เปิดใจ อ.ปริญญา หอมเอนก เหยื่อรายแรกของแฮกเกอร์ 9Near | ชัวร์ก่อนแชร์ LIVE

CyberAlert!🚨 โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ “ต้องขอบคุณ คุณแฮกเกอร์ ที่ให้เกียรติผมเป็นคนแรก” อ.ปริญญาเผยหลังข้อมูลถูกขึงสู่สาธารณะ โดนสายโทรเข้ากระหน่ำ ซ้ำโดนยิง SMS ด้วยบอต แนะแฮกเกอร์หันมาพูดคุย นำทักษะความเชี่ยวชาญที่มีกลับมาปกป้องคนไทยด้วยกัน ขณะที่หน่วยงานทุกแห่งควรเรียนรู้จากบทเรียนนี้ และยกระดับความปลอดภัยข้อมูลประชาชน จากกรณีแฮกเกอร์สร้างเว็บไซต์ 9Near.org โดยระบุว่ามีข้อมูลส่วนตัวหลุดรั่วของคนไทย 55 ล้านคน และขีดเส้นตาย 5 เมษายน 2566 เวลา 16.00 น. ให้หน่วยงานที่คิดว่าเป็นผู้ดูแลข้อมูลนั้นติดต่อกลับ ซึ่งล่าสุดเว็บไซต์ดังกล่าวถูกปิดกั้นโดยกระทรวงดิจิทัลฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น พื้นที่ส่วนบนสุดของเว็บไซต์ แฮกเกอร์วางคลิปวิดีโอบทสัมภาษณ์ของ “อ.ปริญญา หอมเอนก” ซึ่งให้สัมภาษณ์กับสื่อแห่งหนึ่งเกี่ยวกับกรณีข้อมูลหลุด 55 ล้านคนดังกล่าว และด้านล่างวิดีโอยังมีข้อมูลส่วนบุคคล ทั้ง ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด หมายเลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่ และ เบอร์โทรศัพท์มือถือ ชัวร์ก่อนแชร์ LIVE สัมภาษณ์สด อ.ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน […]

แฮกเกอร์ 9Near ประกาศ “OPERATION STOPPED” ยุติแผนเปิดข้อมูลส่วนตัวคนไทย

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ กรุงเทพฯ 2 เม.ย. 66 – เมื่อเวลา 12.23 น. วันที่ 2 เมษายน 2566 ตัวแทนแฮกเกอร์ 9Near ประกาศผ่านข้อความซึ่งส่งในกลุ่มสนทนาของแอป Telegram ชื่อ 9Near.Aunouncement ซึ่งมีสมาชิกติดตามกว่า 2,200 ราย และเป็นกลุ่มที่ไม่อนุญาตให้มีการส่งข้อความใด ๆ ผู้ใช้งานชื่อ Smit Near ซึ่งเป็นเจ้าของกลุ่ม ได้ส่งข้อความเข้าในกลุ่มดังกล่าว โดยมีเนื้อหาสำคัญ ประกาศข่าวดีว่า “OPERATION STOPPED” as our sponsor conflict. ซึ่งหมายถึงว่า การปฏิบัติการได้หยุดลงแล้ว เนื่องจากความขัดแย้งไม่ลงรอยกับ “สปอนเซอร์” ของเรา เนื้อความซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ ยังกล่าวถึงคนทั่วไปว่า พวกตนไม่ต้องการทำร้ายคุณทุกคน และเราไม่เห็นด้วยกับการปฏิบัติการทางการเมืองตามแผนการที่พวกเขาวางไว้ ซึ่งมันกำลังสกปรกยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น เราจึงไม่มีเหตุผลใด ๆ […]

