หนังสือดี ผีชวนอ่าน “งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29”   มาพบกัน “ชัวร์ก่อนแชร์” บูธ B21

กลับมาอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่กับ “มหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29” จัดโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) ปีนี้ฉีกแนวสุดหลอนในธีม “อ่านกันยันโลกหน้า” พบกับกิจกรรมผี ผี และอีกกว่า 100 กิจกรรมเอาใจนักอ่าน   นอกจากนี้ยังได้กระทบไหล่นักเขียนชื่อดังมากมาย บนพื้นที่กว่า 20,000 ตารางเมตร กำหนดจัดขึ้นวันที่ 10-20 ตุลาคม 2567 ณ ฮอลล์ 5-7 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ภายในงานจะได้พบ “กระสือแอร์ไลน์” สายการบินแห่งใหม่ที่จะพาไปสัมผัสกับความหลอนของ หัวกระสือสาว นิทรรศการ “เพลนผีบอก” และ “ทางออกสู่โลกหน้า” การกลับมาของหนังสือผีในตำนาน หนังสือผีไทยเล่มละบาท และหนังสือทุกแนว ทุกสไตล์รวมกันไว้ในงานกว่า 2 ล้านเล่ม จาก 286 สำนักพิมพ์รวม 855 บูธ นายสุวิช รุ่งวัฒนไพบูลย์ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปีนี้ถือเป็นครั้งแรกที่สมาคมฉีกแนวการจัดงานเพื่อให้งานมหกรรมหนังสือระดับชาติเป็นมากกว่าการขายหนังสือ ที่สมาคมมุ่งนำเสนอความแปลกใหม่ ความเป็นเฟสติวัลมากกว่าการเป็นงานมหกรรมหนังสือที่จำหน่ายหนังสืออย่างเดียว ด้านภาพรวมอุตสาหกรรมหนังสือในปีนี้คาดว่าจะเติบโต 10% จากปีก่อนที่มีมูลค่ารวมกว่า 16,000 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : ฝาครอบคาลิปเปอร์เบรกแต่ง ห้ามใส่ จริงหรือ ?

24 กันยายน 2567 – ตามที่มีการแชร์เตือนผู้ใช้งานรถยนต์ว่า ไม่ควรใส่ฝาครอบดิสเบรกแต่ง หรือฝาครอบคาลิปเปอร์เบรก เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับคุณสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ ฝาครอบคาลิปเปอร์ คืออะไร ? ฝาครอบคาลิปเปอร์เบรก คือ อุปกรณ์ที่ทำจากพลาสติก อะลูมิเนียม หรือแสตนเลส แล้วแต่เกรด และนำมาคลอบเข้ากับคาลิปเปอร์เบรกเพื่อความสวยงาม แต่เนื่องจากฝาครอบคาลิปเปอร์มีราคาแพง จึงมีของลอกเลียนแบบออกมา แชร์ว่า ติดฝาครอบคาลิปเปอร์เบรก การระบายความร้อนของเบรกจะแย่ลง จริงหรือ ? ผู้เชี่ยวชาญ อธิบายว่า วัสดุแต่ละชนิดมีอัตราการระบายความร้อนแตกต่างกัน หากเป็นพลาสติกการระบายความร้อนจะไม่ดีเท่าไหร่นัก เพราะว่าฝาครอบที่ทำจากพลาสติกจะทำหน้าที่เป็น ตัวดูดความร้อน และจะไม่ถ่ายเทความร้อน จะทำให้คาลิปเปอร์มีอุณหภูมิสูงขึ้นมีโอกาสที่รถจะเกิดอันตรายได้ สัมภาษณ์เมื่อ : 25 สิงหาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ไรในโรงเก็บ

23 กันยายน 2567 ไรในโรงเก็บ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มักพบในอาหารแห้ง อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พบไรชนิดนี้ และควรจะจัดการหรือป้องกันอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร. กนิฐพร วังใน อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมภาษณ์เมื่อ 4 มิถุนายน 2567 และ รศ.ดร.วนิดา อ่วมเจริญ รองหัวหน้าภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมภาษณ์เมื่อ 28 พฤษภาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ยา 3 ชนิดที่ก่อไตวายมากขึ้น จริงหรือ ?

