19 เมษายน 2566 – จากกรณีมีการแชร์เกี่ยวกับสรรพคุณมะกรูดเอาไว้มากมาย เช่น ชามะกรูดช่วยแก้ความดันสูง และยังช่วยรักษาริดสีดวงทวารอีกด้วย เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์
อันดับที่ 1 : ดื่มชาใบมะกรูดลดความดัน จริงหรือ ?
ตรวจสอบข้อมูลกับ : ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌
“หากร่างกายได้รับวิตามินซีและฟลาโวนอยด์ในใบมะกรูดมากเกินไป อาจทำให้เกิดพิษสะสมอยู่ในร่างกายได้ ดังนั้นสูตรที่ชี้ให้กินใบมะกรูดจำนวนมากจึงไม่ควรทำตาม”
อันดับที่ 2 : มะกรูดรักษาริดสีดวงทวารได้ จริงหรือ ?
ตรวจสอบข้อมูลกับ : พ.ต.อ.ณัฎฐพงษ์ กุลสิทธิจินดา นายแพทย์ สบ 5 หัวหน้ากลุ่มงานศัลยกรรม รพ.ตำรวจ, รศ.ดร.ภญ.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ ที่ปรึกษาสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌
“การนำมะกรูดไปทาริดสีดวงทวารโดยตรง นอกจากจะไม่ช่วยรักษา ยังทำให้เกิดอาการอักเสบตามมาได้ อย่างไรก็มีสูตรสมุนไพรที่มีการใช้ผิวมะกรูดเป็นส่วนประกอบ ชื่อว่า น้ำมันมหาจักร เป็นตำรับน้ำมันในตำราพระโอสถพระนารายณ์ ช่วยลดอาการอักเสบของริดสีดวงทวารได้ ดังนั้นสูตรที่แชร์กันจึงไม่ควรทำตามอย่างยิ่ง”
อันดับที่ 3 : ใบมะกรูดมหัศจรรย์ บำรุงสมอง จริงหรือ ?
ตรวจสอบข้อมูลกับ : ผศ.ดร.ชนิพรรณ บุตรยี่ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌
“ผลและใบของมะกรูดมีสารต้านอนุมูลอิสระก็จริง แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าสูตรที่แชร์นั้นจะเป็นไปตามที่กล่าวอ้าง”
อันดับที่ 4 : ชาใบมะกรูดแก้ความดันสูง จริงหรือ ?
ตรวจสอบข้อมูลกับ : ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร , ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ กรรมการบริหารสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌
“สูตรดังกล่าวยังไม่มีการศึกษาทดลองในคน และการจะทดลองในคนต้องใช้เวลานานหลายปี อย่างไรก็ตาม การเยียวยาโรคที่ประหยัด ง่าย และทำได้ทันที คือการปรับพฤติกรรมของตัวเรา เช่น ลดกินเค็ม ออกกำลังกาย กินผักผลไม้ งดสูบบุหรี่ ก็เป็นอีกวิธีที่มีการยืนยันว่าช่วยลดความดันได้”
อันดับที่ 5 : มะกรูด มะนาว รักษาเบาหวาน จริงหรือ ?
ตรวจสอบข้อมูลกับ : ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌
“ยังไม่มีการศึกษาที่แน่ชัด ปัจจัยสำคัญของผู้ป่วยเบาหวาน คือการควบคุมอาหารให้เหมาะสม ลดแป้ง ลดน้ำตาล และควรได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้อง จะปลอดภัยมากกว่าการกินอะไร โดยไม่รู้ที่มาของสูตร”
อย่างไรก็ตาม พืชผักสมุนไพรแม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่ควรกินอย่างเข้าใจและควรพึงระวังไว้เสมอว่าการจะหายจากโรคได้ ยังต้องใช้เวลาในการรักษาอย่างถูกวิธี และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะปลอดภัยมากกว่า
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์ และ อัครวุฒิ ตู้วชิรกุล
เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter