ชัวร์ก่อนแชร์: ห้ามดื่มสุราเป็นเวลา 5 เดือนหลังจากฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

9 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Tempo CekFakta (อินโดนีเซีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จบางส่วน บทสรุป: แอลกอฮอล์ไม่มีผลต่อการทำงานของวัคซีน กระนั้น งานวิจัยพบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากๆ อาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เว้นการดื่มสุราปริมาณมากๆ ในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนฉีดวัคซีนโดสแรก และช่วง 1 เดือนหลังฉีดวัคซีนโดสที่ 2 ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการแชร์ข้อความทาง Facebook ในประเทศอินโดนีเซียว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้ว ห้ามดื่มสุราหรือรับประทานข้าวหมัก (tapai) เป็นเวลา 5 เดือน เพราะจะทำให้วัคซีนหมดประสิทธิภาพในการป้องกันโรคทันที FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบของ Tempo CekFakta เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของอินโดนีเซียยืนยันว่า ข้อกล่าวอ้างนี้ไม่มีหลักฐานยืนยันทางวิทยาศาสตร์ เพราะไม่พบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อการป้องกันโรคของวัคซีนแต่อย่างใด ฮินดรา ซัตตารี ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลการสร้างภูมิคุ้มกันแห่งชาติอินโดนีเซีย (Komnas KIPI) ยืนยันว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ส่งผลต่อการทำงานของวัคซีน และการฉีดวัคซีนไม่ส่งผลต่อการบริโภคของประชาชนแต่อย่างใด สิติ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ห้ามผู้รับวัคซีนมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลาหนึ่งเดือน จริงหรือ?

9 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Myth Detector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนโควิด 19 ผ่านการทดสอบกับสัตว์ทดลอง วัคซีนโควิด 19 ของ Pfizer ปลอดภัยต่อผู้ที่มีโรคประจำตัว บริษัท Pfizer-BioNTech ไม่มีข้อห้ามการมีเพศสัมพันธ์หลังจากรับวัคซีน บริษัท Pfizer-BioNTech ไม่มีข้อห้ามเรื่องการเปิดเผยอาการข้างเคียงจากวัคซีน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโควิด 19 หลายประเด็น ถูกเผยแพร่ผ่านรายการโทรทัซน์ Ghamis Studia ของสถานี Obiektivi TV ในประเทศจอร์เจียเมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Myth Detector เว็บไซต์ตรวจสอบความจริงของประเทศจอร์เจียได้ทำการหักล้างข้อมูลเท็จต่างๆ ดังนี้ 1.วัคซีนโควิด 19 ผลิตออกมาอย่างเร่งรีบ จนข้ามขัดตอนการทดลอง และไม่เคยทดสอบในสัตว์ทดลอง – ข้อมูลเท็จ เนื่องจากวิกฤตการระบาดของโควิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ได้ผลที่สุดเมื่อฉีดที่อวัยวะเพศชาย จริงหรือ?

8 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: BOOM (อินเดีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: การฉีดวัคซีนเกือบทุกชนิด ควรจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขนหรือกล้ามเนื้อหน้าขาด้านนอก ซึ่งช่วยให้วัคซีนไหลเวียนได้ดีที่สุด ส่วนอวัยวะเพศชายที่ประกอบไปด้วยเนื้อเยื้อและเส้นเลือด ไม่ใช่บริเวณที่เหมาะสมต่อการฉีดวัคซีน ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นรูปภาพและข้อความเท็จที่เผยแพร่ผ่านทาง Twitter ในประเทศอินเดีย โดยอ้างว่าแพทย์จากมหาวิทยาลัย University of California ค้นพบว่าการฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่บริเวณอวัยวะเพศชาย จะทำให้ตัวยาไหลเวียนได้ดีที่สุด ซึ่งการอ้างว่าเป็นรายงานจากสถานีข่าว CNN ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ทไม่น้อยหลงเชื่อแล้วนำข้อมูลไปแชร์ต่อ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: จากการตรวจสอบของ BOOM พบว่ารูปภาพและข้อมูลดังกล่าวเป็นการตัดต่อโลโก้ของ CNN และนำชื่อมหาวิทยาลัย University of California การผลิตซ้ำเพื่อการล้อเลียน ส่วนนายแพทย์ผู้ถูกนำรูปภาพมาแอบอ้าง เป็นแพทย์ที่ทำงานให้กับโรงพยาบาล Claremont Medical Center ในเมืองแคลร์มอนต์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งเจ้าตัวยืนยันว่าไม่เคยเสนอแนะวิธีการฉีดยาดังกล่าว ข้อมูลจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขระบุว่า การฉีดวัคซีนเกือบทุกชนิดควรจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ของ Pfizer ทำให้สตรีเป็นหมัน จริงหรือ?