20 กันยายน 2567  – ตามกรณีที่มีการแชร์คลิปเตือนว่า มียา 3 ชนิดที่ก่อให้เกิดไตวายได้มากขึ้น ยาเป็นสาเหตุไตวายอันดับ 1 ที่ต้องระวังมีทั้ง ยาเบาหวาน ยาความดัน และยาลดกรด บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.) 1. แชร์ว่า ไตวาย ไตเสื่อม เพราะยารักษาโรคเบาหวาน จริงหรือ ? ยากลุ่ม Sulfonylureas หรือ กลุ่มยาเบาหวาน จะไม่ใช่ยากลุ่มที่ส่งผลต่อการทำงานของไตตามข้อมูลที่แชร์มา อาการไตวาย ไตเสื่อม พบได้บ่อยจากการที่คนไข้น้ำตาลสูงและไม่ได้รับการควบคุม เมื่อแพทย์จ่ายยาเบาหวานเพื่อควบคุมระดับน้ำในเลือดของคนไข้ได้ ก็มีโอกาสเป็นโรคไตน้อยลง แต่ในกรณีผู้ป่วยบางรายมีการหยุดยาเอง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น เพราะร่างกายเอาน้ำตาลส่วนเกินไปใช้ไม่ได้ อินซูลินไม่ดึงเอาน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงาน ดังนั้น ไตแย่ลงเพราะไม่ยอมกินยา ไม่คุมเบาหวาน ไม่ใช่ไตแย่ลงเพราะกินยา 2. แชร์ว่า ยา statins หรือยาลดไขมัน ทำให้ไตวาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปานและไฝที่ดวงตา

22 กันยายน 2567 จุดดำที่ดวงตาเกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายหรือไม่ และจะมีวิธีการสังเกตอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ไฝที่ดวงตาเกิดจากอะไร ? ไฝ (Nevus) เป็นสิ่งที่เราสามารถพบได้ตามผิวหนังของทุกคน โดยทั่วไปมักไม่มีอันตรายใด ๆ แต่หากเป็นไฝที่โตเร็วผิดปกติ มีผิวหนังขรุขระ หรือมีเลือดออกควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจชิ้นเนื้อ วิธีการรักษา 1. กรณีไฝอันตราย ควรพบแพทย์เพื่อเก็บตัวอย่างผิวหนัง ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา2. กรณีไฝธรรมดาสามารถกำจัดออกด้วยการจี้ไฝออกไปได้ ปานที่เยื่อบุตาขาว เกิดจากอะไร ? ปาน (Melanosis) เป็นภาวะที่มีพื้นที่บางส่วนของตาขาว มีสีเข้มกว่าบริเวณอื่น ๆ ส่วนใหญ่มักพบตั้งแต่กำเนิด บางชนิดอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นตามอายุ หากเป็นบริเวณที่ค่อนข้างกว้าง อาจมีความเสี่ยงเกิดโรคต้อหินได้ ซึ่งอาจต้องได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อหาวิธีรักษาที่เหมาะสม สัมภาษณ์เมื่อ : 13 สิงหาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สาเหตุและการรักษาโรคเส้นเลือดขอด

19 กันยายน 2567 หลอดเลือดขอด หรือเส้นเลือดขอดคืออะไร เกิดได้จากสาเหตุใด และจะมีวิธีการป้องกันและรักษาอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.เทิดภูมิ เบญญากร สาขาวิชาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เส้นเลือดขอด คืออะไร เส้นเลือดขอด เป็นภาวะที่หลอดเลือดดำบริเวณใกล้ชั้นผิวหนังขยายตัวผิดปกติ เกิดเป็นแรงดันที่หลอดเลือดดำ ซึ่งทำให้เส้นเลือดโป่งพองสีเขียวคล้ำ สาเหตุการเกิดเส้นเลือดขอด -เกิดจากความดันในหลอดเลือดดำขณะยืน เดินนาน ๆ การนั่งไขว่ห้าง และการใส่ส้นสูง ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวกจึงทำให้เส้นเลือดโป่งพองขึ้น -ผู้หญิงมีโอกาสเกิดเส้นเลือดขอดมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิง การตั้งครรภ์ การรับประทานยาคุมกำเนิด เป็นต้น -น้ำหนักตัวที่มากเกินไป ทำให้เกิดแรงดันสูงขึ้นภายในหลอดเลือดที่บริเวณขา เป็นเหตุให้เกิดเส้นเลือดขอดที่ขาได้ -อายุเพิ่มขึ้น จะพบเส้นเลือดขอดมากขื้น  เนื่องจากความยืดหยุ่นของเส้นเลือดและความแข็งแรงของลิ้นหลอดเลือดลดน้อยลง แนวทางในการรักษาเส้นเลือดขอด เริ่มจากการใส่ถุงน่องความดัน ทางการแพทย์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ ถุงน่องจะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณน่องขาบีบตัวได้ดีขึ้น ควบคู่ไปกับการรับประทานยา หากไม่ดีขึ้นแพทย์อาจจะพิจารณาเรื่องการผ่าตัดเอาเส้นเลือดออก แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการรักษาแบบใหม่การใช้สายสวน อาจจะใช้ความร้อนหรือกาวมาอุดบริเวณเส้นเลือดขอด สัมภาษณ์เมื่อ : 19 สิงหาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : รู้จัก ลมยางไนโตรเจน

17 กันยายน 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ ลมยางไนโตรเจนว่า แตกต่างจากลมยางธรรมดาทั่วไปอย่างไร และมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร. นภดล กลิ่นทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สัมภาษณ์เมื่อ : 25 กรกฎาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดคำเตือนห้ามกินหอย จริงหรือ ?

