“ศ.พญ.กุลกัญญา” แจงข้อสงสัยโควิด-19 XBB.1.16 แนะฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

19 เมษายน 2566
ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์และเสาวภาคย์ รัตนพงศ์


ตามที่มีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ XBB .1.16 อ้างว่ามาจาก ศ.พญ. กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ นั้น

ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ได้รับการยืนยันว่าเป็นเป็นข้อความที่เขียนจริง โดยเป็นการเขียนและส่งให้กับเพื่อนที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับไวรัสโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 และสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมากในขณะนี้



ข้อความที่แชร์กัน

วันที่ 19 เมษายน 2566


     ในช่วงสองวันที่ผ่านมานี้ได้รับ คำถามจากหลายหลายท่านเกี่ยวกับการระบาดของ โควิด-19 ที่กำลังเกิดขึ้น

     -มันกลับมาใหม่แล้วใช่ไหม?

     -สายพันธุ์ใหม่ XBB .1.16 น่ากลัวขึ้นไหม รุนแรงขึ้นกว่าเดิมไหม และดื้อยาแล้วหรือ? 


     -เราจะต้องฉีดวัคซีนอีกแล้วเหรอ? ฉีดมาแล้วตั้งหลายเข็ม

     -ใช้วัคซีนแบบไหนรุ่นไหนดี? 

     -ควรฉีดเมื่อไหร่?

     -วัคซีนจะป้องกันสายพันธุ์ใหม่ได้ไหม?

     -ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB, Evusheld) ยังใช้ได้ผลอยู่หรือไม่?

      จึงขอรวบรวมความสงสัยเหล่านี้มาตอบคำถาม ซึ่งคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ 

     -ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่าโรค โควิด-19 จะอยู่กับมนุษยชาติตลอดไป และ จะกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ และทุกครั้งที่กลายพันธุ์ก็จะเกิดสายพันธุ์ที่หลบหลีกภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีนหรือเกิดจากการติดเชื้อที่ผ่านมา เพราะสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์และหลบภูมิคุ้มกันได้เก่งเท่านั้นที่จะอยู่รอด และในที่สุดจะทดแทนสายพันธุ์เดิม 

       ที่จริงแล้วสายพันธุ์ โอไมครอน BA.2.75 นับว่าอยู่ค่อนข้างนาน แต่เมื่อคนติดเชื้อสายพันธุ์นี้ไปจำนวนมากแล้ว  สายพันธุ์ใหม่ที่หลบหลีกภูมิคุ้มกันก็จะขึ้นมาแทนที่ ซึ่งในกรณีนี้ก็คือ ตระกูล XBB ซึ่งตัวล่าสุดที่ระบาดในอเมริกาคือ XBB.1.5 และที่ระบาดในอินเดียคือ XBB.1.16 ซึ่งมีการศึกษาพบว่ามันแบ่งตัวได้เก่งกว่าเดิม และเป็นที่คาดว่าจะเข้ามาในประเทศไทยและระบาดอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์สนุกสนานเจอคนมากมายใกล้ชิด  มีโอกาสที่นักท่องเที่ยวนำเชื้อจากต่างประเทศเข้ามาได้มาก เพราะความระมัดระวังในการติดเชื้อของเรามันเริ่มน้อยลงและการฉีดวัคซีนเข็มสุดท้าย ส่วนใหญ่จะทิ้งช่วงไปนานกว่า 3-4 เดือนแล้ว 

      -ที่จริงแล้วสายพันธุ์ XBB ทุกตัว และโอไมครอน ที่ผ่านมาทั้งหมดมิได้มีความรุนแรงมากขึ้น และมิได้ดื้อยารักษาตัวใด แต่จะดื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป อย่างไรก็ดี โอไมครอนทุกสายพันธุ์ มีโอกาสจะรุนแรงสำหรับกลุ่มเสี่ยง 608 โดยเฉพาะที่ไม่เคยรับวัคซีนหรือได้รับน้อยกว่าสามเข็ม คนทั่วไปที่ได้รับวัคซีนมาแล้วหลายเข็มหากทิ้งช่วงนานกว่า 3-4 เดือนระดับภูมิคุ้มกันจากวัคซีนหรือจากการติดเชื้อในครั้งก่อน ก็จะแผ่วลดลงตามธรรมชาติทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้แต่มักจะไม่รุนแรง 

