัวตน จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือนมิจฉาชีพปลอมจดหมายสรรพากร หลอกยืนยันตัวตน นั้น 📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ เป็นจดหมายจริงของกรมสรรพากร 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เนื้อหาดังกล่าวเป็นเนื้อหาเดียวกับที่เผยแพร่บน เว็บไซต์ และ เพจเฟซบุ๊ก ของกรมสรรพากร โดยเป็นการประชาสัมพันธ์ช่องทางการยืนยันตัวตนเพื่อยื่นแบบเสียภาษีออนไลน์ และไม่มีองค์ประกอบที่ถือเป็นความเสี่ยงจากการปลอมแปลงของมิจฉาชีพ ทั้ง Qr code หรือ Link อย่างไรก็ตามศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ได้สอบถามไปยังผู้มีเงินได้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีบางท่าน ก็ได้รับจดหมายเช่นเดียวกัน ดังนั้น จดหมายดังกล่าวจึงไม่สามารถตัดสินได้ว่า ถูกส่งมาจากมิจฉาชีพ จากฐานข้อมูลศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า ก่อนหน้านี้เคยมีจดหมายจริงจากหลายองค์กรถูกทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นมิจฉาชีพ ทั้ง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ไปรษณีย์ไทย ใบสั่งจราจร แบบสำรวจของศาลปกครอง ดังนั้น ควรตรวจสอบความถูกต้องจากหน่วยงานต้นทางก่อนทุกครั้ง ก่อนส่งต่อข้อมูล 2 มีนาคม 2567ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย เสาวภาคย์ รัตนพงศ์ ข้อความที่แชร์กัน ใครที่ได้รับจดหมายจากกรมสรรพากรให้ยืนยันตัวตนด้วยดิจิทัล ไอดี ตั้งสติอย่าทำตาม เป็นจดหมายจากมิจฉาชีพที่ทำได้เสมือนจริงว่ามาจากสรรพากร

ชัวร์ก่อนแชร์ : 8 สัญญาณเตือนมะเร็งปากมดลูก จริงหรือ ?

29 กุมภาพันธ์ 2567 – ตามที่มีการแชร์ 8 สัญญาณเตือน มะเร็งปากมดลูก มีตั้งแต่น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ ปัสสาวะไม่ออก ประจำเดือนมาไม่ปกติ และมีอาการปวดท้องน้อยนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 8 อาการเตือน มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้ หากรู้จักวิธีการป้องกันตนเอง และหมั่นไปตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวี (HPV) สัมภาษณ์เมื่อ : 14 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวัง QR CODE ในจดหมายราชการปลอม จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือนระวัง QR CODE ในจดหมายราชการปลอม นั้น 📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ เป็น QR CODE จริง เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศาลปกครอง 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า บนเว็บไซต์ของสำนักงานศาลปกครอง ยืนยันว่า เอกสารดังกล่าวเป็นของจริง โดยเป็นแบบสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศาลปกครอง ทั้งนี้วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 พบว่า สำนักงานศาลปกครองได้ปิดรับแบบสำรวจฯ เนื่องจากได้จำนวนครบที่ต้องการแล้ว 👉 จากฐานข้อมูลศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า ก่อนหน้านี้เคยมีจดหมายจริงจากหลายองค์กรถูกทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นมิจฉาชีพ ทั้ง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ใบสั่งจราจร  ไปรษณีย์ไทย ธนาคารกสิกรไทย 👉 สำหรับกรณีที่ “สแกนแล้ว ถูกดูดเงินในบัญชีจนหมดบัญชี” ในทันทีนั้น มีความเป็นไปได้จริงน้อยมาก เพราะก่อนจะโอนเงินออกไปได้ จะต้องผ่านการสั่งงานและกดยืนยันหลายขั้นตอน ซึ่งคนร้ายมักจะใช้วิธีการ หลอกให้ติดตั้งแอป หลอกให้กรอกข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการโจรกรรมอีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีขั้นตอนมากกว่าการสแกนในคราวเดียว 👉 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต วิธีแก้ท้องผูก จริงหรือ ?

