วิกฤติเมียนมา-ความท้าทายของการประชุมอาเซียนพรุ่งนี้
อาเซียนเตรียมจัดประชุมสุดยอดว่าด้วยเมียนมาในวันพรุ่งนี้ (24 เม.ย.) ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา จะเดินทางออกนอกประเทศหลังจากก่อรัฐประหาร
อาเซียนเตรียมจัดประชุมสุดยอดว่าด้วยเมียนมาในวันพรุ่งนี้ (24 เม.ย.) ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา จะเดินทางออกนอกประเทศหลังจากก่อรัฐประหาร
นิวยอร์ก 22 เม.ย. – องค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ระบุว่า เมียนมากำลังเผชิญกับปัญหาความมั่นคงทางอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเหตุรัฐประหารและวิกฤตการณ์การเงินที่รุนแรง ซึ่งอาจทำให้ชาวเมียนมาหลายล้านคนประสบปัญหาอดอยากในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า รายงานของโครงการอาหารโลก (WFP) ของยูเอ็นระบุว่า ชาวเมียนมาราว 3.4 ล้านคนจะต้องดิ้นรนเพื่อให้มีอาหารรับประทานในอีก 3 – 6 เดือนข้างหน้า และชาวเมียนมาที่อยู่ในเขตเมืองจะได้รับผลกระทบหนักสุด เนื่องจากปัญหาตกงานที่เพิ่มขึ้นในภาคการผลิต การก่อสร้าง และบริการต่าง ๆ รวมถึงราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น รายงานดังกล่าวยังระบุว่า ราคาข้าวและน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหารตามท้องตลาดในเมียนมาเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 5 และร้อยละ 18 ตามลำดับนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ และมีสัญญาณบ่งชี้ว่าครัวเรือนในนครย่างกุ้ง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าของเมียนมา กำลังอดอาหารบางมื้อ กินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อยลง และมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ โครงการอาหารโลกได้วางแผนขยายการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า เพื่อช่วยเหลือชาวเมียนมาราว 3.3 ล้านคน และขอระดมเงินบริจาคราว 106 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (3,300 ล้านบาท) นายสตีเฟน แอนเดอร์สัน ผู้อำนวยการโครงการอาหารโลกประจำเมียนมาระบุในแถลงการณ์ว่า ผู้คนที่ยากจนในเมียนมากำลังตกงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และไม่อาจหาซื้ออาหารได้ […]
ย่างกุ้ง 21 เม.ย. – สื่อญี่ปุ่นรายงานว่า พลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมาจะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเพื่อหารือเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในเมียนมา ขณะที่กลุ่มนักเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหารออกมาชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลทหารเมียนมาปล่อยตัวผู้ที่ถูกคุมขัง นิกเกอิ เอเชีย นิตยสารข่าวรูปแบบออนไลน์ของญี่ปุ่นรายงานว่า พลจัตวาซอ มิน ตุน โฆษกรัฐบาลทหารเมียนมายืนยันว่า พลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่กรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซียในวันเสาร์นี้ แต่สำนักข่าวรอยเตอร์สยังไม่สามารถติดต่อโฆษกรัฐบาลทหารเพื่อยืนยันข่าวดังกล่าวได้ ทั้งนี้ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน พยายามแนะแนวทางให้เมียนมายุติเหตุนองเลือดที่เกิดขึ้นจากการก่อรัฐประหาร แต่ทั้ง 10 ประเทศสมาชิกจำเป็นต้องยึดมั่นในหลักฉันทามติและไม่แทรกแซงกิจการในประเทศของสมาชิก ทำให้เกิดข้อจำกัดในการหลอมรวมมุมมองที่แตกต่างกันของชาติสมาชิกต่อการแสดงจุดยืนจากเหตุสังหารพลเรือนหลายร้อยคนของกองทัพเมียนมา ในขณะเดียวกัน ผู้คนในโลกโซเชียลมีเดียต่างพากันแชร์รูปภาพสวมเสื้อเชิ้ตสีน้ำเงินและชูมือที่มีชื่อผู้ถูกจับกุมเขียนอยู่ เสื้อเชิ้ตสีน้ำเงินถือเป็นสัญลักษณ์ของการไว้อาลัยให้แก่นายวิน ทิน นักเคลื่อนไหวผู้สนับสนุนประชาธิปไตยที่ถูกกองทัพเมียนมาสั่งจำคุก 19 ปีและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2557 ทั้งนี้ ก่อนเสียชีวิต เขาได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำ และสัญญาว่าจะสวมเสื้อเชิ้ตสีน้ำเงินไปจนกว่านักโทษการเมืองทั้งหมดจะได้รับการปล่อยตัว ขณะที่สมาคมช่วยเหลือนักโทษทางการเมืองเมียนมารายงานว่า ขณะนี้มีผู้เสียชีวิตจากเหตุปราบปรามผู้ประท้วง 738 คน และมีผู้ถูกจับกุม 3,300 คน ในจำนวนนี้ มี 20 คนที่ถูกตัดสินโทษประหาร.-สำนักข่าวไทย
โตเกียว 20 เม.ย. – กลุ่มนักข่าวญี่ปุ่นเรียกร้องให้รัฐบาลทหารของเมียนมาปล่อยตัวนายยูกิ คิตาซูมิ นักข่าวอิสระชาวญี่ปุ่นที่ถูกคุมขังในเรือนจำของนครย่างกุ้ง ในขณะที่ทางการเมียนมากำลังปราบปรามสื่อท่ามกลางการประท้วงต่อต้านรัฐประหารที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักข่าวที่เป็นเพื่อนของนายคิตาซูมิกล่าวว่า กลุ่มนักข่าวญี่ปุ่นต้องการให้รัฐบาลทหารเมียนมาหยุดข่มเหงประชาชนเมียนมา และเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักข่าวหลายคนที่ถูกคุมตัวไว้โดยเร็ว ซึ่งรวมถึงนายคิตาซูมิด้วย นักข่าวกลุ่มดังกล่าวได้เริ่มเปิดให้ยื่นคำร้องผ่านระบบออนไลน์ต่อรัฐบาลทหารเมียนมาตั้งแต่เมื่อวานนี้ และขณะนี้มีผู้ลงชื่อในคำร้องราว 2,000 คน ด้านรัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกมาเรียกร้องให้เมียนมาปล่อยตัวนายคิตาซูมิเช่นกัน นอกจากนี้ กลุ่มนักข่าวในญี่ปุ่นยังขอร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นใช้มาตรการรุนแรงขึ้นเพื่อกดดันให้เมียนมาปล่อยตัวนายคิตาซูมิที่ถูกเจ้าหน้าที่กองทัพเมียนมาจับกุมตัวตั้งแต่ช่วงค่ำของวันอาทิตย์ในข้อหาเผยแพร่ข้อมูลเท็จ ในขณะเดียวกัน ผู้อำนวยการกลุ่มปกป้องสิทธิมนุษยชน “ฮิวแมนไรท์ วอทช์” ประจำญี่ปุ่นให้ความเห็นว่า รัฐบาลญี่ปุ่นยังใช้มาตรการกดดันเมียนมาไม่มากพอ เรื่องการจับกุมนักข่าวญี่ปุ่นน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนให้รัฐบาลทำอะไรมากกว่านี้ ทั้งยังระบุว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นในเมียนมาอย่างละมุนละม่อม ในขณะที่สหภาพยุโรปและสหรัฐต่างใช้มาตรการลงโทษรุนแรงต่อบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุรัฐประหาร ทั้งนี้ สมาคมช่วยเหลือนักโทษทางการเมืองเมียนมารายงานว่า ขณะนี้มีผู้เสียชีวิตจากเหตุปราบปรามการชุมนุม 737 คน และมีผู้ถูกจับกุม 3,229 คน.-สำนักข่าวไทย
กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะหารือเกี่ยวกับสถานการณ์รุนแรงในเมียนมาที่งานประชุมสุดยอดในกรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซียในวันเสาร์นี้ หลังสหภาพยุโรปประกาศมาตรการลงโทษที่รุนแรงที่สุดต่อรัฐบาลทหารเมียนมานับตั้งแต่ก่อเหตุรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์
รัฐบาลญี่ปุ่นเผยว่า เจ้าหน้าที่เมียนมาคุมตัวนักข่าวชาวญี่ปุ่นในนครย่างกุ้งเมื่อช่วงค่ำวานนี้ และทางการญี่ปุ่นกำลังพยายามหาทางช่วยให้เขาได้รับการปล่อยตัว
อังกฤษ ระบุวันนี้ว่า จะจัดหาที่พักชั่วคราวให้แก่ทูตเมียนมาประจำอังกฤษ หลังถูกกลุ่มเจ้าหน้าที่การทูตที่ภักดีต่อกองทัพเมียนมาใช้อำนาจกลั่นแกล้งขับเขาให้ออกจากสถานทูต
อังกฤษประณามรัฐบาลทหารเมียนมาที่ใช้อำนาจกลั่นแกล้งทูตเมียนมาให้ออกจากสถานทูต หลังจากที่เขาเรียกร้องให้ทางการปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี ผู้นำรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง
ย่างกุ้ง 8 เม.ย. – รัฐบาลทหารเมียนมาได้จับกุม ไป่ ทาคน นักแสดงและนายแบบชาวเมียนมาที่สนับสนุนการต่อต้านรัฐประหารของกองทัพแล้วในวันนี้ ในขณะที่รัฐบาลทหารยังคงไล่ติดตามจับกุมบุคคลมีชื่อเสียงชาวเมียนมาอีกกว่าร้อยคนที่สนับสนุนการประท้วง สื่อท้องถิ่นของเมียนมารายงานว่า ไป่ ทาคน วัย 24 ปีถูกควบคุมตัวที่เขตย่างกุ้งเหนือในนครย่างกุ้งเมื่อเวลา 05.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นภายในบ้านมารดาของเขา นายทาคนเป็นนักแสดงและนายแบบที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั้งในเมียนมาและประเทศไทย เขาได้เข้าร่วมการชุมนุมต่อต้านรัฐประหารด้วยตนเอง และโพสต์ข้อความต่อต้านรัฐบาลทหารผ่านสื่อโซเชียลมีเดียที่มียอดผู้ติดตามจำนวนมาก ขณะนี้ สำนักข่าวเอเอฟพีกำลังพยายามติดต่อครอบครัวของไป่ ทาคนเพื่อยืนยันรายละเอียดเกี่ยวกับการถูกควบคุมตัวเขา โพสต์ล่าสุดเมื่อวานนี้ของไป่ ทาคนในเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ที่มียอดผู้ติดตามกว่า 1 ล้านคนระบุว่า เขากำลังมีสุขภาพย่ำแย่ เขาสวดมนต์ขอให้มีสุขภาพแข็งแรงดีและขอให้สันติภาพกลับคืนสู่เมียนมาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างไรก็ดี บัญชีผู้ใช้โซเชียลมีเดียของเขากลับถูกลบหายไป แม้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าไป่ ทาคนเป็นผู้ทำเช่นนั้นเองหรือไม่ ในขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ของเมียนมายังได้ประกาศจับกุมบุคคลมีชื่อเสียงอีก 120 คน ซึ่งรวมถึงนักร้อง นักแสดง