ชัวร์ก่อนแชร์ : ฉีดวัคซีนมาเลือดจะหนืดข้น จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่า อาการของผู้ที่ไปฉีดวัคซีนมาเลือดจะหนืดข้นจนสุดท้ายเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ และวูบจนถึงขั้นเสียชีวิต จากนั้นแพทย์จะแจ้งว่าหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จริงหรือ​ ? บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ วัคซีนดังกล่าว คาดว่าหมายถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าวัคซีนโควิด 19 ทำให้เลือดจะหนืดข้นจนสุดท้ายเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ และวูบจนถึงขั้นเสียชีวิต ทั้งนี้ การดำเนินการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ได้จัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และองค์การอนามัยโลกได้รับรองว่าวัคซีนดังกล่าวสามารถใช้ได้กับทุกประเทศ  FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริงศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อมูลเรื่อง “อาการของผู้ที่ไปฉีดวัคซีนมาเลือดจะหนืดข้นจนสุดท้ายเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ และวูบจนถึงขั้นเสียชีวิต” เป็นข้อมูลที่มักถูกส่งต่อและเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2566 และเป็นหนึ่งในประเด็นที่ทำให้หลายคนเกิดความกังวล ตรวจสอบข้อเท็จจริงข้อมูลจาก พ.อ.นพ.วิริสสร วงศ์ศรีชนาลัย อายุรแพทย์ โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พบว่า  ความเป็นไปได้ที่วัคซีนจะทำให้เกิดลิ่มเลือด เป็นไปได้ว่าวัคซีนโควิด-19 บางชนิดอาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในร่างกาย ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดลิ่มเลือดได้บ้าง แต่ต้องย้ำว่า ความรุนแรงและอัตราการเกิดลิ่มเลือดจากวัคซีนนั้นน้อยกว่าการติดเชื้อโควิด-19 มาก นอกจากนี้ วัคซีนแต่ละชนิดยังมีผลกระทบที่แตกต่าง […]

ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท ผนึกกำลัง บช.สอท.-สกมช. เทรนนิ่งเข้มสกัดภัยไซเบอร์

วันที่ 23 พฤษภาคม 2568 บริษัท อสมท จํากัด (มหาชน) ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดกิจกรรม “Exclusive Workshop อบรมเชิงปฏิบัติการ รู้เท่าทันกับดักไซเบอร์” ในหัวข้อ “กับดักไซเบอร์” ณ อาคารปฏิบัติการวิทยุโทรทัศน์ บริษัท อสมท จํากัด (มหาชน) โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 40 คน ที่ได้รับความรู้สุดเข้มข้นจากผู้เชี่ยวชาญตัวจริงด้านภัยไซเบอร์ วิทยากรผู้เชี่ยวชาญระดับท็อป การอบรมครั้งนี้มีเกียรติได้รับเกียรติจาก พลตำรวจตรี นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สํานักงานตำรวจแห่งชาติ (บช.สอท.) ซึ่งนำเสนอหัวข้อ “เจาะลึกเคสจริงภัยไซเบอร์” พร้อมด้วยกรณีศึกษาจากเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมี พันตำรวจเอก ณัทกฤช พรหมจันทร์ ผู้อำนวยการสํานักบริหารโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ สํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ที่มาบรรยายในหัวข้อ “รู้ทัน ป้องกันภัยไซเบอร์” เพื่อให้ความรู้ในการป้องกันตนเองจากภัยออนไลน์ หลักสูตรสุดเข้มข้นแบบ Onsite Workshop ครั้งนี้เป็นหนึ่งในหลักสูตร “TRAP BREAKER: Exclusive […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: เห็นภาพตัวเองบนหน้าจอ อย่ารับสาย เสี่ยงโดนบันทึกหน้าและเสียง หลอกคนใกล้ชิด จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ ระบุว่า ระวัง ! เห็นภาพตัวเองบนหน้าจอ อย่ารับสาย เสี่ยงโดนบันทึกหน้าและเสียง หลอกคนใกล้ชิด นั้น ❌ บทสรุป ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความนี้แปลมาจากคำเตือนภาษาจีนที่เผยแพร่ในปี 2567 และถูกนำมาแปลและแชร์ต่อเป็นภาษาไทยในปีเดียวกัน เว็บไซต์ Taiwan Factcheck Center ได้ตรวจสอบและเผยแพร่ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567 ยืนยันว่า ไม่จริง ระบบ Face ID เป็นเทคโนโลยีการจดจำใบหน้าสำหรับระบบปฏิบัติการ iOS หากมีเบอร์ที่ไม่รู้จักวิดีโอคอลผ่าน Facetime หน้าจอโทรศัพท์จะแสดงภาพจากกล้องหน้า ทำให้ปรากฏภาพใบหน้าของผู้รับสายได้ อย่างไรก็ตาม มิจฉาชีพไม่สามารถขโมย Face ID ของอีกฝ่ายได้ เพียงแค่การวิดีโอคอล เนื่องจากระบบ Face ID ต้องการข้อมูลโครงสร้างใบหน้าทั้งเชิงลึกและแนวระนาบ ซึ่งการบันทึกข้อมูลภาพวิดีโอขณะวิดีโอคอล จะจับได้เพียงภาพ แนวระนาบเท่านั้น และหากไม่มีโทรศัพท์ของผู้ใช้ในมือ ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าถึงโทรศัพท์ของผู้ใช้จากระยะไกล หรือขโมยข้อมูลจากโทรศัพท์ของอีกฝ่ายได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : Cyber Resilience สู้ภัยไซเบอร์ ด้วยการพร้อม “เจอ”

ในยุคที่ภัยไซเบอร์สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา “การป้องกัน” เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ Cyber Resilience ซึ่งเน้นการพร้อมเผชิญ รับมือ และฟื้นตัว จึงเป็นแนวทางสำคัญในการรับมือ เพราะสิ่งที่สำคัญไม่ใช่เพียงการหลีกเลี่ยง แต่คือความพร้อมในการรับมือเมื่อต้องเผชิญหน้ากับภัยไซเบอร์ เหตุสัญญาณโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการรายใหญ่ในประเทศไทยขัดข้อง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่สะท้อนให้เห็นว่า ภัยคุกคามทางไซเบอร์ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และไม่จำเป็นต้องเป็นการถูกโจมตีโดยตรงเท่านั้น แต่การที่เราไม่สามารถเข้าใช้งานได้ ก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบภัยไซเบอร์ได้เช่นกัน แนวคิดด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จำแนกรูปแบบการดูแลความมั่นคงปลอดภัยไว้ 3 ด้าน รู้จักกันว่า “สามเหลี่ยม C-I-A” ซึ่งหมายถึง C-Confidentiality (การคงความลับ) I-Integrity (การคงความเที่ยงตรง) และ A-Availability (การคงความสามารถในการเข้าถึง) ดังนั้น การที่จู่ ๆ สัญญาณมือถือหายไป จึงนับเป็นอีกหนึ่งรูปแบบภัยทางไซเบอร์ที่เราต้องเตรียมตัว “เจอ” ไว้เช่นกัน แค่ Cyber Security อาจไม่พอ ต้องมี Cyber Resilience ร่วมด้วยแนวคิด Cyber Resilience จึงเกิดขึ้น เพราะแนวโน้มภัยในโลกยุคนี้มีความรุนแรงและไม่แน่นอน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาบน้ำด้วยสบู่เหลว ตายเร็ว จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เตือนว่า การอาบน้ำด้วยสบู่เหลวอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต และทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้น เพราะในสบู่เหลวมีสารอันตราย จริงหรือ ? บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ สารอันตรายที่มีการแชร์คือ SLS (Sodium Lauryl Sulfate) ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักในสบู่เหลว เพื่อให้เกิดฟอง มีการใช้ในปริมาณต่ำและสามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้เพียงเล็กน้อย จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย อย่างไรก็ตาม การใช้สบู่เหลวอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรืออาการแพ้ในบางราย ซึ่งอาจเกิดจาก SLS หรือน้ำหอมและสารเติมแต่งอื่น ๆ ที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่าข้อมูลเรื่อง “สบู่เหลวอันตราย มีสารเคมีซึมลงผิวหนัง ทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้น” เป็นข้อมูลที่มักถูกส่งต่อและเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ในลักษณะการเตือนภัยเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้เป็นส่วนประกอบของสบู่เหลว จากการสืบค้นย้อนหลัง พบว่าข้อความลักษณะนี้เคยถูกแชร์บนออนไลน์ ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2552 ผ่านทางอีเมลที่ส่งต่อกัน และต่อมามีการแชร์อย่างกว้างบนสื่อสังคมออนไลน์ และเป็นหนึ่งในประเด็นที่ทำให้หลายคนเกิดความกังวล จนมีการตั้งกระทู้สอบถามเพิ่มเติมในเว็บไซต์สนทนาอย่าง Pantip อีกด้วย ตรวจสอบข้อเท็จจริงผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.กิติยศ ยศสมบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้แจงว่า ความเข้าใจผิดนี้เกิดขึ้นจากการผลิตสบู่เหลวในอดีต […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง ! หลอกสแกนนิ้วมือ ดูดเงินหมดบัญชี จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความพร้อมรูป ระบุว่า ระวังมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ หลอกสแกนลายนิ้วมือ เพราะจะดูดข้อมูลส่วนตัวและเงินในบัญชีจนหมด นั้น ❌บทสรุป ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ -ปัจจุบันการวางนิ้วบนจอมือถือเพื่อวัดน้ำตาลในเลือด ไม่สามารถทำได้-ภาพที่แชร์กัน ไม่ใช่การสแกนลายนิ้วมือ เป็นเพียงการวางนิ้วบนรูปภาพปกติและการสแกนแล้วเงินหาย มีความเป็นไปได้จริงน้อยมาก เพราะก่อนจะโอนเงินออกไปได้ จะต้องผ่านหลายขั้นตอน เช่น การติดตั้งแอป การกรอกข้อมูล ฯลฯ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ภาพดังกล่าวเป็นโฆษณาบนเฟซบุ๊กให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน โดยอ้างว่า แอปพลิเคชันดังกล่าวสามารถวัดน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งในปัจจุบันการวางนิ้วบนจอโทรศัพท์มือถือเพื่อวัดน้ำตาลในเลือดนั้น ไม่สามารถทำได้ และการวางนิ้วบบนภาพลายนิ้วมือบนหน้าจอมือถือ ไม่ใช่การสแกน แต่เป็นเพียงการวางนิ้วบนรูปภาพปกติ ส่วนคำเตือนที่บอกว่า การวางนิ้วจะถูกดูดข้อมูลและเงินจนหมดนั้น มีความเป็นไปได้จริงน้อยมาก เพราะก่อนจะโอนเงินออกไปได้ จะต้องผ่านการสั่งงานและกดยืนยันหลายขั้นตอน ซึ่งคนร้ายมักจะใช้วิธีการ หลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน หลอกให้กรอกข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการโจรกรรมอีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีขั้นตอนมากกว่าการสแกนในคราวเดียว อย่างไรก็ตาม การกดโฆษณาที่มีลักษณะที่หลอกให้เข้าใจผิด ก็มีความเสี่ยงที่อาจจะโดนหลอกให้ดาวน์โหลดแอป ที่ใช้งานไม่ได้ หรือมีอันตราย หรือโดนหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัว  ❌ ดังนั้นข้อความและรูปภาพที่แชร์กันนี้ไม่เป็นความจริงงดส่งต่อข้อมูลที่สร้างความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง❌  23 พฤษภาคม 2568ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทเขียน โดย เสาวภาคย์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สมเด็จพระสังฆราชมีพระดำรัส ห้ามถวายเงินพระ จริงหรือ ?