       -การฉีดวัคซีนซ้ำ จะเพิ่มภูมิคุ้มกันข้ามไปยังสายพันธุ์กลายพันธุ์ได้ดี แม้วัคซีนจะป้องกันได้ไม่สมบูรณ์ แต่ลดความรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์อะไร วัคซีนได้ผลดีไม่ว่าจะเป็นวัคซีนรุ่นเก่า (monovalent) หรือรุ่นใหม่ (bivalent) ซึ่งขณะนี้ เรามี bivalent BA.1 (Pfizer)และ bivalent BA.4/5 (Moderna) ในปริมาณไม่มากอาจจะกระจายไม่ทั่วถึงทุกที่ 

       เป็นความจริงว่าวัคซีน bivalent จากกระตุ้นภูมิคุ้มกันและป้องกันโรคจากสายพันธุ์กลายพันธุ์ใหม่ได้สูงกว่าวัคซีนรุ่นเก่า แต่ เมื่อถึงเวลาที่ระดับภูมิคุ้มกันเริ่มตกลงไปแล้วการฉีด ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนรุ่นไหนแบบไหน  ดีกว่าไม่ฉีด อย่างแน่นอน

      -เนื่องจาก โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำฤดูกาลเหมือนเช่นไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งประชาชนเกือบทั้งหมดจะมีภูมิคุ้มกันแล้วจากการฉีดวัคซีนที่ผ่านมาหรือติดเชื้อไปแล้ว  จึงมีแนวทางที่จะปรับการฉีดวัคซีน ให้เป็นการฉีดกระตุ้นประจำปี ปีละหนึ่งครั้งเหมือนไข้หวัดใหญ่  โดยควรฉีดก่อนเข้าฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูที่จะเกิดการระบาดของไวรัสทั้งไข้หวัดใหญ่และโควิด 19 ซึ่งในจังหวะเดือนเมษาถึงมิถุนายนเป็นช่วงที่สมควรฉีดวัคซีนประจำปีเป็นอย่างมาก 

       เมื่อมีโอกาสควรรีบฉีดทันทีเพราะ “ฉีดก่อนป้องกันก่อน”ควรห่างจากเข็มสุดท้ายหรือการติดเชื้อครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 3 เดือน ใช้วัคซีนอะไรก็ได้ถ้าได้รุ่นใหม่ก็ยิ่งดี แต่รุ่นเก่าก็ยังใช้ได้  มิฉะนั้นจะพลาดถ้าเป็นโรคไปเสียก่อน (แม้ว่าโรคจะไม่รุนแรง ในผู้ที่ ฉีดวัคซีนมาแล้วหลายเข็ม แต่ก็ไม่อยากให้เป็นกันเลยเพราะ ต้องหยุดงานและ ไม่สบาย มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้)  

      -ในขณะนี้ทั้งไข้หวัดใหญ่และโควิด 19 กำลังระบาดอยู่พร้อมพร้อมกันและมีอาการที่ไม่แตกต่างกัน หากเป็นทั้งสองโรคพร้อมกันอาการจะหนักกว่าเป็นโรคเดียว จึงแนะนำว่าควรฉีดวัคซีนป้องกันทั้ง โควิด-19 และไข้หวัดใหญ่ไปพร้อมพร้อมกันเลย หรือจะฉีดห่างกันกี่วันก็ได้ไม่มีข้อห้ามเลย

     -การรักษายังเหมือนเดิมแต่ ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปจะใช้ไม่ได้ผลเสียแล้วถ้าเป็น XBB แต่ตอนนี้ยังพอได้ผลอยู่ เพราะส่วนหนึ่งยังเป็นสายพันธุ์เดิม BA.2.75

ขอสรุปคำตอบของคำถามอย่างสั้นๆคือ

      -มันกลับมาใหม่แล้วใช่ไหม?….

