fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check Factsheet : รู้จัก และเข้าใจ “น้ำมันเครื่อง”

20 กุมภาพันธ์ 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับน้ำมันเครื่อง น้ำมันเครื่องทำหน้าที่อะไร และมีให้เลือกใช้กี่รูปแบบ รวมทั้งควรดูแลรักษาอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ น้ำมันเครื่องคืออะไร ? น้ำมันเครื่อง คือ สารหล่อลื่นที่ป้องกันไม่ให้ชิ้นโลหะเสียดสีกันทำหน้าที่เป็นฟิล์มเคลือบชิ้นส่วนโลหะ สามารถช่วยลดการเสียดสีและการสึกหรอของวัตถุโลหะขณะที่มีการเคลื่อนไหวของเครื่องยนต์ อีกทั้งช่วยระบายความร้อนให้ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ป้องกันการเกิดสนิม คราบตะกรันเหนียวที่อาจทำให้เกิดการอุดตันภายในชิ้นส่วนเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่องแบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้ 1. น้ำมันเครื่องจากปิโตรเลียม  เป็นน้ำมันเครื่องที่ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่กลั่นจากน้ำมันปิโตรเลียม ใช้งานได้ประมาณ 5,000 กิโลเมตร หรือไม่เกิน 6 เดือน  2. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic) เป็นน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้น้ำมันธรรมชาติเป็นฐานและเติมสารสังเคราะห์เพิ่ม เพื่อให้มีคุณสมบัติสูงขึ้น ใช้งานได้ประมาณ 7,000-10,000 กิโลเมตร หรือไม่เกิน 6 เดือน  3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ (Fully Synthetic) เป็นน้ำมันหล่อลื่นที่เป็นสารสังเคราะห์ดัดแปลง 100% มีสิ่งแปลกปลอมเจือปนน้อย ใช้งานได้ประมาณ 10,000-20,000 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนระวัง หลอดเลือดสมองแตกหลังอาบน้ำ จริงหรือ ?

19 กุมภาพันธ์ 2567 – ตามที่มีการแชร์ข่าวเตือนว่า ชายหลอดเลือดสมองแตกหลังอาบน้ำ เหตุเจออากาศเย็น ถูกส่งโรงพยาบาลพบความดันสูง หลอดเลือดสมองตีบ อันตรายถึงชีวิตนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์หญิงวริสา วงศ์ภาณุวิชญ์ นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานประสาทศัลยศาสตร์ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ อธิบายว่า ข้อมูลในเนื้อข่าวยังขาดข้อมูลปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น โรคประจำตัว การดื่มสุราเป็นประจำหรือไม่  “เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง ธรรมชาติของร่างกายจะมีกลไกขยายหรือหดตัวของหลอดเลือดที่ผิวหนัง เพื่อคุมให้อุณภูมิในร่างกายให้คงที่ เพราะฉะนั้นเมื่ออุณหภูมิที่ต่างกันมาก จะมีผลหลัก ๆ ที่เส้นเลือดที่ผิวหนังมากกว่าถึงหลอดเลือดที่อยู่ข้างในตัว” การอาบน้ำส่งผลต่อหลอดเลือดในสมองหรือไม่ ? การอาบน้ำไม่ได้ส่งผลให้เกิดหลอดเลือดในสมองถึงจะมีอุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็นจัด ก็ไม่เกี่ยวกับอาการหลอดเลือดในสมองแตกแต่อย่างใด ตามข่าวอาจเป็นความบังเอิญมาเกิดอาการหลอดเลือดในสมองแตกหลังอาบน้ำพอดี ในความเป็นจริง หลอดเลือดสมองสามารถแตกตอนไหนก็ได้ เป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกันแต่ไม่ได้เป็นเหตุเป็นผลเกี่ยวข้องกัน ส่วนโรคเส้นเลือดในสมอง มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง ที่ทำให้สมองอยู่ในภาวะขาดเลือด โดยอาจเกิดจากการที่หลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน จากการที่มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ หรือไขมันที่สะสมเป็นเวลานาน เข้าไปขวางการไหลเวียนของเลือดที่จะเข้าไปเลี้ยงสมอง และอาจเกิดจากหลอดเลือดสมองปริแตก ฉีกขาด เพราะหลอดเลือดสมองอาจมีความเปราะบาง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปัญหาการต่อขนตา