28 กุมภาพันธ์ 2567 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับวิธีแก้อาการท้องผูก ทั้งการกดจุด กระตุ้นลำไส้ และให้ดื่มน้ำผึ้ง น้ำมะขาม ล้างอุจจาระตกค้าง ลำไส้สะอาดอย่างไม่น่าเชื่อ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : เตือนอุจจาระตกค้างจาก 5 สาเหตุ จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความในโซเชียลระบุว่า กินมากแต่ไม่ถ่าย ท้องแข็ง ไม่ตดนอนไม่หลับอึดอัดแน่น ลมในท้องจะเข้าแทรกดันไตกะบังลมให้ปวดออกหลัง ปล่อยไว้ปอดหัวใจทำงานผิดปกติ บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : พญ. คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมอาจารย์ นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช หน่วยโรคระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “ภาวะอุจจาระตกค้างไม่มีอยู่จริง หากจะมีเป็นอาการถ่ายไม่ออกนาน ๆ ซึ่งวิธีแก้ที่ตรงจุด คือการกินผักและสร้างวินัยในการขับถ่าย ส่วนข้อมูลที่ว่า กินมากแต่ไม่ถ่ายปล่อยไว้ปอดหัวใจทำงานผิดปกตินั้น ภาวะอุจจาระตกค้าง ไม่มีผลต่อการทำงานของปอดและหัวใจ” อันดับที่ 2 : สูตรอาหารดีท็อกซ์ ล้างลำไส้ จริงหรือ ? มีการแชร์ 4 สูตรน้ำดีท็อกซ์ล้างลำไส้ ทำติดกัน 3 วันน้ำหนักลด-พุงยุบ บทสรุป : จริงบางส่วน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ MotorCheck : อันตรายจากการใช้ยางที่เสื่อมสภาพ จริงหรือ ?

27 กุมภาพันธ์ 2567 – ตามที่มีการแชร์ข้ออันตรายของการใช้ยางรถยนต์ที่เสื่อมสภาพ เช่น การยึดเกาะถนนที่ลดลง และ เสี่ยงแตกหรือระเบิดขณะใช้งานนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ Q : ดอกยางเหลือน้อยจะทำให้การเกาะถนนลดลง ระยะเบรกเพิ่มขึ้น ?A : เมื่อยางรถยนต์เสื่อมสภาพ ก็จะทำให้ดอกยางนั้นลึกลงไปจนแทบไม่เหลือดอกยาง ทำให้ระยะของการเบรกนั้นผิดปกติจากที่เคยเป็น หรืออาจทำให้ระยะเบรกยาวขึ้น  Q : หากยางเก่ามาก เนื้อยางจะแข็งกระด้าง ขาดความนุ่มนวล ?A : ยางเก่าเก็บ หรือ ยางหมดอายุการใช้งาน เช่น แก้มยางมีรอยแตกลายงา บวม ฉีกขาด ดอกยางหมดสภาพ ส่งผลให้เนื้อยางแข็งกระด้าง ขาดความนุ่มนวล และไม่ดูดซับแรงกระแทกจากผิวจราจรที่ขรุขระ ระยะเบรกจะยาวขึ้น เพราะหน้ายางไม่เกาะถนนแล้ว Q : เสี่ยงยางแตกหรือระเบิดขณะใช้งาน ?A : ยางรถยนต์ระเบิดนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ รักษาโรคอ้วน

23 กุมภาพันธ์ 2667 – ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ อันตรายหรือไม่ ช่วยลดน้ำหนัก รักษาโรคอ้วนได้อย่างไร แล้วใครที่ไม่ควรทำ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.นพ.วรบุตร ทวีรุจจนะ ศัลยแพทย์ทางเดินอาหารและตับ แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด โรงพยาบาลธนบุรี หมายเหตุ: เนื้อหานี้นำเสนอข้อเท็จจริงตามกรอบมาตรฐานของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์โดยได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลธนบุรี สัมภาษณ์เมื่อ : 8 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

1 3 4 5 6 7 188
...