ฝ่ายค้านเตรียมพร้อมถกแก้กม.ลูก
ฝ่ายค้านเล็งเดินหน้าเอาผิดรัฐบาลปกปิดข้อมูล ASF อาจซักฟอกต่อ เตรียมพร้อมอภิปรายร่างกม.ลูก 2 ฉบับ ยันหลักการให้คนนอกชี้แนะ ให้คำปรึกษาได้ ไม่ถือครอบงำพรรค ปิดช่องกลั่นแกล้งหาเหตุยุบพรรค
ฝ่ายค้านเล็งเดินหน้าเอาผิดรัฐบาลปกปิดข้อมูล ASF อาจซักฟอกต่อ เตรียมพร้อมอภิปรายร่างกม.ลูก 2 ฉบับ ยันหลักการให้คนนอกชี้แนะ ให้คำปรึกษาได้ ไม่ถือครอบงำพรรค ปิดช่องกลั่นแกล้งหาเหตุยุบพรรค
ส.ส.พรรคก้าวไกล โชว์ผลตรวจซากหมูตายจากฟาร์มแห่งหนึ่งใน จ.นครปฐม พบติดเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกรจำนวนมาก
โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF พบครั้งแรกเมื่อ 100 ปีก่อน จนถึงปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค นักวิจัยไวรัสวิทยา ไบโอเทค สวทช. ระบุว่าความรู้เกี่ยวกับไวรัส ASF ยังมีน้อย ดังนั้น กว่าจะวิจัยวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมาใช้ได้จริง ต้องใช้เวลาอีกนาน แต่ที่น่าเป็นห่วงคือหากมีการนำวัคซีนเถื่อนมาใช้อาจทำให้ไวรัสกลายพันธุ์จนโรครุนแรงขึ้น.-สำนักข่าวไทย
อธิบดีกรมปศุสัตว์สั่งการด่วน ให้ปศุสัตว์จังหวัดคุมเข้มมาตรการควบคุมโรคทั่วประเทศ แจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดทันทีที่พบโรค พร้อมร่วมกับ “พาณิชย์” ตรวจสอบห้องเย็นเพื่อป้องกันการกักตุนสินค้าในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่กําลังมาถึง เร่งรัดเยียวยาเกษตรกรเพื่อลดผลกระทบให้เหลือน้อยที่สุดตามบัญชาของนายกรัฐมนตรี
นายกฯ เรียกอธิบดีกรมปศุสัตว์ แจงโรคระบาด ASF ในหมู กำชับแก้เร็ว สั่งเร่งสำรวจความเสียหาย ด้านเจ้าตัวยืนยันไม่ถอดใจจากตำแหน่ง
นักวิจัยไวรัสวิทยา ไบโอเทค สวทช ระบุ การยัดซากหมูลงโอ่งเพื่อทำน้ำหมัก หากหมูตายด้วยโรค ASF จะทำให้เชื้อแพร่กระจายเป็นวงกว้างได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องเร่งเข้าทำลายและฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อเข้มข้นด่วนที่สุด
“เฉลิมชัย” รมว.เกษตร ยืนยันพร้อมตอบทุกประเด็นเกี่ยวกับโรค ASF ไม่ปกปิดข้อมูล ตลอดจนเร่งช่วยเหลือเกษตรกรด่วนที่สุด พร้อมหารือทุกภาคีเครือข่ายเพื่อควบคุมโรคให้สงบและขอคืนสภาพปลอดโรคจาก OIE โดยเร็ว
อธิบดีกรมปศุสัตว์ ระบุจะไม่ลาออกตามที่บางคนเรียกร้องให้รับผิดชอบต่อการพบโรค ASF เนื่องจากไม่ได้ทำผิดหรือทุจริต อีกทั้ง รมว.เกษตรฯ เข้าใจ จึงมีกำลังใจทำงานต่อ ส่วนที่มีการแชร์ภาพซากหมูในโอ่งที่ จ.นครปฐม ยืนยันผู้เลี้ยงไม่เคยแจ้งต่อปศุสัตว์จังหวัดว่าหมูตายผิดปกติ
โฆษกรัฐบาล แจง ไทยยกระดับป้องกัน ASF เป็นวาระแห่งชาติปี 62 ชะลอผลกระทบโรคระบาดในสัตว์ พร้อมชี้แจงในสภาฯ ชี้ หากปกปิดข้อมูลหรือไม่ดำเนินการ เชื่อผู้บริโภคและอุตสาหกรรมหมูของไทยจะเสียหายมากกว่านี้
รมว.เกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า หลังพบโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF แล้ว จะต้องขยายผลการตรวจหาเชื้อ ควบคุมการเคลื่อนย้ายสุกรอย่างเข้มงวด รวมถึงทำลายสุกรที่พบโรคหรือมีความเสี่ยง ยืนยันว่า การที่กรมปศุสัตว์เพิ่งประกาศพบเชื้อไวรัสก่อโรคเมื่อวานนี้ (11 ม.ค.) เป็นผลจากการสแกนโรคในพื้นที่ที่เลี้ยงสุกรหนาแน่น โดยที่ผ่านมาป้องกันโรคอย่างเต็มที่ตั้งแต่เกิดการระบาดที่จีนในปี 2561 ต่อมาประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบพบการระบาดทั้งหมด ทำให้เกิดโรคขึ้นในประเทศไทย
กรุงเทพฯ 11 ม.ค. – อธิบดีกรมปศุสัตว์ ระบุตรวจพบเชื้อไวรัสโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) จากตัวอย่างที่เก็บจากโรงฆ่าแห่งหนึ่งใน จ.นครปฐม เร่งขยายผลสอบสวนโรคว่า มีสุกรจากฟาร์มใดส่งมายังโรงฆ่าแห่งนี้บ้าง เพื่อควบคุมโรคด่วน ด้านอาจารย์คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยืนยันการวิจัยและพัฒนาวัคซีนมีความก้าวหน้า และสัตวแพทย์ของไทยจะร่วมกันทำให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรกลับมายืนได้อีกครั้ง. – สำนักข่าวไทย
ทำความรู้จักโรค ASF หรือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร คืออะไร ติดต่อสู่คนได้หรือไม่ หลังกรมปศุสัตว์ ตรวจพบเชื้อ 1 ตัวอย่าง ที่โรงฆ่า จ.นครปฐม วันนี้