ตามที่สื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความอ้างว่าเป็นพระดำรัสสมเด็จพระสังฆราช ห้ามประชาชนงดถวายเงินแด่พระสงฆ์ นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ข้อความดังกล่าวไม่ใช่พระดำรัสของสมเด็จพระสังฆราช โดยสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้ออกประกาศชี้แจงว่า สมเด็จพระสังฆราชไม่เคยมีพระดำรัสด้วยถ้อยคำในลักษณะบริภาษตามที่ปรากฏในสื่อดังกล่าวแต่อย่างใด FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความที่เผยแพร่กันดังกล่าว มีการเผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊กหนึ่ง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2568 ใจความว่า “ด่วน สมเด็จพระสังฆราช ทรงรับสั่งให้ประชาชนงดเอาเงินถวายพระโดยเด็ดขาด แม้กระทั่งงานศพ งดใส่ซองขาวถวายพระทุกกรณี”  ทั้งนี้ โพสต์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นโพสต์ข้อความธรรมดา ไม่มีข้อมูลอื่น ๆ เช่น ภาพประกอบ หรือแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม โพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีผู้ใช้เฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก เช่น ข่าวดี ประจำชาติเลยค่ะ ดีมากเลยคำสั่งจากสังฆราชน่าหยุดทุกอย่างได้จริง เป็นต้น อีกทั้งยังมีการแชร์ออกไปกว่า 2.5 พัน ครั้ง  ต่อมา เพจเฟซบุ๊ก สำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้เผยแพร่ประกาศสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จโดยแอบอ้างว่าเป็นพระดำรัส ความว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: 5 สัญญาณเตือนภัย ! ระวังให้ดี หากไม่อยากได้ “ของปลอม”

