ชัวร์ก่อนแชร์: กาชาดสหรัฐฯ ไม่รับบริจาคพลาสม่าจากผู้ฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

18 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Checkyourfact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: กาชาดสหรัฐฯ ยังคงรับบริจาคโลหิต, เกร็ดเลือด และ AB Elite Plasma จากผู้ฉีดวัคซีนโควิด 19 ส่วน Convalescent Plasma ผู้รับวัคซีนสามารถบริจาคได้ หากยืนยันได้ว่าเคยป่วยจากโควิด 19 ไม่นานกว่า 6 เดือน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อความทาง Facebook ตั้งข้อสงสัยเรื่องความปลอดภัยของวัคซีนโควิด 19 โดยอ้างอิงจากประกาศของสภากาชาดสหรัฐอเมริกา ที่ปฎิเสธการรับบริจาคพลาสม่าจากผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้ว FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ข้อความดังกล่าวเป็นการสร้างความเข้าใจผิด แม้ว่าในเว็บไซต์ของสภากาชาดสหรัฐฯ จะประกาศไม่รับบริจาค Convalescent Plasma (พลาสมาในเลือดที่มีโปรตีนภูมิคุ้มกัน) จากผู้ที่รับวัคซีนโควิด 19 แล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าวัคซีนโควิด 19 จะไม่ปลอดภัย เพราะสภากาชาดสหรัฐฯ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ไวรัสโควิด 19 กลายพันธุ์ทำให้ตับอักเสบ จริงหรือ?

17 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Aosfatos (บราซิล)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ไวรัสโควิด 19 มีผลในการทำลายปอดเท่านั้น แต่ความเสียหายของปอดอาจส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในอื่นๆ เช่นตับ ไต และหัวใจ ส่วนอาการตับอักเสบของผู้ป่วยโควิด 19 ในบราซิล พบว่าสาเหตุมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะและยาฆ่าพยาธิมารักษาโรคอย่างผิดวิธี ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จจากการให้สัมภาษณ์โดย อัลเบิร์ต ดิกสัน จักษุแพทย์และรองผู้ว่าการรัฐรีอูกรันดีดูนอร์ตีของประเทศบราซิล โดยอ้างว่า สาเหตุที่ผู้ป่วยโควิด 19 เกิดอาการตับอักเสบหลายรายในบราซิล มาจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 กลายพันธุ์ จนมีผู้นำคลิปวิดีโอไปแชร์ทาง Facebook กว่า 22,000 ครั้ง ก่อนจะถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอม FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: วิตอร์ ริเบโร ปาเอส นายแพทย์ด้านพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย University of Sao […]

ชัวร์ก่อนแชร์: อังกฤษเกิดผลข้างเคียงจากวัคซีน AstraZeneca กว่าแสนครั้ง จริงหรือ?

17 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Newtral (สเปน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: เป็นรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากผู้รับวัคซีนที่ยังไม่ได้ตรวจสอบว่ามีสาเหตุจากวัคซีนหรือไม่ MHRA ย้ำว่า รายงานอาการไม่พึงประสงค์ไม่ใช่สิ่งชี้ชัดว่าวัคซีนไม่มีความปลอดภัย เนื่องจากการตรวจสอบพบว่าอาการข้างเคียงส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากวัคซีนโดยตรง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการแชร์ข้อมูลว่าชาวอังกฤษได้รายงานอาการข้างเคียงจากการใช้วัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca กว่า 114,000 ครั้ง มีตั้งแต่อาการรุนแรงเช่น โรคระบบประสาท, โรคเกี่ยวกับดวงตา หรือแม้แต่รายงานผู้เสียชีวิต FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: สำนักงานกำกับดูแลด้านการแพทย์และสาธารณสุขของสหราชอาณาจักร (MHRA) ยืนยันผลการตรวจสอบว่า อาการข้างเคียงร้ายแรงที่กล่าวมา ไม่ได้เกิดจากวัคซีนโควิด 19 แต่อย่างใด อาการข้างเคียงที่ได้รับรายงานกว่า 114,000 ครั้ง นำมาจาก Yellow Card แพลตฟอร์มที่ทางการอังกฤษเปิดให้ประชาชนแจ้งอาการไม่พึงประสงค์หลังจากรับวัคซีนโควิด 19 โดยระหว่างวันที่ 4 มกราคมถึง 14 กุมภาพันธ์ มีผู้รายงานอาการไม่พึงประสงค์ทั้งสิ้น 114,625 ครั้ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์: โอกาสเสียชีวิตจากวัคซีน AstraZeneca สูงกว่าโควิด 19 จริงหรือ?