7 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Chequeado (อาร์เจนติน่า)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: องค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) ระบุว่า การทดลองความเป็นพิษของวัคซีนบริษัท Pfizer ต่อการสืบพันธุ์ในสัตว์ พบว่าวัคซีนไม่ส่งผลต่อการเป็นหมัน, การตั้งครรภ์ และการพัฒนาของตัวอ่อนในสัตว์เพศเมียแต่อย่างใด ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นการบิดเบือนข้อมูลเมื่อครั้งที่ นาบแพทย์ ไมเคิล เยียดอน และ นายแพทย์ วูลฟ์กัง วูดาร์ก ได้ยื่นคำร้องต่อองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) เพื่อให้ระงับการทดลองทางคลินิกของวัคซีนโควิด 19 จาก Pfizer ด้วยข้อกังวลเรื่องผลกระทบด้านสุขภาพ แต่ไม่เกี่ยวข้องกับข้ออ้างที่ว่าวัคซีนโควิด 19 ของ Pfizer จะทำให้สตรีเป็นหมันแต่อย่างใด ไมเคิล เยียดอน เป็นนักชีวเคมีชาวอังกฤษ เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิจัยชีววิทยาระบบทางเดินหายใจของบริษัท Pfizer แต่ได้ออกจากบริษัทไปตั้งแต่ปี 2011 หรือ 9 ปีก่อนการพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ในข้อมูลที่บิดเบือนระบุว่า โปรตีนบนหนามไวรัสมีส่วนคล้ายกับโปรตีนในรกของมนุษย์ที่ชื่อว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ยาคุมกำเนิดทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันมากกว่าวัคซีนโควิด19 จริงหรือ?

4 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (ฝรั่งเศส)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: แม้สถิติการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากยาเม็ดคุมกำเนิดจะมากกว่าวัคซีนโควิด 19 แต่บริเวณเกิดลิ่มเลือดอุดตันแตกต่างกัน จึงไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากยาเม็ดคุมกำเนิดส่วนใหญ่จะเกิดที่บริเวณขาในหลอดเลือดดำส่วนลึก (DVT) ภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนโควิด 19 มักจะพบที่หลอดเลือดดำในสมอง (CVT) ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการแชร์ความเห็นบนโลกออนไลน์ว่า ผู้ที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดได้มากกว่าวัคซีนโควิด 19 ทุกชนิด ซึ่งเป็นข้อความที่มียอดแชร์, ยอดไลค์ และคอมเมนต์รวมกันกว่า 5 หมื่นครั้ง ตามการประเมินของเว็บไซต์ CrowdTangle FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: แถลงการณ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อวันที่ 16 เมษายา 2021 ระบุว่า โอกาสการเกิดภาวะเส้นเลือดอุดตันจากลิ่มเลือดของผู้รับวัคซีน AstraZeneca ในสหราชอาณาจักร อยู่ที่ 1 คน ต่อ 250,000 คน ส่วนอัตราการเกิดกับผู้รับวัคซีน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: “มารายห์ แคร์รี” จัดฉากฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