สุขสันต์ วันตรวจสอบข้อเท็จจริง 2 เมษายน 2566 | ชัวร์ก่อนแชร์

สุขสันต์ วันตรวจสอบข้อเท็จจริง 2 เมษายน 2566 | ชัวร์ก่อนแชร์

บทความ โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ สืบเนื่องจากกระแสทั่วโลกที่ “ข่าวปลอม” “ข่าวลวง” ข้อมูลเท็จโหมกระหน่ำ และ ลามไปถึงการหลอกลวงในรูปแบบภัยไซเบอร์ ซึ่งไม่เพียงสร้างความความเข้าใจผิดทางสุขภาพ การเมือง กฎหมาย ข่าวสาร  แต่ยังสร้างความเดือดร้อนถึงตัวตนและทรัพย์สินแก่ผู้คนมากมาย วันที่ 2 เมษายน 2566 จึงถูกกำหนดไว้ให้เป็น International Fact-Checking Day หรือ วันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล ซึ่งวัตถุประสงค์ของการกำหนดวันนี้ขึ้นมา ก็ตรงไปตรงมาตามชื่อ นั่นคือ วันที่จะร่วมกันรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือ Fact-Checking หรือถ้าแปลเป็นไทยง่าย ๆ คือ การตรวจสอบข่าวปลอม การจับข่าวลวง เราจึงได้ยินการเรียกขานวันนี้ว่า “วันตรวจสอบข่าวลวงโลก” หรือแม้แต่ “วันชัวร์ก่อนแชร์” วันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล นับเป็น “วันตั้งใหม่” เมื่อไม่นานมานี้ ข้อมูลของเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล (International Fact-Checking Network หรือ IFCN) บันทึกไว้ว่า วันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล หรือ IFCD ถูกกล่าวถึงในการประชุมเครือข่ายเมื่อปี […]

5 คำถาม 3 เคล็ดลับ รับมือภัยไซเบอร์และข้อมูลเท็จในยุค A.I. | ชัวร์ก่อนแชร์

5 คำถาม 3 เคล็ดลับ รับมือภัยไซเบอร์และข้อมูลเท็จในยุค A.I. | ชัวร์ก่อนแชร์

บทความ โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ถึงเวลาปัดฝุ่นฝีมือและวิจารณญาณกันอีกครั้ง เพื่อป้องกันภัยจากการหลอกลวงที่กำลังยกระดับไปอีกขั้น ในยุคที่ “คนร้าย” ร่วมมือกับ “เอไอ” เนื่องในวันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล 2 เมษายน 2566 “ชัวร์ก่อนแชร์” มีเทคนิคสั้นกระชับฉบับเข้าใจง่าย ทุกคนปฏิบัติได้มาฝากไว้ให้เป็นเคล็ดวิชาและวิธีคิดในการรับมือกับ ข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ และภัยไซเบอร์ ที่มีอยู่ดาษดื่น เมื่อ “ข่าวปลอม” หล่อหลอมกับ “เอไอ” กลายเป็น “ภัยไซเบอร์” ที่ลึกล้ำ ย้อนไปในช่วงเริ่มต้น ไม่กี่ปีก่อนที่โลกนี้จะรู้จัก “ข่าวปลอม” แบบที่เรารู้จักกันอยู่ เรื่องราวของข้อมูลเท็จและคำลวงหลอก ถูกเผยแพร่ในรูปแบบ “ข่าวลือ” หรือเรื่องที่ “เขาเล่าว่า” ส่งผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งปากต่อปาก ประชาคม หรือแม้กระทั่ง กระดานข่าว และ อีเมล แต่เมื่อเทคโนโลยีก้าวล้ำ ทำให้คนเชื่อมต่อพูดคุยกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แบ่งกลุ่มลับได้ไม่จำกัด และการสร้างเนื้อหาทั้งข่าว ภาพ คลิป เผยแพร่สู่วงกว้าง เป็นไปได้โดยง่ายและราคาถูก ปัญหาที่ดูเหมือนเล็ก จึงกลายเป็น […]

ระวัง! SMS ปลอม หลอกลงทะเบียนเราเที่ยวด้วยกัน | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 

วิธีหลอก : ส่ง SMS ปลอมให้ลงทะเบียนรับสิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5อุบาย : แนบลิงก์ให้เพิ่มเพื่อนบัญชีไลน์ปลอม หลอกติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อดักเอาข้อมูลสำคัญช่องทาง : ข้อความสั้น (SMS), LINE, โทรศัพท์มือถือ ตร.ไซเบอร์ เตือนภัยมิจฉาชีพ ส่ง SMS ปลอม ให้ลงทะเบียนรับสิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ สร้างความน่าเชื่อถือ ก่อนส่งลิงก์ให้เหยื่อโหลดแอปฯ ปลอม หลอกให้ตั้งรหัสผ่าน 6 ตัวซ้ำหลายครั้ง จากนั้นขอสิทธิ์ควบคุมอุปกรณ์ หวังใช้รหัสผ่านเข้าแอปฯ ธนาคารหลอกโอนเงิน กรุงเทพฯ 1 เม.ย. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ประชาสัมพันธ์เตือนภัยกรณีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นหน่วยงานรัฐ ส่งข้อความสั้น (SMS) ไปยังประชาชน เพื่อหลอกลวงให้กดลิงก์ลงทะเบียนรับสิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 แนบลิงก์ SMS เพิ่มเพื่อนไลน์ปลอม อ้างเป็นเจ้าหน้าที่สร้างความน่าเชื่อถือตามที่ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์กรณีประชาชนหลายรายได้รับ SMS จากหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา แจ้งข้อความว่า “โครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 […]