16 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Animal Politico (เม็กซิโก)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: เป็นการอ้างอิงคำแนะนำของสาธารณสุขจากประเทศนอร์เวย์ ชาติที่มีอัตราการเสียชีวิตจากโควิด 19 ต่ำมาก คำแนะนำดังกล่าวจึงไม่อาจนำไปใช้กับประเทศอื่นๆ ได้ WHO ยืนยันว่าวัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca มีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อความเผยแพร่ทาง Facebook ในประเทศเม็กซิโกที่ถูกแชร์หลายร้อยครั้ง โดยเนื้อหาโจมตีรัฐบาลเม็กซิโกที่สั่งซื้อวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca โดยอ้างว่าโอกาสการเสียชีวิตจากวัคซีน AstraZeneca มีมากกว่าการเสียชีวิตจากโควิด 19 โดยผู้โพสต์อ้างอิงตามคำแนะนำของหน่วยงานสาธารณสุขนอร์เวย์ ที่แนะนำให้ประเทศนอร์เวย์ระงับการฉีดวัคซีน AstraZeneca หลังพบการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในกลุ่มผู้รับวัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: นอร์เวย์ถือเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากไวรัสโควิด 19 น้อยกว่าหลายชาติในยุโรป ในจำนวนประชากรกว่า 5.4 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตจากโควิด 19 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ผู้รับวัคซีนจะเสียชีวิตในไม่กี่เดือนจาก พายุไซโตไคน์ จริงหรือ?

16 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Maldita (สเปน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ภาวะพายุไซโตไคน์ หรืออาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายขั้นรุนแรง ยังไม่เคยเกิดกับผู้รับวัคซีนรายไหน อาสาสมัครที่ทดลองวัคซีนโควิด 19 ตั้งแต่ปีที่แล้ว ก็ไม่มีใครล้มป่วยด้วยภาวะพายุไซโตไคน์ RNA ของไวรัสที่เกิดจากการสังเคราะห์ในวัคซีนชนิด mRNA จะอยู่ในร่างกายได้ไม่นาน เมื่อ RNA หายไป ก็จะไม่มีโปรตีนของไวรัสให้สังเคราะห์อีกต่อไป ภาวะพายุไซโตไคน์จึงไม่มีทางเกิดขึ้น ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่ทางออนไลน์จนกลายเป็นไวรัลโดย โดโลเรส เคฮิลล์ นักชีววิทยาและศาสตราจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย University College Dublin และ อเล็กซองดรา อองรียง ครูด นักพันธุศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งทั้งสองต่างมีประวัติปกป้องข้อมูลเท็จเกี่ยวกับไวรัสโควิด 19 ทั้งคู่ ข้อความของ โดโลเรส เคฮิลล์ ระบุว่า 30% ของผู้รับวัคซีนโควิด 19 จะเสียชีวิตในเวลาไม่กี่เดือนจากภาวะ “พายุไซโตไคน์” เนื่องจากร่างกายต้องสังเคราะห์หนามโปรตีนที่ได้รับจากวัคซีนในปริมาณมหาศาล […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ทำให้เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นผิดปกติ จริงหรือ?

15 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Tempo CekFakta (อินโดนีเซีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนโควิด 19 ทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocytes เพิ่มขึ้นเพิ่มยับยั้งไวรัสโควิด 19 แต่จะอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อความโจมตีวัคซีนโควิด 19 ที่เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ของประเทศอินโดนีเซีย โดยอ้างว่าวัคซีนโควิด 19 กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้นกันผลิตเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte (ลิมโฟไซด์) มากเกินจำเป็น จนนำไปสู่อาการ Lymphocytosis หรือภาวะที่ร่างกายผลิตเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte มากเกินไป ซึ่งจะกลายเป็นสารพิษที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ข้อความถูกเผยแพร่มาตั้งแต่ช่วงที่ประเทศอินโดนีเซียเริ่มโครงการฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้กับประชาชนเมื่อต้นปี 2021 จนวันนี้ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวได้รับยอดไลค์กว่า 600 ครั้ง และทำให้ผู้พบเห็นข้อความมาแสดงความเห็นต่อต้านการฉีดวัคซีนโควิด 19 อย่างมาก FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบข้อเท็จจริงของ Tempo CekFakta ระบุว่า วัคซีนโควิด 19 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ภูมิคุ้มกันหมู่ไม่มีทางเกิดขึ้น จนกว่าทุกคนจะฉีดวัคซีน จริงหรือ?