18 กันยายน 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์สารพัดคำเตือนห้ามกินหอย โดยเฉพาะหอยนางรมสด เสี่ยงเจอแบคทีเรียกินเนื้อมนุษย์ และควรหยุดกินหอยแครง เพราะอาจเป็นเหตุทำให้เกิดมะเร็งตามมาได้ ?! ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.กิตติยศ ภู่วรวรรณ ภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาจารย์ นายแพทย์ สุพจน์ นิ่มอนงค์ สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลศิริราช คุณวรรณวิภา สุวรรณรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กรมประมง รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย ผู้อำนวยการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ รองอธิบดี กรมประมง รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิปส่องตัวไรในบะหมี่-ขนมขบเคี้ยว จริงหรือ ?

16 กันยายน 2567 – ตามที่มีการคลิปการส่องกล้อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และ มันฝรั่งขนมขบเคี้ยว พบสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเต็มไปหมด พร้อมเตือนคนที่ชอบกินระวังไว้นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.วนิดา อ่วมเจริญ รองหัวหน้าภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมภาษณ์เมื่อ : 28 พฤษภาคม 2567 และ ผศ.ดร. กนิฐพร วังใน อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน สัมภาษณ์เมื่อ : 4 มิถุนายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนระวังเชื้อราในตู้เย็น จริงหรือ ?

15 กันยายน 2567 – บนโซเชียลแชร์เตือนให้ระวังเชื้อราในตู้เย็น โดยบอกว่า 98% เรากินเชื้อราโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น ควรใช้ผ้าชุบแอลกอฮอล์ เช็ดตู้เย็นสัปดาห์ละครั้ง และวางวาซาบิไว้ ช่วยชะลอการโตของราในตู้เย็นได้ บทสรุป : จริง แชร์ได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.อรอุมา เพียซ้าย ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการสมาคมสารพิษจากเชื้อราแห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 24 กรกฎาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : ศธ.เตือนภัย โจรปลอมไลน์เป็นครูแนะแนว หลอกขอข้อมูลขโมยเงินนักเรียน

14 กันยายน 2567- นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งเหตุการณ์นักเรียนถูกหลอกลวงทางออนไลน์ เหตุเกิดในคืนวันที่ 11 กันยายน 2567 เวลาประมาณ 23.41 น. ผู้หลอกลวงได้สร้างบัญชีปลอมและใช้รูปโปรไฟล์ของครูแนะแนว ทำการติดต่อกับนักเรียนทางแอปพลิเคชันไลน์ Open Chat กลุ่มแนะแนวศึกษาต่อของนักเรียน ม.6 โดยแจ้งว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการยืนยันสถานะบัญชีของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และขอให้นักเรียนส่งข้อมูลส่วนตัว อาทิ ชื่อ-นามสกุล สถานะบัญชีในแอปพลิเคชัน กยศ. และข้อมูลทางการเงินอื่น ๆ เพื่อทำการแก้ไขปัญหา และอ้างเหตุผลว่านักเรียนมีปัญหาในการยืนยันบัญชีทางการเงิน ทำให้เด็กหลงเชื่อและให้ข้อมูลส่วนตัว เลขบัญชีธนาคาร ข้อมูลบัตรเครดิต และรหัส OTP ผ่านทางลิงค์ที่ผู้แอบอ้างส่งมา ทำให้เงินในบัญชีธนาคารของเด็กถูกโอนออกไปยังบัญชี ShopeePay (Thailand) เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,600 บาท ทั้งนี้ ครูแนะแนวของโรงเรียนได้ทำการตรวจสอบและยืนยันว่า บัญชีผู้ใช้ที่ติดต่อกับนักเรียนไม่ใช่ของครูแนะแนวตัวจริง และครูไม่เคยมีการติดต่อขอให้นักเรียนทำธุรกรรมทางการเงินแต่อย่างใด และเรียกประชุมนักเรียนที่กู้ยืมเงิน กยศ. เพื่อชี้แจงและเตือนภัยเกี่ยวกับการหลอกลวงทางการเงินออนไลน์ทันที พร้อมทั้งขอให้นักเรียนระมัดระวังในการส่งข้อมูลส่วนตัวและการทำธุรกรรมทางการเงินกับบุคคลที่ไม่ใช่ผู้รับผิดชอบโดยตรง “จากกรณีดังกล่าวพบว่ามิจฉาชีพปลอมบัญชีครูแนะแนว ติดต่อขอข้อมูลของนักเรียนในช่วงกลางดึก ซึ่งที่จริงแล้วไม่ใช่เวลาที่จะมาขอข้อมูลกัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ริดสีดวงที่ดวงตา

12 กันยายน 2567 – ริดสีดวงที่ดวงตา เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายแค่ไหน และควรป้องกันอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 13 สิงหาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

1 4 5 6 7 8 201
...