นายแบบ และนางแบบมากมาย ทั้งนี้ ไป่ ทาคน ถือเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีชื่อเสียงของเมียนมาที่ออกมาต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมาตั้งแต่เกิดเหตุรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ทั้งการลงถนนร่วมชุมนุมประท้วงกับประชาชนชาวเมียนมาและการโพสต์ข้อความทั้งภาษาพม่าและภาษาอังกฤษผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีแฟนคลับชาวเมียนมาและชาวต่างชาติติดตามกดไลก์ กดแชร์ และคอมเมนต์ให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารถึงประชาคมโลกให้ทราบถึงสถานการณ์ในประเทศและเรียกร้องประชาคมโลกยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือประชาชนชาวเมียนมาที่ถูกเจ้าหน้าที่ของกองทัพเมียนมาปราบปรามอย่างหนัก ก่อนหน้านี้ มีกระแสข่าวว่า ไป่ […]
บันดาร์เสรีเบกาวัน 5 เม.ย.- บรูไน ในฐานะประธานวาระปัจจุบันของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน สนับสนุนให้ผู้นำอาเซียนประชุมหารือเรื่องสถานการณ์ในเมียนมา บรูไนแถลงร่วมกับมาเลเซียว่า ทั้งสองประเทศได้ขอให้รัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสของตนเองเตรียมการที่จำเป็นเพื่อจัดการประชุมดังกล่าวที่สำนักงานเลขาธิการอาเซียนในกรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย เป็นไปตามที่สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน ฮัสซานัล โบลเกียห์ของบรูไนและนายกรัฐมนตรีมูห์ยิดดิน ยัสซินของมาเลเซียเห็นพ้องระหว่างหารือกันในวันนี้ว่า ผู้นำอาเซียนควรหารือเรื่องสถานการณ์ในเมียนมา แต่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าควรจัดขึ้นเมื่อใด ผู้นำทั้งสองยังได้แสดงความกังวลที่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นในเมียนมา เรียกร้องให้ทุกฝ่ายงดเว้นการยุยงให้เกิดความรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก ใช้ความอดกลั้นและยืดหยุ่นอย่างที่สุดโดยทันที อาเซียนทำงานโดยใช้หลักฉันทามติ แต่หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในจำกัดความสามารถของกลุ่มในการดำเนินการในเรื่องอ่อนไหวของสมาชิก มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์แสดงความตกใจที่กองทัพเมียนมาสังหารผู้ชุมนุม และสนับสนุนให้เปิดการประชุมระดับสูงเรื่องเมียนมา.-สำนักข่าวไทย
โซล 5 เม.ย.- นักลงทุนกดดันโพสโก กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กของเกาหลีใต้ให้ยุติการร่วมลงทุนกับกลุ่มบริษัทที่กองทัพเมียนมาควบคุมอยู่ ในขณะที่บริษัทข้ามชาติกำลังเผชิญกระแสกดดันให้ตัดความสัมพันธ์ทางการเงินกับรัฐบาลทหารเมียนมา เอพีจี (APG) กองทุนบำเหน็จบำนาญดัตช์ที่มีทรัพย์สินสุทธิ 668,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 20.9 ล้านล้านบาท) เผยว่า เป็นหนึ่งในกลุ่มนักลงทุนที่กังวลว่า การลงทุนในโพสโกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เกาหลีใต้จะไม่เป็นผลดีต่อพันธกิจเรื่องลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ หลังจากกองทัพเมียนมายึดอำนาจรัฐบาลนางออง ซาน ซู จีเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ สาเหตุที่ตัดสินใจกดดันโพสโกเพราะเห็นตัวอย่างจากคิริน บริษัทเครื่องดื่มใหญ่ของญี่ปุ่นที่ประกาศในสัปดาห์ที่เกิดการรัฐประหารว่า จะถอนการลงทุนร่วมในโรงกลั่น 2 แห่งกับบริษัทของกองทัพเมียนมา ไฟแนนเชียลไทมส์รายงานเพิ่มเติมว่า โพสโกเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในโพสโก ซีแอนด์ซี บริษัทที่ร่วมลงทุนอุตสาหกรรมเหล็กกับเมียนมา อีโคโนมิก โฮลดิง หนึ่งในกลุ่มบริษัทของกองทัพเมียนมา กระแสเรียกร้องให้ต่างชาติถอนการลงทุนในเมียนมาเริ่มดังขึ้นตั้งแต่กองทัพเมียนมาปราบปรามชาวมุสลิมโรฮิงญาในรัฐยะไข่เมื่อปี 2560 แต่เพิ่งมาทวีความเข้มข้นเมื่อเกิดการรัฐประหาร กลุ่มจัสติสฟอร์เมียนมาเรียกร้องให้กองทุนดัตช์หลายแห่งถอนการลงทุนในบริษัทต่างชาติที่ทำธุรกิจกับบริษัทของกองทัพเมียนมา เช่น โททาลของฝรั่งเศส เชฟรอนของสหรัฐ ปตท.ของไทย แต่บริษัทเหล่านี้ชี้ว่า การกระทำเช่นนี้อาจกระทบต่อชาวเมียนมาที่กำลังเผชิญทั้งวิกฤตการเมืองและโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ระบาด.-สำนักข่าวไทย
ซิดนีย์ 5 เม.ย. – ชาวออสเตรเลีย 2 คนที่ถูกควบคุมตัวในเมียนมาเมื่อเดือนก่อนได้รับการปล่อยตัว และเดินทางออกจากนครย่างกุ้งแล้ว โฆษกกระทรวงต่างประเทศและการค้าของออสเตรเลียระบุในแถลงการณ์ว่า ทางการได้ให้ความช่วยเหลือด้านกงสุลแก่นายแมทธิว โอเคน และนางคริสตา เอเวอรี ภรรยา ในระหว่างที่ถูกควบคุมตัวจนกระทั่งได้รับการปล่อยตัว และสนับสนุนด้านการเดินทางออกจากนครย่างกุ้งเมื่อวานนี้ แถลงการณ์ดังกล่าวยังระบุด้วยว่า ออสเตรเลียรู้สึกยินดีที่ทั้งสองคนได้รับการปล่อยตัว ทั้งนี้ นายโอเคนและนางเอเวอรี ดำเนินธุรกิจที่ปรึกษาตามความต้องการของลูกค้าในนครย่างกุ้ง ทั้งคู่ถูกควบคุมตัวในบ้านพัก หลังจากที่ทั้งสองคนพยายามเดินทางออกจากเมียนมาด้วยเที่ยวบินขนส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์เมื่อเดือนที่แล้ว ส่วนนายฌอน เทอร์เนลล์ อาจารย์มหาวิทยาลัยและนักเศรษฐศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจให้นางออง ซาน ซู จี ผู้นำรัฐบาลพลเรือนที่ถูกยึดอำนาจ ยังคงถูกควบคุมตัวอยู่ในตอนนี้ หลังถูกจับกุมตัวเมื่อเกิดเหตุรัฐประหารได้ราว 1 สัปดาห์ นายเทอร์เนลล์ถือเป็นชาวต่างชาติคนแรกที่ถูกจับกุมในเมียนมาหลังเกิดเหตุยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ซึ่งทำให้เมียนมาตกอยู่ในสถานการณ์โกลาหล รัฐบาลทหารเมียนมากำลังสอบสวนนายเทอร์เนลล์ในข้อหาเดินทางเข้าประเทศโดยผิดกฎหมายและเปิดเผยความลับของประเทศ ก่อนหน้านี้ รัฐบาลออสเตรเลียได้ประกาศระงับความร่วมมือทางทหารกับเมียนมา และแนะนำให้พลเมืองออสเตรเลียเดินทางออกจากเมียนมา หากทำเช่นนั้นได้อย่างปลอดภัย. -สำนักข่าวไทย