15 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ภูมิคุ้มกันหมู่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำให้ประชากรทั้งหมดเข้ารับวัคซีน การคำนวณทางคณิตศาสตร์พบว่า ภูมิคุ้มกันหมู่โควิด 19 เกิดขึ้นได้เมื่อมีผู้เข้ารับวัคซีนประมาณ 70% ถึง 85% ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลไม่ถูกต้องเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) เผยแพร่ผ่านทาง Instagram โดยระบุว่าภูมิคุ้มกันหมู่จะไม่มีวันเกิดขึ้น เพราะเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ประชากรรับวัคซีนได้หมดทุกคน ซึ่งภายหลังข้อความดังกล่าวได้ถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอมในที่สุด FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ภูมิคุ้มกันหมู่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำให้ประชากรทั้งหมดเข้ารับการฉีดวัคซีนอย่างที่กล่าวอ้าง ดร.ซาราห์ ฟอร์จูน หัวหน้าภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกันและโรคติดต่อ มหาวิทยาลัย Harvard T.H. Chan School of Public Health อธิบายว่า ภูมิคุ้มกันหมู่ไม่ใช่การทำให้โรคหายไปด้วยการทำให้ประชากรทุกคนเข้ารับการฉีดวัคซีนทั้งหมด ภูมิคุ้มกันหมู่คือการทำให้ประชาชนได้รับวัคซีนในจำนวนที่มากพอ จนการแพร่เชื้อในสังคมลดลง ดร.ซาราห์ ฟอร์จูน ย้ำว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ยอดตายจากวัคซีนปี 2021 มากกว่าทั้งทศวรรษเกือบ 2 เท่า จริงหรือ?

12 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการบิดเบือนตัวเลขโดย Gateway Pundit เว็บไซต์อนุรักษ์นิยมของสหรัฐฯ รายงานการเสียชีวิตหลังการฉีดวัคซีนของ VAERS ไม่สามารถนำมาอ้างอิงได้ เนื่องจากยังไม่ผ่านการตรวจสอบว่ามีความสัมพันธ์กับวัคซีนหรือไม่ ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่ทาง Facebook โดย Gateway Pundit เว็บไซต์อนุรักษ์นิยมของสหรัฐฯ โดยอ้างว่าหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) เปิดเผยข้อมูลว่า ในปี 2021 ที่มีการฉีดวัคซีนโควิด 19 อย่างแพร่หลายในประเทศ พบการเสียชีวิตจากวัคซีนในสหรัฐฯ ถึง 1,755 ครั้ง ขณะที่ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ยอดผู้เสียชีวิตจากวัคซีนในสหรัฐฯ มีแค่ 994 ครั้ง อย่างไรก็ดี ข้อความดังกล่าวได้ถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอมในเวลาต่อมา FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ตัวเลขการเสียชีวิตที่ Gateway […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ทำให้รสนิยมทางเพศเบี่ยงเบน จริงหรือ?

11 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Stopfake (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: Gavi องค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน ยืนยันว่าวัคซีนโควิด 19 ไม่สามารถเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมหรือรสนิยมทางเพศได้ ซาอิด นามากิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอิหร่าน แจ้งเตือนประชาชนให้ระวังการตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพที่นำข้ออ้างทางศาสนาและวิธีรักษาแบบพื้นบ้านมาหลอกลวงประชาชน ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่ผ่าน Telegram ของ อายะตุลลอฮ์ อับบาส ทาบริเซียน นักสอนศาสนาชาวอิหร่านที่ส่งไปยังผู้ติดตามกว่าสองแสนคน โดยเนื้อหาเป็นการโจมตีวัคซีนโควิด 19 ว่ามีไมโครชิปที่เกิดจากการตัดต่อพันธุกรรม เมื่อฉีดไปแล้วผู้รับวัคซีนจะไม่เหลือความเป็นมนุษย์, มีสภาพไม่ต่างจากหุ่นยนต์, สูญสิ้นศรัทธา, ขาดคุณธรรม และจะกลายเป็นคนรักเพศเดียวกัน FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ทาบริเซียน ซึ่งอ้างตนว่าเป็น “บิดาการแพทย์อิสลาม” เคยอ้างว่ารักษาผู้ป่วยโควิด 19 ได้วันละ 150 คน และโจมตีวัคซีนโควิด 19 ว่าเป็นผลงานของขบวนการชาตินิยมยิว (Zionist) และการฉีดวัคซีนก็คือการล่าอาณานิยมทางการแพทย์รูปแบบหนึ่ง ไม่ใช่ครั้งแรกที่นักสอนศาสนากล่าวอ้างว่าวัคซีนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรสนิยมทางเพศ โดยเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA ทำให้เกิดอาการสั่นรุนแรง จริงหรือ?