2 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Demagog (โปแลนด์)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เข็มฉีดยาที่ใช้กับนักร้องดัง เป็นชนิดที่เข็มถูกดูดกลับคืนสู่หลอดฉีดโดยอัตโนมัติหลังจากฉีดยาแล้ว จึงทำให้ดูเหมือนไม่มีเข็มอยู่ที่หลอด เหตุผลของการใช้เข็มฉีดยาชนิดนี้เพื่อลดอุบัติเหตุในโรงพยาบาล ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่โดยกลุ่มต่อการการฉีดวัคซีน (Anti-vaccine) และกลุ่มผู้ไม่เชื่อว่าแพร่ระบาดของโควิด 19 มีอยู่จริง (Covid sceptics) โดยทั้งสองร่วมกันจับผิดว่า มารายห์ แคร์รี นักร้องสาวชาวอเมริกัน แสร้งทำการฉีดวัคซีนโควิด 19 ผ่านคลิปวิดีโอ โดยอ้างว่าเข็มในหลอดฉีดยาหายไปทันทีที่นางพยาบาลฉีดวัคซีนให้กับนักร้องสาวแล้ว คลิปวิดีโอดังกล่าวถูกเผยแพร่ผ่านทาง Twitter และ Instagram ของ มารายห์ แคร์รี เมื่อวันที่ 4 เมษายน โดยในวันที่ 13 เมษายน Facebook ของกลุ่ม Ministerstwo Propagandy (Ministry of Propaganda) ได้นำคลิปไปแชร์ต่อและบิดเบือนข้อมูล โดยเนื้อหาเป็นการจับผิดนักร้องสาวเรื่องการจัดฉากฉีดวัคซีนให้ตนเอง เพราะไม่เห็นเข็มอยู่ที่หลอดฉีดยา […]

ชัวร์ก่อนแชร์: Molnupiravir ยาต้านไวรัสรักษาโควิด 19 หายภายใน 5 วัน จริงหรือ?

2 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ไม่มีหลักฐานยืนยัน บทสรุป: 1.ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 พบว่า Molnupiravir ได้ผลดีกับผู้รับเชื้อโควิด 19 ไม่เกิน 5 วัน แต่ไม่มีผลทางการรักษากับผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาล2.ประสิทธิภาพของยายังต้องรอผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ต่อไป ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อกล่าวอ้างที่ไม่มีหลักฐานยืนยันเกี่ยวกับ Molnupiravir ยาต้านไวรัสโควิด 19 ซึ่งอยู่ในระหว่างการทดลองโดย Merck บริษัทผู้ผลิตยาในประเทศสหรัฐอเมริกา หนึ่งในข้อความอวดอ้างสรรพคุณของ Molnupiravir คือข้อความจาก Facebook ซึ่งส่งต่อกันในไต้หวันช่วงต้นเดือนเมษายน โดยข้อความระบุว่าบริษัทผู้ผลิตยาจากอเมริกา ได้ผลิตยาต้านไวรัสโควิด 19 ชนิดน้ำในชื่อ Molnupiravir ผู้ป่วยสามารถกินยาอยู่กับบ้านและเชื้อจะหมดไปจากร่างกายภายใน 5 วัน ตัวยาผ่านการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 และ 2 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งการทดลองในมนุษย์ประสบผลสำเร็จ 100% การทดลองทางคลินิกระยะที่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ฉีดวัคซีนยังเสี่ยงโควิดและผลข้างเคียง ไม่ฉีดปลอดภัยกว่า จริงหรือ?

1 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: CDC ย้ำว่าผู้รับวัคซีนโควิด 19 ยังมีโอกาสติดเชื้อแต่อาการจะไม่หนักเหมือนผู้ไม่ได้รับวัคซีน แองเจลา ราสมุสเซน นักไวรัสวิทยาชี้แจงว่าโอกาสเกิดอาการข้างเคียงระยะยาวจากวัคซีนน้อยมาก น้อยถึงขนาดที่ไม่สามารถวัดค่าได้ ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อความที่ถูกแชร์ทาง Instagram ก่อนจะถูกตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอม โดยเนื้อหาเป็นการชี้นำว่า “ถ้าฉันไม่ฉีดวัคซีน ฉันจะเสี่ยงติดโควิด ถ้าฉันฉีดวัคซีน ฉันก็ยังคงเสี่ยงติดโควิดแถมเสี่ยงกับอาการข้างเคียงระยะยาวจากวัคซีน ดังนั้นฉันจึงลดความเสี่ยงด้วยการไม่ฉีดวัคซีน” FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีวัคซีนชนิดไหนที่ป้องกันโควิด 19 ได้ 100% แต่วัคซีนทั้ง 3 ชนิดที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในสหรัฐอเมริกาอย่าง Pfizer-BioNTech, Moderna และ Johnson & Johnson ต่างมีประสิทธิผลป้องกันโรคที่น่าพอใจในระดับ 95%, 94% และ 66% ตามลำดับ หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้เผยแพร่ผลวิจัยเมื่อวันที่ […]

1 2 3
...