ในยุคที่การซื้อขายออนไลน์เฟื่องฟู มิจฉาชีพก็พัฒนารูปแบบการหลอกลวงให้แนบเนียนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเสนอขายสินค้าแบรนด์ดังในราคาที่เย้ายวนใจ จนหลายคนหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อได้ง่ายๆ หากไม่ทันได้ตรวจสอบให้ถี่ถ้วน ต่อไปนี้คือ 5 สัญญาณเตือนสำคัญที่คุณต้องระวัง หากไม่อยากได้ “ของปลอม” มาครอบครอง การซื้อสินค้าออนไลน์ต้องอาศัยความรอบคอบและการสังเกต หากพบเจอสัญญาณเตือนเหล่านี้ อย่าหลงเชื่อข้อเสนอที่ดูดีเกินจริง ตรวจสอบข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ เพื่อป้องกันไม่ให้เงินในกระเป๋าของคุณต้องสูญเปล่าไปกับ “ของปลอม” ที่ไร้คุณภาพ 16 พฤษภาคม 2568ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทเขียน โดย เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : ระวัง ! เพจปลอมรับซื้อเสื้อผ้ามือสอง ลวงเข้าไลน์ สูบเงินค่าสมัคร

เหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ และผู้ที่สนใจหารายได้จากการขายเสื้อผ้ามือสอง โปรดระมัดระวัง ! ขณะนี้เกิดกลโกงรูปแบบใหม่จากมิจฉาชีพที่ปลอมตัวเป็นร้านรับซื้อเสื้อผ้ามือสอง โดยอ้างว่าจะรับซื้อสินค้าจำนวนมากในราคาเหมา เพื่อล่อลวงเหยื่อให้ตกหลุมพราง 7 ขั้นตอนลวงหลอกเหยื่อ ดังนั้น เหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์และผู้ที่ต้องการขายเสื้อผ้ามือสอง จึงควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่าหลงเชื่อข้อเสนอที่ดูดีเกินจริง และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้ซื้อให้ถี่ถ้วนก่อนทำธุรกรรมใด ๆ หากพบเจอความผิดปกติหรือสงสัยว่าอาจตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ อย่าลังเลที่จะแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินการตามกฎหมายทันที เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น 15 พฤษภาคม 2568ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทเขียน โดย เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : เมื่อความรุนแรงในครอบครัวขยายตัวสู่โลกไซเบอร์

“ครอบครัว” เป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม ที่สมาชิกในครอบครัวใช้ชีวิตร่วมกันด้วยความผูกพันทางสายเลือด กฎหมาย และจิตใจ นับเป็นจุดเริ่มต้นของความรัก ความอบอุ่น และความผูกพัน เป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม แต่กลับเกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่างน่าห่วง โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่โลกก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้รูปแบบของความรุนแรงในครอบครัว ขยายขอบเขตออกไปสู่พื้นที่ออนไลน์ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากสถิติความรุนแรงในครอบครัว โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่า ในปี 2567 ที่ผ่านมา พบผู้ถูกกระทำความรุนแรง จำนวน 4,833 ราย ซึ่งสาเหตุหลักมาจากยาเสพติด ความเครียดทางเศรษฐกิจ และปัญหาสุขภาพจิต ทั้งนี้ สถิติความรุนแรงที่เกิดขั้นนั้น เป็นความรุนแรงภายในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 71 จำนวน 3,421 ราย ส่วนใหญ่เป็นเด็ก 1,450 ราย โดยแบ่งเป็น – ถูกทำร้ายร่างกาย จำนวน 1,029 ราย  – ถูกล่วงละเมิดทางเพศ 270 ราย  – ถูกกระทำอนาจาร 118 ราย  – ถูกทอดทิ้ง 33 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : โอนเงินก่อนเริ่มงาน = ระวังมิจฉาชีพ!