11 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Myth Detector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: พิสูจน์ไม่ได้ บทสรุป: อาการสั่นรุนแรง (Strong Tremor) ไม่จัดเป็นหนึ่งในอาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด 19 ชนิดไหนๆ บุคคลที่อยู่ในคลิปไม่สามารถยืนยันได้ว่าฉีดวัคซีนโควิด 19 มาจริงหรือไม่ ก่อนจะลบคลิปของตนเองในภายหลัง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอผ่านทาง Facebook ในสหรัฐอเมริกา โดยผู้โพสต์วิดีโออ้างว่าผู้หญิงสองคนที่อยู่ในคลิปเพิ่งผ่านการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer และ Moderna แต่พอกลับถึงบ้านก็มีอาการสั่นรุนแรงคล้ายอาการชักกระตุก ทำให้การพูดและการขยับตัวลำบากจนควบคุมตัวเองไม่ได้ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง PolitiFact ของสหรัฐอเมริกา ได้ติดต่อไปยังผู้หญิงในคลิปและผู้เกี่ยวข้องกับเธอทั้งสองคนเพื่อขอคำยืนยัน แต่ทั้งสองคนต่างไม่ยอมบอกว่าได้รับการวัคซีนโควิด 19 มาจริงหรือไม่ และทำการลบคลิปดังกล่าวจาก Facebook ของตนเองแล้วทั้งคู่ อาการสั่นรุนแรง (Strong Tremor) ไม่จัดเป็นหนึ่งในอาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด 19 ชนิดไหนๆ และยังไม่มีรายงานในประเทศใดที่พบคนมีอาการดังกล่าวหลังจากฉีดวัคซีนโควิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สตรีไม่ควรตั้งครรภ์ 2 เดือน หลังฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

10 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการกล่าวอ้างโดยแพทย์ผู้มีแนวคิดต่อต้านวัคซีน หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกาและบริษัท Pfizer ต่างยืนยันว่าวัคซีนโควิด 19 ไม่ทำให้ผู้รับวัคซีนมีปัญหาในการตั้งครรภ์แต่อย่างใด ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่ผ่านคลิปวิดีโอทาง Instagram ของ ดร.เชอร์รี เทนเพนนี แพทย์โรคกระดูกและกล้ามเนื้อชาวอเมริกัน ผู้เผยแพร่แนวคิดต่อต้านการฉีดวัคซีนผ่านงานเขียน โดยอ้างว่าวัคซีนคือสาเหตุของโรคออทิสติก ในคลิปวิดีโอความยาว 10 นาที ที่ถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอม ดร.เชอร์รี เทนเพนนี กล่าวอ้างว่าสตรีที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA ของบริษัท Pfizer ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ในช่วง 2 เดือนแรกเป็นอย่างน้อย เพราะหนามโปรตีนที่อยู่ในวัคซีนอาจจะไปรบกวนรังไข ซึ่งไม่อาจรู้ได้ว่าจะส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์แค่ไหน หนามโปรตีนอาจรบกวนการทำงานของอสุจิและส่งผลกระทบมหาศาลต่อการปฏิสนธิและต่อไข่ของสตรี และยังไม่รู้ว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลต่อพันธุกรรมหรือความพิการของทารกแรกเกิดหรือไม่ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ไม่มีหลักฐานว่าหน่ายงานด้านสาธารณสุขหรือผู้ผลิตวัคซีนรายใด แนะนำให้สตรีที่เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ระงับการตั้งครรภ์หรือหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ผู้ชายควรนำเชื้ออสุจิไปแช่แข็งก่อนฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

10 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Newtral (สเปน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ไม่มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่าวัคซีนโควิด 19 จะทำให้ผู้ชายเป็นหมัน แม้จะพบเชื้อไวรัสในอัณฑะหลังติดเชื้อโควิด 19 ไปแล้ว 6 เดือน แต่ปริมาณของไวรัสหรือปริมาณของวัคซีนโควิด 19 ก็มีไม่มากพอที่จะทำให้ผู้รับเชื้อหรือวัคซีนกลายเป็นหมันไปได้ ข้อมูลที่ถูกแชร์: ความเชื่อว่าวัคซีนโควิด 19 อาจทำให้ผู้ชายเป็นหมัน ถูกเผยแพร่ผ่านรายงานของ Local10. สถานีโทรทัศน์ท่องถิ่นในสหรัฐฯ เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยเป็นการนำบทสัมภาษณ์ของ แรนจิธ รามาซามี ศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ มหาวิทยาลัย University of Miami มาใช้อย่างผิดบริบท FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Newtral ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากสเปน ได้ตรวจสอบบทสัมภาษณ์ของ แรนจิธ รามาซามี กับทาง Local10. ศัลยแพทย์ผู้นี้ยืนยันในบทสัมภาษณ์ว่า ไม่มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่าวัคซีนโควิด 19 จะทำให้ผู้ชายเป็นหมัน แต่เมื่อนักข่าวถามว่าจะทำอย่างไรสำหรับคนที่กังวลเรื่องการมีบุตรในอนาคต […]

1 2 3
...