15 กุมภาพันธ์ 2567 ปัญหาจากการต่อขนตาปลอมที่พบได้มีอะไรบ้าง และเราควรสังเกต ป้องกัน และดูแลอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 23 มกราคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สังเกต-เยียวยา โรคแพนิก

16 กุมภาพันธ์ 2567 รู้ได้อย่างไร ว่าเข้าข่ายเป็นโรคแพนิก มีสัญญาณความเสี่ยงตรงไหนบ้าง และจะเยียวยารักษาอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ : 21 ธันวาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : SIGHTONG ? — ความสัมพันธ์แบบผี ที่อยู่ดี ๆ ก็หายไป

17 กุมภาพันธ์ 2567 สิ่งนี้… เปรียบเสมือนผีในสังคมดิจิทัล และสิ่งนี้… กลายเป็นวิธีจบความสัมพันธ์ยอดนิยมของผู้คนสมัยใหม่ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 12 กุมภาพันธ์ 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : วัคซีนที่ผู้สูงอายุควรฉีด

18 กุมภาพันธ์ 2567 วัคซีนที่ผู้สูงอายุควรได้รับมีอะไรบ้าง และมีความจำเป็นแค่ไหน ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล อุปนายก สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ : 1 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

พลาดท่าบอกข้อมูลโจร ทำยังไงดี ?  | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀

15 กุมภาพันธ์ 2567 ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้มิจฉาชีพนั้นได้แฝงตัวอยู่เกือบทุกกิจกรรมการดำเนินชีวิต คอยหลอกล่อให้เราสูญเสียทั้งเงินและข้อมูลส่วนตัว  ทั้ง โทรศัพท์มาหลอก ส่ง SMS ปลอม  Line ปลอม  เว็บไซต์ปลอม รวมถึงเพจเฟซบุ๊กปลอม  หลายครั้งที่ช่องทางเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นอย่างแยบยล จนเราไม่ทันสังเกตเห็น ทำให้หลายคนพลาดท่าเสียข้อมูลส่วนตัวและทรัพย์สินให้กับโจรออนไลน์ จนเกิดความกังวลใจว่าแบบนี้มีความเสี่ยงอะไรหรือไม่ ? แล้วควรจะทำอย่างไรดี ?  วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 มีคำตอบจาก พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาคลายความกังวลให้ทุกคนกันค่ะ  ถาม : รับสายมิจฉาชีพไปแล้ว ทำอย่างไรดี ? “รับสายเบอร์แปลก มีโอกาสถูกแฮกข้อมูลหรือไม่”“รับมือเบอร์โทรศัพท์มิจฉาชีพ““มิจฉาชีพโทรมาควรทำอย่างไร” พล.ต.ต.นิเวศน์ ตอบ : แจ้งเครือข่ายโทรศัพท์ให้ทราบ เพื่อปิดเบอร์นั้น หากรับสายโทรศัพท์แล้วไม่มั่นใจว่าเป็นมิจฉาชีพหรือไม่ แนะนำให้วางสาย และขอเป็นฝ่ายโทรศัพท์กลับ เพราะถ้าเป็นเบอร์ของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่จริง แน่นอนว่าเราจะสามารถโทรศัพท์กลับไปหาได้  ถาม : เผลอบอกเลขบัญชีธนาคารไปแล้ว ต้องปิดบัญชีไหม ?“การที่บอกเลขที่บัญชี และชื่อบัญชีธนาคารของเราให้คนอื่นรู้ จะมีคนสามารถโจรกรรมบัญชีเราได้ไหม”“โดนหลอกให้ส่งเลขบัญชีไปเป็นไรไหมคะ”“ส่งบัตรประชาชน เลขที่บัญชี ให้คนแปลกหน้า อันตรายไหม”  […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แค่รับสาย ก็โดนดูดเงินหายได้ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือนว่า แก็งคอลล์เซ็นเตอร์ มีเทคโนโลยีใหม่ สามารถดูดเงิน โดยไม่ต้องกดลิงค์ หรือลงแอป นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด (ACIS) ได้รับการยืนยันว่า ในปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีในลักษณะดังกล่าว ที่เพียงแค่รับสาย แล้วจะดูดเงินออกจากบัญชีได้ สามารถติดตามรายละเอียดได้ : https://www.youtube.com/live/xq2Pjs9RDDY?si=J5VQemUc56ovb3ZG ด้าน TB-CERT ภายใต้สมาคมธนาคารไทย เผยแพร่ข้อมูลยืนยันว่า ปัจจุบันธนาคารไม่มีการใช้เสียงในการยืนยันตัวตนเพื่อโอนเงิน ดังนั้นเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริงและยังไม่พบเหตุการณ์ความเสียหายเกิดขึ้นจากกรณีดังกล่าว ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก ระบบของธนาคารมีการป้องกันและพัฒนาการพิสูจน์ยืนยันตัวตนอย่างต่อเนื่อง เช่น มาตรการให้ยืนยันตัวตนผ่านการสแกนหน้า ควบคู่กับข้อมูลส่วนบุคคล และรวมถึงการกำหนดวงเงินในการทำธุรกรรม และ TB-CERT ภายใต้สมาคมธนาคารไทย รวมถึงธนาคารสมาชิก ได้ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection) ของลูกค้าทุกคน พร้อมปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการใช้บริการธนาคาร และสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและประชาชน [แถลงการณ์จาก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาแพ้แสง