รู้ทันมิจฉาชีพ งานง่ายได้เงินเยอะ ไม่มีจริง! มิจฉาชีพแฝงตัวมาในคราบ “นายจ้าง” หลอกให้ทำงานเสริมออนไลน์ พร้อมออกอุบาย “โอนเงินก่อนทำภารกิจ” สุดท้ายสูญเงินหมดบัญชี! จากกรณีมีผู้โพสต์หางานเสริมทางออนไลน์ แล้วถูกมิจฉาชีพหลอกลวงโดยแฝงตัวในรูปแบบ “นายจ้าง” เสนอให้ทำงานง่าย ๆ แลกกับค่าตอบแทนและโบนัส พร้อมอุบายให้โอนเงินล่วงหน้าเพื่อเริ่มทำภารกิจและรับรายได้ โดยครั้งแรกมีการโอนเงินจริงกลับมา ทำให้เหยื่อหลงเชื่อและยินยอมทำภารกิจต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อหวังจะถอนเงินทุนคืนได้ในภายหลัง แต่สุดท้ายกลับถูกหลอกซ้ำจนสูญเงินจำนวนมาก นั้น จะเห็นได้ว่ามิจฉาชีพใช้วิธีการหลอกลวงที่แฝงมากับการหางาน โดยลักษณะการเรียกเก็บเงินล่วงหน้าก่อนทำภารกิจดังกล่าวนั้น คล้ายกับ “การเรียกหลักประกัน” ก่อนเริ่มงาน ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 10 กำหนดไว้ชัดเจนว่า “นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกเงินหรือหลักประกันใด ๆ จากลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบเงินสด หรือการให้บุคคลค้ำประกัน เว้นแต่กรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานนั้น ลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งมีความเสี่ยงต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้” ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 10 จะต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 144 แห่งพระราชบัญัติดังกล่าว รู้ทันก่อนตกเป็นเหยื่อ! วิธีหลอกล่อฉบับมิจฉาชีพ 1. มิจฉาชีพแนะนำตัวว่ามาจากแอปพลิเคชันต่าง ๆ […]

ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท x กองทุนสื่อฯ ผนึกกำลังติวเข้ม “รู้เท่าทันกับดักไซเบอร์” เจาะลึก มายากล-ภาพดิจิทัล-AI

กรุงเทพฯ — 30 เมษายน 2568 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดกิจกรรม “Exclusive Workshop อบรมเชิงปฏิบัติการ รู้เท่าทันกับดักไซเบอร์” ในหัวข้อ “กับดักมายากล” “กับดักภาพดิจิทัล” และ “กับดัก AI” ณ ห้อง MCOT Academy ชั้น 6 อาคารปฏิบัติการวิทยุ-โทรทัศน์ บมจ. อสมท เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่เยาวชน ครู ผู้สูงวัย และประชาชนทั่วไป ให้พร้อมรับมือกับภัยออนไลน์รูปแบบใหม่ กิจกรรมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “นักสืบสายชัวร์ 404: ถอดสลักกับดักไซเบอร์” ที่มุ่งยกระดับทักษะการสังเกต ตรวจจับ และหลีกเลี่ยง “กับดักไซเบอร์” ให้แก่ประชาชน โดยนับเป็นการอบรมครั้งที่ 2 ต่อจากหัวข้อ “กับดักการเงิน” ที่จัดขึ้นช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ณ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 50 คนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านที่มาถ่ายทอดประสบการณ์และเทคนิคการรับมือภัยไซเบอร์ […]

1 2 3 11