       มันไม่เคยจากไปไหนเพียงแค่สงบลงไปชั่วคราวและใช่แล้ว ตอนนี้กำลังมาเป็นคลื่นใหม่ โดยเฉพาะกำลังเข้าหน้าฝนด้วย

      -สายพันธุ์ใหม่ XBB .1.16 น่ากลัวขึ้นไหม รุนแรงขึ้นกว่าเดิมไหมและดื้อยาแล้วหรือ?…

      ไม่รุนแรงกว่าเดิมไม่ดื้อยากว่าเดิมแต่มีรายงานว่าพบอาการตาแดงมากขึ้นโดยเฉพาะในเด็ก และการรักษายังเหมือนเดิม ไม่ได้มีการดื้อยาต้านไวรัส มากขึ้น

      -ฉีดมาแล้วตั้งหลายเข็ม เราจะต้องฉีดวัคซีนอีกแล้วเหรอ? 

    ควรฉีดหากเข็มสุดท้ายเกิน3-4 เดือน เพราะสายพันธุ์ XBB ค่อนข้างจะหลบภูมิได้ดี ทำให้ภูมิคุ้มกันของเดิมประสิทธิภาพสั้นลง 

    อย่าเบื่อเรื่องวัคซีนเลยเพราะสุดท้ายเราต้องฉีดกระตุ้นปีละครั้ง ไม่ต้องนับจำนวนเข็มที่ผ่านมาแล้ว(กลุ่มเสี่ยงสูงมากๆควรพิจารณาฉีดปีละสองครั้ง)

   -ใช้วัคซีนแบบไหนรุ่นไหนดี? ควรฉีดเมื่อไหร่?….. 

   รุ่นใหม่จะดีกว่ารุ่นเก่าประมาณ 30% แต่ใช้ได้ดีทั้งคู่ และภาพรวมในการป้องกันโรคต่างกันไม่มาก เมื่อถึงเวลาที่สมควรฉีดมีอะไรก็ฉีดอย่างนั้นอย่ามัวแต่รออาจจะไม่ทันได้ฉีดจะเป็นโรคไปเสียก่อน และไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหนไหนภูมิคุ้มกันก็ตกลงตามกาลเวลา

   -วัคซีนจะป้องกันสายพันธุ์ใหม่ได้ไหม?…. 

    ตอบว่าได้ ประสิทธิภาพป้องกันได้ประมาณ 60-80% โดยเฉพาะเมื่อฉีดมาแล้วหลายหลายเข็ม และป้องกันได้ดีในช่วง 3-4 เดือนหลังฉีด แม้จะป้องกันได้ไม่ 100% แต่ลดความรุนแรงได้มาก ซึ่งสำคัญมากสำหรับกลุ่มเสี่ยง 608

      -ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB, Evusheld) ยังใช้ได้ผลอยู่หรือไม่?….. 

       ตอนนี้ยังได้ผลอยู่บ้างแต่ถ้าในอนาคตสายพันธุ์ XBB มาแทนที่เกือบหมดก็จะใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปไม่ได้ผล

      ย้ำว่าการป้องกันที่ยังได้ผลดี ก็ยังเป็นการสวมหน้ากากเมื่อต้องไปพบกับคนมากๆ หมั่นล้างมือ และเว้นระยะห่าง ขอให้ทุกๆท่านปลอดภัยจาก โควิด-19 นะคะ 

พญ. กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ 

19 เมษายน 2566

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

เชิญชวนร่วมงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025”

“กำภู-รัชนีย์” พาทัวร์งาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025” ณ ลานจอดรถ บมจ.อสมท พบปะผู้ประกาศ ดีเจ และอินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงศิลปินที่จะมาร่วมสนุกในงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟู ปาร์ตี้ 2025”

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

แม่คะนิ้งโผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดอุทยานฯ พรุ่งนี้

จังหวัดเลย อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ “แม่คะนิ้ง” โผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดให้ท่องเที่ยวพรุ่งนี้ (23 ธ.ค.) หลังปิดมา 9 วัน จากเหตุช้างป่า