11 กุมภาพันธ์ 2567 ภาวะตาแพ้แสงเป็นอย่างไร เกิดจากสาเหตุใด และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ? ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 23 มกราคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สรุปสิทธิทำฟัน ประกันสังคม

12 กุมภาพันธ์ 2567 – สรุปแล้วถือสิทธิประกันสังคม มีสิทธิทำฟันแบบไหนได้บ้าง แบบไหนมีวงเงิน แบบไหนไม่เกี่ยวกับวงเงิน แล้วถ้าอยากใส่ฟันปลอม ครอบคลุมแค่ไหน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ บุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม สัมภาษณ์เมื่อ : 8 กุมภาพันธ์ 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ MotorCheck : สาเหตุที่ทำให้แอร์รถยนต์ไม่เย็น จริงหรือ ?

13 กุมภาพันธ์ 2567 – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์สาเหตุที่ทำให้แอร์ของรถยนต์ไม่เย็น เช่น น้ำยาแอร์ขาด และ คอมเพรสเซอร์แอร์พัง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 18 มกราคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ฝุ่น PM 2.5 ทำร้ายดวงตา

8 กุมภาพันธ์ 2567 ฝุ่น PM 2.5 อันตรายต่อดวงตาแค่ไหน และจะมีวิธีการดูแล และป้องกันอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ในสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ที่มีค่าสูงเกินมาตรฐานก็ส่งผลต่อดวงตาได้ เช่น อาการตาแดง ผู้ที่ภูมิแพ้ที่ตาจะมีอาการรุนแรงได้มาก และในผู้ใช้คอนแทคเลนส์ก็จะมีภาวะตาแห้ง ระคายเคืองตา และแสบตาได้มากขึ้น ส่วนในคนที่เป็นภูมิแพ้บริเวณดวงตา เมื่อต้องอยู่ในบริเวณที่มีฝุ่น PM 2.5 ควรหาแว่นตาชนิดพิเศษที่มีขอบด้านข้างและด้านบนมาใส่เพื่อลดปริมาณ PM 2.5 ที่จะเข้ามาสัมผัสที่ดวงตา วิธีป้องกันดวงตาจากฝุ่น PM 2.5 สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงกิจกรรมในช่วงที่มีฝุ่น PM 2.5 หลีกเลี่ยงการขยี้ตาถ้ามีอาการระคายเคืองตา หรือหยอดน้ำตาเทียมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและชำระล้างสารระคายเคืองออกไปบางส่วนหากเกิดอาการระคายเคืองตามากจากการแพ้ฝุ่นหรือตาแดงอักเสบมากควรมาพบจักษุแพทย์ สัมภาษณ์เมื่อ : 23 มกราคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

1 5 6 7 8 9 188
...