เตือน ! คนร้ายปลอมเว็บประกันสังคม หลอกโหลดแอปฯ | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

วิธีหลอก : แอบอ้างชื่อของสำนักงานประกันสังคม (สปส.)อุบาย : ใช้เว็บไซต์ปลอม หลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน เพื่อขโมยข้อมูลสำคัญช่องทาง : ข้อความสั้น (SMS), โทรศัพท์ สำนักงานประกันสังคมเตือนภัย มิจฉาชีพส่ง SMS พร้อมแนบลิงก์เว็บไซต์ปลอม หลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน เพื่อขโมยข้อมูลสำคัญ เป็นเหตุให้สูญเสียเงิน และถูกนำข้อมูลไปก่ออาชญากรรมได้ ล่าสุดเร่งประสานงาน เพื่อปิดเว็บไซต์ปลอมแล้ว ย้ำ ! ทางสำนักงานไม่มีนโยบายดังกล่าว กรุงเทพฯ 1 เม.ย. 66 – นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ประชาสัมพันธ์เตือนกรณีแก๊งมิจฉาชีพอาศัยวิธีการส่ง SMS หลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน ผ่านทางเว็บไซต์ปลอม หวังขโมยข้อมูลสำคัญไปสวมรอยทำธุรกรรมทางการเงิน หรือก่ออาชญากรรม แนบลิงก์เว็บไซต์ปลอม พร้อมแนะให้ติดตั้งแอปพลิเคชันแก๊งมิจฉาชีพใช้วิธีการส่ง SMS พร้อมแนบลิงก์เว็บไซต์ปลอม ที่กล่าวอ้างว่า เป็นของสำนักงานประกันสังคม โดยใช้ชื่อและสื่อคล้ายคลึงกันกับเว็บไซต์จริง จนก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ หากมีผู้ประกันตนหลงเชื่อจนเข้าสู่เว็บไซต์ดังกล่าว จะพบการแนะนำให้ดาวน์โหลดเอกสารต่าง ๆ และติดตั้งแอปพลิเคชันที่บังคับให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ นามสกุล […]

Whoscall เผยคนไทยเบอร์โทรรั่ว 13 ล้านเบอร์ เป็นอันดับ 4 รองจากมาเลเซีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น l ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 

กรุงเทพฯ 31 มี.ค. 66 – Whoscall แอปพลิเคชันระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จัก และป้องกันสแปมสำหรับสมาร์ทโฟน เปิดผลรายงานประจำปี พบว่า  มีการหลอกลวงทั้งจากสายโทรเข้า และข้อความ SMS รวม 405.4 ล้านครั้ง ทั่วโลก แม้ว่าตัวเลขโดยรวมจะลดลง จากปีที่แล้ว แต่สำหรับประเทศไทยการหลอกลวงยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่ง คนไทยยังต้องรับสายจากมิจฉาชีพเพิ่มขึ้น 165% หรือ 17 ล้านครั้งในปี 2565 รายงานยังเผยสถิติที่น่าตกใจ ถึงจำนวนการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ในประเทศไทยกว่า 45% หรือ 13.5 ล้านเบอร์  การรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์เป็นปัญหาสำคัญทั่วโลก รวมถึงการหลอกลวงทางข้อความ SMS ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง   สารพัดกลอุบายหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อ มิจฉาชีพนิยมส่งข้อความหลอกลวง เนื่องจากสามารถเข้าถึงเหยื่อจำนวนมากด้วยต้นทุนต่ำ ข้อความ SMS ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อ “ติดต่อครั้งแรก” โดยหลอกให้เหยื่อกดลิงก์ฟิชชิ่ง เพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว เพิ่มบัญชีไลน์ เพื่อหลอกให้ส่งข้อมูล หรือโอนเงินให้ กลอุบายที่พบบ่อย ได้แก่ การเสนอเงินกู้โดยมักอ้างรัฐบาล หรือธนาคาร  และการให้สิทธิ์เข้าตรงเว็บพนันออนไลน์ ที่ผิดกฎหมาย  คีย์เวิร์ดของข้อความหลอกลวงที่ถูกรายงาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคลมจากความร้อน (ฮีทสโตรก : Heat Stroke)

31 มีนาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา (ประเทศไทย) พยากรณ์อากาศสำหรับเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 ระบุว่า ประเทศไทยมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ อุณหภูมิสูงที่สุดจะสูงถึง 41-43 องศาเซลเซียส อุณหภูมิของอากาศที่สูงมากกว่า 40 องศาเซลเซียส ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนเราอย่างไรบ้าง ทั้ง ๆ ที่อุณหภูมิของร่างกายคือ 37 องศาเซลเซียส (98.6 องศาฟาเรนไฮต์) โดยธรรมชาติ ร่างกายคนเรามีกลไกปรับตัวกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นรอบตัวอยู่แล้ว รวมถึงการระบายความร้อนออกทางเหงื่อ แต่ถ้าอุณหภูมิรอบ ๆ ร่างกายสูงมากก็ทำให้การระบายความร้อนทางเหงื่อทำได้น้อยลง ก่อให้เกิดอาการเป็นลมหมดสติได้ โรคลมจากความร้อน อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังนี้ 1. อยู่ในที่อากาศร้อน อุณหภูมิมากกว่า 39.2 องศาเซลเซียส ติดต่อกันตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป และผู้ที่มีความเสี่ยงเกิดโรคลมจากความร้อน คือ เด็กเล็ก ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี คนอ้วน รวมถึงคนที่กินยาบางชนิดที่ขัดขวางกลไกการกำจัดความร้อนออกจากร่างกาย (เช่น ยารักษาโรคจิต ยาแก้แพ้) ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเสพยาบ้า 2. […]

ChatGPT กับอนาคตของ A.I. ในโลกไซเบอร์ | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

30 มีนาคม 2566 #THECYBERMINDSET รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย : ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท การพัฒนาที่ข้ามขั้นไปกว่าเดิมของ “ChatGPT” ได้สั่นคลอนความน่าเชื่อถือในโลกดิจิทัล ส่งผลให้มนุษย์ต้องเริ่มหาเครื่องมือไว้ “ควบคุม” สิ่งเหล่านี้ มาร่วมวิเคราะห์แนวโน้มของ Chatbot ในชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน บทบาทที่เปลี่ยนไปของ “ChatGPT” และความแนบเนียนในการสร้างผลงาน นำไปสู่การใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการหลอกลวงที่เกินกำลังมนุษย์ในการควบคุม เราจะมีวิธีรับมือกับความก้าวล้ำแบบนี้ได้อย่างไร ติดตามได้ใน EPISODE นี้

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTINFOcus : ฉีดฟิลเลอร์ ทำให้ตาบอดได้ จริงหรือ ?

จริง แชร์ได้ เนื่องจากเส้นเลือดบนใบหน้ามีความซับซ้อนและมีการเรียงตัวของเส้นเลือดของแต่ละคนต่างกัน หากฉีดฟิลเลอร์เข้าไปโดนเส้นเลือด ที่ลำเลียงไปบริเวณจอประสาทตา จะทำให้ เกิดการอุดตัน อาจตาบอดในที่สุด

ชัวร์ก่อนแชร์ : ดื่มน้ำมากเกินไป ทำให้ขาดแร่ธาตุ จริงหรือ ?

ส่วนที่จริง คือ การดื่มน้ำมากเกินไป ทำให้ปริมาณโซเดียมในเลือดต่ำ แต่อันตรายจากการดื่มน้ำมากเป็นภาวะที่เกิดได้ยากในคนปกติที่มีสุขภาพดี 

ส่วนที่ผิด คือ เมื่อร่างกายขาดแร่ธาตุขั้นวิกฤตแล้วให้ดื่มน้ำวิตามินเพื่อทดแทนนั้นไม่เป็นความจริง

1 49 50 51 52 53 199
...